Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Nursing Care of the Child with Cancers - Coggle Diagram
Nursing Care of the Child with Cancers
Leukemia
ความหมาย
มะเร็งเม็ดเลือดขาว คือมะเร็งที่เกิดจากเซลล์ที่สร้างเซลล์เม็ดเลือดในไขกระดูกหรือเซลล์ต่อมน้ำเหลือง มะเร็งเม็ดเลือดขาวมีหลายประเภท บางชนิดมักเกิดขึ้นในเด็กในขณะที่บางชนิดมักเกิดขึ้นกับผู้ใหญ่
โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดต่างๆ
• มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน (acute leukemia) คือการที่เซลล์ตัวอ่อนของเม็ดเลือดขาวแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว ( ANLL , AML , ALL )
• มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรัง
(chronic leukemia) คือการที่เซลล์เม็ดเลือดขาวถูกผลิตออกมามากเกินไป ทำให้
ผู้ป่วยมีเม็ดเลือดขาวมากกว่าปกติ ( CML , )
• มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดมัยอีโลจีนัส (myelogenous leukemia) เป็นชนิดของมะเร็งที่เกิดจากเซลล์ในสาย myeloid เติบโตผิดปกติ
• มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟซิติก (lymphocytic leukemia) เป็นชนิดของมะเร็งที่เกิดจากเซลล์ในสาย lymphoid
อาการทางคลินิก
จากเซลล์เม็ดเลือดที่ผิดปกติไปรบกวนการสร้าง
เม็ดเลือดชนิดต่างๆ ทำให้เกิดอาการดังนี้
เม็ดเลือดแดงลดลง ผู้ป่วยอาจมีอาการจากภาวะโลหิตจาง เช่น เหนื่อยง่าย ใจสั่น วิงเวียนศีรษะ
เม็ดเลือดขาวลดลง ทำให้ติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
2.เกล็ดเลือดลดลง ทำให้มีภาวะเลือดออกง่ายกว่าปกติ
อาจพบจุดเลือดออกหรือจ้ำเลือดตามตัว รวมถึงภาวะเลือดหยุดยาก
สาเหตุของมะเร็งเม็ดเลือดขาว
ปัจจุบัน ทางการแพทย์ยังไม่อาจระบุสาเหตุของการเกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาวได้แน่ชัด แต่คาดว่าเกิดการกลายพันธุ์ในดีเอ็นเอของเซลล์เลือด ส่งผลให้เซลล์ดังกล่าวเจริญเติบโตผิดปกติและเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วในไขกระดูก ทำให้ผู้ป่วยมีเซลล์เม็ดเลือดขาวปกติน้อยลง
ภาวะแทรกซ้อน
มะเร็งเม็ดเลือดขาวอาจส่งผลให้อวัยวะที่ได้รับผลกระทบหรือมีเซลล์มะเร็งแพร่ผ่านทำงานผิดปกติ เช่น สมอง หัวใจ ปอด ระบบทางเดินอาหาร ไต อัณฑะ เป็นต้น
Diagnosis ข้อวินิจฉัย
1.ประวัติ ยา รังสี สารเคมี ครอบครัวเป็นมะเร็ง
2.ตรวจร่างกาย
3.ตรวจเองปฏิบัติการ
CBC : wbc, rbc, plt, lymphocytes สูงตาม ระยะของโรค
bone marrow aspiration : blast cell > 5%
LP: wbc
liver, renal: SGOT, LDH, BUN, Uric, Cr.
CXR mediastinal mass
การรักษาพยาบาล
1.เคมีบำบัด (Chemotherapy) เป็นการรักษาหลักสำหรับมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน โดยยาจะไปทำลายเซลล์มะเร็งที่แบ่งตัวอย่างรวดเร็ว เพื่อให้ไขกระดูกสามารถสร้างเม็ดเลือดปกติขึ้นมาใหม่
2.การรักษาแบบจำเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง (Targeted therapy) เป็นยาที่ออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง โดยไม่ทำลายเซลล์ปกติ
3.การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด (Stem cell transplantation) จะนำเซลล์ต้นกำเนิดจากเลือดหรือไขกระดูกของตัวผู้ป่วยเอง (Autologous transplantation) ญาติพี่น้องหรือผู้บริจาค (Allogeneic transplantation) ที่เข้ากันได้ มาปลูกถ่ายให้ผู้ป่วยหลังจากได้รักษาจนโรคอยู่ในระยะสงบเพื่อลดโอกาสกลับเป็นซ้ำ
Neuroblastoma
ความหมาย
หมายถึง มะเร็งชนิดก่อนที่พบบ่อยในเด็กเกิดจากพัฒนาการที่ผิดปกติ ของเซลล์กำเนิดระบบประสาท (primordial neural crest cells) พบ
การเกิดโรคในบริเวณที่มีเนื้อเยื่อระบบประสาทซิมพาเทติดและเนื้อเยื่อ บริเวณที่จะเจริญเป็นต่อมหมวกไตส่วนใน (adrenal medulla) ส่วน ใหญ่พบการเกิดโรคบริเวณช่องท้องในบริเวณต่อมหมวกไตมาก ที่สุด13-15 ปี
สาเหตุ
Neuroblastoma เกิดจากเซลล์ประสาทที่ยังเจริญเติบโตไม่ เต็มที่ มีชื่อเรียกว่านิวโรบลาสท์ โดยขณะทารกในครรภ์เติบโตขึ้น นิวโรบลาสท์จะพัฒนาเป็นเซลล์ประสาทใยประสาท และเซลล์ บริเวณแกนกลางของต่อมหมวกไต แต่ในบางกรณีนิวโรบลาสท์ที่ เจริญเติบโตหรือแบ่งตัวผิดปกติอาจกลายเป็นเนื้องอก ทําให้เกิด เป็นมะเร็งนิวโรบลาสโตมาและแพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่นๆ ของร่างกาย
พยาธิสรีรวิทยา
ผู้ป่วยจึงมักมาด้วยก้อนเนื้องอกที่ต่อมอะดรีนอล (Adrenal gland) พบก้อนในท้องหรือบริเวณส่วนกลางของลำตัว ก้อนที่เกิดขึ้นอาจกด ประสาทไขสันหลังเกิดเป็นอัมพาต อาจมีการหลั่งสารแคทโคลามินพิเนฟรินและ
นอ ฟิเนฟรินออกมา ทำให้ผู้ป่วยมีอาการผิดปกติ ได้แก่ หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว ความดันเลือดสูง และเหงื่อออกมาก นอกจากนี้ยังมี การสร้างสารวีเอ็มเอ (Vanilly mandelic acid; VMA) และการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิสภาพยังขึ้นอยู่กับตำแหน่ง ของก้อนเนื้องอกของเนื้อเยื่อประสาท
ข้อมูลสนับสนุน มีก้อนในช่องท้อง มีอาการบาด เจ็บหน้าอกเหนื่อยหอบ
เป้าหมายการพยาบาล คลำแล้วไม่พบก้อนในช่องท้อง
ผลลัพธ์ที่คาดหวัง ไม่มีอาการเจ็บหน้าอก
-ไม่มีอาการไอเรื้อรัง
ภาวะแทรกซ้อน
Neuroblastoma ภาวะแทรกซ้อนอาจเกิดขึ้นได้หลังการรักษา เช่น เล็กมีพัฒนาการและการเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ หรือสูญเสีย การทำงานของอวัยวะบางอย่าง ซึ่งภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อย คือการสูญเสียการได้ยิน ทั้งนี้ ความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อน จะขึ้นอยู่กับวิธีการรักษาและอายุของเล็กขณะทำการรักษานอกจาก นี้ในบางกรณีอาจเกิดภาวะที่ระบบภูมิคุ้มกันทำลายเนื้อเยื่อเส้น ประสาท (Opsoclonus-Myoclonus Syndrome) ทำให้กระทบ ต่อการเรียนรู้พัฒนาการของกล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหวช้ากว่า ปกติ หรือเกิดปัญหาด้านพฤติกรรมและภาษา
วินิจฉัยพยาบาล
ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการสูญเสีย อวัยวะบางอย่างและจะเจริญ เติบโตช้ากว่าปกติ
ลักษณะอาการทางคลินิค
•Impaired ability to walk
-Changes in eyes (bulging,dark circlesdroopy eyelids)
•Pain in various locations of the body/bone pain
•Diarrhea
•High blood pressure
การวินิจฉัย
ชักประวัติตรวจร่างกาย
2การตรวจเลือดมักพบ namochromic nommocyfic anemia ซึ่งอาจเกิดจากเลือดออกเข้าไปในก้อนมะเร็ง การขาดสารอาหารหรือมีการลุกลามของมะเร็ง เข้าไปกระดูก
3การตรวจไขกระดูก Neuroblastoma ชิ่งลามเข้ามาใน
ใบกระดูกเรียงตัวกันเป็นวง ลักษณะคล้ายดอกกุหลาบ (rosette like formation)
Wilms tumor
ความหมาย
มะเร็งไตในเด็ก เกิดขึ้นจากเซลล์มะเร็งที่เจริญเติบโตอย่างผิดปกติในไตข้างใดข้างหนึ่ง หรือไตทั้งสองข้างในผู้ป่วยเด็กบางราย ส่งผลให้ท้องบวม ปวดท้อง หรือคลำท้องแล้วเจอก้อน โดย Wilms Tumor เป็นมะเร็งไตชนิดที่มักพบมากในวัยเด็ก โดยเฉพาะช่วงอายุ 3–4 ปี แต่จะพบได้น้อยลงเมื่อเด็กอายุมากขึ้น
ระยะของ Wilms Tumor
ระยะที่ 1 : พบมะเร็งในไตเพียงข้างใดข้างหนึ่ง และสามารถผ่าตัดก้อนมะเร็งทั้งหมดออกมาได้
ระยะที่ 2 : มะเร็งลุกลามไปยังเนื้อเยื่อและโครงสร้างที่อยู่นอกไต แต่ยังสามารถผ่าตัดออกมาได้
ระยะที่ 3 : ผ่าตัดมะเร็งออกแล้วแต่ยังมีเซลล์มะเร็งหลงเหลืออยู่ภายในท้อง
ระยะที่ 4 : มะเร็งลุกลามไปยังอวัยวะส่วนอื่นของร่างกาย เช่น ปอด ตับ กระดูก หรือสมอง เป็นต้น
ระยะที่ 5 : พบก้อนมะเร็งในไตทั้งสองข้าง ซึ่งแพทย์จะพิจารณาการรักษาที่ต่างกันไปในแต่ละราย
อาการ
โดยส่วนใหญ่ ผู้ป่วย Wilms Tumor จะไม่มีอาการใดๆ แต่อาจสังเกตพบว่าท้องของเด็กขยายใหญ่ขึ้นหรือคลำเจอก้อนที่ท้องโดยบังเอิญ ซึ่งก้อนดังกล่าวมักไม่แพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่นแม้จะมีขนาดใหญ่มากขึ้นก็ตาม ร่วมกับอาการอื่น ๆ เช่น มีไข้ ปัสสาวะปนเลือด คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก ไม่อยากอาหาร หายใจไม่อิ่ม และความดันโลหิตสูง
สาเหตุ
คนในครอบครัวเคยมีประวัติป่วยเป็นโรคมะเร็งไตชนิดนี้มาก่อน
เด็กเพศหญิงมีโอกาสเกิด มากกว่าเด็กเพศชาย โดยเฉพาะช่วงอายุ 3–4 ปี แต่จะเสี่ยงน้อยลงเมื่อเด็กโตขึ้น และพบได้น้อยมากเมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่
มีความผิดปกติบางอย่างมาตั้งแต่กำเนิด เช่น ภาวะไม่มีม่านตา หรือลำตัวซีกใดซีกหนึ่งมีขนาดใหญ่กว่าปกติ
ข้อวินิจฉัย
1.ติดเชื้อ เสี่ยงต่อการติดเชื้อเนื่องจาก WBC ต่ำ
3.อุณหภูมิร่างกายสูงเนื่องจากติดเชื้อ
4.ได้รับสารอาหารและน้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
2.ความทนต่อการทำกิจกรรมลดลง
5.เคลื่อนไหวลำบากเนื่องจากมีก้อนในช่องท้อง
การรักษาพยาบาล
1.การผ่าตัดโดยผ่าตัดเป้าหมายเพื่อนำเอาเนื้อร้ายออกจากไต
และคงเหลือเนื้อไตที่ดีไว้เพื่อให้ร่างกายทำงานเป็นปกติมากที่สุด
การจี้ด้วยคลื่น ความถี่วิทยุหรือการรักษาด้วยความเย็น
การรักษาด้วยวิธีอุดเส้นเลือดเพื่อช่วย
ให้เนื้องอกหมดตัวก่อนทำการผ่าตัด
การฉายรังสีเพื่อลดขนาดหรือควบคุมอาการของมะเร็ง
ที่ไตแพร่กระจายไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย
การใช้เคมีบำบัด
การรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัดเพื่อช่วยฟื้นฟูระบบภูมิคุ้มกัน
ภาวะแทรกซ้อน
อาจเสี่ยงต่อการแพร่กระจายไปยังปอด ต่อมน้ำเหลือง ตับ กระดูก สมอง หรืออวัยวะส่วนอื่น จึงจำเป็นต้องได้รับการรักษาหลายวิธีรวมกันจนอาจเสี่ยงต่อผลข้างเคียงจากการรักษาตามมา อีกทั้งการใช้ยาเคมีบำบัดแต่ละตัวอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่ต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละคน เช่น ผมร่วง คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย ท้องเสีย โลหิตจาง ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ ผิวหนังหรือเล็บเปลี่ยนสี เสี่ยงต่อการติดเชื้อมากขึ้น เป็นต้น
Lymphoma
ความหมาย
ระบบน้ำเหลืองเป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายนั้นรวมไปถึงต่อมน้ำเหลือง ต่อมไทมัส ม้าม และไขกระดูก ผลิตเซลล์เม็ดเลือดขาวที่เรียกว่า lymphocytes ซึ่งจะต่อสู้กับเชื้อโรคและป้องกันเราจากโรคและการติดเชื้อ เมื่อเซลล์เม็ดเลือดขาวเกิดการกลายพันธุ์ นําไปสู่โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
ประเภทของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
se)
มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดไม่ใช่ฮอดจ์กิน (Non-Hodgkin’s lymphoma) ซึ่งแบ่งได้อีกหลายประเภทขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์
อาการของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
ต่อมน้ำเหลืองโตบริเวณต่าง ๆ เช่น ที่คอ รักแร้ กระเพาะอาหาร และ
ขาหนีบบวม สัมผัสแล้วพบก้อนใต้ผิวหนังแต่ไม่ก่อให้เกิดอาการปวดแต่อย่างใด
มีไข้
น้ำหนักตัวลด
เหงื่อออกตอนกลางคืน
มีก้อนตามร่างกาย
สาเหตุของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
เชื่อว่าเกิดจากการกลายพันธุ์ของเซลล์เม็ดเลือดขาว ซึ่งเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง การติดเชื้อบางชนิด การใช้ยากดภูมิคุ้มกัน เป็นต้น
การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
การซักประวัติและการตรวจร่างกาย แพทย์จะสัมผัสที่บริเวณคอ รักแร้ และขาหนีบเพื่อดูว่าบวมหรือไม่และตรวจดูว่าตับหรือม้ามโตหรือไม่
การตรวจเลือด
การตรวจชิ้นเนื้อต่อมน้ำเหลือง
การเจาะไขกระดูกและการตรวจชิ้นเนื้อ
การตรวจวินิจฉัยด้วยภาพถ่าย เช่น CT สแกน MRI สแกน และ PET scan
การรักษาโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
รังสีรักษา เพื่อทําลายเซลล์มะเร็งด้วยการใช้ลําแสงพลังงานสูง
การเฝ้าระวัง เหมาะสําหรับมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่โตช้า จึงอาจต้องรอจนกว่าจะมีอาการ ระหว่างนั้นควรไปตามนัดแพทย์เป็นระยะ ๆ เพื่อติดตามเฝ้าดูอาการ
เคมีบําบัด เป็นการให้ยาเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็งที่เติบโตอย่างรวดเร็วในรูปแบบของยาเม็ดหรือทางหลอดเลือดดำ
การปลูกถ่ายไขกระดูกหรือการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์เป็นการแทนที่ไขกระดูกด้วยเซลล์ที่แข็งแรงจากผู้บริจาคหรือตัวผู้ป่วยเอง
การรักษาอื่น ๆ เช่น ยาพุ่งเป้า การรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด และการรักษาแบบ chimeric antigen receptor (CAR)-T cell therapy