Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วิวัฒนาการของนาฏศิลป์และการละครไทย ยุคแรก กลุ่ม นางลอย, สมัยอยุธยา …
วิวัฒนาการของนาฏศิลป์และการละครไทย ยุคแรก
กลุ่ม นางลอย
ความหมายและความสำคัญของวิวัฒนาการของนาฏศิลป์และการละครไทย ยุคแรก
ผู้รับผิดชอบ : นางสาวอนุธิดา เหรียญมงคล เลขที่10
🚩ความหมาย
การละคร เป็นศิลปะที่เกี่ยวข้องกับการแสดง ซึ่งเป็นได้ทั้งแบบดั้งเดิมหรือประยุกต์ ได้แก่ การละคร การดนตรี และการแสดงพื้นบ้าน
🚩ความสำคัญ
เปรียบเสมือนเป็นเครื่องมือที่มนุษย์เราใช้เป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงอารมณ์ ความรู้สึก ความคิดของตน เพื่อถ่ายทอดให้บุคคลอื่นได้เข้าใจ รับรู้ถึงสิ่งที่ตนต้องการจะแสดงออก
🚩ความหมายของวิวัฒนาการนาฏศิลป์
คือ ศิลปะแห่งการละคร หรือการฟ้อนรำ
🚩ความสำคัญของวิวัฒนาการนาฏศิลป์
-นาฏศิลป์มีวิวัฒนาการมาตั้งแต่สมัยน่านเจ้า สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา สมัยธนบุรี เรื่อยมาจนสมัยรัตนโกสินทร์ ถึงปัจจุบัน ซึ่งมีการพัมนาไปตามแต่ละยุคสมัย คงความเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ ซึ่งเป็น มรดกของชาติที่ทรงคุณค่า และควรได้รับการอนุรักษ์และสืบทอดให้คงอยู่ต่อไป
สมัยสุโขทัย
ผู้รับผิดชอบ : นางสาวนภสร หนูเจริญ เลขที่ 9
🚩ประวัติความเป็นมา
ในสมัยสุโขทัยเรื่องละคร ฟ้อนรำ สันนิษฐานได้จากศิลาจารึกจองพ่อขุนรามคำแหงหลักที่ 1 และในสมัยสุโขทัย ได้คบหากับต่างชาติที่นิยมอารยธรรมของอินเดีย เช่น พม่า มอญ ขอม ไทยได้รู้จักเลือกเฟ้นศิลปวัฒนธรรมของชาติที่สมาคมด้วย แต่มิได้หมายความว่า ชาติไทยแต่โบราณจะไม่รู้จักการละครฟ้อนรำมาก่อน เรามีการแสดงระบำ รำ เต้น มาแต่สมัยดึกดำบรรพ์แล้ว เมื่อไทยได้รับวัฒนธรรมด้านการละครของอินเดียเข้ามา ศิลปะแห่งการละเล่นพื้นเมืองของไทย คือ รำ และระบำ ก็ได้วิวัฒนาการขึ้น มีการกำหนดแบบแผนแห่งศิลปะการแสดง ทั้ง3ชนิดไว้เป็นที่แน่นอน และบัญญัติคำเรียกศิลปะแห่งการแสดงดังกล่าวว่า “โขน ละคร ฟ้อนรำ”
อ้างอิง : SlidePlayer.//(2566).//วิวัฒนาการนาฏศิลป์ไทย.//สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2566,/จาก
https://slideplayer.in.th/slide/16503441/
🚩บุคคลสำคัญ
อาจารย์บัณฑิต ศรีบัว เป็นผู้แต่งท่าทางในระบำเทวีศรีสัชนาลัย
-อาจารย์มงคล อินนา ศิลปินพื้นบ้านดีเด่นด้านนาฏศิลป์
🚩การแสดง
-ระบำเทวีศรีสัชนาลัย
-ระบำเทวีเมืองบางขัง
-ละครแก้บน เรื่องมโนราห์
เป็นการแสดงประเภทระบำ รำ ฟ้อน มีวิวัฒนาการมาจากการละเล่นของชาวบ้าน เป็นการพักผ่อนหย่อนใจหลังจากเสร็จงาน หรือแสดงในงานบุญ งานรื่นเริงประจำปี ปรากฏในหนังสือไตรภูมิพระร่วงฉบับพระมหาราชาลิไทว่า “บ้างเต้น บ้างรำ บ้างฟ้อน ระบำบันลือ” แสดงให้เห็นรูปแบบของนาฏศิลป์ที่ปรากฏในสมัยนี้ คือ เต้น รำ ฟ้อน และระบำ
อ้างอิง :โรงเรียนกัลยาณวัตร จังหวัดขอนแก่น.//(2565).//ศิลปะ(นาฏศิลป์)มัธยมศึกษาปีที่ 6./สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2566,/จาก
https://sites.google.com/a/kw.ac.th/art_m6/hnwy-thi-1-wiwathnakar-lakhr-thiy/1-smay-sukhothay
รับวัฒนธรรมทางด้านการแสดงละครมาจากประเทศอินเดียและนำมาปรับปรุงเป็นการแสดงของไทย
สมัยกรุงธนบุรี
ผู้รับผิดชอบ : นางสาวณกมล ธรรมชาติ เลขที่ 8
🚩ประวัติความเป็นมา
สมัยกรุงธนบุรี การมหรสพแม้จะหยุดเล่นไปในระยะเสียกรุงศรีอยุธยา แต่ก็ฟื้นตัวได้ในระยะเวลาอันสั้น
สมัยกรุงธนบุรี เจ้าฟ้าพินทวดี ได้สืบทอดท่ารำละครในจากสมัยอยุธยา และได้ละครผู้หญิงของเจ้านครศรีธรรมราชมาเป็นครูฝึกหัดละครใน สมัยนี้ยังถือเป็นราชประเพณีว่า ละครผู้หญิงจะมีได้แต่เฉพาะภายในพระราชฐาน และยังมีละครหลวงที่แสดงโดยผู้ชายเกิดขึ้นอีกด้วย
อ้างอิง : จาก
https://3king.lib.kmutt.ac.th/KingTarksinCD/chapter13/page84.html
🚩บุคคลสำคัญ
-เจ้าพระยาจักรี เจ้าพระยาคนแรกในแผ่นดินกรุงธนบุรี
-พระเจ้าตากสินมหาราช พระมหากษัตริย์ที่ก่อตั้งอาณาจักรกรุงธนบุรี
🚩การแสดง
-คณะละครหลวง ละครหลวง วิชิตณรงค์
ละครไทยหมิ่นเสนาะภูบาล หมื่นโวหารรมย์
-ละครนอก
-ละครใน
เจ้าพระยาจักรี
พระเจ้าตากสิน
:
สมัยน่านเจ้า
ผู้รับผิดชอบ : นางสาวรัชนก พรมแก้ว เลขที่ 29
🚩ประวัติความเป็นมา
พวกไต คือพวกที่ไม่อพยพลงมาจากดินแดนเดิมชีวิตและความเป็นอยู่ของพวกไตเป็นแบบชาวเหนือของไทย ประกอบอาชีพทำสวนผลไม้ไทยได้ สืบเชื้อสายมาจากสมัยน่านเจ้า รักษาขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมไว้อย่างเดียวกับไทย การละเล่นของไทยในสมัยน่านเจ้า นอกจากเรื่องมโนราห์ ยังมีการแสดงระบำต่างๆ เช่น ระบำหนวก ระบำนกยูง ซึ่งปัจจุบัน ถือว่าเป็นการละเล่นของชนกลุ่มน้อยในประเทศ
สมัยน่านเจ้า ไทยมีนิยายเรื่องหนึ่งคือ “มโนราห์” ซึ่งปัจจุบันนี้ก็ยังมีอยู่ในประเทศจีนตอนใต้ ซึ่งเป็นหนังสือ นิยายที่เขียนบรรยายถึงเรื่องของชาวจีนตอนใต้ และเขียนถึง นิยายการะละเล่นต่างๆ มีอยู่เรื่องหนึ่งที่ชื่อ เหมือนกับนิยายของไทย คือเรื่อง “นามาโนราห์” และ อธิบายไว้ด้วยว่าเป็นนิยายพวกไต พวกไตน่านเจ้าในสมัยเดิม พูดคำเดิม “นามาโนราห์” มาเป็นคำว่า “นางมโนราห์” ของไทย
อ้างอิง : จาก
https://www.pw.ac.th/emedia/media/art/titikan_drama.pptx?v=RBj-1ToH6aQ#:~:text=%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%8F%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%A3,%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%81%20%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A2%E0%B8%B9%E0%B8%87%20%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2
🚩บุคคลสำคัญ
บุคคลสำคัญไม่มีชื่อปรากฎในประวัติศาสตร์
🚩การแสดง
-ระบำหมวก
-ระบำนกยูง
ระบำหมวก
ระบำนกยูง
สันนิษฐานกันว่าการแสดงละครเรื่องแรกของไทย คือ เรื่อง นามาโนห์รา
สมัยอยุธยา
ผู้รับผิดชอบ : นายวรพัฒน์ แก้วประดิษฐ์ เลขที่3
🚩ประวัติความเป็นมา
การละครมีวิวัฒนาการที่เป็นแบบแผน มีจารีต ความเชื่อต่างๆ ในการแสดงเกิดขึ้น โดยได้รับอิทธิพลจากอินเดียผ่านเข้ามาทางเขมร ชวา และมลายู ส่วนระบำหรือฟ้อนนั้น เป็นศิลปะโดยอุปนิสัยของคนไทยสืบมาแต่เดิม
สมัยพระเจ้าอู่ทอง ได้นำคณะละครหลวงของเขมร โดยมีท่าตำนานนาฏศิลป์เข้ามาจึงเกิดละครที่คล้ายกับละครอินเดีย คือ มีตัวนายโรง ตัวนาง และตัวชาดก ที่สำคัญ เกิด
ละครใน ละครนอก และโขนขึ้นเช่นกัน
อ้างอิง : จาก
http://www.jjw.ac.th/testart/page1.html
🚩บุคคลสำคัญ
คุณศรีศรัทธา ในตอนปลายสมัยกรุงศรีอยุธยานำแบบแผนการเล่นละคร เรื่องพระรถเสน และมโนราห์ ไปถ่ายทอดแก่ชาวเมืองนครศรีธรรมราช
🚩 การแสดง
ละคร เริ่มมีระเบียบแบบแผนให้รัดกุมขึ้น มีการตั้งชื่อตามหลักวิชานาฏศิลป์ และได้รับอิทธิพลจากอินเดีย
ละครมี 3 ชนิด
-ละครใน : หญิงล้วนแสดงในพระราชวัง มีเรื่อง อิเหนา รามเกียรติ์ อุณรุท ใช้ในการแสดง
-ละครนอก : ชาวบ้านชายล้วน แสดงนอกวัง โดยเนื้อเรื่องมีการแทรกบทตลก
-ละครชาตรี : มีการปรับปรุงรูปแบบละครให้มีการแต่งกายปราณีต งดงามขึ้น มีดนตรีและบทร้อง ประกอบการแสดง
โขน
นางรำ