Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ (cystic calculi), IMG_4602, IMG_4601,…
นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
(cystic calculi)
สาเหตุ
กรรมพันธุ์ ผู้ป่วยที่มีพ่อแม่เป็นโรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะก็มีโอกาสที่จะเป็นโรคนิ่วเช่นเดียวกันได้
อายุและเพศ นิ่วในไต พบได้ในชายมากกว่าหญิง ถึง 2 ต่อ 1 พบในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก
ความผิดปกติในการทำงานของต่อมพาราทัยรอยด์ ซึ่งหลั่ง hormone ที่ควบคุมสาร calcium ออกมามากกว่าปกติ
การอักเสบการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
มีการตีบแคบของระบบทางเดินปัสสาวะ ทำให้น้ำปัสสาวะคั่งค้าง การตีบแคบนี้อาจมีมาแต่กำเนิด หรือเกิดขึ้นภายหลัง
ความเข้มข้นของน้ำปัสสาวะ เกิดจากมีสารต่างๆ ถูกขับออกมาในน้ำปัสสาวะมากกว่าปกติ หรือเกิดจากการที่ผู้ป่วยดื่มน้ำน้อยกว่าปกติ หรือสูญเสียน้ำจากร่างกายทางด้านอื่นมาก เมื่อปัสสาวะเข้มข้นสูง โอกาสที่สารละลายในปัสสาวะจะตกผลึก ก็มีมากขึ้น
ยาบางอย่างทำให้เกิดนิ่วได้ ยาลดกรดที่กินอยู่เป็นเวลานานๆทำให้ปัสสาวะมีฤทธิ์เป็นด่าง จะเกิดนิ่วพวก phosphate ได้ง่าย
อาหารที่รับประทาน เช่น ชอบทานอาหารจำพวกเครื่องในสัตว์ ยอดผักสาหร่าย จะทำให้เกิดกรดยูริคได้ และการกินอาหารจำพวกผักที่มีสารออกซาเลตสูง เช่น ผักโขม หน่อไม้ ชะพลู เป็นต้น
กลไกการเกิดโรค
จากมีการตกตะกอนของสารที่ประกอบขึ้นเป็นนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ เมื่อเกิดเรื้อรัง สารเหล่านี้จึงรวมตัวกันเกิดเป็นก้อนซึ่งคือนิ่วนั่นเอง โดยสาเหตุที่ทำให้สารเหล่านี้ตกตะกอนได้ง่ายมักเกิดจากหลายสาเหตุร่วมกัน แต่อาจเกิดจากสาเหตุเดียวได้ สาเหตุต่างๆได้แก่
• จากการกักค้างของปัสสาวะเรื้อรังในกระเพาะปัสสาวะ
• จากมีปริมาณสารตกตะก่อนต่างๆสูงในปัสสาวะ
• จากกระเพาะปัสสาวะมีการระคายเคืองเรื้อรัง
• จากมีนิ่วหลุดลงมาจากไตแล้วมาสะสมโตขึ้นในกระเพาะปัสสาวะ
อาการและอาการแสดง
อาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นจะมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับขนาดของก้อนนิ่วว่าโตขนาดไหนระยะเวลานานเท่าใด
นิ่วก้อนเล็กๆ กลิ้งไปมาได้สะดวกในกระเพาะปัสสาวะ อาการที่ชัดเจนคือ ขณะถ่ายปัสสาวะ ปัสสาวะพุ่งเป็นลำเสมอกันดี สายน้ำปัสสาวะจะสดุดหยุดทันทีทันใดและมีอาการปวดบริเวณหัวเหน่าอย่างรุนแรง
นิ่วค่อนข้างโต และกดทับอยู่ที่ส่วนคอคอดจองกระเพาะปัสสาวะจะมีอาการถ่ายปัสสาวะขัด สายปัสสาวะพุ่งไม่แรงบางคนอาจมีท่าเฉพาะขณะถ่าย
มีอาการถ่ายปัสสาวะบ่อย ถ้าก้อนนิ่วโตมากขึ้นและถ้ามีการติดเชื้อก็ยิ่งมีการขับถ่ายปัสสาวะบ่อยขึ้นอีก
บางรายมีเม็ดนิ่วเล็กๆ หรือเม็ดทรายออกมากับน้ำปัสสาวะด้วย
การวินิจฉัย
การซักประวัติ
1.1 ซักถามเกี่ยวกับประวัติการเป็นนิ่ว โรคประจำตัวที่เป็นสาเหตุชักนำให้เกิดนิ่ว เช่น โรคเกาท์ หรือต่อมพาราไทรอยด์โต (hyperparathyroidism) เป็นต้น
1.2 ประวัติสมาชิกในครอบครัวที่เป็นนิ่ว
1.3 อาการปวด ตำแหน่งที่ปวด ลักษณะการปวด เช่นปวดตื้อ ปวดเสียว ปวดดิ้น (colic) ตำแหน่งที่ความเจ็บปวดร้าวไปถึง เวลาที่ปวด ปวดเวลาถ่ายปัสสาวะหรือหลังถ่ายปัสสาวะ
1.4 อาการแสดงที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบติดเชื้อ เช่น มีไข้สูง หนาวสั่น มักพบร่วมกับอาการปวดสีข้าง อาการคลื่นไส้ อาเจียน
1.5 ปัสสาวะ ซักถามเกี่ยวกับจำนวน สี กลิ่น ความยากง่ายในการถ่ายปัสสาวะพุ่ง หรือไม่พุ่ง ถ่ายไม่สุด ถ่ายบ่อย มีสิ่งแปลกปลอมในปัสสาวะหรือไม่ เช่น เม็ดกรวด เลือด หนอง
1.6 อาหารและน้ำที่ดื่มเป็นประจำ อาหารบางอย่างทำให้เกิดนิ่วได้ น้ำที่ดื่มขุ่นหรือเป็นน้ำกระด้าง น้ำบริเวณภูเขา เป็นสาเหตุการเกิดนิ่วได้
1.7 แหล่งที่อยู่อาศัย ผู้ที่อยู่ในเขตหน้าแล้ง อากาศร้อน เช่น ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะเป็นนิ่วได้มาก
1.8 อาชีพ ลักษณะงานที่ทำ มีการออกกำลังกายเพียงพอหรือไม่
การตรวจร่างกาย
2.1 การสังเกต การแสดงความเจ็บปวดทางสีหน้า อาการกระสับกระส่าย พักหลับไม่ได้ ดูการเบ่งถ่ายปัสสาวะ ระยะการถ่ายปัสสาวะ ลักษณะสี เห็นสิ่งแปลกปลอมจากน้ำปัสสาวะ
2.2 คลำ โดยใช้สองมือ ถ้ามีการอุดตันอยู่นานจนมีการพองโต คลำได้ใต้ชายโครงด้านหน้า กดเจ็บบริเวณบั้นเอว ถ้ามีปัสสาวะคั่งในกระเพาะปัสสาวะมาก จะคลำได้กระเพาะปัสสาวะ โป่งตึงเหนือหัวเหน่า
2.3 เคาะ เหนือหัวเหน่ามีเสียงทึบของกระเพาะปัสสาวะที่มีน้ำเต็ม เคาะเจ็บบริเวณเหนือเอวใต้ชายโครง (costovertebral angle) เมื่อเกิดการอุดตันและอักเสบ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
3.1 ตรวจเลือด พบว่า เม็ดเลือดขาว บียูเอ็น ครีเอตินิน แคลเซียม กรดยูริค อัลคาไลน์ฟอสเฟต (alkaline phosphate) สูงกว่าปกติ
3.2 ตรวจปัสสาวะ พบเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว แบคทีเรียสูงกว่าปกติ
การตรวจทางรังสี
4.2 การฉีดสารทึบแสงเข้าทางหลอดเลือดดำ (intravenous pyelography, IVP) เป็นการตรวจดูหน้าที่ของไต บอกตำแหน่งที่มีการอุดกั้น และสภาพการเปลี่ยนแปลงทางด้านรูปร่างของทางเดินปัสสาวะ
4.1 การถ่ายเอ็กซ์เรย์ระบบทางเดินปัสสาวะ (plain K.U.B.)
4.3 การส่องกล้องดูกระเพาะปัสสาวะ (retrograde pyelography, RP) เป็นการตรวจดูตำแหน่งของการอุดกั้น หรือดูนิ่วชนิดโปร่งแสง
4.4 การเอ็กซเรย์ไต (Reno gram) เป็นการดูหน้าที่และลักษณะของการอุดกั้นของไตแต่ละข้าง
การตรวจด้วยเครืองมือ
โดยการส่องกล้องผ่านทางท่อปัสสาวะเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ (cystoscope) เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงและความผิดปกติในกระเพาะปัสสาวะ
ภาวะแทรกซ้อน
ภาวะแทรกซ้อนของนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ อาจเกิดจากการที่ก้อนนิ่วไม่ได้ถูกขับออก ถึงแม้จะไม่ก่อให้เกิดอาการใดๆ ก็อาจเป็นสาเหตุของภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น
• กระเพาะปัสสาวะทำหน้าที่ผิดปกติเรื้อรัง ซึ่งเกิดจากการเป็นก้อนนิ่วในกระเพาะปัสสาวะและไม่ได้รับการรักษา จนเกิดปัญหาตามมา เช่น มีอาการปวดหรือปัสสาวะบ่อยครั้งผิดปกติ นอกจากนั้น ก้อนนิ่วอาจค้างอยู่บริเวณทางเปิดที่ปัสสาวะจะผ่านเข้าสู่ท่อปัสสาวะและปิดกั้นการผ่านของปัสสาวะ
• ทางเดินปัสสาวะติดเชื้อ เนื่องจากการเกิดนิ่วในกระเพาะปัสสาวะหรือจากการผ่าตัด
การรักษา
ทั่วไปแพทย์จะแนะนำให้นำออก เบื้องต้นอาจใช้วิธีดื่มน้ำมากๆ เพื่อให้นิ่วที่มีขนาดเล็กออกมาตามธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม นิ่วในกระเพาะปัสสาวะมักเกิดจากกระเพาะปัสสาวะไม่สามารถปัสสาวะออกไปจนหมดได้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จึงจำเป็นต้องใช้วิธีการทางการแพทย์เพื่อช่วยในการนำนิ่วออกจากกระเพาะปัสสาวะ
วิธีที่มักใช้ในการนำนิ่วออกจากกระเพาะปัสสาวะเรียกว่าการขบนิ่ว (Cystolitholapaxy)เป็นการนำท่อขนาดเล็กที่มีกล้องตรงส่วนปลาย สอดเข้าไปทางท่อปัสสาวะ เพื่อส่องดูนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ จากนั้นแพทย์จะใช้เลเซอร์ อัลตราซาวด์ หรือเครื่องมือบางอย่างเข้าไปสลายนิ่วให้แตกเล็กลงและล้างออกจากกระเพาะปัสสาวะ
ปัญหาและการพยาบาล
• สังเกตความผิดปกติหรืออาการที่เกิดขึ้น เช่น ต่อมลูกหมากโต การมีปัสสาวะคั่งค้างในกระเพาะปัสสาวะจากโรคทางระบบประสาท หรือภาวะอื่นๆ ที่เกี่ยวกับระบบปัสสาวะ ซึ่งหากได้รับการวินิจฉัยและการรักษาอย่างทันท่วงที ก็อาจช่วยลดความเสี่ยงในการการนิ่วในกระเพาะปัสสาวะได้
• ดื่มน้ำให้มาก เพราะน้ำจะช่วยเจือจางแร่ธาตุหรือสารที่เข้มข้นในกระเพาะปัสสาวะได้ โดยปริมาณน้ำที่ดื่มในแต่ละวันนั้นขึ้นอยู่กับอายุ ขนาดตัว สุขภาพ หรือกิจกรรมในแต่ละวัน อาจปรึกษาแพทย์ถึงปริมาณการดื่มน้ำที่เหมาะสมสำหรับตนเองได้
นางสาวอาทิตยาพร ศิรินาม 64110029-2