Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลเด็กและวัยรุ่น ที่มีปัญหาโลหิตวิทยาและนีโอพลาสมา - Coggle Diagram
การพยาบาลเด็กและวัยรุ่น
ที่มีปัญหาโลหิตวิทยาและนีโอพลาสมา
Anemia (ภาวะซีด)
ภาวะที่เม็ดเลือดแดงในกระเเสเลือดน้อยกว่าปกติ
เกณฑ์การวินิจฉัย
เด็ก
3y-7y Hb<11.5Gm% Hct >35%
8y-11y Hb<12.0Gm% Hct >36%
6 m-2 y Hb<11 Gm% Hct >33%
การแบ่งชนิด ตามสาเหตุ
โลหิตจางจากภาวะเม็ดเลือดแดงถูกทำลายหรือแตกง่าย
• G-6-P-D deficiency
• Thalassemia
โลหิตจางจากการสูญเสียเลือด
การเกิดอุบัตติเหตุ
โรคพยาธิปากขอ
• โลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กโรค Aplastic anemia
ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
การได้รับธาตุเหล็ไม่เพียงพอ
ความต้องการเพิ่มขึ้น ได้แก่ เด็กเล็กอายุ 9-24 เดือนโดยเฉพาะ วัยรุ่นหญิงที่มีประจำเดือน อาจเกิดภาวะซีดได้
ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ
• มังสวิรัติ
• ทารกแฝด ทารกที่ไม่ได้รับอาหารเสริมเหล็กหลังอายุ 6 เดือน
• ได้รับสารที่ต้านการดูดซึมธาตุเหล็ก เช่น ชา กาแฟ
• โลหิตจางเนื่องจากเซลล์ผิดปกติที่แทรกเข้าไปแทนไขกระดูก
อาการและอาการแสดง
พบอาการ➡️อ่อนเพลีย ไม่มีเเรง เวียนศรีษะ เหนื่อยง่าย สมาธิสั้น ความจำลดลง เป็นลม หรืออาจเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว
อาการมากหรือน้อยขึ้นกับความรุนแรงของภาวะโลหิตจาง
•ความเร็วของโลหิตจาง
• การเปลี่ยนแปลงเลือดในร่างกาย
• ความสามารถในการปรับตัวของร่างกาย
•โรคที่เป็นสาเหตุของภาวะโลหิตจาง
• เมื่อมีภาวะโลหิตจางเกิดขึ้น➡️จะส่งผลให้การขนส่งออกซิเจนจากปอดไปยังเนื้อเยื่อส่วนต่างๆลดลง ➡️ทำให้เกิดภาวะเนื้อเยื่อพร่องออกซิเจน
การรักษา
•ขจัดสาเหตุที่ทำให้เกิดการขาดธาตุเหล็ก
•ให้ธาตุเหล็กรับประทานวันละ 4-6มก./กก. แบ่งให้วันละ 3ครั้ง ควรให้ก่อนอาหาร
• ส่วนชนิดฉีดต้องให้ทางเส้นเลือดดำ หรือทางกล้ามเนื้อ จะให้ในผู้ป่วยที่มีปัญหาในการดูดซึม
• การให้เลือดจะให้เฉพาะในรายที่มีอาการซีด รุนแรงมาก หรือมีการติดเชื้อ
ผลข้างเคียงและภาวะแทรซ้อนจากยา
• ทำให้มีอุจจาระสีดำคล้ำ ในรายที่ได้รับเหล็ก ล้วอุจจะระไม่ดำ อาจเกิดจากการรับประทานยาไม่ตรงตามเวาหรือขนาด
• พิษที่เกิดจากการได้รับธาตุเหล็ก จะทำให้คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง มีเลือดออกในระบบทางเดินอาหาร ทำห้อาเจียนหรือถ่ายเป็นเลือด แต่ถ้าพบต้องรีบพบแพทย์ทันที
ภาวะพร่องเอมไซม์ G-6-PD deficiency
อาการเเละอาการเเสดง
พบในเด็กทารกเเรกเกิดจะทำให้มีภาวะตัวเหลือง(hyperbilirubinemia) ประมาณวันที่3-7หลังคลอด
ถ้าพบในเด็กโตนอกจากจะมีอาการตัวเหลือง อ่อนเพลีย เเละซีดเเล้วจะพบว่ามีปัสสาวะเป็นสีน้ำปลาหรือสีโคล่าร่วมด้วย บ่งชี้ว่ามีการเเตกทำลายของเม็ดเลือด
บางรายอาจพบมีตับม้ามโตได้เล็กน้อยในขณะที่เม็ดเลือดเเดงเเตกเฉียบพลัน
การวินิจฉัย G-6-PD
ดูจากอาการเเละอาการเเสดงของการมีเม็ดเลือดเเตกเฉียบพลัน
พบว่าระดับเอมไซม์G-6-PD ต่ำกว่าปกติ
พบHeinz body
ประวัติครอบครัว
การรักษา
เเนะนำให้หลีกเลี่ยงสารที่ทำให้เม็ดเลือดเเดงเเตก
ป้องกันภาวะไตวายเฉียบพลัน เนื่องจากมีฮีโมโกบินไปอุดหลอดเลือดฝอยของไตโดยทำให้น้ำ โดยทำให้น้ำเพียงพอหากยังปัสสาวะได้ตามปกติ
ป้องกันการตกตะกอนของบิลิรูบินอาจทำให้โซเดียมคาร์บอเนตหรือโซเดียมแลกเตทเพื่อให้ปัสสาวะเป็นด่าง
ให้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวแก่ผู้ป่วยและญาติเน้นว่าไม่ควรบริจาคเลือดแม้ว่าจะเป็นช่วงที่ร่างกายปกติเพราะอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้รับเลือด
แนะนำให้แนะนำให้พกบัตรที่แสดงว่าเป็นผู้ป่วยพร่องเอนไซม์G-6-PD
5) Lymphoma (มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
สาเหตุ
ไม่ทราบเเน่นอน
Epstein-Barr Virus
การติดเชื้อ Mononucleosis
ชนิดของ Lymphoma
Hodgkin's lymphoma
การวินิจฉัย
CT
Chest film
MRI
วัดขนาดต่อมน้ำเหลือง
Biopsy พบ reed sternbery cell
อาการเเละอาการเเสดง
พบบ่อยในเด็กผู้ชาย > เด็กผู้หญิง พบมากในเด็กวัยรุ่นเเละผู้ใหญ่ มีต่อมน้ำเหลืองโต ไม่เจ็บพบมากบริเวณ supraclavicle เเละคอ มีไข้สูง
เหงื่อออกมากตอนกลางคืน น้ำหนักลดเกิน 10%ในระยะ 6 เดือนที่ผ่านมา
การแบ่งระยะความรุนแรงระยะของโรค
ระยะที่ 2 ผิดปกติที่ต่อมน้ำเหลืองมากกว่า 2เเห่ง อยู่ด้านเดียวกับกระบังลม
ระยะที่ 3 ต่อมน้ำเหลืองโตทั้ง 2ด้านของหระบังลม
ระยะที่ 1 ผิดปกติต่อมน้ำเหลืองเเห่งเดียวอวัยวะอื่นเเห่งเดียว เช่น ตับ ปอดไต ลำไส้
ระยะที่ 4 มีการกระจายทั่วร่างกาย
การรักษา
รังสี
ระยะที่1 เเละ 2 เเต่มีผลต่ออวัยวะข้างเคียง
เคมีบำบัด
ระยะที่ 3 MOPP S/E มากใช้ COPP เเทน ยาชุดใหม่ ABVD
Non Hodgkin's lymphoma
อาการและอาการแสดง
อาจคลําพบก้อนในท้องโตหรือตรวจพบ mediastinum mass ในผู้ป่วย primary gastonitestinal lymphoma ปวดท้อง อาเจียน ท้องเดิน ท้องโต
พบได้บ่อยกว่า HD และพบในเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 3 ปี พบ 7-11 ปี
มีอาการรวดเร็วและมีอาการหลายแห่งในร่างกาย มีต่อมน้ำเหลืองโตโดยเฉพาะที่คอ
ถ้าระยะที่ 3 และ 4 อาจพบตับม้ามโต
สาเหตุ
กกรมพันธุ์
การได้รับรังสี เช่น ทารกที่ได้รับรังสี X-ray ขณะอยู่ในครรภ์มารดา
เด็กที่มีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องมาแต่กําเนิด
ได้รับยากดระบบภูมิคุ้มกันในผู้ที่เตรียการเพื่อการปลูกถ่ายอวัยวะ
Epstein - Barr Virus
การรักษา
ฉายรังสี อาจช่วยลดการอุดตันและลดปวด มักร่วมกับยาเคมีบำบัด
ยาเคมีบำบัด ใช้ในเด็กที่มีการกระจายโรครุนแรง ยาที่ใช้รักษามะเร็งเม็ดเลือดขาว
การผ่าตัด รายที่มีก้อนในท้อง
การแบ่งระยะความรุนแรงของโรค
ระยะที่1 มีรอยโรคเกิดกับต่อมน้ำเหลืองต่อมเดียวหรืออวัยวะเดียว และอาจะพบก้อนที่ช่องอกช่องท้อง
ระยะที่ 2 มีรอยโรคเกิดกับอวัยวะร่วมกับต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียงอยู่ด้านเดียวกันของกระบังลม
ระยะที่ 3 มีรอยโรคอยู่ 2 ด้านของกระบังลม 1.อวัยวะอื่นๆ 2 แห่ง 2.ต่อมน้ำเหลืองโตในช่องอก ช่องท้องและอาจมีก้อนอยู่ข้างๆกระดูกสันหลัง
ระยะที่ 4 มีรอยโรคดังกล่าวได้แล้วในระยะใดระยะหนึ่งและมีการแพร่กระจายไปยังระบบประสาทส่วนกลางและไขกระดูก
Burkitt's lymphoma
อาการและอาการแสดง
ผู้ป่วยมีก้อนที่ขากรรไกร maxilla
ตาโปน
พบในเด็กผู้ชายอายุ 4-5 ปี
**ไม่ค่อยพบที่กระดูก เต้านม ลูกอัณฑะ
มีก้อนในช่องท้องที่ไตหรือรังไข่
การพยาบาลก่อนได้รับเคมีบำบัด
ดูแลให้ได้รับอาหารอย่างเพียงพอ เพื่อช่วยในการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ
ดูแลให้ผู้ป่วยทำความสะอาดช่องปาก
ขณะให้ยาดูแล ระมัดระวังบริเวณที่ให้ยา ไม่ให้มีการเคลื่อนไหวมาก เพราะอาจทําให้เกิดการรั่วของยาออกนอกหลอดเลือด
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอ
ติดตามผลการตรวจพิเศษบางชนิดการให้ยาเคมีบําบัด เช่นMethotrexate จะมีผลต่อไต L-Asparaginase ยามีผลทําให้เกิดภาวะ Acute Pancreatitis ได้
สังเกอาการผิดปกติ และภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น เช่น ผื่นขึ้นตามตัว หายใจหอบเหนื่อย แน่นหน้าอก หากพบอาการดังกล่าวให้รายงานแพทย์
ดูแลทางด้านจิตใจ
ป้องกันและให้การช่วยเหลือ เมื่อเกิดอาการข้างเคียงจากยาเคมีบำบัด
อธิบายถึงประโยชน์และความจําเป็นในการรักษา เพื่อให้เกิดความยอมรับและความร่วมมือในการรักษา
6) Leukemia (โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว)
สาเหตุ
เซลล์มะเร็งเข้าไปแทนที่ภายในไขกระดูก ทําให้มีการสร้างเม็ดเลือดผิดปกติ โดยเฉพาะการกสร้าง WBC
มีการสร้าง Blast มากกว่าปกติและไม่สามารถควบคุมได้
ชนิดของมะเร็งเม็ดเลือดขาว
Acute Lymphoblastic Leukemia (ALL)
L1 : เป็น lymphoblast ขนาดเล็ก มีไซโตพลาสมาน้อย
มีนิวเคลียสไม่ชัดเจนหรือไม่มีนิวเคลียส นิวเคลียสสีสม่ำเสมอ
L2 : เป็น lymphoblast ขนาดใหญ่ต่างกัน มีไซโตพลาสมมาก
เห็นนิวเคลียสชัดเจน ย้อมติดสีฟ้าอ่อน
L3 : เป็น lymphoblast ขนาดใหญ่เท่าๆกัน มีนิวเคลียสชัดเจนจํานวน 1- 2 อัน ย้อมติดสีฟ้าเข้ม
Chronic Leukemia
Acute Non-Lymphoblast Leukemia (ANLL)
Myeloblastic, Monoblastic, Myelomonoblastic
Promyeloblastic, Erythroleukemia, Megakaryoblastic
อาการและอาการแสดง
หน้าที่ของกระดูกเสียไป
Blast เพิ่มขึ้น -> ติดเชื้อง่าย
WBC ลดลง -> ซีด
Platelet ลดลง -> เลือดออก
การลุกลามในอวัยวะอื่นๆ
ต่อมน้ำเหลืองในช่องอก -> หายใจลําบาก
เยื้อหุ้มสมอง -> ปวดหัวอาเจียน ตามัว
เนื้อสมอง -> แขนขาอ่อนแรง ชัก อัมพาต
ระบบสืบพันธุ์-> ลูกอัณฑะโต แข็งแต่ไม่ปวด
ระบบทางเดินอาหาร -> เลือดออก แผลในปาก
ระบบกระดูกและข้อ -> ปวดกระดูก
การวนิจฉัยโรค
ตรวจไขกระดูก
พบเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเซลล์ตัวอ่อนไปแทนที่ไขกระดูกปกติจากจํานวนมาก โดยอย่างน้อยต้องมีเซลล์เม็ดเลือดขาวตัวอ่อนมากกว่าร้อยละ 5
การแบ่งระดับของไขกระดูกตามจํานวนของเซลล์เม็ดเลือดขาวตัวอ่อน
M1 = ไขกระดูกปกติจะมี blast < ร้อยยละ 5 และมี lymphocyte <ร้อยละ 40
M2 = ไขกระดูกที่มีจํานวน blast ร้อยละ 5-25 และมี lymphocyte ร้อยละ 40-70
M3 = ไขกระดูกมีจํานวน blast >ร้อยละ 25 และมี lymphocyte >ร้อยละ 70
การรักษา
ให้ยากระตุ้นภูมิคุ้มกัน (Immunotherapy)
แต่ฤทธิ์ของยากดไขกระดูกทําให้จำนวน WBC ลดลง ทําให้ผู้ป่วยมีโอกาสติดเชื้อได้
รักษาตามอาการ
ให้เลือด ยาปฏิชวีนะ
การใช้เคมีบําบัด ( Chemotherapy)
Induction of Remission : เป็นช่วงของการรักษาโรคให้สงบ โดยฆ่าเซลล์มะเร็งให้ตายมากที่สุด เร็วที่สุดทําอันตรายเซลล์ปกติน้อยที่สุด ใช้เวลา 5-6 weeks
Intensiv Phase (Consolidation Phase) : ทําลายเซลล์ที่หลงเหลือ ใช้ยาขนาดสูงๆ ระยะเวลาสั้น ๆ ใช้เวลา 3 weeks
CNS Prophylaxis Phase : เป็นการป้องกันไม่ให้เซลล์มะเร็งเข้าสู่ระบบประสาท โดยฉายรังสีร่วมกับฉีดยาเคมีบําบัดทางไขสันหลัง (IT) ใชเ้วลา 3 weeks
Maintenance Therapy : รับยาต่อ ~3-5 ปี อาการดีขึ้นจึงหยุดยา
8) Neuroblastoma (มะเร็งระบบประสาท)
อาการและอาการแสดง
พบบ่อยคือ มีก้อน ในเด็ก >1 ปีพบก้อนที่ช่องท้องหรือบริเวณต่อมหมวกไตเป็นที่เริ่มแรก
ในเด็กทารกมักพบก้อนที่บริเวณช่องอก อาจพบบางรายมีก้อนที่ศีรษะ
มีอาาการต่อมน้ำเหลืองโต มีไข้ ซีด น้ำหนักตัวลด อ่อนเพลีย รับประทานอาหารได้น้อย
สาเหตุ
เป็นนมะเร็งที่ประกอบด้วยเซลล์อ่อนของเซลล์ประสาท (Neural blast)
ลักษณะการกระจายและการดําเนินโรคจะต่างกัน ขึ้นอยู่ที่อวัยวะที่เป็น
เป็นเนื้องอกที่พบมากที่สุดในเด็กตั้งแต่แรกเกิด-5ปี พบในเด็กชายและเด็กหญิงเท่าๆกัน
เป็นมะเรง็ของระบบประสาท Sympathetic จึงมีการสรา้ง
Catecholamine ออกมาจํานวนมาก
การแบ่งระยะ
ระยะที่ 1 : เนื้องอกจำกัดอยู่ที่จุดเริ่มและตัดออกได้หมดไม่มีการกระจายไปต่อมน้ำเหลือง
ระยะที่2A: เนื้องอกอยู่ด้านเดียวของช่องท้องแต่ดันออกได้ไม่หมด ไม่มีการกระจายไปต่อมน้ำเหลือง
ระยะที่2B: เนื้องอกอยู่ด้านเดียวของช่องท้องอาจตัดออกได้หมดหรือไม่หมดก็ได้มีการกระจาายไปต่อมน้ำเหลืองด้านเดียวกับในช่องท้อง
ระยะที่3: เนื้องอกกระจายไปด้านตรงข้ามช่องท้อง
ระยะที่4: เนื้องอกอยู่ในตำแหน่องเหมือนระยะที่1และ2 และมีการแพร่กระจายไปที่ตับ ผิวหนัง หรือไขกระดูกเท่านั้น
การพยาบาล
ให้การพยาบาลตามอาการ ได้แก่ ทำความสะอาด เช็ดตัวให้แห้ง เนื่องจากมีการหลั่ง Catheolamine ออกมา
เตรียมผู้ป่วยไปห้องผ่าตัด และกลับจากผ่าตัด
การรักษา
การผ่าตัด ตัดเนื้องอกออกมาให้ได้มากที่สุด และตัดตัวอย่างต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียงมาตรวจ
การใช้รังสีรักษาร่วมกับให้ยาเคมี โดยขึ้นกับระยะของโรค อายุ
Thalassemia
สาเหตุ
: ถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบ autosmal recessive
ดังนั้นจะมีผู้เเสดงอาการของโรคจะต้องมีของโรคธาลัสซีเมีย2ยีน
หรือมียีนของธาลัสซีเรีย1ยีนมร่วมกับยีนของฮีโมโกบินผิดปกติที่เเสดงอาการคล้ายยีนของธาลัสซีเมียอีก1ยีน
ถ้ามียีนของโรคธาลัสซีเมีย1ยีน ร่วมกับยีนปกติ จะถือว่าไม่เป็นโรคเเต่เป็นภาหะ
อาการเเละอาการเเสดง
ซีด กระดูกเเขนขา เปราะบางมหักง่าย
ผิวหนังคล้ายสีโคลนเกืดภาวะเหล็กเกิน จากการให้เลือดบ่อย เหล็กไปสะสมอวัยวะต่างๆ เช่นตับอ่อน ตับ หัวใจ ต่อมเพศ ต่อมไร้ท่อเเละผิวหนัง
ตับ ม้ามโต เนื่องจากมีการสร้างเม็ดเลือดเเดงเพิ่มขึ้น พร้อมทั้งมีการทำลายมากขึ้น
การวินิจฉัยโรคธาลัสซีเมีย
ดูจากอาการและอาการแสดง
ประวัติครอบครัว
ผลการตรวจห้องปฏิบัติการ
พบฮีโมโกลบินและฮีมาโตคริตต่ำกว่าปกติ
ระดับเหล็กในซีรีมสูงเนื่องจากมีภาวะเหล็กคั่ง
ผลเอกซเรย์กะโหลกศรีษะหรือภาพรังสีกะโหลกศรีษะจะพบการขยายตัวของโพรงกระดูก มีลักษณะ tower skull และ hair on end เนื่องจากเพิ่มการสร้างเม็ดเลือดแดง
การตรวจหาชนิดฮีโมโกลบิน(hemoglobintyping)
การรักษาพยาบาลผู้ป่วยธาลัสซีเมีย
การตรวจคัดกรอง เพื่อควบคุมและป้องกันโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง
การให้เลือดและกรดโฟลิคเพื่อแก้ไขอาการซีด และให้สารอาหารที่จำเป็นแก่เม็ดเลือดแดง
การตัดม้าม : (Splenectomy) จะทำเฉพาะในรายที่มีอาการซีดรุนแรง
การให้ยาขับเหล็ก เมื่อเกิดภาวะเหล็กเกิน
การปลูกถ่ายไขกระดูก (Bone marrow transplant) เป็นวิธีเดียวที่สามารถรักษาโรคธาลัสซีเมียให้หายขาดได้ในปัจจุบัน
โรคไขกระดูกฝ่อ(Aplastic anemia)
พยาธิสภาพ
ระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติ
มีผลทำลายเซลล์ต้นกำเนิดที่เสร้างเม็ดเลือดในไขกระดูก หรือหายไปโดยถูกแทนที่ด้วยเซลล์ไขมัน➡️ทำให้ไม่สามารถสร้างเม็ดเลือดต่างๆได้ตามปกติ
•ไขกระดูกฝ่อ
ความผิดปกติในไขกระดูก คือมีเซลล์ในไขกระดูกน้อยหรือไม่มีเลย➡️ทำให้สร้างเม็ดเลือดได้น้อยลง➡️เป็นผลให้เม็ดเลือดทุกชนิดต่ำหมด(pancytopenia)
สาเหตุ
ได้รับรงสี สารเคมี และสารพิษ
ส่วนใหญ่เป็น เบนซิน สารหนู สารละลายอื่นๆที่มีส่วนประกอบของเบนซิน เช่น ยาฆ่าแมลง
การติดเชื้อ
การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ การติดเชื้อไวรัส แดงกี่ การติดเชื้อ humanherpesvirus,cytomegalovirusและmeningococcal pneumonia
ได้รับยาที่มีฤทธิ์กดไขกระดูก
chloramphenicol carbamazepine, penicillamine, sulfonamide, quinine, acetazolamide, aspirin, indomethacin, ibuprofen,methicillin, chlorpromazine และ furosemide
อาการเเละอาการแสดง
• อาการเลือดออกจากเกล็ดเลือดต่ำ
จะมีจุดเลือดออกเล็กๆตามผิวหนังจ้ำเลือด มีเลือดกำเดาเลือดออกตามไรฟัน อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายเป็นเลือด ปัสสาวะเป็นเลือดและเลือดออกในสมองซึ่งพบได้น้อยแต่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่สำคัญ
การติดเชื้อจากเม็ดเลือดขาวต่ำ
จะมีการติดเชื้อได้ง่ายอาจมาด้วยอาการไข้ เป็นฝี หรือแผลในปาก การติดเชื้ออาจรุนแรงถึงขั้นติดเชื้อในกระเเสเลือด เเละเสียชีวิตได้
อาการซีด
จากมีเม็ดเลือดแดงต่ำ จะอ่อนเพลีย ไม่มีเเรง เวียนศรีษะ
การรักษา
• ให้ส่วนประกอบของเลือดแทน
• ให้ยาปฏิชีวนะ เพื่อรักษาภาวะติดเชื้อต่างๆ
• การปลูกถ่ายเซลล์ต้ำกำเนิดเม็ดเลือด
•รักษาด้วย anabolic steroids ได้แก่ anbrogen
• การให้ยากดภูมิคุ้มกัน
• การใช้สารกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือด
การวินิจฉัย
จากการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
• การตรวจเลือดจะพบเม็ดเลือดทุกชนิดต่ำ
• การตรวจไขกระดูก จะพบเซลล์ไขกระดูกลดน้อยลง มีไขมันเพิ่มมากขึ้น จำนวนเซลล์ตัวอ่อนของเม็ดเลือด 3ชนิด ลดลง
Wilm’s tumor (มะเร็งไตในเด็ก)
การรักษา
ติดตามด้วยการฉายรังสีในการรักษา Wilm’s tumor ในระยะ stage ll ,lll Iv ในระยะ stage l ไม่จำเป็นต้องฉายรังสีแต่ถ้าผลพยาธิวิทยาของชิ้นเนื้อไม่ดีก็อาจจำเป็นต้องใช้การรักษาด้วยรังสีร่วมด้วย
หลังผ่าตัดอาจใช้การรักษาด้วยยาเคมีบำบัดร่วมด้วย vincristine คู่กับ Daunorubicin,Doxorubicin
Nephrectomy with total removal of tumor
อาการและอาการแสดง
เป็น large,encapsulated tumor ที่เกิดขึ้นใน renal parenchyma cell มักพบในไตเพียงข้างใดข้างหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะพบใน left kidney
เกิดขึ้นระหว่างที่มีการเจริญเติบโตของ fetus ในครรภ์ ในระยะ Embryonic period
พบมากที่สุดในเด็กอายุระหว่าง 1-3 ปี
การพยากรณ์โรคดี ถ้าไม่มีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น
การประเมินสภาพผู้ป่วย
ผู้ปกครองมักจะสังเกตtumorได้ตอนอาบน้ำหรือแต่งตัวให้เด็กจะพบได้บริเวณเส้นกึ่งกลางลำตัวใกล้ตับคลำก้อนได้นุ่ม
พบมีภาวะ hypertension บางครั้งมี hematuria,anemiaและsings of metastasis
Diagnosis test : IVP (Intravenous pyelogram)เพื่อดู mass
Staging
•staging I : พบเฉพาะใน kidney
•staging II : tumor ยึดเกาะอยู่หลัง kidney และยังไม่มีการสร้างCapsule หุ้ม tumor
•staging III : tumor ยึดติดกับ Abdomen
•staging IV : tumor มีการแพร่กระจายไป lung , bone หรือ brain
•staging V : มีการแพร่กระจายไปที่ both kidneys
ภาวะพร่องโปรธรอมบิน คอมเพล็กซ์
(The Acquired Prothrombin Complex Deficiency Syndrome: APCD)
อาการเเละอาการเเสดง
-เลือดออกโดยเฉพาะในเฉพาะในกะโหลกศีรษะมากกว่าอวัยวะส่วนอื่น
-ซีด
-ตับโต
-มีไข้ เช่น ไข้หวัด ท้องเสีย ตัวเหลือง เป็นต้น
การวินิจฉัย
-การซักประวัติ
: มักพบว่าไม่ได้รับวิตามินk หลังคลอดเลี้ยงด้วยนมแม่และไม่ได้รับอาหารเสริม
-การตรวจร่างกาย
: พบอาการเลือดออกในอวัยวะต่างๆของร่างกาย ตรวจพบอาการทางระบบประสาท กระหม่อมโป่งตึง
: พบภาวะซีดในผู้ป่วย
: พบเลือดออกผิดปกติบริเวณที่เจาะเลือดและฉีดยา
-ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
: พบระดับโปธรอมบินคอมเพล็กซ์ต่ำมาก ระยะเวลาการหดตัวของลิ่มเลือดและการแข็งตัวของเลือดยาวกว่าปกติ
: Hct , Hb ต่ำ
: เม็ดเลือดแดงตัวอ่อนสูงจากการเสียเลือดเฉียบพลัน
การรักษา
-ให้การรักษาแบบประคับประคอง ป้องกันด้วยการฉีดวิตามินK เมื่อแรกเกิด หรือทารกที่มีภาวะเสี่ยง
-ให้วิตามินK ขนาด1-5mg
-ให้พลาสมาสด
-ถ้ามีเลือดออกในกะโหลกศีรษะ
: หากมีอาการชักให้ยากันชัก
: ลดอาการบวมของสมอง
: ผ่าตัดเอาเลือดออกจากสมอง
: เจาะกระหม่อม
: เจาะหลัง
โรคเกล็ดเลือดต่ำ
(Idiopathic Thrombocytopenic Purpura: ITP)
อาการอาการแสดง
-จะมีอาการแสดงของโรคติดเชื้อไวรัส เช่น ไข้ออกผื่น หัด หัดเยอรมัน ติดเชื้อทางเดินหายใจ ไข้สุกใส คางทูม นำมาก่อนที่จะมีอาการเลือดออกผิดปกติ นานประมาณ2สัปดาห์
-จากนั้นจะพบอาการเลือดออกที่ผิวหนัง หรืออาจพบเลือดกำเดา เลือดออกตามไรฟัน
-ถ้ามีอาการเลือดออกในสมองจะมีอาการปวดศีรษะ อาเจียน ชัก หมดสติ และทำให้เสียชีวิตได้
การวินิจฉัย
-จากการซักประวัติและตรวจร่างกาย พบว่ามีเลือดออกง่าย มีการติดเชื้อไวรัสมาก่อน ตรวจร่างกายพบมีเลือดออกตามอวัยวะต่างๆ
-การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
: ตรวจพบเกล็ดเลือดต่ำ บางรายอาจต่ำกว่า50,000 เซลล์ต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร
: พบค่าฮีมาโตคริตต่ำถ้ามีการเสียเลือดมาก
: ตรวจไขกระดูกอาจปกติ หรือพบว่ามีเกล็ดเลือดตัวอ่อนเพิ่มมากขึ้น และอาจมี erythoid hyperplasia
การรักษา
-หายใจได้เองเป็นส่วนใหญ่ อาการไม่รุนแรง การรักษาจึงเป็นการรักษาเพื่อประคับประคอง ไม่ให้เกิดอันตรายจากเกร็ดเลือดต่ำ
-หลีกเลี่ยงยาที่มีผลยับยั้งการทำงานของเกร็ดเลือด เช่น ASA lbuprofen N-SAID
-ให้ corticosteroid เช่น prednisolone เพื่อลดการสร้างแอนติบอดียับยั้งการจับและทำลายเกล็ดเลือด
-ให้เลือดหรือให้ส่วนประกอบของเลือด
-ให้ intravenous immunoglobulin (IVIG)
-การให้ anti-D antibody เป็นการกำจัดแอนติบอดีที่เคลือบบนเม็ดเลือดแดง ทำให้เม็ดเลือดแดงมีอายุนานขึ้นระดับเกร็ดเลือดจะเพิ่มขึ้นหลังให้ anti- D antibody ไปแล้ว 48 ชั่วโมงดังนั้นจึงไม่เหมาะกับรายที่มีเลือดออกรุนแรงเฉียบพลัน
-การตัดม้ามให้ทำในรายที่เป็นเรื้อรัง
-การรักษาภาวะฉุกเฉิน เช่น เลือดออกในสมอง
ฮีโมฟีเลีย (Hemophilias)
อาการอาการเเสดง
อาการและอาการแสดงของ Hemophilia A และ Hemophilia B จะคล้ายคลึงกันส่วน Hemophilia C จะรุนแรงน้อยกว่า
เลือดออกในข้อ (Hemarthrosis) ข้อที่มีเลือดออกบ่อยที่สุด คือ ข้อเข่า ข้อเท้า ข้อศอก ข้อนิ้วเท้า โดยแบ่งออกเป็น2ระยะ
2.เลือดออกในกล้ามเนื้อ ส่วนใหญ่เป็นที่กล้ามเนื้อขา
3.เลือดออกในสมอง ทำให้ผู้ป่วยอาจเกิดอัมพาต กล้ามเนื้ออ่อนแรง พัฒนาการช้า ชัก ปัญญาอ่อนได้
4.มีก้อนเลือดที่กระดูก (Hemophiliac Cyst)
5.อาการที่แสดงถึงภาวะเลือดออกบริเวณอื่นๆ เช่น เหงือกและฟัน เลือดกำเดา ปัสสาวะเป็นเลือด
การวินิจฉัย
-ประวัติเลือดออกง่ายหยุดยากเป็นๆหายๆตั้งแต่เด็ก
-ประวัติครอบครัวเป็นโรคฮีโมพิเลีย
-พบจ้ำเลือดหรือก้อนเลือด
-เลือดออกในข้อ
-เคลื่อนไหวข้อไม่ได้
-ระยะเวลาการหดตัวของลิ่มเลือด ยาวกว่าปกติ
-PTT ยาวกว่าปกติ
-Cloting activity ของแฟคเตอร์ VII IX ต่ำกว่าปกติ
การรักษา
1.ทดแทนด้วยส่วนประกอบของเลือดที่มีปัจจัย การแข็งตัวของเลือดที่หายไป
-พลาสม่าสดแช่แข็ง(Fresh frogen plasmer) แฟคเตอร์ VII แยกส่วน (Cryopreciditate) พลาสม่าผง,พลาสมาแฟคเตอร์เข้มข้น
2.รักษาอาการเลือดออกในแต่ละอวัยวะถ้าเป็นก้อนเลือดให้ประคบด้วยน้ำแข็งในวันแรก วันต่อมาประคบด้วยน้ำอุ่น ถ้าเลือดออกในข้อใช้ผ้ายืดพันให้ข้อได้พักและเริ่มเคลื่อนไหวเมื่ออาการปวดข้อทุเลาลง
3.ให้ Corticosteriol
4.ให้คำแนะนำทางด้านพันธุกรรม
เนื้องอกสมอง (Brain Tumor)
อาการและอาการแสดง
ถ้าเกิดในตำแหน่งที่ควบคุมการทรงตัว เด็กก็จะมีอาการเดินเซหกล้มบ่อย
ในรายอื่นๆอาจจะมีอาการแขน-ขาอ่อ นแรงหรือชาครึ่งซีก, อาการตาเข, ตากระตุก, ปากเบี้ยวหรืออาการชักเกร็ง หรือกระตุก
อาการจะเป็นมาก ถ้าก้อนเนื้องอกโตมาก
การรักษา
การผ่าตัดในปัจจุบันนี้จะใช้กล้องผ่าตัดที่เรียกว่า “Microscope”
การฉายรังสี ทำในรายที่มีเซลล์เนื้องอกหลุดเข้าไปในน้ำไขสันหลังและแพร่กระจายไปเกิดเนื้องอกที่ไขสันหลังแต่มัก ไม่ฉายรังสีในเด็กที่อายุน้อยกว่า 2 ปี เพราะรังสีจะมีผลต่อการเจริญของสมอง
เคมีบำบัดมักมีข้อจำกัดเพราะยาส่วนมากไม่สามารถผ่านทำนบกั้นเลือดและสมองได้ ยาที่นิยมใช้คือ nitrosourea, vincristine, methotrexate, cisplatin
การพยาบาลระยะก่อนผ่าตัด
การพยาบาลระยะหลังผ่าตัด
ดูแลทางเดินหายใจจากภาวะสมองบวมจะมีผลต่อ gag reflex
การจัดท่าหลังผ่าตัดให้นอนทับด้านตรงกันข้ามกับด้านที่ผ่าตัด นอนศีรษะสูง
การเคลื่อนย้ายเด็กต้องทำด้วยความระมัดระวัง
วัดสัญญาณชีพ ทุก 15 นาที จนกว่าอาการจะอยู่ในระดับปกติและคงที่
ให้สารน้ำอย่างเคร่งครัด
ดูแลความสะอาดอย่างระมัดระวัง
ให้ข้อมูลแก่บิดามารดา และช่วยเหลือให้เด็กและบิดามารดา สามารถเผชิญและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้จากการผ่าตัดอธิบายให้มารดาทราบถึงผลที่จะเกิดขึ้น
การเตรียมเด็กก่อนผ่าตัดอาจได้รับยาที่ทำให้อุจจาระอ่อนนุ่มขึ้นเพื่อป้องกันอาการท้องผูก
มะเร็งจอประสาทตา (Retinoblastoma)
อาการอาการแสดง
การตรวจพบรูม่านตาเป็นสีขาว ซึ่งเกิดจากแสงที่สะท้อนจากก้อนมะเร็งจอตา เป็นอาการนำที่พบบ่อยที่สุด โดยพบถึง 50-60 % ผู้ป่วยจะมีลักษณะตาวาว สีขาวๆ กลางตาดำ
ภาวะตาเหล่พบได้เป็นอันดับรองลงมา ประมาณ 20 - 30 %
ตาอักเสบตาแดง ม่านตา 2 ข้างสีไม่เหมือนกัน เกิดจากการที่มีหลอดเลือดฝอยมากผิดปกติที่ม่านตา หรือมีเลือดออกในช่องหน้าม่านตา หรือต้อหิน เป็นต้น
ปวดตา และมีการอักเสบของเนื้อเยื่อรอบๆลูกตา
อาการอื่นๆ ในรายที่มีการกระจายของมะเร็งไปนอกลูกตา เช่น ตาโปน เนื่องจากก้อนมะเร็งลามออกมาในเบ้าตา ผู้ป่วยที่เซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปที่สมองอาจมีอาการ ชัก หรือแขน ขาอ่อนแรง หากมีการกระจายไปที่กระดูก อาจคลำก้อนได้ที่ศีรษะหรือลำตัว ถ้ามีการกระจายไปที่ตับอาจคลำก้อนได้ในช่องท้อง เป็นต้น
ลูกตาฝ่อ พบได้น้อย เกิดจากการที่ก้อนมะเร็งโตเร็ว ทำให้ขาดเลือดมาเลี้ยงที่ก้อน เมื่อเซลล์มะเร็งตาย จะปล่อยสารที่ทำให้เกิดการอักเสบ เป็นผลให้ลูกตาฝ่อ
การวินิจฉัยโรค
โดยทั่วไปแพทย์จะสามารถวินิจฉัยโรคนี้ได้โดยการตรวจตาอย่างละเอียดเนื่องจากผู้ป่วยมะเร็งจอตาส่วนใหญ่พบในเด็กเล็ก ดังนั้นนอกจากการซักประวัติ และตรวจร่างกายแล้ว สิ่งที่ควรทำในผู้ป่วยทุกรายที่สงสัยว่าเป็นโรคนี้คือการดมยาสลบเพื่อทำการตรวจตาผู้ป่วยอย่างละเอียดดังนี้
การตรวจพิเศษอื่นๆ ที่ช่วยในการวินิจฉัย
การตรวจตาด้วยคลื่นเสียง สามารถทำได้โดยผู้ป่วยไม่ต้องดมยาสลบช่วยบอกขนาดของก้อน และตรวจหาการสะสมของหินปูนภายในก้อน
การตรวจตาและสมอง ด้อยเครื่องเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์ เพื่อดูการกระจายของโรคไปยังสมองและภายในเบ้าตา
การตรวจตาและสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า อาจช่วยให้ตรวจพบการกระจายไปยังเส้นประสาทตาและสมองได้ชัดเจนกว่าการตรวจด้วยเครื่องเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์
ในกรณีที่แพทย์สงสัยว่าโรคอาจมีการกระจายไปนอกลูกตาแล้ว อาจทำการตรวจน้ำไขสันหลัง ตรวจไขกระดูก และการทำเอ็กซ์เรย์กระดูกทั่วร่างกาย
การวินิจฉัยแยกโรค Retinoblastoma
เนื่องจากโรคตาในเด็กหลายโรคที่อาจตรวจพบลักษณะตาวาวคล้ายโรค มะเร็งจอตาในเด็ก แต่การรักษาและการพยากรณ์โรคต่างกันอย่างสิ้นเชิง ดังนั้นหากวินิจฉัยแยกโรคได้ถูกต้องผู้ป่วยก็จะได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้อง ตัวอย่างโรคที่แยกจากมะเร็งจอตาในเด็ก มี 3 โรคดังนี้
ความผิดปกติในการเจริญของวุ้นตาแต่กำเนิดมักพบในตาข้างเดียว ตาที่เป็นโรคนี้จะมีขนาดเล็กกว่าปกติ และไม่พบหินปูนภายในลูกตา ลักษณะตาวาวที่พบเกิดจากพังผืดที่อยู่หลังเลนส์ตาและต้อกระจกที่อาจพบร่วมด้วย
ลูกตาอักเสบจากพยาธิตัวกลมลักษณะที่ต่างจากมะเร็งจอตาในเด็กคือมีการอักเสบในลูกตาร่วมกับอาการปวดตาและแพ้แสง เมื่อตรวจตาจะพบลักษณะที่บ่งถึงการอักเสบ เช่น ตรวจพบเซลล์ที่เกิดจากการอักเสบภายในวุ้นตา อาจพบก้อนบริเวณจอตาร่วมกับมีการดึงรั้งจอตา ซึ่งไม่ค่อยพบในมะเร็งจอตาในเด็ก การตรวจเลือดหาการติดเชื้อพยาธิจะให้ผลบวก
ความผิดปกติแต่กำเนิดของหลอดเลือดที่จอตา ส่วนใหญ่พบในเด็กผู้ชายและมักเป็นตาข้างเดียว ตรวจตาพบไขมันรั่วจากหลอดเลือดที่ผิดปกติเห็นเป็นสีเหลืองใต้จอตา ลักษณะเด่นของโรคนี้คือการตรวจพบ หลอดเลือดของจอตามีการโป่งพอง ซึ่งจะพบน้อยมากในโรคมะเร็งจอตาในเด็ก
การรักษา
การผ่าตัดนำลูกตาออก
ถ้าก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่ และไม่สามารถรักษาสภาพการมองเห็นได้แล้ว การรักษาคือ การผ่าตัดนำลูกตาออก ถือเป็นการผ่าตัดที่ไม่ยาก และแพทย์สามารถใส่ลูกตาปลอมให้เด็กได้ภายใน 3-6 สัปดาห์หลังผ่าตัด
การรักษาโดยวิธีนี้จะทรมานจิตใจทั้งผู้ปกครองมากจนบางครั้งผู้ปกครองบางคนปฏิเสธการรักษา และเปลี่ยนไปรักษาด้วยวิธีการที่ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ หรือนำเด็กกลับไปอยู่บ้าน และกลับมาพบแพทย์อีกครั้ง เมื่อมะเร็งแพร่กระจายไปมาก จนอาจเสียชีวิตได้ ดังนั้นถ้ามะเร็งเป็นมากจนมีข้อบ่งชี้ว่าต้องผ่าตัดเอาลูกตาออก ก็ควรจะทำ เพื่อที่จะรักษาชีวิตของเด็กเอาไว้ ส่วนเรื่องที่ไม่มีดวงตานั้น แพทย์สามารถใส่ตาปลอมที่เป็นพลาสติกแทนได้ ทำให้เด็กไม่มีปัญหาเรื่องความสวยงาม ที่สำคัญอย่าพาเด็กไปอยู่บ้านเฉยๆ เพราะเด็กจะเป็นมากจนเสียชีวิตได้ แทนที่จะเสียดวงตาเท่านั้น
รังสีรักษา
โดยทั่วไปถือว่าโรคมะเร็งจอตาในเด็ก เป็นมะเร็งที่ตอบสนองต่อการรักษาโดยการฉายรังสี อย่างไรก็ตาม
ภาวะแทรกซ้อนของการฉายรังสี คืออาจทำลายเนื้อเยื่อใกล้เคียง ก่อให้เกิดเป็นต้อกระจกในภายหลังได้ และอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อจอตาได้เช่นกัน นอกจากนี้ การฉายรังสีจะมีผลต่อการเจริญของเนื้อเยื่อกระดูกที่อยู่ใกล้ ๆ ลูกตา อาจทำให้เกิดมะเร็งกระดูกได้
เคมีบำบัด
ในปัจจุบันการรักษาโดยวิธีนี้ ช่วยให้หลีกเลี่ยงการฉายรังสีหรือการผ่าตัดนำลูกตาออกได้ในผู้ป่วยบางราย ยาเคมีบำบัดที่ใช้มีหลายชนิด ซึ่งจำเป็นต้องใช้ร่วมกัน ทำให้อาจเกิดผลข้างเคียงได้มากผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาล
การวางแร่
เป็นวิธีที่ให้รังสีรักษาเฉพาะที่บริเวณก้อนมะเร็ง ซึ่งมีขนาดปานกลาง ข้อดีของวิธีนี้คือผู้ป่วยไม่เสี่ยงต่อภาวะผิดปกติของกระดูกเบ้าตา
ภาวะแทรกซ้อน : อาจเกิดความผิดปกติของหลอดเลือดในจอตา
การรักษาด้วยแสงเลเซอร์
เป็นการรักษาโดยใช้ลำแสงเลเซอร์ เพื่อทำลายก้อนมะเร็งขนาดเล็ก
ภาวะแทรกซ้อน : อาจเกิดจอตาฉีกขาด, จอตาลอกหลุด
การจี้ด้วยความเย็น
เป็นการรักษาโดยใช้ความเย็นทำลายเซลล์มะเร็ง การรักษาด้วยวิธีการจี้ความเย็นใช้ได้กับก้อนมะเร็งขนาดเล็ก
ภาวะแทรกซ้อน: อาจเกิดจอตาฉีกขาด, จอตาลอกหลุด, ม่านตาอักเสบ
ภาวะเลือดออกในข้อ (hemathrosis)
อาการอาการเเสดง
•รู้สึกอุ่นบริเวณข้อ
•รู้สึกปวดบริเวณข้อ หรือเสียวแปลบในข้อ
•ผิวหนังบริเวณข้อบวมแดง มีรอยฟกช้ำ เมื่อกดแล้วรู้สึกเจ็บ
•รู้สึกข้อตึง ฝืดแข็ง ไม่สามารถยืดหรืองอได้เต็มที่
ระดับความรุนแรงของภาวะ Hemarthrosis มีตั้งแต่ระดับปานกลางไปจนถึงรุนแรง โดยอาการจะยิ่งรุนแรงขึ้นถ้ามีเลือดออกในปริมาณมาก
การวินิจฉัย
แพทย์จะถามประวัติทางการแพทย์ อาการบาดเจ็บล่าสุด ประวัติการเป็นโรคฮีโมฟีเลียของคนในครอบครัว และตรวจบริเวณข้อที่มีอาการเจ็บปวด บวม หรือฟกช้ำ
•การเอกซเรย์ (X-Rays) หรือการทำเอ็มอาร์ไอ (MRI) เพื่อดูความเสียหายของเนื้อเยื่อหรือกระดูกอ่อน
•การเจาะระบายน้ำในข้อ (Joint Aspiration) โดยเจาะเข็มเข้าไปที่บริเวณข้อเพื่อเก็บตัวอย่างน้ำในข้อไปตรวจ โดยน้ำในข้อที่อาจบ่งบอกว่าเกิดภาวะ Hemarthrosis มักจะมีสีแดง สีชมพู หรือสีน้ำตาล อย่างไรก็ตาม หากผู้ป่วยเป็นโรคข้อเสื่อมอยู่แล้ว แพทย์จะไม่ตรวจวินิจฉัยด้วยวิธีนี้
•การตรวจเลือดเพื่อวัดปริมาณของโปรตีนที่ช่วยให้เลือดแข็งตัว
การรักษาเบื้องต้น
การรักษาเบื้องต้นสามารถทำได้โดยการปฐมพยาบาลเพื่อลดอาการบาดเจ็บและอาการบวมตามหลักการ RICE ซึ่งย่อมาจาก
•Rest การพัก ผู้ป่วยจะต้องงดการเคลื่อนไหวของข้อที่เกิดอาการบาดเจ็บโดยใช้ไม้ค้ำหรืออุปกรณ์ช่วยพยุงแทน
•Ice การประคบเย็น
•Compression การใช้ผ้ายืดพันยึดรอบบริเวณที่บาดเจ็บ
•Elevation การยกบริเวณที่บาดเจ็บขึ้นสูง
การรักษาโดยใช้ยาเเละการผ่าตัด
แพทย์อาจจะจ่ายยาที่ออกฤทธิ์ช่วยให้เลือดแข็งตัวในผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกผิดปกติ เช่น กรดทรานเอกซามิก (Tranexamic Acid) จะช่วยยับยั้งการสลายตัวของลิ่มเลือด แต่ยากลุ่มที่ช่วยให้เลือดแข็งตัวยาอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ ปัจจุบันมีการรักษาเชิงป้องกันโดยฉีดโปรตีนแฟคเตอร์ที่ช่วยให้เลือดแข็งตัว (Prophylactic factor replacement therapy) โดยจะให้ในผู้ป่วยฮีโมฟีเลียชนิดรุนแรงปานกลางถึงรุนแรงมาก
การรักษาด้วยการผ่าตัด
การรักษาด้วยการผ่าตัดจะใช้ในกรณีที่มีภาวะ Hemarthrosis รุนแรง หรือใช้เมื่อวิธีการรักษาอื่นไม่ได้ผล โดยอาจเป็นการผ่าตัดเยื่อหุ้มข้อ (Synovectomy) หรือการผ่าตัดใส่ข้อเทียมเพื่อช่วยลดความเจ็บปวด ทำให้ผู้ป่วยสามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้สะดวก และสามารถทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ดีขึ้น
การทำกายภาพบำบัดเป็นการช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นฟูร่างกายและเคลื่อนไหวอย่างถูกต้องเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่อข้อ การทำกายภาพบำบัดอาจใช้เป็นวิธีรักษาเดี่ยว หรือใช้เป็นวิธีรักษาร่วมหลังจากการเจาะระบายน้ำในข้อหรือการผ่าตัดก็ได้
Hemagioma
เป็นเนื้องอกที่เกิดจากการเจริญอย่างผิดปกติของเซลล์หลอดเลือดฝอยหรือหลอดน้ำเหลืองฝอย
ปานแดง (capillary hemangioma)
ก้อนคล้ายผลสตอเบอร์รี่ (strawberry hemangioma)
มีเนื้องอกที่อยู่ภายใต้ผิวหนัง (cavernous hemangioma)
การรักษา
พิจารณาตามตำแหน่งและขนาดของก้อนเนื้องอก ถ้าก้อนมีขนาดใหญ่มากและอยู่บริเวณที่รบกวนการทำงานของอวัยวะนั้นๆ เช่น บริเวณตา ถ้ารอให้ก้อนเล็กลงเองอาจทำให้เด็กสูญเสียสมรรถภาพในการมองเห็นตามปกติ
พิจารณาให้ยากลุ่มสเตียรอยด์ เพื่อให้ก้อนเล็กลง ไม่นิยมผ่าตัดทเพราะทำได้ยากและอาจทำให้ไม่สวยงาม แต่ถ้าเป็นก้อนบริเวณซอกคอ จะทำให้เด็กคอเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง ควรพิจารณาผ่าตัดให้เด็กภายในขวบปีแรก
การพยาบาล
อธิบายให้บิดามารดาเด็กเข้าใจว่าเป็นเนื้องอกชนิดไม่รุนแรง สามารถหายเองได้เป็นส่วนมาก ต้องดูแลไม่ให้แผลฉีกขาด ดูแลความสะอาด แต่ในรายที่ก้อนโตและมีผลรบกวนการทำงานของอวัยวะที่มีก้อน ต้องผ่าตัด ควรอธิบายให้บิดามารดาเข้าใจถึงความจำเป็นที่ต้องผ่าตัด
การวินิจฉัยโรค
พิจารณาจากลักษณะเนื้องอกดังกล่าวในระหว่างการตรวจร่างกาย ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องเข้ารับการตรวจอย่างอื่นเพิ่มเติม ส่วนผู้ที่อาจมีเนื้องอกภายในร่างกายแต่ยังระบุไม่ได้ว่าเกิดเนื้องอกที่ใดจะต้องเข้ารับการตรวจอัลตราซาวด์ รวมทั้งอาจให้ทำ MRI Scan หรือตรวจเอกซ์เรย์หลอดเลือด เพื่อวางแผนการรักษาให้ผู้ป่วย ทั้งนี้ เด็กเล็กที่เกิดเนื้องอกหลายแห่งจะได้รับการตรวจจากกุมารแพทย์ แพทย์ผิวหนัง ศัลยแพทย์ จักษุแพทย์ และรังสีแพทย์
โลหิตจางจากขาดธาตุเหล็ก
Iron deficiency
สาเหตุ
ธาตุเหล็กไม่เพียงพอต่อการผลิตฮีโมโกลบิน ส่งผลให้ออกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อบริเวณต่าง ๆ ลดลง หรือเกิดภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
การวินิจฉัยโรค
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
อาการและอาการแสดง
ซีด
เล็บอ่อนแบนเป็นรูปช้อน (koilonychias)
มุมปากอักเสบ (angular
stomatitis)
ลิ้นเลี่ยน glossitis)
เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการช้า
ถ้าผู้ป่วยมีอาการซีดอย่างรุนแรง จะทำให้หัวใจเต้นเร็ว หัวใจโต
การรักษา
ขจัดสาเหตุที่ทำให้เกิดการขาดธาตุเหล็ก
ให้เหล็กรับประทานวันละ 4-6 มก/กก แบ่งให้วันละ 3 ครั้ง ควรให้ก่อนอาหารจะดูดซึมได้ดี
ฉีดเข้าเส้นเลือดดำ ให้ในผู้ป่วยที่มีปัญหาในการดูดซึมเหล็กจากระบบทางเดินอาหาร
ให้เลือดให้เฉพาะรายที่มีอาการซีดรุนแรงมาก