Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 8 เศรษฐกิจโลกาภิวัตน์กับการจัดการทรัพยากรเพื่อการส่งเสริมและพัฒนา…
หน่วยที่ 8 เศรษฐกิจโลกาภิวัตน์กับการจัดการทรัพยากรเพื่อการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร
การเปิดเสรีการค้าและกรอบความตกลงระหว่างประเทศ กับการจัดการทรัพยากรเพื่อการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร
สถานการณ์รูปแบบและกรอบความตกลงระหว่างประเทศ
สถานการณ์การค้าระหว่างประเทศ
มีการจัดทำความตกลงชั่วคราวขึ้นมาใช้คือ ความตกลงทั่วไปว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสุลกากรและการค้าในปี ค.ศ.1947 หรือที่รู้จักกันว่า "GATT" (General Agreement on Tariffs and Trade) มีสมาชิกเริ่มแรก 23 ประเทศ
GAT หรือ องค์การการค้าโลกในปัจจุบัน มีหลักการสำคัญ 2 หลักการ
คือ
หลักปฏิบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับอนุเคราะห์ยิ่ง (Most Favoured Nation Treatment : MFN) หมายถึงการปฏิบัติต่อสินค้านำเข้าจากทุกประเทศสมาชิกอย่างเท่า
เทียมกัน
หลักการปฏิบัติเยี่ยงคนชาติ (National Treatment: NT) หมายถึงการปฏิบัติต่อสินค้านำเข้าอย่างเท่าเทียมกันกับสินค้าที่ผลิตภายในประเทศประเทศสมาชิกผู้นำเข้าต้องปฏิบัติต่อสินค้านำเข้าที่เหมือนกัน เสมอภาคกั
รูปแบบการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่นำไปสู่การค้าเสรี
เขตการค้าเสรี (Free-trade Area: FTA) หมายถึง การรวมกลุ่มเศรษฐกิจโดยมีเป้าหมายเพื่อลดภาษีศลกากรระหว่างกันภายในกลุ่มลงให้เหลือน้อยที่สุด หรือเป็น 0% และใช้อัตราภาษีปกติที่สูงกว่ากับประเทศนอกกลุ่ม
สหภาพศุลกากร (Customs Union) หมายถึง การรวมตัวกันทางเศรษฐกิจในระดับที่ลึก และกว้างกว่า FTA เพราะมีลักษณะที่เป็นตลาดร่วม (Single Market) ซึ่งไม่มีกำแพงภาษีระหว่างประเทศสมาชิกในสหภาพศุลกากร โดยเก็บภาษีศุลกากรอัตราเดียวกัน (Common Level) กับทุกประเทศนอกกลุ่มสหภาพศุลกากรจึงทำให้ประเทศในกลุ่มมีสภาพเป็นเสมือนประเทศเดียวกันหรือตลาดเดียวกันสหภาพศุลกากรที่สำคัญ คือ สหภาพยุโรป (European Union)
พันธมิตรทางเศรษฐกิจ (Closer Economic Partnership: CEP) หมายถึง ความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่มีการพัฒนารูปแบบไปจากที่เคยมีมา โดยมีกรอบความร่วมมือที่กว้างขวางกว่า FTA โดยแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ CEP ที่มีเขตการค้าเสรี และ CEP ที่ไม่มีการทำเขตการค้าเสรี
กรอบความตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศ
หลักการสำคัญในการพิจารณาประเทศที่จะจัดทำเขตการค้าเสรีระหว่างกัน คือ 1.สถานะของประเทศคู่ค้า 2.ระดับความเกื้อกูลกัน 3.ประโยชน์สุทธิที่แต่ละฝุายจะได้รับ และต้องสอดคล้องกับเงื่อนไขของ WTO
ผลกระทบจากการเปิดเสรีการค้าและการเข้าร่วมในกรอบข้อตกลงระหว่างประเทศของไทย
สถานะของการเจรจาเขตการค้าเสรี (FTA) ของไทย
กลุ่มที่มีการเจรจาแล้วเสร็จ และเจรจาเสร็จบางส่วน มีผลบังคับใช้แล้ว รวม 7 กรอบ คือ 1.จีน 2.ออสเตรเลีย 3.นิวซีแลนด์ 4.อินเดีย 5.ญี่ปุ่น 6.เกาหลีใต้ 7.เปรู
กลุ่มที่อยู่ระหว่างการเจรจา และการเจรจาในส่วนต่อเนื่อง มี 4 กรอบ คือ 1.ไทย - ชิลี 2.ไทย - BIMSTEC 3.ไทย - อินเดีย 4.ไทย - เปรู
กลุ่มที่อยู่ระหว่างจัดท ากรอบเจรจา มี 2 กรอบ คือ 1.ไทย - สหภาพยุโรป 2.ไทย – EFTA
กลุ่มที่ยกเลิกการเจรจา และการเจรจาไม่มีผลบังคับใช้ มี 3 กรอบ คือ 1.ไทย - สหรัฐอเมริกา 2.อาเซียน - สหภาพยุโรป 3.ไทย – บาร์เรน
ผลกระทบด้านการค้าสินค้าเกษตรหลังการเปิดเสรีการค้าของประเทศไทย
การติดตามสถานการณ์ในรายประเทศ
การติดตามการนำเข้าสินค้าบางรายการ
กฎหมายและข้อตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการพัฒนาภาคเกษตร และการดำเนินการตามพันธกรณีของประเทศไทย
กฎหมายและข้อตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการพัฒนาภาคเกษตร
กฎหมายและข้อตกลงเกี่ยวกับทรัพยากรพันธุกรรมพืช
อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ (International Convention for the Protection of New varieties of Plant: UPOV)
สนธิสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและการเกษตร (International Treaty on Plant Genetic Resources for Food and Agriculture: ITPGRFA)
อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (Convention on Biological Diversity: CBD)
กฎหมายและข้อตกลงเกี่ยวกับมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (Sanitary and Phytosanitay :SPS)
คณะกรรมาธิการโครงการมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ Codex Alimentarius (Codex)
อนุสัญญาอารักขาพืชระหว่างประเทศ (International Plant Protection Convention: IPPC)
องค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (The Office International des Epizooties : OIE)
การดำเนินการของประเทศไทยตามพันธกรณีของกฎหมาย และข้อตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการพัฒนาภาคเกษตร
กฎหมายและข้อตกลงเกี่ยวกับทรัพยากรพันธุกรรมพืช
1) สิ่งที่ได้รับความคุ้มครอง
2) การคุ้มครองพันธุ์พืชใหม
3) การคุ้มครองพันธุ์พืชพื้นเมืองและพันธุ์พืชปุา
กฎหมายและข้อตกลงเกี่ยวกับมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (Sanitary and Phytosanitay)
ด้านความปลอดภัยอาหารตามมาตรฐานของ Codex
ด้านสุขอนามัยพืช ตามอนุสัญญาอารักขาพืชระหว่างประเทศ (International Plant Protection Convention: IPPC)
) ด้านโรคระบาดสัตว์ ตามมาตรฐานขององค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (The Office International des Epizooties : OIE)
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและผลกระทบต่อภาคการเกษตรของไทย
ความเป็นมาของประชาคมอาเซียน (ASEAN Community: AC) และประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC)
วัตถุประสงค์สำคัญ 7 ประการ ของการจัดตั้งอาเชียน
1.ส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยีวิทยาศาสตร์ และการบริหาร
2.ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาค
3.เสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจพัฒนาการทางวัฒนธรรมในภูมิภาค
4.ส่งเสริมให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดี
5.ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในรูปของการฝึกอบรมและการวิจัย และ
ส่งเสริมการศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
6.เพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรและอุตสาหกรรม การ
ขยายการค้า ตลอดจนการปรับปรุงการขนส่งและการคมนาคม
7.เสริมสร้างความร่วมมืออาเซียนกับ
ประเทศภายนอกองค์การความร่วมมือแห่งภูมิภาคอื่น ๆ และองค์การระหว่างประเทศ
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC)
แผนงานบูรณาการการด าเนินงานด้านเศรษฐกิจเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ 4 ด้าน
1) การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว
2) การเป็นภูมิภาคที่มีความสามารถในการแข่งขัน
3) การเป็นภูมิภาคที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน
4) การเป็นภูมิภาคที่มีการบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก
พันธกรณีที่ประเทศไทยจะต้องด าเนินการจากการเข้าร่วมใน
2 ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
มีสาระสำคัญประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1) พันธกรณีที่ผูกพันให้ประเทศสมาชิกอาเซียนจะต้อง "เปิดตลาด" สินค้าระหว่างกันมากขึ้น 2) พันธกรณีการเปิดเสรีการค้าบริการมีเป้าหมายให้ประเทศสมาชิกอาเซียนลดอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาดด้วยการเปิดกว้างให้นักลงทุนอาเซียนสามารถข้ามาลงทุนและถือหุ้นได้ในประเทศสมาชิกอาเซียนในสัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 3) พันธกรณีการเปิดเสรีการลงทุนต้องการให้ประเทศสมาชิกอาเซียนได้รับการปฏิบัติเยี่ยงคนชาติ (NT)
ข้อตกลงด้านการค้าและการลงทุน ภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 1.1 ข้อตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน (ASEAN Trade in Goods Agreement: ATIGA) 1.2 ความตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเซียน (ASEAN Comprehensive Investment Agreement: ACIA)
พันธกรณีที่ต้องดำเนินการภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
2.1 การเคลื่อนย้ายสินค้าที่เสรี 2.2 การเคลื่อนย้ายการลงทุนที่เสรี
2.3 ความร่วมมือด้านอาหาร เกษตร และป่าไม้
ผลกระทบ การเตรียมความพร้อม และการปรับตัวของภาคเกษตรไทยจากการเข้าร่วมในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ผลกระทบจากการเข้าร่วมในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)
ผลกระทบเชิงบวก
การเป็น AEC จะทำให้อาเซียนกลายเป็นตลาดขนาดใหญ่
ภาคการผลิตและแปรรูปอาหารส าเร็จรูปจะได้ประโยชน์จากการมีแหล่งวัตถุดิบราคาถูกลง ลดต้นทุนต่อหน่วย และมีความคุ้มค่าต่อขนาด (Economy of Scale) เพราะไม่มีภาษีนำเข้า
ได้รับประโยชน์จากการพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารของอาเซียน
อาเซียนจะกลายเป็นตลาดขนาดใหญ่และมีฐานทรัพยากรมาก และไทยซึ่งมีศักยภาพและความพร้อมด้านปัจจัยพื้นฐานการผลิต อุตสาหกรรมมีความเข้มแข็ง และยังเป็นฐานการผลิตของสืนค้าอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารที่สำคัญของภูมิภาค จะช่วยดึงดูดนักลงทุนนอกภูมิภาคเข้ามาลงทุนและมีการย้ายฐานการผลิต เกิดการกระจายรายได้มากขึ้น
การเคลื่อนย้ายการลงทุน หรือย้ายฐานการผลิตจะช่วยสร้างงานให้กับแรงงานในอาเซียนมากขึ้น
ผลกระทบเชิงลบ
ต้องเผชิญกับภาวะคู่แข่งขันและมีการแข่งขันในตลาดมากขึ้น
มีการกำหนดมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษีมาใช้เป็นข้อจำกัดด้านการค้าเพิ่มมากขึ้น
นักลงทุนต่างชาติที่ได้สิทธิการเป็นนักลงทุนอาเซียนเข้ามาลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น