Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะรกเกาะต่ำ (Placenta Previa), นางสาวริลินดา บุญทวี 63170072 - Coggle…
ภาวะรกเกาะต่ำ (Placenta Previa)
สาเหตุ
1.หญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป
2.การตั้งครรภ์ตั้งแต่ครรภ์ที่ 2 เป็นต้นไป
3.การตั้งครรภ์แฝดหรือมีจำนวนทารกในครรภ์มากกว่า 1 คน
4.มดลูกที่มีขนาดใหญ่หรือมีรูปร่างที่ผิดปกติ
5.การมีแผลที่ผนังมดลูก
6.ตำแหน่งที่ผิดปกติของทารกในครรภ์
7.การขูดมดลูกที่มีสาเหตุมาจากการแท้งหรือการคลอดก่อนกำหนด
8.การผ่าคลอดในการตั้งครรภ์ในอดีต
9.เนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก
10.หญิงตั้งครรภ์ที่มีพฤติกรรมสูบบุหรี่
ปัจจัย้สี่ยง
ทารกในครรภ์อยู่ในท่าผิดปกติ เช่น ท่าขวาง
คุณแม่ตั้งตรรภ์หรือตั้งครรภ์มาแล้วหลายครั้ง (คลอดหลายๆครั้ง) เพราะในแต่ละครั้งจะต้องมีการสร้างรกและรกที่สร้างขึ้นมักจะย้ายที่เกาะไปเรื่อยๆเนื่องจากตำแหน่งเดิมไม่เหมาะจะเกาะซ้ำเพราะจะมีแผลเป็นและมีเลือดมาเลี้ยงไม่เพียงพอรกจึงย้ายมาเกาะใกล้ปากมดลูกแทน(ความเสี่ยงจะเพิ่มมากขึ้นตามจำนวนลูก)คุณแม่ตั้งครรภ์แฝดหรือเคยตั้งครรภ์แฝดเนื่องจากรกจะมีขนาดใหญ่เพราะต้องทำหน้าที่นำเอาสารอาหารมาเลี้ยงลูกมากกว่าปกติและการขยายใหญ่ของรกจึงอาจทำให้เกิดภาวะรกเกาะต่ำได้
ผนังมดลูกมีแผลเป็นซึ่งเกิดจากรกเกาะต่ำในครั้งก่อน, การผ่าตัดคลอด การผ่าตัดมดลูกบางส่วน, เนื้องอกมดลูก,การทำแท้ง, การขูดมดลูก
เลือดไปเลี้ยงผนังมดลูกไม่ดี เช่น ผลจากการใช้ยารักษาโรคความดันโลหิตสูงหรือเบาหวาน และอาจเกิดจากการสูบบุหรี่มากกว่า 20 ปีขึ้นไป ยิ่งอายุมากก็ยิ่งมีความเสี่ยงมาก (พบว่าคุณแม่ตั้งครรภ์อายุ 30 ปีจะโอกาสเกิดรกเกาะต่ำมากกว่าคุณแม่ตั้งครรภ์อายุ 20 ปี )
คุณแม่ที่มีความผิดปกติของมดลูก เช่น มดลูกมีรูปร่างผิดปกติ
รกมีความผิดปกติ ได้แก่ รกชนิดแผ่นใหญ่กว่าปกติหรือบางกว่าปกติ
เกิดการติดเชื้อในครรภ์ เช่น ชิฟิลิส
ทารกมีภาวะชีด ร่างกายของคุณแม่จึงพยายามเพิ่มออกซิเจนไปยังลูก จึงทำให้รกเพิ่มขนาดขยายใหญ่ขึ้นและแผ่ขยายลงมาเกาะถึงด้านล่างของมดลูก เช่น ภาวะธาลัสชีเมีย
ภาวะรกเกาะต่ำหมายถึง
ภาวะที่รกเกาะต่ำกว่าปกติโดยเกาะลงมาถึงส่วนล่างของมดลูกปกติรกจะเกาะที่ส่วนบนของมดลูกอาจจะเป็นด้านหน้าหรือด้านหลังของโพรงมดลูกในภาวะที่รกเกาะต่ำรกบางส่วนหรือทั้งหมดเกาะที่ส่วนล่างของมดลูกและอาจคลุมลงมาเพียงบางส่วนหรือคลุมทั้งหมดบริเวณปากมดลูก มักพบเมื่ออายุครรภ์ 20 สัปดาห์ขึ้นไปส่วนมากพบในไตรมาสที่สามโดยเฉพาะเมื่ออายุครรภ์ประมาณ 8 เดือน
ภาวะมดลูกเกาะต่ำแบ่งระดับความรุนแรงได้ 4 ระยะ
1.รกกาะบริเวณด้านล่างแต่ไม่คลุมปากมดลูก(Low lying Placenta Previa)เป็นระดับที่ไม่อันตรายมากมีความรุนแรงน้อยที่สุด คืออยู่ใกล้ ๆปากมดลูกในระยะ 2-5 เชนตี้เมตรคุณแม่บางรายสามารถคลอดลูกได้เองตามธรรมชาติอาจจะมีเลือดออกไม่มากหรือไม่มีเลือดออกก่อนคลอดเลยก็ได้
2.รกอยู่ขอบปากมดลูกด้านใน (Marginal Placenta Previa)เป็นระดับที่รกเข้ามาวางอยู่บริเวณบนขอบปากมดลูก มักลงเอยด้วยการผ่าตัดทำคลอดแต่อาจจะเสียเลือดไม่มากเท่ากลุ่มถัดไป
3.รกคลุมปากมดลูกเพียงบางส่วน (Partial Placenta Previa)ในระดับรกจะคลุมปากมดูลูกเพียงบางส่วนและไม่ปิดสุนิท ถ้าปล่อยให้เจ็บครรภ์คลอดปากมดูลูกที่ขยายมากขึ้นอาจดึงให้รกขยับสูงขึ้นและอาจไม่ขวางการคลอด มักจะทำให้เลือดออกมากเเพทย์จึงต้องผ่าตัดทำคลอด
4.รกคลุมปากมดลูกด้านในทั้งหมด (Complete Placenta Previa) เป็นระตับที่รุนแรงที่สุดเพราะรกปิดปากมดลูกไว้ทั้งหมดแพทย์ต้องผ่าตัดทำคลอดอย่างเดียวมีโอกาสผ่าคลอดก่อนกำหนดสูงและเสียเลือดได้มากบางรายอาจถึงขั้นต้องตัดมดลูก
อาการและอาการแสดงของรกเกาะต่ำ
รกเกาะต่ำ จะตรวจพบได้ในช่วงอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ขึ้นไป โดยมีอาการแสดงคือ
1) มีเลือดสีแดงสดออกทางช่องคลอดโดยไม่มีอาการเจ็บครรภ์ ไม่ปวดท้อง (painless vaginal bleeding)
2) มดลูกไม่มีการหดรัดตัวหรือมีการหดรัดตัวเป็นปกติในระยะคลอด
ผลของรกเกาะต่ำที่มีต่อการตั้งคครภ์การคลอดและหลังคลอด
เกิดภาวะแท้งคุกคามถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเวลาการคลอดก่อนกำหนดทารกในครรภ์อยู่ในท่าผิดปกติและส่วนนำผิดปกติลิ่มเลือดอุดตันการตกเลือดหลังคลอดเศษรกค้างการติดเชื้อ
มดลูกกลับคืนสู่สภาพเดิมช้ากว่าปกติโรคโลหิตจางเนื่องจากมีการเสียเลือดมาก
การเตรียมตัวตัะ้งครรภ์ครั้งต่อไป
ในระหว่างการฝากครรภ์ครั้งต่อไปหากพบว่ามีภาวะรกเกาะต่ำอีกต้องงดการมีเพศสัมพันธ์ ไม่ทำงานหนัก พักผ่อนให้เพียงพอ
ควรเว้นระยะเวลาการมีบุตรหรือการตั้งครรภ์ใหม่อย่างน้อย 2-3 ปี เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงที่สุด
แนวทางการรักษาภาวะรกเกาะต่ำ
การรักษาแบบประคับประคอง (expectant treatment)
เป็นการรักษาเพื่อให้การตั้งครรภ์ดำเนินต่อไปจนครบกำหนดคลอดโดยให้มารดาอยู่โรงพยาบาลจนกระทั่งคลอดเพื่อให้การดูแลอย่างใกล้ชิดแต่ถ้าเลือดหยุดอาจให้กลับไปพักต่อที่บ้านได้สิ่งสำคัญที่สุดคือควรให้คำแนะนำที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปฏิบัติตนก่อนกลับบ้าน
การทำให้การตั้งครรภ์สิ้นสุด (active treatment)
2.1. การคลอดทางช่องคลอด ทำในรายที่รกเกาะปิดปากมดลูกด้านในเพียงบางส่วน
ข้อควรระวัง คือ สังเกตและบันทึกอัตราการเต้นของหัวใจของทารกในครรภ์อย่างใกล้ชิดถ้าปากมดลูกเปิดไม่หมดไม่พยายามให้ทารกคลอดทางช่องคลอดควรทำผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องเตรียมอุปกรณ์ในการช่วยพื้นคืนชีพทารกแรกเกิดพร้อมใช้และรายงานกุมารแพทย์รับทารกแรกเกิดหลังรกคลอดควรเฝ้าระวังภาวะตกเลือดหลังคลอด เนื่องจากมดลูกหดรัดตัวไม่ดี
2.2. การผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องเป็นวิธีที่ให้ความปลอดภัยแก่มารดาและทารกในครรภ์มากกว่าการคลอดทางช่องคลอดเนื่องจากเป็นการกระทำที่ทำให้ยุติการเสียเลือดได้อย่างรวดเร็ว
การพยายาล
แนะนำให้นั่ง นอนพัก ไม่ควรทำงานหนัก
สังเกตลักษณะและปริมาณเลือดที่ออกทางช่องคลอด
ห้ามตรวจภายในทางช่องคลอดหรือทวารหนัก
ตรวจติดตามสุขภาพทารกในครรภ์
ㆍ เตรียมผ่าตัดเอาทารกออกทางหน้าท้อง
ㆍแนะนำให้ไม่ควรตั้งครรภ์ซ้ำหลังผ่าตัดคลอดรกเกาะต่ำเนื่องจากอาจทำให้รกเกาะลึกถึงผนังกระเพาะปัสสาวะทำให้มีปัญหาผ่าตัดยาก เสียเลือดมาก
การดูแลตนเอง
1.เมื่อพบว่ามีเลือดออกทางซ่องคลอดในระหว่างการตั้งครรภ์ ต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุเพราะภาวะเลือดออกจากรกเกาะต่ำนี้จะมีตั้งแต่เลือดออกกะปริดกะปรอยจนถึงเลือดออกมากโดยทั่วไปแล้วเลือดที่ออกในครั้งแรกมักจะไม่มากเหมือนครั้งหลัง ๆ
หากไปพบแพทย์แล้วเลือดที่เคยออกค่อย ๆ หยุดไป
2.นอนพักผ่อนให้มาก ๆ วันละ 8-10 ชั่วโมง ในท่านอนตะแคงซ้าย งดทำงานหนัก
3.ห้ามมีเพศสัมพันธ์ รวมถึงการสวนล้างช่องคลอด
4.รักษาความสะอาดของร่างกาย
โดยเฉพาะอวัยวะสิบพันธุ์ภายนอก
5.หลีกเลี่ยงการเบ่งถ่ายอุจจาระทุกครั้งคุณแม่จึงต้องรับประทานอาหารที่ย่อยได้ง่ายและมีเส้นใยมาก ๆ
6.รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กมาก ๆ เช่น ไข่แดง ตับ และยาบำรุงเลือดซึ่งมีธาตุเหล็กรวมถึงอาหารที่มีแคลเซียม เช่น นม ส่วนเครื่องดื่มที่มีกาเฟอินทุกชนิดควรงด
7.งดการสูบบุหรี่โดยเด็ดขาดเพราะบุหรี่เป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่เป็นตัวกระตุ้นให้มดลูกหดรัดตัว
8.ควรมาตรวจตามนัดทุกครั้งซึ่งการนัดจะถี่ขึ้นจากการตั้งครรภ์ปกติทั่วไปเพราะแพทย์อาจต้องทำ NST เพื่อประเมินสุขภาพของทารกทุก ๆ สัปดาห์หากคุณแม่พบว่ามีอาการผิดปกติไปจากเดิมหรือมีเลือดออกให้ใส่ผ้าอนามัยแล้วรีบไปพบแพทย์ก่อนนัดโดยทันที
ภาวะแทรกซ้อนของรกเกาะต่ำ
เสี่ยงต่อการตกเลือดในระยะตั้งครรภ์ระยะการคลอด และระยะหลังคลอด(เนื่องจากมดลูกหดรัดตัวไม่ดี) อาจเกิดภาวะช็อกหรือชีดจากการตกเลือดหรือเสียเลือดมาก อาจต้องคลอดก่อนกำหนด น้ำคร่ำแตกก่อนกำหนดอาจได้รับการผ่าตัดทำคลอด มีโอกาสติดเชื้อแทรกซ้อนหลังคลอดเนื่องจากมีเส้นเลือดแตกใกล้ปากมดลูกจึงทำให้ติดเชื้อได้ง่าย หากรกเกาะลึกผิดปกติอาจต้องตัดมดลูกหลังผ่าตัดคลอดทารกแล้ว(Cesarean hysterec tomy)
ทารกในครรภ์มีน้ำหนักน้อยกว่าอายุครรภ์และเจริญเติบโตช้าในครรภ์ (พบได้ประม่าณ 20%),อาจคลอดก่อนกำหนด(ทำให้ทารกมีน้ำหนักตัวน้อย หรือเสียเลือดทำให้มีภาวะโลหิตจาง), ทารกอาจพิการแต่กำเนิด(พบได้ประมาณ 7%)หรือทารกอาจเสียชีวิตในกรณีที่มาร์ดาเสียเลือดมากและแพทย์ช่วยเหลือไม่ทัน(พบอัตราการตายแต่กำเนิดประมาณ 20%โดยส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการคลอดก่อนกำหนดส่วนอีกข้อมูลระบุว่าการคลอดก่อนกำหนดเป็นสาเหตุทำให้ทารกเสียชีวิตได้สูงถึง 60%
พยาธิสภาพ
ในการตั้งครรภ์ปกติตัวอ่อนที่อยู่ในระยะ blastocyst จะฝังตัวในเยื่อบุโพรงมดลูกในตำแหน่งปกติแต่ในภาวะรกเกาะต่ำ blastocystจะเลื่อนลงมาฝังตัวในตำแหน่งผนังมดลูกส่วนล่างจากการที่มีภาวะผิดปกติบางอย่างเกิดขึ้นในมดลูก เช่น การไหลเวียนเลือดในบริเวณเยื่อบุโพรงมดลูกผิดปกติหรือจากการที่เยื่อบุโพรงมดลูกหรือกล้ามเนื้อมดลูกเคยได้รับการทำหัตถการบางอย่างมาก่อนในอดีต เช่น จากการขูดมดลูกหรือจากการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกมีร่องรอยแผลเป็นส่งผลให้การฝังตัวของรกผิดปกติไปจากตำแหน่งปกติต่อมาเมื่อรกมีขนาดใหญ่ขึ้นจากการที่อายุครรภ์เพิ่มมากขึ้นจึงขัดขวางทางออกของทารกบริเวณรู้เปิดด้านในของปากมดลูก ส่งผลให้เกิดภาวะต่าง ๆ ดังนี้
1.การไหลเวียนของเลือดที่ไปเลี้ยงมดลูกส่วนล่างจะมีน้อยกว่าบริเวณยอดมดลูกดังนั้น รกจึงต้องเกาะบริเวณที่กว้างขึ้น
ในระยะหลังของการตั้งครรภ์มดลูกจะมีการหดรัดตัวบ่อยขึ้นขณะที่มดลูกมีการหดรัดตัวจะเกิดภาวะเลือดออกทางช่องคลอดโดยไม่มีอาการเจ็บปวดเมื่อมีการหดรัดตัวจะมีเลือดออกและมีการตกเลือดซ้ำ ๆและปริมาณเลือดที่ออกจะเพิ่มมากขึ้น
ภาวะรกเกาะต่ำทำให้เกิดการติดเชื้อจากช่องคลอดได้ง่ายเนื่องจากการหดรัดตัวของมดลูกรกจะเกิดการลอกตัวทำให้มีเลือดออกจากเส้นเลือดที่ฉีกขาดซึ่งเป็นปัจจัยส่งเสริมให้เกิดการติดเชื้อทางช่องคลอดเข้าสู่มดลูกได้ง่าย
4.ภาวะรกเกาะต่ำจะส่งเสริมให้ทารกในครรภ์อยู่ในท่าที่ผิดปกติเนื่องจากรกเกาะขวางอยู่บริเวณส่วนล่างของมดลูกทารกไม่สาม
ความผิดปกติของรกและสายสะดือ เช่น
รกมีขนาดใหญ่และบาง
นางสาวริลินดา บุญทวี 63170072