Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรม (6 ขั้นตอน), นายภีมเดช ปานเพชร เลขที่ 10 ม.4/8 -…
ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรม (6 ขั้นตอน)
การวิเคราะห์ปัญหา
พื้นฐานที่จำเป็นต้องใช้ในการพัฒนาโปรแกรม ได้แก่
1.1 สิ่งที่ต้องการ (Requirement) คือ การกำหนดวัตถุประสงค์ของงานที่ต้องการให้คอมพิวเตอร์ทำงาน
1.2 รูปแบบของผลลัพธ์ (Output) คือ การกำหนดและออกแบบรูปแบบของรายงานว่าผลลัพธ์ที่ต้องการในการออกแบบรายงาน
1.3 ข้อมูลนำเข้า (Input) คือ ข้อมูลที่จะต้องนำเข้ามาในคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ในการประมวลผลให้ได้ผลลัพธ์ตามที่เราต้องการ
1.4 ตัวแปรที่ใช้ (Variable) คือ ชื่อที่ตั้งขึ้น เพื่อใช้เก็บข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลง ข้อมูลที่เป็นค่าเริ่มต้น หรือข้อมูลที่ได้จากการประมวลผล
1.5 วิธีการประมวลผล (Process) คือ ขั้นตอนการทำงานเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการและการกำหนดเงื่อนไขต่างๆ
การทดสอบโปรแกรม
ถ้าพบข้อผิดพลาดก็แก้ไขให้ถูกต้อง ข้อผิดพลาดที่มักพบบ่อยๆ ในการสั่งให้โปรแกรมทำงานมีอยู่ 3 แบบคือ
4.1 ข้อผิดพลาดทางไวยากรณ์ภาษา (Syntax Error) เกิดจากการเขียนชุดคำสั่งไม่ถูกต้องตามไวยากรณ์ของภาษาคอมพิวเตอร์นั้นๆ
4.2 ข้อผิดพลาดระหว่างการประมวลผล (Runtime Error) เกิดขณะที่โปรแกรมกำลังประมวลผลหรือกำลังทำงานอยู่ โดยอาจจะเป็นความผิดพลาดจากการป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบ แล้วไม่สามารถประมวลผลได้
4.3 ข้อผิดพลาดทางวิธีการคิด (Logical Error) เกิดจากเขียนคำสั่งในภาษานั้นๆ ได้ถูกต้องตามหลังไวยากรณ์ แต่เมื่อสั่งให้โปรแกรมทำงาน ผลลัพธ์ที่ได้อาจจะเป็นการคำนวณผิดพลาด ไม่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้
การจัดทำเอกสารประกอบโปรแกรม
เอกสารประกอบโปรแกรมที่ต้องจัดทำมีอยู่ 2 ประเภท
คู่มือผู้ใช้ (User’s Manual)จะช่วยให้ผู้ใช้โปรแกรมเช้าใจวัตถุประสงค์และใช้งานได้สะดวกมากยิ่งขึ้น
คู่มือนักเขียนโปรแกรม (Programmers Manual)จะช่วยในการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงแก้ไขโปรแกรมในอนาคต
การบำรุงรักษาโปรแกรม
เป็นขั้นตอนที่ผู้เขียนโปรแกรมต้องคอยเฝ้าดูและหาข้อผิดพลาดของโปรแกรมในระหว่างที่ผู้ใช้ใช้งานโปรแกรมและปรับปรุงโปรแกรมเมื่อเกิดข้อผิดพลาดขึ้น หรือในการใช้งานโปรแกรมไปนานๆ ผู้ใช้อาจต้องการเปลี่ยนแปลงการทำงานของระบบงานเดิมเพื่อให้เหมาะกับเหตุการณ์
การเขียนโปรแกรม
เป็นการนำเอาผังงานซึ่งได้จากการออกแบบโปรแกรม มาเขียนเป็นโปรแกรมสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานด้วยภาษาคอมพิวเตอร์
การออกแบบโปรแกรม
อัลกอริทึม (Algorithm) ซึ่งอัลกอริทึมแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ
รหัสจำลอง (Pseudo-code) คือการเขียนอัลกอริทึมโดยใช้ประโยคภาษาอังกฤษที่สื่อความหมายง่ายๆสามารถอ่านแล้วเข้าใจได้โดยทันที
ผังงาน (Flowchart) คือการเขียนอัลกอริทึมโดยใช้สัญลักษณ์รูปภาพเป็นตัวสื่อความหมายจากโจทย์ ที่ทำให้ผู้ออกแบบสามารถเขียนลำดับการทำงานและขั้นตอนของการประมวลผลของโปรแกรมได้
นายภีมเดช ปานเพชร เลขที่ 10 ม.4/8