Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
จิตเภสัชบำบัด (Psychopharmacology therapy), A6480102 นางสาวนลินทิพย์…
จิตเภสัชบำบัด
(Psychopharmacology therapy)
ยารักษาโรคจิต
(Antipsychotic , Major tranquilizer, Neuroleptic drugs)
คุณสมบัติ
ทําให้ผู้ป่วยท่ีแยกตัวเอง (Isolation) ขาดความสนใจต่อส่ิงแวดล้อม
ทําให้อารมณ์เป็นสุข (euphoria) ในผู้ป่วย mania กลับเป็นปกติได้
ทําให้อาการประสาทหลอน (Hallucination) ความคิดที่ผิดปกติและอาการหลงผิด (Delusion)
ขนาดยาที่ให้ผลในการรักษาไม่ทําให้ผู้ป่วยหลับอาจมีง่วงนอนบ้างแต่ไม่มาก
ทําให้ผู้ป่วยท่ีเอะอะอาละวาด (Agitation) และก้าวรา้ ว (Aggressive) สงบลง
ไม่ทําให้เกิดการชินยา (tolerance) หรือเสพติด
ลดอาการวิตกกังวล (Anxiety)
และกระวนกระวาย (Agitation) ทําให้อารมณ์สงบ
ให้ขนาดสูงจะทําให้เกิด extrapyramidal symptoms
รักษาอาการทางจิตที่พบในโรคจิตเภท (Schizophrenia) โรคจิตที่มีอารมณ์แปรปรวน (Schizoaffective disorder)
ลด convulsive threshold อาจทําให้ผู้ป่วยชักได้
ชนิดยารักษาโรคจิต
ยาต้านโรคจิตกลุ่มเก่า(traditional or typical antipsychotic)
กลุ่มความแรงของยาปานกลาง (moderate potency) เช่น perphenazine, zuclopentixol
กลุ่มความแรงของยาต่ำ (low potency) เช่น chlorpromazine, thioridazine
กลุ่มความแรงของยาสูง (high potency) เช่น fluphenazine, haloperidol, trifluoperazine
ผลต่อสมอง
ทําให้ง่วงนอน (Haloperidol น้อยกว่า Chlorpromazine)
ทําให้เกิดอาการชักได้หากได้รับยาในปริมาณสูง โดยเฉพาะยา Chlorpromazine และมักพบอาการนี้ใน
ผู้ป่วยที่เป็นโรคลมชักมาก่อน
ผลต่อระบบประสาทออโทโนมิค
ทําให้คอแห้งตาพร่า อ่อนเพลีย วิงเวียน ปากแห้ง ปัสสาวะคั่ง ท้องผูก
ผลต่อ pituitary gland
ยามีผลต่อฮอร์โมน Prolactin ทําให้ไม่มีประจําเดือน หรือมีการไหลของน้ํานมในเพศหญิง
ส่วนในเพศชายส่งผลทําให้เกิดการสร้างต่อมน้ํานม
ยาต้านโรคจิตกลุ่มใหม่(atypical antipsychotic)
clozapine (clozaril), risperidone (risperdol), quetiapine, olanzapine, ziprasidone, aripiprazole
การพยาบาล
อาการ Tardive dyskinesia ควรให้อาหารที่มีแคลลอรี่สูง อาหารอ่อน ให้ผู้ป่วยพักผ่อนให้เพียงพอ และ แนะนําให้ผู้ป่วยพูดช้าๆ
อาการง่วง เดินเซ แนะนําผู้ป่วยว่าอาการง่วงนอนจะค่อยๆ หายไป ไม่ควรขับขี่ยานพาหนะในขณะที่ใช้ยานี้ และกระตุ้นให้ผู้ป่วยเข้าร่วมกลุ่มกิจกรรมในตอนกลางวัน
ยาต้านเศร้า/ ยารักษาอาการเศร้า (Antidepressant drugs)
ยากลุ่มไตรไซคลิก และเททราไซคลิก (Tricyclic and Tetracyclic Antidepressants: TCAs) หรือ nonselective inhibition of noreprinephrine and serotonin
ผลข้างเคียง
ยาอาจเหนี่ยวนําให้ผู้ที่เป็นและไม่เป็น Bipolar disorder เกิดอาการ mania
อาการง่วงซึมจากฤทธิ์ antihistamine และ alpha adrenergic blocking ของยา
น้ําหนักเพิ่ม โดยเฉพาะจาก amitriptyline
ยากลุ่ม Selective Serotonin Reuptake Inhibitions (SSRIs)
ผลข้างเคียง
ยาทําให้ระดับน้ําตาลในเลือดลดลง ต้องระวังในการใช้ยานี้กับผู้ป่วยโรคเบาหวาน
อาการผื่นขึ้น มีอันตรายมากเพราะปฏิกิริยาภูมิแพ้ที่อาจลามถึงปอด จึงควรเลิกใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีผื่นขึ้น
ผลทางเพศ ความต้องการทางเพศลดลง หลั่งช้า ไม่มี orgasm
ยากลุ่ม Monoamine Oxidase Inhibitor (MAOIs)
การพยาบาล
ยาต้านเศร้าใช้เวลานานกว่า 2-4 สัปดาห์ ดังนั้นในผู้ป่วยซึมเศร้ารุนแรง และมีความคิดฆ่าตัวตายควร รับประทานยาอย่างต่อเนื่อง ร่วมกับการระมัดระวัง และป้องกันการฆ่าตัวตาย
แนะนําผู้ป่วยให้เปลี่ยนท่าเวลาจะลุกยืน หรือนั่งด้วยความระมัดระวัง ติดตามการเปลี่ยนแปลงของความ
ดันโลหิต และระมัดระวังอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้น
ยาลดอาการข้างเคียงของยารักษาโรคจิต (Anticholinergic / antiparkinson drugs)
การออกฤทธิ์
ยับยั้งการหลั่ง acetylcholine ที่ receptor ในสมอง ซึ่งเมื่อ acetylcholine ลดลงส่งผล ให้dopamine ลดลง ถ้าท้ัง acetylcholine และ dopamine ลดลงจะส่งผลให้อาการ pakinson ลดลง
ผลข้างเคียง
ตาพร่ามัว ปากแห้ง วิงเวียนศีรษะ ง่วงซึม สับสน ชีพจรเต้นเร็ว ท้องผูก ปัสสาวะคั่ง ความดัน โลหิตเปลี่ยนแปลง
การพยาบาล
การวินิจฉัยการพยาบาล(diagnosis)ว่าผู้ป่วยมีปัญหาหรือไม่ที่จะได้รับยาขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ประเมินมา ได้ในขั้นตอนแรก
การประเมินสภาพ(assessment)ก่อนให้ยาต้องหาข้อมูลเกี่ยวกับตัวผู้ป่วยและยาที่ให้ผู้ป่วยต้องทราบ ข้อมูลเกี่ยวกับการแพ้ยา
การวางแผน(planning)หลังจากได้ข้อมูลและปัญหาหรือข้อบ่งชี้ในการให้ยาแล้วพยาบาลต้องทําการ วางแผนหาวิธีการว่าจะให้ยาอย่างไร ผู้ป่วยจึงจะได้ยาถูกต้อง ครบถ้วน ไม่เจ็บปวดหรือได้รับอันตราย
การปฏิบัติการให้ยา(implementation)นําแผนที่วางไว้ไปปฏิบัติโดยยึดหลักความถูกต้อง5ประการ ดังที่กล่าว มาแล้ว รวมไปถึงการบันทึกหลังการให้ยาด้วย
การประเมินผล(evaluation)ยาที่ให้นอกจากจะมีผลทางการรักษาแล้วยังอาจทําให้เกิดปฏิกิริยาที่เป็น อันตรายต่อผู้ป่วยได้ ดังนั้นหลังจากให้แล้วต้องติดตามทุกครั้ง เพื่อดูผลของยาต่อผู้ป่วยทั้งด้านการรักษา และ ผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ รวมถึงการแพ้ยาด้วย
ยาควบคุมอารมณ์ ยาปรับสมดุลอารมณ์ (Mood-stabilizer drugs)
Lithium
การรักษาพิษของยา
ตรวจ vital signs ให้น้ํา และอิเลคโตรไลท์ให้อยู่ในภาวะสมดุล
ให้ aminophyline หรือ mannitol และ sodium lactate เพื่อช่วยเร่งการขับถ่ายลิเทียม
การพยาบาล
ให้รับประทานอาหารที่มีระดับเกลือโซเดียมคงที่ (ถ้ามีโซเดียมในร่างกายมาก lithium จะลดลงเพราะ
ถูกขับออกมาก ถ้ามีโซเดียมในร่างกายน้อย lithium จะเพิ่มขึ้น)
หลีกเลี่ยงการขับรถจนกว่าจะมีระดับ lithium ในเลือดคงที่
ผลข้างเคียง
ระดับเป็นพิษเล็กน้อย-ปานกลาง (1.5-2 mEq/L) มีอาการท้องเสีย อาเจียน มึนงง มือสั่น กล้ามเนื้ออ่อน แรง ปากแห้ง
ระดับเป็นพิษปานกลาง-รุนแรง(2-3mEq/L)มีอาการข้างเคียงคล้ายกับระดับเล็กน้อย-ปานกลางและมี อาการดังต่อไปนี้ร่วมด้วย ได้แก่ ตาพร่ามัว เพ้อ สับสน ชักกระตุก ตากระตุก เดินเซ วิงเวียน และหูอื้อ
ระดับที่ใช้บําบัดรักษา(0.8-1.2mEq/L)มีอาการปากแห้งกระหายน้ําง่วงซึมคลื่นไส้ท้องเสียมือสั่นมี ภาวะไทรอยด์ต่ำ บวม น้ําหนักตัวเพิ่ม ปัสสาวะบ่อย ปวดศีรษะ ความจําลดลง เป็นต้น อาการข้างเคียงนี้ จะลดลงหรือหายไปหลังจาก 3-6 สัปดาห
ระดับเป็นพิษรุนแรงมาก(>3mEq/L)มีอาการข้างเคียงคล้ายกับระดับปานกลาง-รุนแรงและมีอาการ ดังต่อไปนี้ร่วมด้วย ได้แก่ ชัก การทํางานของอวัยวะต่างๆของร่างกายล้มเหลว ไตวาย หมดสติ และอาจถึง ขั้นเสียชีวิต
ยากันชัก(anti-convulsant)
ยา จะมีผลต่อการทํางานของ GABA และปิดกั้นการทํางานของ calcium และ sodium
ยาคลายกังวล
(Antianxiety, Anxiolytic drugs, Minor Transquilizer)
ข้อบ่งใช้
โรคลมชักนิยมใช้ Diazepam เพราะมีฤทธิ์ anticonvulsant สูง
โรคของ Neuromuscular ที่มีการเกร็งของกล้ามเนื้อ เช่น บาดทะยัก
ใช้รักษา Delirium tremens ลดอาการสั่น กระวนกระวายและทําให้นอนหลับได้ผลดีมาก
อาการก้าวร้าวและรุนแรง (aggression)
ใช้เป็นยานอนหลับ เช่น nitrazepam
โรคทางจิตเวชที่มีอาการวิตกกังวล อาการที่ได้ผลดี คือ ความวิตกกังวล ความเครียด ตื่นเต้นง่าย และ พลุ่งพล่าน กระวนกระวาย
ผลข้างเคียง
การทนของร่างกายต่อยา (tolerance)
การใช้ปริมาณยาเพิ่มขึ้นเพื่อให้ประสิทธิผลของยาคงเดิม สําหรับผู้ป่วย จิตเวชการใช้ยาเพื่อรักษาโรควิตกกังวลหรืออาการกลัวนั้น แม้จะใช้เป็นเวลานานแต่จะไม่ทําให้เกิดปัญหาที่รุนแรง
การพึ่งพา (dependence)
เป็นภาวะที่ร่างกายทํางานเป็นปกติเมื่อมีการใช้ยา แต่เมื่อไม่ใช้ยาร่างกายจะทํางานไม่เป็นปกติ การพึ่งพาจะเกิดขึ้นเมื่อใช้ยาเป็นประจําภายใน 2-3 สัปดาห์/เดือน และเมื่อมีการหยุดยาจะเกิด อาการ กระสับกระส่าย มือสั่น หงุดหงิด นอนไม่หลับ อาเจียน เหงื่อออก และอาจชักได้
การถอนยา (withdrawal)
อาการถอนยามักเกิดขึ้นในบุคคลที่ใช้ยาเป็นประจํา มาเป็นระยะเวลามากกว่า 1 ปี ขึ้นไป จะแสดงอาการเมื่อมีการหยุดใช้ยาอย่างฉับพลัน
การพยาบาล
การฉีด diazepam เข้าหลอดเลือดดําอาจทําให้เกิด apnea โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีโรคหัวใจ และโรคปอด ร่วมด้วย ดังนั้นการฉีด diazepam เข้าหลอดเลือดดําควรฉีดช้าๆ และ diazepam ไม่ควรฉีดเข้ากล้ามเนื้อ เนื่องจากยาไม่ออกฤทธิ์
ห้ามใช้ ในหญิงตั้งครรภ์โดยเฉพาะช่วง 3 เดือนแรก เนื่องจากมี teratogenic effect และในหญิงที่ให้นม บุตรควรหยุดยา หรือ bottle feed แทน
การออกฤทธิ์
เพิ่มประสิทธิผลของสารสื่อประสาท GABA (Gamma-aminobutyric acid) ในสมอง ยับยั้ง
การทํางานของเซลล์ประสาทในระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งส่งผลให้เซลล์ประสาทตอบสนองน้อยลง และทําให้ความ วิตกกังวลลดลง
การใช้กัญชาทางการแพทย์สําหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพจิต
ผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์ได้ประโยชน์
ผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์น่าจะได้ประโยชน์(ในการควบคุมอาการ)
ผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง (palliative care)
มะเร็งระยะสุดท้าย (end-state cancer)
ผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์อาจได้ประโยชน์(ในอนาคต)
ข้อควรระวัง
ผู้ใช้ยาอื่นๆ ยากลุ่มopioids,benzodiazepines,anticoagulant,antiplatelet,Antipsychotic, Anticonvulsant
ผู้ป่วยสูงอายุ(กระบวนการmetabolismของผู้สูงอายุจะช้าส่งผลให้ตอบสนองต่อกัญชาได้สูงกว่า)
ผู้ป่วยที่ติดสารเสพติด(รวมถึงนิโคตินหรือเป็นผู้ดื่มสุราอย่างหนัก)
สารสกัดจากกัญชาอาจทําให้enzymeของตับสูงผิดปกติต้องติดตามการทํางานของตับอย่างใกล้ชิด
ผู้ที่เป็นโรคตับ
การใช้สกัดกัญชาในระยะยาวเสี่ยงต่อการติดยา(drugsdependence)อาการขาดการกระตือรือร้น
(amotivational syndroms) อาการเพ้อและกระวนกระวาย (delirium and agitation)
การใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาที่มีTHCเป็นส่วนประกอบในผู้ป่วยที่มีอายุต่ำกว่า25ปีควรวิเคราะห์ความเสี่ยง ที่อาจเกิดขนึ้ เนื่องจากผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นส่งผลต่อสมองที่กําลังพัฒนา
A6480102 นางสาวนลินทิพย์ จุไธสง