Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความผิดปกติทางจิตใจในระยะหลังคลอด (ต่อ) - Coggle Diagram
ความผิดปกติทางจิตใจในระยะหลังคลอด (ต่อ)
ผลกระทบต่อภาวะสุขภาพของมารดาและทารก
ผลต่อมารดาหลังคลอดและครอบครัว
ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดเป็นเวลานาน จะทำให้มารดาหลังคลอดไม่สามารถควบคุมอารมณ์ด้านลบและตอบสนองต่อความต้องการของทารกได้น้อยลง ทำให้เกิดความเครียดและความผิดปกติทางอารมณ์ ที่อาจมีความรุนแรงมากขึ้นจนถึงขั้นรบกวนความเป็นอยู่ของมารดา และการเลี้ยงดูทารก
มารดาหลังคลอดมีพฤติกรรมการทำร้ายตัวเอง เช่น ดื่มสุรา สูบบุหรี่ เสพสารเสพติด หรือการฆ่าตัวตาย
มารดาหลังคลอดสูญเสียความสนใจในชีวิตสมรส โดยเฉพาะเรื่องเพศสัมพันธ์ ทำให้ชีวิตสมรสไม่ราบรื่น อาจเป็นสาเหตุของการหย่าร้าง
มารดาหลังคลอดจะสูญเสียสมรรถภาพทางร่างกาย จากการพักผ่อนไม่เพียงพอ ความเหนื่อยอ่อน เซื่องซึม และสูญเสียพลังงานรวมทั้งมีสุขภาพจิตที่ไม่สมบูรณ์
ผลต่อทารก
มารดาหลังคลอดที่มีภาวะซึมเศร้า มักจะไม่สามารถแสดงบทบาทการเป็นมารดาที่ดีได้ ส่งผลต่อทารก มีปัญหาในด้านการพัฒนาสติปัญญา การพัฒนาด้านอารมณ์ และพฤติกรรมแสดงออกในระยะยาว เช่น ไม่เล่นกับผู้อื่น พูดช้า ไม่ตอบสนองด้านอารมณ์ และมีความเครียดมากกว่ามารดาโยนความผิดให้กับบุตร ทุบตีทารุณบุตร ละทิ้งบุตร
ทำให้ทารกที่เจริญเติบโตมาจากการเลี้ยงดูของมารดาเหล่านี้ ร้อยละ 10-16 จะมีความผิดปกติทางจิตเป็นแบบจิตเภท เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ ส่วนอีกร้อยละ 10-30 มีความผิดปกติทางจิตใจอื่นๆ เช่น มีปัญหาการเข้าสังคมกับเพื่อน และความสัมพันธ์กับครูไม่ดี อารมณ์แปรปรวน ขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง
โรคจิตหลังคลอด(postpartum psychosis)
อาการมักรุนแรง เริ่มใน 2-3 วันแรกหลังคลอด อาจพบอาการของโรคได้ภายใน 1 เดือนแรกหลังคลอด
มีอาการวิกลจริต ส่วนใหญ่โรคจิตหลังคลอด สามารถรักษาหายขาดได้ หากได้รับการประเมินและให้การช่วยเหลือดูแลรักษาตั้งแต่เริ่มแรก
อาการและอาการแสดง
ความไม่สุขสบายก่อน อาการแรกๆ ที่พบบ่อยคือ นอนไม่หลับ บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง ขาดความสนใขต่องสิ่งแวดล้อมรอบตัว กระสับกระส่าย ผุดลุกผุดนั่ง หงุดหงิด วิตกกังวลอย่างมาก การรับรู้ตัวอาจลางเลือน ความจำเสีย สับสน และขาดสมาธิ มีพฤติกรรมวุ่นวายแปลกประหลาด มีความหลงผิด
อาการโรคจิต หลังจากนั้น อาจมีอารมณ์ซึมเศร้า หรืออารมณ์ดีแบบไม่สมเหตุสมผลก็ได้ อารมณ์จะเปลี่ยนแปลงเร็วมาก อาจมีอาการโรคจิตหรือวิกลจริตร่วมกับความผิดปกติของอารมณ์ ซึ่งอาการโรคจิตที่จำเพาะของโรคจิตหลังคลอด คือความผิดปกติไบโพล่าร์(bipolar disorder) หรืออารมณ์แปรปรวนสองรูปแบบ
โรคจิตหลังคลอด และโรคซึมเศร้าหลังคลอด อาการที่แตกต่างที่สำคัญคือ การรับรู้ผิดปกติ อาการหลุดโลกแห่งความจริง บางรายมีอาการหลงผิด หรือประสาทหลอน(hallucination) รวมทั้งความคิดว่าตนเองกำลังประสบเคราะห์กรรมอย่างรุนแรง มีความเชื่อว่าควรกำจัดทารก เนื่องจากทารกมีความผิดปกติ พิการ หรือมีสิ่งชั่วร้ายสิงอยู่ บางรายมีความคิดว่าบุตรถูกแย่งชิงไป เสียชีวิตหรือมีความพิการ อาจมีหูแว่ว(auditory hallucination) ได้ยินเสียงคนตำหนิติเตียน กล่าวร้ายตน หรือเสียงสั่งให้ทำร้ายทารก
สาเหตุและปัจจัยส่งเสริม
เคยมีประวัติโรคจิตหลังคลอด
มีประวัติเป็น bipolar มีโอกาสที่จะเป็นโรคนี้สูงกว่าสตรทั่วไป ร้อยละ 40
มีบุคลิกภาพแปรปรวนอยู่ก่อนแล้ว
มีความเครียดขณะตั้งครรภ์ และขากการสนับสนุนจากบุคคลรอบข้าง และอาจมีปัญหาเศรษฐกิจ
มีประวัติบุคคลในครอบครัว ญาติใกล้ชิดป่วยด้วยอาการ bipolar