Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
จิตเภสัชบําบัด (Psychopharmaco therapy) - Coggle Diagram
จิตเภสัชบําบัด (Psychopharmaco therapy)
ยาที่ใช้ในผู้ท่ีมีความผิดปกติทางจิตใจ แบ่งเป็น 5 กลุ่ม
ยารักษาโรคจิต (Antipsychotic drugs)
ยาคลายกังวล (Anxiolytic drugs)
ยาควบคุมอารมณ์ (Mood-stabilizer drugs)
ยารักษาอาการเศร้า (Antidepressant drugs)
ยาลดอาการข้างเคียงของยารักษาโรคจิต (Anticholinergic drugs)
ชนิดของยารักษาโรคจิต
ยาต้านโรคจิตแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
1) ยากลุ่มเก่า (traditional or typical antipsychotic) หรือยาต้าน โรคจิตยุคที่ 1 (first - generation antipsychotics)
2) ยากลุ่มใหม่ (atypical antipsychotic) หรือยาต้านโรคจิต ยุคที่ 2 (second - generation antipsychotics)
ยาต้านโรคจิตกลุ่มเก่า
(traditionalortypicalantipsychotic)ยาออกฤทธิ์ปิดกั้นการทํางานของ ตัวรับสัญญาณของ dopamine (dopamine d2 receptor) มีประสิทธิผลในการรักษาอาการทางบวกของโรคจิตเภท เนื่องจากอาการทางบวกเป็นผลจากการมีปริมาณของ dopamineสูงข้ึน
ยาต้านโรคจิตกลุ่มเก่าแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มตามความแรงของขนาดยา ได้แก
กลุ่มความแรงของยาสูง (high potency) เช่น fluphenazine, haloperidol, trifluoperazine
กลุ่มความแรงของยาปานกลาง (moderate potency) เช่น perphenazine, zuclopentixol
กลุ่มความแรงของยาต่ํา (low potency) เช่น chlorpromazine, thioridazine
2.ยาต้านโรคจิตกลุ่มใหม่(atypicalantipsychotic)หรือยาต้านโรคจิตยุคท่ี2(second-generation antipsychotics) ออกฤทธิ์ปิดกั้นการทํางานของตัวรับสัญญาณของ serotonin, dopamine และ histamine ซึ่งช่วย
ลดอาการทางจิตทั้งอาการทางบวกและทางลบ และช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดความผิดปกติของการเคลื่อนไหว
ยากลุ่มนี้ ได้แก่ clozapine (clozaril), risperidone (risperdol), quetiapine, olanzapine, ziprasidone, aripiprazole
ผลข้างเคียง
เนื่องจากยาต้านโรคจิตทั้ง 2 กลุ่มออกฤทธิ์ต่อสารสื่อประสาทต่างชนิดและตําแหน่ง จึงก่อให้เกิด ผลข้างเคียงที่แตกต่างกัน ดังน
ผลต่อสมอง
ผลต่อระบบประสาทออโทโนมิค
ผลต่อตับ
ผลต่อหัวใจ
ผลต่อ pituitary gland ยามีผลต่อฮอร์โมน Prolactin
ยาคลายกังวล (Antianxiety, Anxiolytic drugs, Minor Transquilizer)
กลุ่มยา Benzodiazepines (BZD) เป็นยาที่พบการใช้ทั้งเพื่อรักษา ในทางจิตเวช และในผู้ป่วยโรคทางกาย เช่น Diazepam (Valium), Lorazepam (Ativan), Alprazolam (Xanax), Domicum (Midazolam), chlordiazepoxide (librium), clonazepam (klonopin), clorazepate
ข้อบ่งใช้
โรคทางจิตเวชที่มีอาการวิตกกังวล อาการที่ได้ผลดี คือ ความวิตกกังวล ความเครียด ตื่นเต้นง่าย และ พลุ่งพล่าน กระวนกระวาย
ใช้เป็นยานอนหลับ เช่น nitrazepam
ใช้รักษา Delirium tremens ลดอาการสั่น กระวนกระวาย
โรคลมชักนิยมใช้ Diazepam เพราะมีฤทธิ์ anticonvulsant สูง
โรคของ Neuromuscular ที่มีการเกร็งของกล้ามเนื้อ
การออกฤทธิ์
เพิ่มประสิทธิผลของสารสื่อประสาท GABA (Gamma-aminobutyric acid) ในสมอง ยับยั้ง
การทํางานของเซลล์ประสาทในระบบประสาทส่วนกลาง
ผลข้างเคียง
มีน้อยและไม่มีอันตราย ผลข้างเคียงที่สําคัญ คือ ง่วงนอน อ่อนเพลีย หลงลืม เวียนศีรษะ ความ ดันโลหิตต่ํา ปัสสาวะคั่ง ท้องผูก ต้อกระจก
ยาต้านเศร้า/ ยารักษาอาการเศร้า (Antidepressant drugs)
ยาต้านเศร้า ใช้รักษาโรคอารมณ์แปรปรวนในระยะซึมเศร้า (Bipolar disorder depressive episode) โรค วิตกกังวล (Anxiety disorder) และโรคซึมเศร้า (Major depressive disorder) นอกจากน้ียังใช้รักษาอาการปวดเรื้อรัง ปวดศีรษะไมเกรน โรคแพนิค (Panic disorder)
1.ยากลุ่ม Monoamine Oxidase Inhibitor (MAOIs)
ยาออกฤทธิ์ยับยั้งการ oxidation ของ norepinephrine และ serotonin ทําให้มี norepinephrine และ serotonin เพิ่มขึ้น ส่งผลให้อารมณ์ซึมเศร้าดีขึ้น มีสารอยู่ใน เนยแข็ง ไวน์ ช็อคโกแลค โยเกิร์ต กล้วย
2.ยากลุ่มไตรไซคลิก และเททราไซคลิก (Tricyclic and Tetracyclic Antidepressants: TCAs) หรือ nonselective inhibition of noreprinephrine and serotonin
ยาออกฤทธิ์ลดการดูดกลับเข้าเซลล์ประสาทของ norepinephrine และ serotonin ที่จุดต่อปลายประสาท
ผลข้างเคียง
ยาอาจเหนี่ยวนําให้ผู้ที่เป็นและไม่เป็น Bipolar disorder เกิดอาการ mania
อาการง่วงซึม
ผลต่อระบบประสาท ทําให้มีอาการมือสั่น
ฤทธิ์ anticholinergic ทําให้เกิดอาการตาพร่า ปากแห้ง คอแห้ง
ยาควบคุมอารมณ์ ยาปรับสมดุลอารมณ์ (Mood-stabilizer drugs)
ยาควบคุมอารมณ์ ใช้รักษาโรคอารมณ์สองขขั้ว (Bipolar disorder)
Lithium ออกฤทธ์ิโดยลดปริมาณของ beta-adrenergic receptors และลดปริมาณของ serotonin receptors เป็นการลดการตอบสนองของสมองต่อสารสื่อประสาทข้อบ่งใช้ รักษา mania และป้องกันการ กลับเป็นซ้ําของโรค Bipolar disorder ท้ังระยะ mania และระยะซึมเศร้า
ผลข้างเคียงและพิษของยา
ขนาดของ lithium ที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยแต่ละรายจะขึ้นอยู่กับการตอบสนองทางคลินิก และระดับ lithium ในเลือด จึงต้องมีการเจาะเลือดเพื่อหาระดับยาในเลือดหลังจากได้รับยาครั้งแรก หรือมีการปรับเปลี่ยนขนาดยาไปแล้ว 5-7 วัน และควรเจาะหลังรับประทานยามื้อสุดท้ายไปแล้ว 8-12 ชม
ยากันชัก(anti-convulsant)เป็นยาที่นํามาใช้รักษาโรคอารมณ์สองขั้ว(Bipolardisorder)เมื่อผู้ป่วยไม่ ตอบสนองต่อ lithium ยาที่นํามาใช้ได้แก่ carbamazepine (tegretol), sodium valproate หรือ valproic acid (depakine), gabapentin (neurontin), lamotrigin (lamictal)
การออกฤทธิ์
ยับยั้งการหลั่ง acetylcholine ที่ receptor ในสมอง ซึ่งเมื่อ acetylcholine ลดลงส่งผล ให้dopamine ลดลง ถ้าท้ัง acetylcholine และ dopamine ลดลงจะส่งผลให้อาการ pakinson ลดลง
ผลข้างเคียง
ตาพร่ามัว ปากแห้ง วิงเวียนศีรษะ ง่วงซึม สับสน ชีพจรเต้นเร็ว ท้องผูก ปัสสาวะคั่ง ความดัน โลหิตเปลี่ยนแปลง
3.ยากลุ่ม Selective Serotonin Reuptake Inhibitions (SSRIs)
ยาออกฤทธิ์โดยช่วยเพิ่มการตอบสนองของ serotonin มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคซึมเศร้า (Major depressive disorder) โรคตื่นตระหนก (Panic disorder) โรคย้ำคิดย้ําทํา (Obsessive Compulsive Disorder : OCD) โรคกลัวสังคม (Social phobia)
ผลข้างเคียง
ผลต่อระบบประสาทส่วนกลางทําให้มีอาการปวดศีรษะในช่วงแรก (ในสัปดาห์ต่อมาจะดีขึ้น) มือสั่น หวาดหวั่น กระวนกระวาย หงุดหงิด
ผลต่อกระเพาะอาหารและลําไส้ จะมีอาการมากในช่วงแรกของการรักษา
อาการผื่นขึ้น มีอันตรายมากเพราะปฏิกิริยาภูมิแพ้ที่อาจลามถึงปอด
การพยาบาลเฉพาะสําหรับผู้ป่วยที่มีผลข้างเคียงจากยาต้านเศร้า (Antidepressant)
ยาต้านเศร้าใช้เวลานานกว่า 2-4 สัปดาห์ ดังนั้นในผู้ป่วยซึมเศร้ารุนแรง และมีความคิดฆ่าตัวตายควร รับประทานยาอย่างต่อเนื่อง ร่วมกับการระมัดระวัง และป้องกันการฆ่าตัวตาย
ยามีผลต่อความอยากอาหารamitriptyline ทําให้รับประทานอาหารมากขึ้น น้ําหนักเพิ่ม
ในผู้ป่วยที่ได้รับยามานาน แล้วอาการดีขึ้นหากต้องการหยุดยา ควรปรึกษาแพทย์ ไม่ควรหยุดยาทันที
แนะนําผู้ป่วยให้เปลี่ยนท่าเวลาจะลุกยืน หรือนั่งด้วยความระมัดระวัง