Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 47 ปี เตียง 2/2, อาการสำคัญ, วินิจฉัยแรกรับ,…
ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 47 ปี เตียง 2/2
ปวดท้องน้อยมาก มีน้ำสีน้ำตาลไหลออกจากช่องคลอด
Bilateral TOA
Bilateral endometriotic cyst
เกิดจากการที่เลือดระดูหรือประจำเดือนมีการไหลย้อนกลับเข้าไปในอุ้งเชิงกราน ผ่านทางท่อนำไข่ ซึ่งโดยปกติแล้วเวลามีประจำเดือน เลือดประจำเดือนจะไหลออกมาทางช่องคลอด แต่จะมีเลือดประจำเดือนบางส่วนไหลผ่านท่อนำไข่เข้าไปในอุ้งเชิงกราน โดยเลือดประจำเดือนจะมีเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกอยู่ ซึ่งโดยปกติแล้วร่างกายจะมีกลไกในการกำจัดเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกเหล่านี้ แต่ในผู้หญิงบางคนมีความผิดปกติของกลไกในการจัดการเซลล์เหล่านี้ ทำให้เซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกที่หลุดออกมานั้นสามารถไปฝังตัวตามจุดต่างๆ ในอุ้งเชิงกราน รวมถึงรังไข่ และเกิดการเจริญเติบโตขึ้น เยื่อบุโพรงมดลูกเหล่านี้สามารถตอบสนองต่อฮอร์โมนเพศหญิงได้ เช่นเดียวกับโพรงมดลูกปกติ
ถุงน้ํารังไข่ (Endometriotic cyst หรือ endome- triomas) เกิดจากเยื่อบุโพรงมดลูกไปตกที่ผิวของรังไข่ มีการเจริญเติบโตของเซลล์ท่อบุโพรงมดลูกแล้วดันผิวรังไข่เข้าไปด้านใน เมื่อมีเลือดออกในแต่ละรอบเดือนก็จะมีการสะสมเลือดมากขึ้นเรื่อยๆ จนมีลักษณะเป็นก้อนถุงน้ําเลือดที่รังไข่ เม็ด เลือดมีการแตกสลายจึงทำให้เห็นเป็นเลือดเก่าๆ สีน้ำตาลคล้ายก้อนช็อกโกแล็ต บางครั้งจึงเรียกว่า chocolate cyst
ถุงน้ํารังไข่ (Endometriotic cyst หรือ endome- triomas)
เกิดจากการที่เลือดประจำเดือนไหลย้อนกลับ
อาการปวดประจำเดือนที่มากผิดปกติ โดยความรุนแรงของอาการปวดจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆตามเวลาที่ผ่านไป
อาการปวดท้องน้อยขณะมีเพศสัมพันธ์ โดยลักษณะอาการปวดจะปวดเจ็บลึกๆ ในช่องคลอดขณะมีเพศสัมพัธ์
ปวดท้องน้อยเรื้อรัง (มีอาการปวดท้องน้อยนานกว่า 6 เดือน)
มีบุตรยาก
คลำได้ก้อนที่ท้องน้อย
เลือดออกผิดปกติจากช่องคลอด
มีอาการปวดประจำเดือนมากผิดปกติ
ปวดท้องน้อยอยู่บ่อยๆ
มีน้ำสีน้ำตาลไหลออกจากช่องคลอด
การรักษา
การรักษาด้วยยา โดยการใช้ยาแก้ปวด หรือยาฮอร์โมนเพื่อกดการทำงานของรังไข่เพื่อบรรเทาอาการปวด ยาที่ใช้ในการรักษาได้แก่
1.1ยาแก้ปวดและยาต้านการอักเสบกลุ่มเอ็นเสด (NSAIDS)
1.2 ยาคุมกำเนิด รวมถึงชนิดยาเม็ด ยาฉีด ยาฝัง แผ่นแปะคุมกำเนิด และวงแหวนคุมกำเนิดทางช่องคลอด
1.3 ยาฮอร์โมนกลุ่มโปรเจนติน
1.4 ยาฮอร์โมนกลุ่มแอนโดรเจน
1.5 ยากลุ่ม Gonodotropin releasing hormone agonist (GnRHa)
การรักษาด้วยการผ่าตัด โดยการผ่าตัดจะเอารอยโรคหรือถุงน้ำช็อกโกแลตออก แต่ในรายที่เป็นมากอาจต้องทำการผ่าตัดเอามดลูกและรังไข่ออกทั้งสองข้าง ซึ่งปัจจัยที่คำนึงถึงการผ่าตัดว่าจะตัดอะไรออกบ้าง ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วย ความรุนแรง ของโรค อายุ ความต้องการมีบุตร และโอกาสการกลับเป็นซ้ำของโรคเป็นต้น
การรักษาร่วมกันระหว่างการใช้ยาและการผ่าตัด
รักษาโดยการผ่าตัดเปิดหน้าท้อง โดยได้ผ่าตัดเอาถุงรังไข่บางส่วนออก
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
การวางแผนจำหน่ายโดยใช้หลัก
D-METHOD
จุดมุ่งหมาย: ผู้ป่วยสามารถกลับไปดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง
ข้อมูลสนับสนุน
O: แพทย์มีแผนการรักให้กลับบ้านในวันพรุ่งนี้
กิจกรรมการพยาบาล : วางแผนจำหน่ายผู้ป่วยตามหลัก
D-METHOD
D-Diagnosis ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคและสาเหตุของการเกิดโรค อาการ และการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง
M-Medicine แนะนำการใช้ยาที่ผู้ป่วยได้รับอย่างละเอียด สรรพคุณของยา ขนาด วิธีใช้ และอาการข้างเคียงของยา
E-Environment แนะนำการจัดการสิ่งแวดล้อมที่บ้านให้เหมาะสมกับภาวะสุขภาพ
T-Treatment ทักษะที่เป็นตามแผนการรักษาและการเฝ้าสังเกตอาการที่ผิดปกติของตนเอง
H-Health การส่งเสริม ฟื้นฟูสภาพทางด้านร่างกายและจิตใจ ตลอดจนการป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ
O-Out patient การมาตรวจตามนัด การติดต่อขอความช่วยเหลือจากสถานพยาบาลใกล้บ้าน
D-Diet การเลือกรับประทานอาหารเหมาะสมกับโรคหลีกเลี่ยงหรืองดอาหารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ไม่สุขสบายเนื่องจากแน่นอึดอัดท้อง ไม่ถ่ายอุจจาระ
ข้อมูลสนับสนุน
S: ผู้ป่วยบอกว่า “ไม่ถ่ายอุจจาระตั้งแต่หลังวันผ่าตัด”
S: ผู้ป่วยบอกว่า “แน่นอึกอัดท้อง”
O: ท้องแข็งตึง
O: Bowel sound 3 ครั้ง/นาที
จุดมุ่งหมาย : ผู้ป่วยมีอาการแน่นอึดอัดท้องลดลง ถ่ายอุจจาระได้ปกติ
เกณฑ์การประเมิน :
ผู้ป่วยไม่บ่นแน่นอึดอัดท้อง
ท้องไม่แข็งตึง
ถ่ายอุจจาระได้ปกติ
Bowel sound 4-6 ครั้ง/นาที
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินอาการแน่นอึดอัดท้องและลักษณะของหน้าท้อง
ดูแลจัดท่านอนให้ผู้ป่วยในท่าที่ผู้ป่วยรู้สึกสุขสบาย
แนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารอ่อนย่อยง่าย
กระตุ้นให้ผู้ป่วยมีการเคลื่อนไหวร่างกาย
ดูแลให้ได้รับยา senokof ตามแผนการรักษา
ดูแลให้ได้รับการสวนอุจจาระด้วย Unison enema ตามแผนการรักษา
แนะนำให้สามีชวนพูดคุยเบี่ยงเบนจากอาการแน่นอึดอัดท้อง
BSO With JD Placement
( การผ่าตัดมดลูกและรังไข่ออกทางหน้าท้อง + ใส่สายระบาย JD)
Lysis adhesion
การผ่าตัดพังผืดในช่องท้อง
2 ปีก่อน ได้รับการผ่าตัดด้วยโรคมีหนองในอุ้งเชิงกราน
1 ปีก่อน เริ่มมีอาการปวดท้อง ไม่ได้ไปหาหมอ เพราะคิดว่าปวดท้องธรรมดา ปกติ
1 วันก่อนมาโรงพยาบาลปวดท้องน้อยมาก มีน้ำสีน้ำตาลไหลออกจากช่องคลอด สามีจึงนำส่งโรงพยาบาล
อาการสำคัญ
วินิจฉัยแรกรับ
วินิจฉัยปัจจุบันหลังผ่าตัด
ได้รับการผ่าตัด
ความหมาย
พยาธิสภาพ
สาเหตุการเกิดในทางทฤษฎีและกรณีศึกษา
อาการและอาการแสดง
ทฤษฎี
กรณีศึกษา
ทฤษฎี
กรณีศึกษา