Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ใหญ่ที่มีความผิดปกติในระบบประสาท - Coggle Diagram
การพยาบาลผู้ใหญ่ที่มีความผิดปกติในระบบประสาท
2.1การพยาบาลผู้ป่วยที่มีโรคหรือความผิดปกติเกี่ยวกับความรู้สึกนึกคิด: Alteration of conscious, Seizure and Epilepsy
1.การพยาบาลผู้ป่วยที่มีการเปลี่ยนแปลงการรู้สติ (Alteration of conscious)
อาการ drowsy , stupor , semicoma จนถึง coma ตามลําดับ
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลผู้ป่วยชัก
-มีโอกาสเกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจเนื่องจากระดับความรู้สึกตัวลดลง/ มีโอกาสเกิดภาวะปอดอักเสบจากการสําลัก
-ตรวจวัดสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมงโดยเฉพาะแบบแผนการหายใจ
-ดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง จัดท่านอนตะแคงข้าง
-On NG-tube feeding ตามแผนการรักษาของแพทย์
-ดูแลให้ผู้ป่วยนอนศีรษะสูง 45องศา ขณะ feed อาหาร และหลัง feed อาหาร 15-30นาที
-สังเกตอาการสําลัก
สาเหตุ
1) มีรอยโรคในสมอง(Structure lesions) พยาธิสภาพเกิดขึ้นกับ ARAS ซึ่งเป็นกลุ่มของเซลล์ประสาทที่อยู่ตรงกลางก้านสมองและมักจะทําลายเซลล์สมองบริเวณใกล้เคียง ทําให้เกิดแรงกดที่แกนสมองหรือส่วนอื่นๆ ของสมองภายในกะโหลกศีรษะ
2) มีความผิดปกติของการเผาผลาญในร่างกาย (Diffuse brain dysfunction) เช่น พร่องออกซิเจน กลูโคสในเลือดลดลง มีการคั่งของของเสียในสมองจนทําให้สมองทํางานผิดปกติได้ ถ้ารุนแรงมากจึงทําลายเนื้อสมองให้ผิดปกติได้
2 การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอาการชักและโรคลมชัก (Seizure and Epilepsy)
อาการ
ภาวะชักเร็วๆอย่างต่อเนื่องไม่รู้สึกตัวเกิดขึ้นอย่างน้อย 30นาที อาจเกิดจากการหยุดยากันชักกระทันหันจัดเป็นภาวะฉุกเฉินทําให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเช่นภาวะกรดในเลือด สมองบวม arrhythmia, hyperkalennia, DIC, hyperthermia/hypothermia, rhabdomyolysis, myoglobinuria และไตวายได้
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลผู้ป่วยชัก
-มีโอกาสเกิดอาการชักเกร็งเนื่องจากเซลล์ประสาทสมองถูกรบกวน
-เสี่ยงต่อการบาดเจ็บเนื่องจากการชัก
-เสี่ยงต่อการบาดเจ็บเยื่อบุในช่องปาก
-มีโอกาสเกิดภาวะชักซ้ําเนื่องจากพร่องความรู้
สาเหตุ
ปัจจัยกระตุ้นที่ทําให้ seizure threshold ลดลงชั่วคราว ถ้าแก้ไขปัจจัยกระตุ้นจะไม่ชักซ้ําปัจจัยเหล่านี้ได้แก่ 1) การหยุดเหล้าหรือยาบางชนิดกระทันหัน เช่น ยากลุ่ม benzodiazepine2) เมตาบอลิกที่มีผลต่อเซลล์สมอง เช่น hypoglycemia, hyperglycemia, hypernatremia, hyponatremia, hypocalcemia3) สารเสพติดและยากระตุ้นประสาท เช่น amphetamine4) อาการชักหลังบาดเจ็บ/ติดเชื้อสมอง5) eclampsia6) ไข้สูงในเด็ก
การพยาบาล
-ดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง จัดท่านอนตะแคงข้างให้ระวังในผู้ที่บาดเจ็บบริเวณคอ
-ให้ออกซิเจน
-เตรียมอุปกรณ์ suction, oral airway, O2 therapy
-ให้ยากันชักตามแผนการรักษา และเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนจากยา
-บันทึกระยะเวลา อาการชัก และอาการหลังชัก
-ใส่ไม้กั้นเตียง ปรับระดับเตียงให้ต่ํา
-หากชักจัดท่าตะแคงหน้า ป้องกันสําลัก ไม่ใส่สิ่งใดๆเข้าปากเพื่อป้องกันผู้ป่วยกัดลิ้น เพราะจะทําให้อันตรายมากขึ้น
-ปลดเสื้อผ้าให้หลวม
-เน้นย้ําเรื่องจากรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง ไม่ปรับขนาดยาเอง-แนะนําหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นและมาตรวจตามนัด
2.2การพยาบาลผู้ป่วยที่มีการเปลี่ยนแปลงของการไหลเวียนเลือดในสมอง: Head injury, Increased Intracranial Pressure (IICP), Stroke, Aneurysm
.2.1 การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ (Head injury)
สาเหตุ
1) การบาดเจ็บโดยตรง (Direct injury) ขณะที่ศีรษะอยู่นิ่ง ทําให้เกิดพยาธิสภาพเฉพาะที่ หากเกิดขณะศีรษะเคลื่อนไหวเช่นขับรถชนต้นไม้จะเกิดพยาธิสภาพกับสมองส่วนนั้น (coup lesion) มักมีการแตกร้าวของสมองร่วมด้วย สมองส่วนตรงข้ามกับวัตถุอาจฉีกขาดและมีเลือดออก (contra coup)
2) การบาดเจ็บโดยอ้อม (indirect injury) เช่นบาดเจ็บส่วนอื่นร่างกายแต่ทําให้บาดเจ็บที่ศีรษะเช่น ตกจากที่สูงก้นกระแทก ทําให้ศีรษะกระแทกส่วนบนของกระดูกคอ เกิดอันตรายต่อก้านสมอง
อาการ
การบาดเจ็บต่อหนังศีรษะ กระโหลก ประสาทสมองและสมองหากแบ่งตามความรุนแรงลักษณะการบาดเจ็บ ได้แก่ กระโหลกศีรษะแตก การบาดเจ็บสมอง การมีเลือดออกในสมองหรือแบ่งตามรอยโรคได้แก่ การบาดเจ็บเฉพาะที่และการบาดเจ็บทั่วสมอง ที่ทําให้เนื้อสมองทั้งหมดบาดเจ็บส่งผลให้สมองหยุดทํางานชั่วคราวหรือถาวร
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลในระยะแรก
การกําซาบของเนื้อเยื่อสมองไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจาก การไหลเวียนของเลือดในสมองลดลง มีเลือดออกในเนื้อสมอง
ปวดศีรษะเฉียบพลัน เนื่องจากการบาดเจ็บของสมอง
เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน: ความดันในกระโหลกสูง เนื่องจากสมองบวมและเลือดออกในสมอง
มีความบกพร่องในการเคลื่อนไหว เนื่องระดับความรู้สึกตัวลดลงและการจํากัดกิจกรรม
วิตกกังวล เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงภาวะสุขภาพ สิ่งแวดล้อมและความรู้สึกไม่แน่นอน
อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้นเนื่องจากมีเมตาโบลิซึมสูงจากการติดเชื้อ และสูญเสียการทํางานของสมองส่วนไฮโปธาลามัสซึ่งมีหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย
ชักเกร็งเนื่องจากเซลล์ประสาทสมองถูกรบกวน
การพยาบาล
สังเกตอาการ และพิจารณาส่ง CT brain ในผู้ป่วย mild และ moderate head injury
การดูแลเฉพาะ เช่น
-ฟกช้ําประคบเย็น หัวโนเลือดจะดูดซึมกลับใน 2-3สัปดาห์
-บาดแผลขนาดใหญ่ต้องล้างแผลและเย็บแผล
-กระโหลกแตกยุบห้ามกดเพราะเศษกระดูกจะกดเนื้อสมองได้
-กระโหลกร้าวให้สังเกตอาการ 48 ชั่วโมง
การดูแลเพื่อป้องกัน secondary brain injury ในผู้ป่วย severehead injury มีดังนี้
-Airway, Breathing ควรใส่ท่อช่วยหายใจผู้ป่วยป้องกัน hypoxemia
-Circulation โดย fluid resuscitationป้องกัน hypotensionรักษาระดับ BPS > 60 mmHg
-Hyperventilationลด IICP อย่างรวดเร็วในกรณีมี brain herniation หรือ GCS ลดลงจากเดิม > 2 คะแนน ไม่แนะนําให้ทําทุกราย
การรักษาด้วยยา
-ยาHyperosmolarity ลดICP ให้ 20% Manitol IV ลดภาวะสมองบวม
-ยากันชัก Dilantin IV
-ยาลดกรด Omeprazole
-ยาSteroid ลดสมองบวม
การรักษาด้วยการผ่าตัด
-ผ่าตัดเจาะกระโหลกศีรษะ (Burr hole)เพื่อระบายเลือดจากใต้ชั้นดูราหรือใส่เครื่องตรวจวัดความดันในกะโหลกศีรษะ
-ผ่าตัดเอาก้อนในกะโหลกศีรษะออก (Craniotomy remove mass lesion)เอาbone flap ออกเปิดเยื่อหุ้มสมองดูรา เอาก้อนเลือดออกแล้วใส่ bone flap เย็บไว้เหมือนเดิม
-ผ่าตัดเปิดกะโหลกลดความดันในกะโหลก (Decompressive Craniectomy)โดยตัดกระโหลกศีรษะบางส่วนออกไป
2.2 ภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง(Increased Intracranial Pressure, IICP)
สาเหตุ
1)เนื้อสมองเพิ่มขึ้น เนื่องจากสมองบวม จากสาเหตุต่างๆได้แก่
1.1Cytotoxic edema เซลล์สมองจากการขาดออกซิเจน ขาดเลือด 1.2Vasogenic edemaทําให้Blood brain barrier เสียไป เกิดการสะสมของสารน้ํานอกเซลล์ สาเหตุจากเส้นเลือดอักเสบหรือเส้นเลือดใหม่รอบก้อนเนื้องอกทําให้มีน้ําและโปรตีนรั่วเข้าสู่ช่องว่างระหว่างเซลล์ 1.3Interstitial edema มีการบวมเนื่องจากการคั่งของน้ําในโพรงสมอง(Hydrocephalus)
2)เลือดคั่งและมีก้อนเลือด เช่น บาดเจ็บที่ศีรษะ,เส้นเลือดสมองแตกจากโรคความดันโลหิตสูง
3)น้ําไขสันหลังคั่ง โพรงสมองโตขึ้น เช่น น้ําคั่งในโพรงสมอง
4)สิ่งครอบครองพื้นที่ในกะโหลกศีรษะ (Mass lesion) เช่น เนื้องอกสมอง, ฝีในสมอง
อาการและอาการแสดง
ระดับความรู้สึกตัวเปลี่ยนไปปวดศีรษะและอาเจียนโดยปวดมากตอนตื่นนอนและเมื่อมีกิจกรรมที่เพิ่มความดันในช่องออก อาเจียนพุ่งจากการที่เมดุลลาถูกกด อาจมีคลื่นไส้นํามาก่อน
การมองเห็นผิดปกติ ตามัว ภาพซ้อน จากแรงกดบน visual pathway จอประสาทตาบวม (papilledema) จาก optic nerve ถูกกด ซึ่งทําให้รูม่านตาขยาย รูม่านตาคล้ายรูปไข่ มีปฏิกิริยาต่อแสงน้อย ซึ่งแสดงว่า midbrain ถูกกดจาก IICP
สัญญาณชีพเปลี่ยนแปลง ในระยะท้ายมี Cushing triadและไข้สูงจากธาลามัสถูกรบกวน
กล้ามเนื้ออ่อนแรงด้านตรงข้ามกับรอยโรค การเคลื่อนไหวผิดปกติ (decorticate/decerebrate)
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะIICP
การกําซาบของเนื้อเยื่อสมองลดลง เนื่องจากความดันในกะโหลกศีรษะสูง หรือจากการบาดเจ็บของสมอง(เป้าหมาย: CPP > 60 mmHg, ICP < 15 mmHg, MAP 80-100 mmHg)
การพยาบาล
จัดนอนศีรษะสูง 15-30 องศา ส่งเสริมการไหลเวียนของเลือดดํากลับเข้าสู่หัวใจ ไม่เกิดการคั่งของเลือดในสมอง ลดIICPการนอนศีรษะสูงทําให้เลือดไปเลี้ยงไม่ดีเกิดการเลื่อนของสมองกดศูนย์หายใจได้
ให้นอนหนุนหมอนบางๆ ไม่ให้ศีรษะก้มมาชิดอก ประคองไม่ให้เอียงโดยให้คอและสะโพกเหยียดตรง (ไม่ให้ต้นขางอเกิน 90องศา) เพราะจะทําให้ความดันในช่องท้อง ช่องอกสูงขึ้น
ประเมิน V/S, N/S, ICPเช่นปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียนรุนแรง ตาพร่ามัว ทุก 1-2 ชั่วโมงรายงานแพทย์ถ้าผิดปกติ
ไม่ผูกมัด ไม่ใช้ไม้ยันปลายเท้าเพื่อป้องกันเท้าตกเพื่อไม่ให้ผู้ป่วยออกแรงต้าน ซึ่งจะทําให้แรงดันในกะโหลกศีรษะเพิ่ม
NPOเพราะอาจทําให้ผู้ป่วยอาเจียน มีผลให้เกิด IICP มากขึ้น
2.3การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Cerebrovascular disease, Stroke
สาเหตุ
อายุ
เพศ
เชื้อชาติ
พันธุกรรม
ความดันโลหิตสูง
เบาหวาน
ไขมันในเลือดสูง
อาการ
อาการอ่อนแรงและสูญเสียการรับความรู้สึกของร่างกายด้านตรงกันข้ามกับพยาธิสภาพ
สูญเสียการรับความรู้สึกของด้านตรงข้ามพยาธิสภาพ
มีพฤติกรรมทําซ้ําไม่ค่อยมีเหตุผล เสียสมาธิได้ง่าย
dysphagia, dysarthria, vertigoและอาจมี horner’s syndrome
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
ความสามารถในการปรับตัวของช่องในกะโหลกศีรษะลดลง
การกําซาบของเนื้อเยื่อสมองลดลง เนื่องจากภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูงขึ้น
ไม่สามารถขับเสมหะออกเองได้ ทางเดินหายใจไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจาก เสมหะเหนียว
เสี่ยงต่อเนื้อเยื่อได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอเนื่องจากสมองบวม มีเลือดออกจากการผ่าตัด
แบบแผนการหายใจไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจาการขยายตัวของปอดลดลง
เสี่ยงต่อกระบวนการคิดถูกรบกวนเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางระบบประสาท
เสี่ยงต่อการสําลักการกลืนผิดปกติเนื่องจากภาวะอ่อนแรงครึ่งซีก
ภาวะโภชนาการขาดความสมดุล: ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
การพยาบาล
ป้องกันการกลับเป็นซ้ํา
รับประทานยาอย่างสม่ําเสมอตามแผนการรักษา ห้ามหยุดยาเอง รีบพบแพทย์ทันทีถ้าผิดปกติ
ส่งเสริมการฟื้นฟูสภาพ ช่วยให้มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น
ควบคุมระดับความดันโลหิต ไขมัน และน้ําตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน IICP, ปอดอักเสบ การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
วางแผนการจําหน่าย
ออกกําลังกายสม่ําเสมอ อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน 3 ครั้งต่อสัปดาห์ และควบคุมน้ําหนัก
2.4 การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะ Arteriovenous malformation และหลอดเลือดสมองโป่ง (Aneurysm)
ภาวะ Arteriovenous malformation (AVM)
ในสมอง ในชั้นดูราหรือในไขสันหลัง ซึ่งหากเกิดในสมองจะทําให้เกิดอาการชัก ปวดศีรษะเฉียบพลันภายหลังการมีเลือดออกในสมองหรือใต้อแรชนอยด์ หรือภาวะขาดเลือด หากเกิดในชั้นดูราจะทําให้เกิดความดันเลือดสูงที่เกิดจากหลอดเลือดดํา ขาดเลือดและเลือดออกในสมอง อาจมีอาการเกี่ยวกับเส้นประสาทสมอง มีเสียงฟู่ในหู ได้ยินเสียงฟู่ในหู
ภาวะหลอดเลือดในสมองโป่ง (Intracranial aneurysm)
ผนังหลอดเลือดเปราะบาง(weakness)ทําให้เกิดการโป่งพองซึ่งอาจมีขนาดใหญ่มากขึ้นจนแตกตามมาได้ aneurysm อาจเกิดจากการเจริญผิดปกติ การติดเชื้อหรือการบาดเจ็บของหลอดเลือด ผู้ป่วยอาจมีอาการเพียงเล็กน้อยเช่น ปวดศีรษะ การมองเห็นผิดปกติ หากมีการรั่วจะปวดศีรษะรุนแรงทันทีทันใด หากมีการแตกจะมีคลื่นไส้อาเจียน คอแข็ง ชัก หมดสติหรือสับสนร่วมด้วย การแตกมักทําให้เกิด subarachnoid hemorrhage ซึ่งพบได้5-10%ของผู้ป่วย stroke ทําให้เสียชีวิตหรือพิการได้
การรักษา AVM และaneurysm
ใช้ยาลดการหดเกร็งของหลอดเลือด ยาละลายลิ่มเลือด หรือผ่าตัดเอา aneurysm ออก โดย clipping หรือการใส่วัสดุภายในหลอดเลือดเพื่ออุด (endovascular embolization) โดยใช้ขดลวดเล็กๆ (coil)กาว(glue)ลูกโป่ง (balloon)
2.3 การพยาบาลผู้ป่วยที่มีเนื้องอกหรือการเสื่อมของระบบประสาท: Brain tumor, Parkinson
2.3.1 การพยาบาลผู้ป่วยเนื้องอกสมอง (Brain tumor)
สาเหตุ
สาเหตุไม่ชัดเจน ปัจจัยเสี่ยงได้แก่อายุที่เพิ่มมากขึ้นการสูบบุหรี่ประวัติในครอบครัว เป็นโรคมะเร็ง เช่น มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม แล้วแพร่กระจาย การติดเชื้อไวรัส เช่น HIVการสัมผัสสารกัมมันตภาพรังสี สารเคมี ยากําจัดศัตรูพืช การทํางานเกี่ยวกับสิ่งที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง เช่น พลาสติก ตะกั่ว ยาง น้ํามัน รวมถึงสิ่งทอบางชนิด
พยาธิสภาพ
นื้องอกกดเบียดเนื้อสมองอาจทําให้เกิดภาวะสมองบวม ความดันในกะโหลกศีรษะสูงน้ําคั่งในโพรงสมอง การเคลื่อนของสมอง (brain herniation) เนื้องอกอาจกดทับเส้นประสาทสมอง หลอดเลือดสมองจนเกิดภาวะสมองขาดเลือด ทําให้มีอาการผิดปกติทางระบบประสาทเสียชีวิตหากไม่ได้รับการรักษา
อาการ จาก ภาวะ IICP และ จากการกดเฉพาะที่
ตามัว มองเห็นภาพซ้อน มองไม่ชัด
ระดับความรู้สีกตัวเปลี่ยนแปลง ซึมหมดสติจากการเพิ่มของ ICP
คลื่นไส้ อาเจียนแบบพุ่ง(projectile vomiting)
ชักเนื่องจากสมองถูกกระตุ้น ทําให้มีการปล่อยกระแสไฟฟ้าออกมาผิดปกติ
ปวดศีรษะ
การทรงตัวผิดปกติอ่อนแรงและชาบริเวณแขนและขา
อาการจากการสูญเสียหน้าที่ของสมองส่วนที่ถูกกดหรือถูกทําลาย
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ภาพลักษณ์เปลี่ยนแปลงจากการเปลี่ยนแปลงการทําหน้าที่ของระบบประสาท
พร่องความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเอง
วิตกกังวลเกี่ยวกับการวินิจฉัยโรคและการรักษา
วิตกกังวลเนื่องจากไม่แน่ใจเกี่ยวกับอนาคตและการพยากรณ์โรค
2.3.2 โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease)
พยาธิสภาพ
เซลล์สมองบริเวณก้านสมอง (Substantia nigraใน Basal ganglia) มีจํานวนลดลง โดยไม่ทราบสาเหตุ ทําให้สารสื่อประสาทโดปามีน (Dopamine) มีปริมาณลดลง มักพบในผู้สูงอายุ60 ปีขึ้นไป อาจเกิดในผู้ที่ใช้ยา Phenothiazine นานๆ หรือจากการได้รับสารพิษเช่น ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้าCO, Hg, Mn หรือในผู้ป่วย Head Injuryหรือกรรมพันธุ์และปัจจัยเสี่ยงทางสิ่งแวดล้อม
อาการของโรคพาร์กินสัน
สีหน้าเมินเฉย ไม่แสดงอารมณ์ พูดเบาไม่ชัด เขียนหนังสือลําบาก สั่นขณะช่วงการพัก (Resting tremor) อาการสั่นลดลงเมื่อทํากิจกรรม ยืนไม่ตรง (postural instability)แขนขาและลําตัวแข็งเกร็ง เคลื่อนไหวร่างกายช้า (Bradykinesia) เดินตัวงอน้ําลายไหลยืด (Sialorrhea)
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
ขาดความรู้เกี่ยวกับโรค
การดูแลตนเองบกพร่องเนื่องจากการเคลื่อนไหวผิดปกติ
การเคลื่อนไหวร่างกายบกพร่อง
เสี่ยงต่อภาวะข้อยึดติดเนื่องจากการเคลื่อนไหวลดลง
เสี่ยงต่อการรับประทานยาไม่ถูกต้องและมีภาวะแทรกซ้อนจากการใช้ยาเนื่องจากขาดความรู้เรื่องการใช้ยา
เสี่ยงต่อการหกล้มเนื่องจากการเดินติดขัด
การพยาบาล
แนะนําจัดสิ่งแวดล้อมสะอาด สว่าง ไม่มีสิ่งกีดขวาง มีอุปกรณ์ช่วยเดิน เก้าอี้และราวในห้องน้ํา
ประเมินอาการเดินติดว่าสัมพันธ์กับมื้อยาหรือไม่ อาจเกิดขึ้นช่วงยาหมดฤทธิ์
อธิบายลักษณะอาการของโรคที่เกิดช่วงเวลาต่างๆ เช่นช่วงที่ยาออกฤทธิ์หรืออาการออน (on)เคลื่อนไหวดี และจะมีช่วงยาหมดฤทธิ์หรืออาการออฟ (off) เคลื่อนไหวไม่ดีหรือช่วงที่ยาออกฤทธิ์เกินหรืออาการยุกยิก (dyskinesia)
อธิบายให้เห็นความสําคัญของยา การรับประทานยาที่ถูกต้อง ประเมินอาการข้างเคียงของยาเช่น แน่นหน้าอก หายใจลําบาก ใจสั่น หน้ามืดจากความดันต่ํา คลื่นไส้ อาเจียน
ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องโรค สาเหตุ อาการ และแนวทางการรักษาแก่ผู้ป่วย ผู้ดูแลและครอบครัว
2.4 การพยาบาลผู้ป่วยที่มีการอักเสบ ติดเชื้อของระบบประสาท: Meningitis, Encephalitis, Brain abscess, Multiple sclerosis, Myasthenia gravis, Guillain-Barre syndrome
2.4.1 เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis)
พยาธิสภาพ
เยื่อหุ้มสมองประกอบด้วยเยื่อสามชั้น เป็นโครงสร้างที่ปกป้องสมองและไขสันหลัง เยื่อpia เป็นเยื่อละเอียดยึดติดกับผิวเนื้อสมองรวมทั้งรอยหยักทั้งหมด ไม่ให้สารใดผ่านได้ เยื่อarachnoidห่อหุ้มpia อย่างหลวมๆ ระหว่างเยื่อpia และเยื่อarachnoid หล่อด้วยน้ําไขสันหลัง ชั้นนอกสุดคือเยื่อดูรา หนาและทนกว่าชั้นอื่นๆ ยึดติดกับเยื่ออะแร็กนอยด์และกะโหลกศีรษะ
อาการและอาการแสดง
ไข้สูงเฉียบพลัน
การเปลี่ยนแปลงของสภาพจิต
อาการคอแข็งเกร็ง
การป้องกันโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
เชื้อสามารถแพร่กระจายได้ทางการไอ จาม และการใช้ของใช้ส่วนตัว เช่น แปรงสีฟันหรือช้อน การป้องกันจึงควรล้างมือบ่อย ๆ หลีกเลี่ยงการดื่มหรือรับประทานอาหารจากภาชนะเดียวกันกับผู้อื่น การพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และออกกําลังกายสม่ําเสมอ ในผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียชนิดที่ร้ายแรงจะได้รับประทานยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันโรค
2.4.2 ไข้สมองอักเสบ (Encephalitis)
อาการ
ไข้สูงปานกลาง ปวดศีรษะมากเวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียนบ่อย ต่อมาจะมีอาการไข้สูงตลอดเวลา ซึมลง จนกระทั่งไม่รู้สึกตัว อาจมีอาการตัวเกร็งแข็ง หรือชักกระตุก หรือแขนขาเป็นอัมพาตร่วมด้วย
การรักษา
พื่อลดอาการบวมของสมอง ดูแลระบบทางเดินหายใจ ให้ยาระงับอาการชัก ควบคุมความดันของสมองและความดันโลหิต
การเกิดโรค
โรคที่ถ่ายทอดกันอยู่ในระหว่างสัตว์ ทั้งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์ปีก สุกร โค กระบือ ในเมืองไทยพบว่าลูกสุกรเป็นแหล่งแพร่เชื้อที่สําคัญ เชื้อไวรัสจะขยายพันธุ์ ในสัตว์เหล่านี้ โดยมียุงรําคาญที่อยู่ตามบ้านเเละท้องนาเป็นพาหะ เมื่อถูกยุงกัด เชื้อที่อยู่ในเลือดของสัตว์จะเจริญแพร่พันธุ์ในตัวยุงและสามารถบินได้ไกลหลายกิโลเมตร เมื่อยุงกัดผู้ใดก็จะแพร่เชื้อเข้าสู่ผู้ที่ถูกกัด ซึ่งบางคนอาจไม่มีอาการ แต่บางคนจะป่วยเป็นไข้สมองอักเสบ พบมากในช่วงฤดูฝน แต่ก็อาจพบได้ตลอดทั้งปี
การป้องกันไข้สมองอักเสบ
การจัดการสิ่งแวดล้อม ไม่ให้ถูกยุงกัด ย้ายคอกหมูหรือคอกสัตว์ให้ห่างออกไปจากบ้าน หรือทําลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงตามทุ่งนา
การฉีดวัคซีนป้องกันโรคทั้งในเด็ก และในผู้ใหญ่ การฉีดในผู้ที่อายุ 18 ปีขึ้นไป ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันจนถึงระดับที่สามารถป้องกันโรคได้หลังจากได้รับวัคซีนไปแล้ว 14 วัน หากต้องการผลการป้องกันในระยะยาวแนะนําให้ฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น 1-2 ปี หลังจากได้รับวัคซีนเข็มแรก
2.4.3 ฝีในสมอง (Brain abscess)
อาการ
ปวดศีรษะไข้ ระดับความรู้สึกลดลง อาจมีอาการระบบประสาทเฉพาะที่ตามตําแหน่งที่มีฝีมีปัญหาการมองเห็น ชัก อาจพบอาการของความดันในกะโหลกศีรษะสูง เช่นอาเจียนพุ่ง จอตาบวมหากฝีแตกเข้าสู่ ชั้น subarachnoid หรือโพรงสมอง อาการจะแย่ลงอย่างรวดเร็ว หรืออาการรุนแรงขึ้น
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
อุณหภูมิในร่างกายสูงเนื่องจากการติดเชื้อ
เสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อในทางเดินหายใจ (airborne exposure)
ปวดศีรษะเฉียบพลัน เนื่องจากการระคายเคืองของเยื่อหุ้มสมองสมอง
-เสี่ยงต่อการชักจากการระคายเคืองเยื่อหุ้มสมอง หรือการเพิ่มของความดันในกระโหลกศีรษะ
พยาธิสภาพ
เมื่อเชื้อโรคสามารถผ่าน BBB เข้าสู่่เนื้อสมองได้ ร่างกายจะตอบสนองต่อเชื้อโรคนั้นเกิดเป็นกระบวนการอักเสบของสมอง(cerebritis) และลุกลามเป็นฝีในสมอง
การพยาบาล
ดูแลการได้รับน้ําวันละ 2-3 ลิตรดูแลการได้รับยาต้านจุลชีพตามแผนการรักษา
ให้การพยาบาลโดยใช้หลัก airborne precaurtion เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อ
ห่มผ้าบางๆ เช็ดตัวลดไข้ ดูแลการได้รับยาลดไข้
ประเมินอาการปวดและดูแลให้ได้รับยาแก้ปวด
วัดอุณหภูมิร่างกายทุก 4 ชั่วโมง
ประเมินอาการชักและดูแลให้ได้รับยากันชัก
2.5 การพยาบาลผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของระบบประสาทส่วนปลายหรือไขสันหลัง: Trigeninal neuralgia, Bell’s palsy, Spinal cord injury, Herniated Nucleus Palposus, Spondylolithiasis, Spinal cord stenosis
2.5.1 โรคปวดเส้นประสาทใบหน้า (Trigeminal neuralgia)
อาการ
ปวดแปลบคล้ายไฟช็อตที่บริเวณใบหน้า อาจมีอาการคล้ายปวดฟัน ปวดบริเวณเหงือก อาการของโรคมักเกิดขึ้นเป็นๆ หายๆ แต่สามารถเกิดขึ้นซ้ําเรื่อยๆ ในระหว่างวัน เมื่อได้รับสิ่งกระตุ้นบริเวณใบหน้า เช่น การสัมผัสลมพัด ล้างหน้า โกนหนวด แปรงฟัน เป็นต้น
การรักษาโรคปวดเส้นประสาทใบหน้า
การผ่าตัดเพื่อแยกเส้นเลือดที่กดทับเส้นประสาทออก (microvascular decompression)
การใช้ยากลุ่มยากันชัก เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวด
การฉายรังสีเพื่อทําลายเส้นประสาท ซึ่งจะทําให้มีอาการชาใบหน้าตลอดเวลา หรือมีอาการทั้งปวดและชาใบหน้าตลอดเวลา (anesthesia dolorosa)
สาเหตุ
การที่เส้นเลือดที่อยู่ใกล้เคียงกับเส้นประสาทใบหน้าคู่ที่ 5(trigeminal nerve)ซึ่งควบคุมกล้ามเนื้อในการเคี้ยวอาหารและรับความรู้สึกบนใบหน้า เคลื่อนเข้ามาใกล้จนกดทับเส้นประสาท ทําให้การทํางานของเส้นประสาทผิดปกติไวต่อการกระตุ้น อาจเกิดจากการอักเสบเส้นประสาทจากโรค MS
2.5.2โรคอัมพาตเบลล์ หรือโรคใบหน้าเบี้ยว (Bell’s palsy)
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
การสื่อสารผิดปกติเนื่องกล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรง
ปวดเนื่องจากการอักเสบของเส้นประสาทสมอง
เยื่อบุช่องปากผิดปกติเนื่องจากการรับความรู้สึกลดลง/กล้ามเนื้อในการเคี้ยวผิดปกติ
การพยาบาล
ให้กําลังใจ ไม่เร่งรีบเมื่อต้องพูดคุยกับผู้ป่วย
อธิบายว่ามีโอกาสหายได้ถ้าโรคไม่รุนแรง
ให้จิบน้ําบ่อยๆ รับประทานอาหารครั้งละน้อย เคี้ยวด้านตรงข้ามกับด้านที่ผิดปกติ เคียวให้ละเอียด เลี่ยงอาหารร้อน และให้ทําความสะอาดหลังมื้ออาหาร
แนะนําให้ผู้ป่วยพูดประโยคสั้นๆ พูดช้าๆ ให้สื่อสารโดยการเขียน
ประเมินเยื่อบุช่องปาก
ดูแลให้ได้รับยาแก้ปวดตามแผนการรักษา
สาเหตุ
ไม่ทราบแน่ชัด เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อโดยเฉพาะไวรัส เช่น Herpes simplex, Herpes zoster หรือ Cytomegalovirusเมื่อร่างกายมีภูมิคุ้มกันต้านทานต่ํา หรืออาจเกิดจากที่ร่างกายสร้างสารภูมิต้านทานจากการติดเชื้อไวรัสต่างๆและภูมิต้านทานนี้ส่งผลให้เกิดการอักเสบของประสาทใบหน้า