Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
นางสาวธารนันท์ สุขสมโภชน์ สาขานวัตกรรมการบริหารการศึกษา รหัสนักศึกษา…
นางสาวธารนันท์ สุขสมโภชน์ สาขานวัตกรรมการบริหารการศึกษา รหัสนักศึกษา 65U5462020ุ
สมรรถนะการประยุกต์ใช้ความรู้ในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการศึกษากับชุมชน**
สมรรถนะ (Competency)
ความหมาย
คุณลักษณะพื้นฐานของแต่ละบุคคล ซึ่งสามารถทำนายไปถึงผลของการปฏิบัติงานที่เหนือชั้นกว่าคนอื่นได้อย่างมีความหมาย (ณรงค์วิทย์ แสนทอง,2547)
กลุ่มของความรู้ ทักษะและคุณลักษณะ (Attributes)ที่เกี่ยวข้องกันซึ่งมีผลกระทบต่องานหลักของตำแหน่งงานหนึ่งๆ (สุกัญญา รัศมีธรรมโชติ,2547)
บุคลิกลักษณะที่ซ่อนอยู่ภายในปัจเจกบุคคล ซึ่งสามารถ ผลักดันให้ปัจเจกบุคคลนั้น สร้างผลการปฏิบัติงานที่ดี หรือตามเกณฑ์ที่กำหนดในงานที่ตนรับผิดชอบ (แมคเคิลแลนด์,1999)
องค์ประกอบของสมรรถนะ
ความรู้สาขาต่างๆ ที่ได้เรียนมา (Knowledge)
ความชำนาญพิเศษด้านต่างๆ (Skill)
บทบาทที่แสดงออกต่อสังคม (Social role)
ภาพลักษณ์ของบุคคลที่มีต่อตนเอง (Self image)
คุณลักษณะส่วนบุคคล (Trait)
แรงจูงใจ (Motive)
ประเภทของสมรรถนะ
ณรงค์วิทย์ แสนทอง (2547)
สมรรถนะหลัก (Core Competency)
บุคลิกของคนที่สะท้อนให้เห็นถึงความรู้ ทักษะ ทัศนคติ ความเชื่อ และอุปนิสัยของคนในองค์การโดยรวมที่จะช่วยสนับสนุนให้องค์การบรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ได้
สมรรถนะตามสายงาน (Job Competency)
บุคลิกลักษณะของคนที่สะท้อนให้เห็นถึงความรู้ ทักษะ ทัศนะคติ ความเชื่อ และอุปนิสัยจะช่วยส่งเสริมให้บุคคลนั้นๆ สามารถสร้างผลงานในการปฏิบัติงานตำแหน่งนั้นๆ ได้สูงกว่ามาตรฐาน
สมรรถนะส่วนบุคคล (Personal Competency)
บุคลิกลักษณะของคนที่สะท้อนให้เห็นถึงความรู้ ทักษะ ทัศนะคติ ความเชื่อ และอุปนิสัยที่ทำให้บุคคลนั้นมีความสามารถในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้โดดเด่นกว่าคนทั่วไป
ปิยะชัย จันทรวงศ์ไพศาล (2549)
สมรรถนะหลัก (Core Competency) หมายถึง ส่วนที่เป็นความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่เป็นผลมาจากการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีที่ซับซ้อนและการปฏิบัติงานที่กลมกลืน
สมรรถนะในการบริหารจัดการ (Professional Competency) หมายถึงส่วนที่เป็นความสามารถในการบริหารจัดการ ซึ่งจะแปรผันตามกลยุทธ์ขององค์กร
สมรรถนะในตำแหน่งหน้าที่ (Functional Competency) หมายถึง ส่วนที่เป็นความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่งงานนั้นๆ เพื่อให้มั่นใจว่าบุคลากรมีความรู้ ทักษะและความสามารถเพียงพอ
สมรรถนะการประยุกต์ใช้ความรู้ในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการศึกษากับชุมชน
ความหมายการประยุกต์ใช้ความรู้
การปรับภูมิความรู้ องค์ความรู้ แนวคิด ทฤษฎี หลักการ หลักปฏิบัติ ตัวแบบ แม่แบบ รูปแบบขั้นตอน สิ่งประดิษฐ์ สิ่งของบางอย่างที่นำไปใช้ให้เหมาะสมกับ สถานที่ วันเวลา สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม ศีลธรรม วิถีชีวิตของผู้คนชุมชนท้องถิ่น
คุณลักษณะของผู้บริหาร
การเป็นผู้นำที่มีคุณธรรม จริยธรรม ( Interpersonal and Ethical Leadership)
การเป็นผู้นำด้านการจัดระบบ (Systematic Leadership)
การเป็นผู้นำด้านวิชาการ (Instructional Leadership)
การเป็นผู้นำด้านการบริหารจัดการ (Organizational Leadership)
การเป็นผู้นำด้านสังคมและชุมชน (Community and SocialityLeadership)
การเป็นผู้นำการพัฒนาตนเองในเชิงบริการ (Personal Effectiveness Leadership)
การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการศึกษากับชุมชน
ความหมาย
รุ่งทิพย์ เข็มทิศ (2559)
การวางแผนดำเนินการบริหารงาน ติดต่อประสานความร่วมมือกับชุมชน ผู้ปกครองนักเรียน บุคคลในชุมชน สร้างความเข้าใจระหว่างชุมชน ผู้บริหาร คณะครูอาจารย์ และสร้างความรู้สึกว่า โรงเรียนเป็นของชุมชนอย่างแท้จริง
วาสนา ชูแสง (2557)
กระบวนการดำเนินงานของโรงเรียน เพื่อสร้างความ เข้าใจอันดีระหว่างโรงเรียนกับชุมชน และเปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียน
รณกร ไข่นาค และคณะ (2562)
สถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นสถานศึกษาที่ มีความใกล้ชิดกับชุมชนมากที่สุดโดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานศึกษาที่อยู่ในชนบท ซึ่งการสร้าง ความสัมพันธ์อันดีระหว่างสถานศึกษากับชุมชนจึงเป็นสิ่งสำคัญประการหนึ่งที่จะช่วยให้ การดำเนินงานของสถานศึกษามีประสิทธิภาพ
ชูชาติ พ่วงสมจิตร์ (2560)
ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งเพราะช่วยให้เกิดความเข้าใจ อันดีต่อกัน ช่วยให้ทราบความเคลื่อนไหวหรือความ เปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับ ทั้งสองฝ่าย ช่วยลดและแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างกัน
ความสำคัญ
รุ่งทิพย์ เข็มทิศ (2559)
โรงเรียนเป็นหน่วยหนึ่งของชุมชน
เสริมสร้างโรงเรียนและชุมชนให้เหมาะสมกับสภาพแห่งความเปลี่ยนแปลงของสังคมหรือชุมชน
โรงเรียนจะต้องมีส่วนร่วมในการให้ความร่วมมือกัน พัฒนาชุมชน ที่เป็นประโยชน์
เปิดโอกาสให้ชุมชนและโรงเรียนได้มีส่วนร่วมรับรู้และแก้ไขปัญหาซึ่งกันและกัน
เพื่อแก้ปัญหาเกี่ยวกับกลุ่มคนที่เป็นปัญหาต่อการศึกษา
เพื่อปรับปรุงหลักสูตรและการเรียนการสอนตามความต้องการของชุมชน
เพื่อใช้ทรัพยากรของชุมชนให้เป็นประโยชน์
ทำให้โรงเรียนมีความรู้ความเข้าใจชุมชนอีกทั้งในด้านปัญหาของชุมชน
ชูชาติ พ่วงสมจิตร์ (2560)
1.ช่วยให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกัน
2.ช่วยแก้ปัญหาความขัดแย้ง
3.ช่วยให้เกิดการมีส่วนร่วม
บทบาทหน้าที่
อรรณพ คุณเศรษฐ (2556)
การให้บริการชุมชนด้านต่าง ๆ
การรับความช่วยเหลือสนับสนุนจากชุมชน
บทบาทร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
การจัดกิจกรรมที่เอื้อต่อการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
บทบาทในการประสานความร่วมมือกับครอบครัว ชุมชน สังคมเพื่อการจัดการศึกษา
บทบาทในการประกันคุณภาพการศึกษา
บทบาทในการระดมทรัพยากรและบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อการจัดการศึกษา
วิธีการสร้างความสัมพันธ์
ปัญญา วงศ์คุณทรัพย์ (2559)
โรงเรียนจะต้องใช้แผนเป็นเครื่องมือในการบริหารอย่างมีประสิทธิภาพ การบริหารมีลักษณะเป็นการใช้พลังงานร่วมกันของกลุ่มเพื่อปฏิบัติการให้งานบรรลุวัตถุประสงค์ตามแผนที่กำหนดไว้แผนจึงเป็นหนา้ที่ข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญขั้นหนึ่งในกระบวนการบริหาร
วราภรณ์ นงนุช (2555)
วิธีการสร้างความสัมพันธ์ของโรงเรียนกับ ชุมชนนั้น โรงเรียนต้องมีการดำเนินการอย่างมีขั้นตอน อาทิเช่น ที่จัดการประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึง และสม่ำเสมอ บริการชุมชน จัดองค์กรช่วยประสานงานของโรงเรียนกับชุมชนสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันมีความร่วมมือร่วมใจระหว่างโรงเรียนกับชุมชน รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นของชุมชนให้มาก
กลยุทธ์และเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาความสัมพันธ์
การวิเคราะห์ศักยภาพของโรงเรียน
การวิเคราะห์ต้นทุนชุมชน (Community Capital Analysis)
การวิเคราะห์บุคคลที่มีผลต่อความสำเร็จของกิจกรรมในชุมชนตามปัจจัยอำนาจที่มีในชุมชน (PowerActorAnalysis)
การจัดตั้งคณะทำงานและกำหนดบทบาทสมาชิกโดยใช้ตารางหน้าที่ราซี่ (RASI Chart)