Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กระบวนการพัฒนานวัตกรรม (ต่อ), นายสมยศ ไสยรส รหัส6314991028 - Coggle Diagram
กระบวนการพัฒนานวัตกรรม (ต่อ)
การพัฒนาโครงร่างนวัตกรรม โครงการวิจัยที่ เขียนไว้ดีละเอียดครบถ้วนจะเป็นแนวทางในการนําไปสู่ความสําเร็จในการทําวิจัย อย่างไรก็ตามการดําเนินการ โครงการนวัตกรรมนั้นมีรูปแบบการดําเนินการคล้ายคลึงและมีความเกี่ยวเนื่องกันการดําเนินการโครงการวิจัย ในการเรียนการสอนจึงได้นํารูปแบบในการเขียนและการพัฒนาโครงการวิจัยมาปรับใช้ในการเขียนและการพัฒนา โครงร่างนวัตกรรมทั้งนี้การพัฒนาโครงร่างนวัตกรรมมีการกล่าวถึงหัวข้อต่างๆดังนี้
ความเป็นมาความสาคัญของนวัตกรรม
-ระบุชื่อเรื่อง หรือปัญหาที่ต้องการจะศึกษาด้วยข้อความที่มีความหมายชัดเจน และเฉพาะเจาะจง
-การกกหนดค่านิยามตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย การให้ความหมายของคาที่ใช้ควรเป็น ข้อความที่อยู่ในลักษณะที่สังเกตและวัดได้ มีความหมายชัดเจนและเข้าใจง่าย
-ขอบเขตของการวิจัยไว้ในโครงการวิจัยด้วยในหัวข้อขอบเขตวิจัยควรกล่าวถึง ลักษณะของประชากร ช่วงเวลา และสถานที่ที่ทาการศึกษา รวมทั้งวิธีการที่จะศึกษา หรือเก็บข้อมูลจากตัวอย่าง และควรมีข้อตกลงเบื้องต้นในการวิจัยด้วย
ขั้นตอนของการพัฒนานวัตกรรม
2.1 การกาหนดวัตถุประสงค์หรือสมมุติฐานการวิจัย
2.2 วิธีการดาเนินงานวิจัย
2.3 แผนการทางานวิจัย
2.4 การกาหนดงบประมาณ
2.5 บุคลากร
แนวทางการทดสอบต้นแบบ (prototype) คําว่า Prototype คือ การแปลงไอเดียให้เป็นรูปเป็นร่างอย่างง่ายสุด ถูกสุด เร็วสุด ให้เป็นต้นแบบไป
ทดสอบกับกลุ่มเป้าหมาย prototype เป็นแบบจําลองเพื่อเก็บข้อเสนอแนะจากกลุ่มเป้าหมายก่อนการสร้างสินค้าจริง
การสร้างต้นแบบเพื่อทดสอบมีสิ่งที่ควรพิจารณา ดังนี้
สร้างต้นแบบด้วยความรวดเร็ว ไม่ควรใช้เวลามาก ต้นทุนต่ําใช้วัสดุอะไรก็ได้ ไม่จําเป็นต้อง สวยงาม ไม่ควรรู้สึกผูกผัน หรือชอบต้นแบบใดต้นแบบหนึ่งเป็นพิเศษ
สร้างโดยคิดถึงกลุ่มเป้าหมาย ว่าต้องการทดสอบอะไร ต้องการสังเกตพฤติกรรม อะไร
มีการคิดถึงขนาด รูปร่างและการใช้งานไปพร้อม ๆ กัน เพื่อจะได้นําไปสอบถามความเห็นจาก กลุ่มเป้าหมายในคราวเดียว
ต้นแบบสามารถสื่อสารสิ่งที่คิดออกมาได้อย่างชัดเจน
ควรกําหนดเกณฑ์และตัวแปรที่ชัดเจนที่ต้องการทดสอบจากต้นแบบในการสร้างต้นแบบ
สิ่งที่ควรแนะนําให้กับผู้วิจัยเมื่อปฏิบัติกิจกรรมในขั้นตอนระหว่างการทดสอบ คือ
การทดสอบต้นแบบหรือวิธีแก้ปัญหาควรนําไปทดสอบกับกลุ่มเป้าหมาย หรือผู้ที่เกิดปัญหาจริง ในบริบทหรือสภาพแวดล้อมจริง หากไม่สามารถทดสอบในสถานการณ์ หรือสภาพแวดล้อมจริงได้ ควรจําลองให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด
การนําต้นแบบหรือวิธีแก้ปัญหาไปทดสอบกับกลุ่มเป้าหมายอาจแสดงหรือสาธิตแนวทางการ แก้ปัญหาที่ได้ ออกแบบมา เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายให้ความเห็นว่าสิ่งที่ได้ออกแบบนั้นเป็นอย่างไร
ระหว่างการทดสอบพยายามให้กลุ่มเป้าหมายพูดหรืออธิบายความคิดหรือความรู้สึกที่ได้ ออกมา เพื่อให้เข้าใจเหตุผลหรือการตัดสินใจกระทําของกลุ่มเป้าหมาย
ในการทดสอบอาจมีต้นแบบ หรือวิธีการแก้ปัญหามากกว่าหนึ่งเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้ลอง เปรียบเทียบและเลือกในสิ่งที่กลุ่มเป้าหมายอยากใช้ อยากซื้อ โดยอาจสอบถามถึงเหตุผลที่เลือกใช้ หรือไม่เลือกใช้ อาจมีการสอบถามถึงราคาเพื่อประมาณการณ์ราคาที่กลุ่มเป้าหมายสามารถยอมรับได้
หลังการทดสอบ ควรให้ผู้วิจัยนําผลการทดสอบมาพิจารณาและลองตั้งคําถามเพื่อหาแนวทาง ปรับปรุงให้ดีขึ้นก่อนการปฏิบัติกิจกรรมในขั้นทดสอบควรมีการเตรียมความพร้อมของผู้วิจัยล่วงหน้า ดังนี้
ฝึกผู้วิจัยให้รู้จักแนะนําตนเองกับกลุ่มกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้ได้รับความร่วมมือจาก กลุ่มเป้าหมายและช่วยให้การรวบรวมข้อมูลเป็นไปอย่างราบรื่น
ฝึกให้ผู้วิจัยเป็นผู้ฟังที่ดีไม่พูดแทรกในระหว่างการฟังคําแนะนํา
ฝึกให้ผู้วิจัยไม่รีบด่วนสรุปจากข้อมูลที่ได้จากการสังเกต หรือรับฟัง และระวังการคิดเข้าข้าง ตนเอง (bias)
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากนวัตกรรม (innovative benefits
ทําให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ทําให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างรวดเร็ว
ทําให้เพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขัน
ทําให้องค์กรมีการพัฒนาการเกิดกระบวนการเรียนรู้และเพิ่มศักยภาพของบุคลากรในองคก์ร
การเป็นผู้นําในด้านนวัตกรรมขององค์กร
แนวทางการสร้างนวัตกรรมจากต้นแบบสู่ธุรกิจ เมื่อกล่าวถึงคําว่า “นวัตกรรม” คนส่วนใหญ่มักจะ นึกถึงนวัตกรรมที่เป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือเทคโนโลยี่ล้ำยุคที่เกิดขึ้นมาจากฝ่ายวิจัยและพัฒนาแบบเดิมๆ แต่นวัตกรรมบางอย่างที่ประสบความสําเร็จสูงสุดในสมัยนี้กลับเป็น “รูปแบบของนวัตกรรมของธุรกิจ” ซึ่งเป็น นวัตกรรมที่สร้างความเปลี่ยนแปลงได้อย่างสิ้นเชิง เหตุผลที่เป็นเช่นนี้ เพราะนวัตกรรมดังกล่าวสามารถตอบสนอง ความต้องการของกลุ่มลูกค้าที่ยังไม่ได้รับการตอบสนองหรือยังไม่พึงพอใจ, ให้คุณประโยชน์ต่างจากเดิม, สร้างหรือ ดึงเอามูลค่าเพิ่มออกมาด้วยวิธีที่แปลกใหม่ ยกตัวอย่างให้เห็นได้ชัดในปัจจุบัน คือ ในช่วงที่มีโรคระบาด มีการขาย สินค้าในรูปแบบใหม่ที่สามารถสั่งสินค้าอุปโภคแล้วรอรบัที่บ้านเช่นlineman,Panda,Lazadaเป็นต้น
ลักษณะของโครงการวิจัยที่ดี
เขียนให้อยู่ในลักษณะที่สามารถปฏิบัติได้ทั้งในแง่ระยะเวลาที่จะทําการวิจัยให้แล้วเสร็จ ความ
เป็นไปได้ของเครื่องมือ/นวัตกรรม การร่วมือของบุคลากรและความสะดวกในการเก็บรวบรวมข้อมูล
เขียนในลักษณะบรรยายไม่ใช่พรรณนาความ ให้มีความกะทัดรัดชัดเจน จัดลําดับเนื้อเรื่องไม่ให้
วกวนเพื่อให้เกิดความเข้าใจง่ายและชวนติดตาม
มีความสมบูรณ์ โครงการวิจัยเป็นการถ่ายทอดความคิดหรือแผนการของผู้วิจัยออกมาเป็น
หลักฐาน จึงต้องเขียนให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วน ได้แก่ ปัญหาวิจัย ความเป็นมาและความสําคัญของปัญหา วัตถุประสงค์และสมมุติฐานในการวิจัย วิธีการดําเนินการวิจัย การวิเคราะห์หรือการนําเสนอข้อมูล ตลอดจน กําลังคน งบประมาณและแผนการทํางานวิจัย
การใช้ภาษาในโครงการวิจัย จะต้องเขียนให้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์
พยายามให้เห็นถึงปัญหาที่ต้องทําการวิจัย และสอดแทรกทฤษฏีหรือวรรณกรรม ได้ทบทวนมา อย่างสอดคล้องและเป็นเหตุเป็นผลกันโดยเน้นประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการทําวิจัย
นายสมยศ ไสยรส รหัส6314991028