Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วิวัฒนาการของนาฏศิลป์ และการละครไทยยุคแรก, นายพลกฤต จันทร เลขที่ 1 ชั้น ม…
วิวัฒนาการของนาฏศิลป์ และการละครไทยยุคแรก
สุโขทัย
วิวัฒนาการ
สมัยสุโขทัยได้มีการติดต่อกับชนชาติที่รับอารยธรรมอินเดีย เช่น พม่า มอญ ขอม เป็นต้น ทำให้คนไทยได้รับวัฒนธรรมทางด้านการละครของอินเดียเข้ามา ส่งผลให้ศิลปะแห่งการละเล่นพื้นเมืองของไทย คือ รำและระบำได้วิวัฒนาการขึ้น โดยมีการกำหนดให้เป็นแบบแผนและบัญญัติคำที่เรียกศิลปะแห่งการแสดงดังกล่าวข้างต้นว่า โขน ละคร ฟ้อน รำ
วัฒนธรรม
วัฒนธรรมทางด้านการศึกษา ในสมัยกรุงสุโขทัยการจัดรูปแบบทางการศึกษาในช่วงแรกจะได้รับอิทธิพลจากคติ พราหมณ์เข้ามาต่อจากนั้นจึงรับคติธรรมทางพุทธศาสนาเข้ามาเป็นหลักเกณฑ์สำคัญ ของการจัดการศึกษาทั้งสิ้น การศึกษาในสุโขทัยน่าจะมีลักษณะต่าง ๆ
วัฒนธรรมทางด้านตัวอักษรไทย ศิลาจารึกหลักที่ 1 ปรากฎข้อความที่เกี่ยวข้องอักษรไทยสมัยพ่อขุนรามคำแหงตอนหนึ่งว่า “ …1205ศกปีมะแม พ่อขุนรามคำแหงหาใคร่ใจในแลใส่ลายสือไทยนี้จึ่งมีเพื่อขุนผุ้นั่นใส่ไว้…” จากศิลาจารึกดังกล่าวจึงเป็นที่เชื่อกันว่าอักษรไทยพ่อขุนรามคำแหงซึ่งลง ศิลาจารึกปี พ.ศ. 1826 นี้เป็นอักษรไทยเก่าแก่ที่สุดที่ใช้ในประเทศไทย
วัฒนธรรมทางด้านวรรณกรรม วรรณกรรมที่เกิดขึ้นในสมัยสุโขทัยคงจะมีจำนวนมากและหลายประเภท หากแต่มิได้ตกทอดมาถึงปัจจุบัน ที่หลงเหลือ ถึงปัจจุบัน มีดังนี้ 3.1 ศิลาจารึก ศิลาจารึกมีประโยชน์ทางการศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์โบราณคดีตลอดจน วิชาอักษรศาสตร์ นิติศาสตร์ สังคมศาสตร์ และอื่น ๆ ศิลาจารึกที่พบในสมัยสุโขทัยมีประมาณ 30 หลัก ที่สำคัญมากได้แก่ ศิลาจารึกหลักที่ 1 หรือจารึกพ่อขุนรามคำแหง กรมศิลปากรได้จัดไว้เป็นอันดับแรกของวรรณกรรม ซึ่งรวมคุณค่าทางภาษา ทั้งความรู้ด้านกฎหมาย ความรู้ทางการปกครอง ความรู้ทางด้านวัฒนธรรม ความรู้ทางด้านสถาปัตยกรรม และศิลปกรรม
การแต่งกาย
ศีรษะ ทรงยอดรัศมีสำหรับตัวเอก และทรงระฆังคว่ำสำหรับตัวรอง ต่างหู เป็นดอกกลม เสื้อในนาง สีชมพูอ่อน กรองคอ สีดำปักดิ้นและเลื่อม ต้นแขน ตัวรองพื้นสีดำปักดิ้นและเลื่อม ตัวเอกทำด้วยหนังลงรักปิดทอง กำไลข้อมือ ตัวรองพื้นสีดำปักดิ้นและเลื่อม ตัวเอกทำด้วยหนังลงรักปิดทอง ข้อเท้า ตัวรองพื้นสีดำปักดิ้นและเลื่อม ตัวเอกทำด้วยหนังลงรักปิดทอง ผ้ารัดเอว ทำด้วยผ้าสีดำมีลวดลายเป็นดอกไม้ประดับและห้อยที่ชายเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน มีริบบิ้นสีเขียวห้อยมาทั้งสองข้าง ผ้านุ่ง เป็นกระโปรงบานจีบหน้าสีส้ม มีลูกไม้สีขาวระบายเป็นชั้น ๆ
ตัวอย่างการแสดง
ระบำสุโขทัย เป็นระบำชุดที่ 5 อยู่ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 19-20 นับเป็นยุคสมัยที่ชนชาติไทย เริ่มสร้างสรรค์ศิลปะด้านนาฏศิลป์และดนตรีในเป็นสมบัติประจำชาติ โดยอาศัยหลักฐานอ้างอิงที่กล่าวไว้ ในเอกสาร และหลักศิลาจารึก ประกอบศิลปกรรมอื่น ๆ เป็นระบำโบราณคดี ที่ได้สร้างขึ้นตามความรู้สึก
บุคคลสำคัญ
ระบำชุดสุโขทัย เป็นระบำโบราณคดีเกิดจากแนวคิดของนายธนิตอยู่โพธิ์
อยุธยา
การเเต่งกาย
สมัยอยุธยา (พ.ศ. 1893 ถึง พ.ศ. 2310) ราวสมัย พ.ศ. 1893 สมัยพระเจ้าอู่ทองสร้างกรุงศรีอยุธยา ชาวบ้านปลดกางเกงหรือ สนับเพลาออกบ้างแล้ว คงใช้เฉพาะขุนนางข้าราชสำนัก แบบขัดเขมรจึงถูกปล่อยให้ยาวลงมาถึง ใต้เข่าเป็น “นุ่งโจงกระเบน” เสื้อคอกลมแขนกรอมศอก สตรีนุ่งผ้าและผ้ายกห่มสไบเฉียง สวมเสื้อ บ้างโดยมากเป็นแขนกระบอก
วัฒนธรรม
งานลอยกระทงตามประทีปและแข่งเรือยาวประเพณี
จัดขึ้นปลายเดือนพฤศจิกายน ณ ศูนย์ศิลปาชีพ บางไทร มีการประกวดนางนพมาศ ประกวดขบวนแห่ ประกวดกระทง-โคมแขวน การแสดงและการละเล่นพื้นบ้าน การแข่งเรือยาวประเพณี และ เรือยาวนานาชาติ จำหน่ายอาหาร และสินค้ามากมาย
งานเทศกาลสงกรานต์
จัดในวันที่ 13 เมษายน หน้าวิหารพระมงคลบพิตร มีขบวนแห่ตามประเพณีของชาวอยุธยาและขบวนแห่เถิดเทิง สรงน้ำพระมงคลบพิตร จำลอง และประกวดนางสงกรานต์
พิธีไหว้ครูบูชาเตา
เป็น "พิธีไหว้ครู" ของช่างตีมีดตีดาบที่รู้จักทั่วไปว่า "มีดอรัญญิก" ที่บ้านต้นโพธิ์ บ้านไผ่หนองและบ้านสาไล ตำบลท่าช้าง อำเภอนครหลวง
บุคคลสำคัญอยุธยา
สมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 เป็นสมัยที่โขนเจริญรุ่งเรื่องเป็นอย่างมาก มีละครเรื่องใหญ่ๆ อยู่ 4 เรื่อง คือ อิเหนา รามเกียรติ์ อุณรุท ดาหลัง
ตัวอย่างการเเสดง
การแสดงแสงเสียง ชุด “อโยธยา แผ่นดินนี้ไม่สิ้นคนดี”
เป็นการแสดงแสง-เสียง ประกอบสื่อผสม มีเนื้อหา เทคนิค วิธีการนำเสนอ การดำเนินเรื่อง แบ่งเนื้อหาของการแสดงออกเป็น 4 องค์หลัก ร้อยเรียงเป็นบทละครอิงประวัติศาสตร์ของกรุงศรีอยุธยา อาทิ การสถาปนากรุงศรีอยุธยาทวาราวดี ศรีรามเทพนคร มหกรรมยุทธหัตถี วีรกรรมสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ความรุ่งเรืองวิลาศทั้งภาษา นาฏกรรม และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทย โดยมีไฮไลท์ คือ ฉากราชทูตไทย เดินทางไปยังพระราชวังแวร์ซาย กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ย้อนรอยอดีต 250 ปี วีรกรรมกอบกู้แผ่นดิน สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โดยเฉพาะศิลปะการแสดงแบบมิวสิคเกิล ดราม่า และการออกแบบฉากมิติใหม่ กับการใช้ซีจี และการฉายแมปปิ้ง ที่ตื่นตาตื่นใจ ใช้นักแสดงเกือบ 400 ชีวิต และดาราผู้มีชื่อเสียง นักแสดงศิลปินอาชีพ คงไว้ในการยุทธหัตถี ใช้ช้างศึกจากวังช้างอยุธยาแลเพนียด ในการแสดง
ธนบุรี
บุคคลสำคัญ
1.สมเด็จพะเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
2.สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
3.เจ้าฟ้าพินทุมวดี พระราชธิดาของสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ
วัฒนธรรม
พระเจ้าตากทรงมีภารกิจมากมายโดยเฉพาะการสร้างบ้านเมืองการป้องกันประเทศ และการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ จึงทำให้ผลงานในด้านนี้จึงไม่เด่นชัด สาเหตุอีกประการหนึ่งก็คือ บรรดาช่างฝีมือและช่างศิลป์ถูกพม่ากวาดต้อนไปเป็นจำนวนมาก ช่างที่มีอยู่ก็เป็นช่างฝึกหัดไม่อาจเทียบเท่าช่างในอยุธยาได้ ผลงานที่มีคือ วัดแจ้ง (วัดอรุณราชวรราม) และด้านก่อสร้างได้แก่ การสร้างพระราชวังป้อมปราการ เชิงเทิน ขาดความสวยงาม ส่วนทางด้าน วรรณกรรมมีผลงานสำคัญคือ รามเกียรติ์ เป็นต้
ด้านนาฏศิลป์ มีการฟื้นฟูและเล่นฉลองในงานพิธีสำคัญตามแบบประเพณีสมัยอยุธยาดังเห็นได้จากพิธีสมโภชพระแก้วมรกตและพระบางซึ่งสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้อันเชิญมาจากเวียงจันทร์เพื่อประดิษฐานที่กรุงธนบุรีซึ่งในครั้นนั้นมีการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ใช้เวลา 7 วันมีการประชันการแสดงละคร การแสดงโขน การเล่นมโหรีพิณพาทย์ การเล่นบทดอกสร้อยสัดวาฯ
การแต่งกาย
มีการนำเอาวัฒนธรรมการแต่งกายบ้าง เครื่องแพรพรรณ เช่น ผ้าแพรจีน นิยมนำมานุ่งมากขึ้น หญิง ( เนื่องจาก การขาดแคลนผ้าสมัยนั้น เพราะเป็นการ สร้างกรุงใหม่ หลังจากกรุงศรีอยุธยาแตก) จึงได้กลับมานุ่งผ้าถุง อีกโดย ขมวดชายพกไว้ตามสบาย ห่มสไบรัดหน้าอกอย่างธรรมดา นิยมใช้ผ้าแพร อาจจะได้มาจาก ประเทศจีน ชายเริ่มมี การนุ่งกางเกง เพราะสมัยนี้ได้มีชาวจีน มารับราชการทหารด้วย เป็นอันมากและ เพื่อให้สะดวก ในการออกรบ ส่วนเสื้อนั้น น่าจะเป็นแบบคอกลม แขนขึ้นท่อน ผ่าอกแล้วมีกระดุม ผ้าขดไว้ มีกระเป๋าใหญ่ข้างละใบ สำหรับใส่ของ
วิวัฒนาการ
การแสดงละครครั้งสำคัญที่สุดในสมัยกรุงธนบุรี มีการเล่นประชันกันหลายคณะหลายโรงทั้งของหลวง ของเจ้านคร และของเอกชน ทั้งละครผู้หญิง - ละครผู้ชาย มีมหรสพนานาชนิดเล่นเรียงรายไปทั้งสองฟากฝั่งลำน้ำเจ้าพระยา รวมหลายสิบโรงด้วยกัน ก็คือเมื่อคราวงานต้อนรับและ สมโภชพระแก้วมรกต เมื่อปลายปี พ.ศ.2322 ต่อกับต้นปี พ.ศ.2323
น่านเจ้า
ตัวอย่างการแสดง
มีนิยายเรื่อง นามาโนห์รา เป็นนิยายของพวกไต หรือคนไทย ในสมัยน่านเจ้าที่มีปรากฏอยู่ ก่อนหน้านี้คือ การแสดงจำพวกระบำ เช่นระบำหมาก ระบำนกยุง
การแต่งกาย
หญิงไม่ผัดหน้า เขียนคิ้ว แต่ทาผมด้วยน้ำจากต้นหม่อน สตรีสูงศักดิ์ นุ่งห่ม ซิ่นไหม ย้อมสีสวยงาม บนเอวมีวิ่นไหม ประดับอีกผืนหนึ่ง (ไม่ใช่ย้ำคาดเอว) เกล้าผมสูงบางที ประดิษฐ์ผมเปียห้อย แล้วม้วนไว้ด้านหลัง ต่างหูทำด้วยไข่มุก ทับทิม หรืออำพัน นิยมประดับดอกไม้
วัฒนธรรม
สมัยน่านเจ้า บ้างรำ บ้างฟ้อน ระบำบันลือ”และเป็นสมัยที่ได้รับวัฒนธรรมด้านการละครของอินเดียเข้า ศิลปะการละเล่นของไทย คือ รำ และ ระบำ ก็ได้วิวัฒนาการขึ้น ...
นายพลกฤต จันทร เลขที่ 1 ชั้น ม.4/15
นายกฤติน จงอร เลขที่ 2 ชั้น ม.4/15
นายวงศกร เยี่ยมคำนวณ เลขที่ 10 ชั้น ม.4/15
นายปิยพัทธ์ ทองเกื้อ เลขที่ี7
นายชยางกูร นิติธรรมตระกูล เลขที่12