Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 4 การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือด -…
บทที่ 4
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือด
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของหัวใจ
โรคหลอดเลือดแดงโคโรนารี (Coronary artery disease, CAD) โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจ ขาดเลือดหรือโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (Ischemic heart disease, IHD)
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค
อายุ ชาย 45 ปี ขึ้นไป และหญิง 55 ปีขึ้นไป
ประวัติคนในครอบครัว
การสูบบุหรี่
ภาวะอ้วน ค่า BMI>30
โรคไขมันในเลือดผิดปกติ
Hypercholesterolemia, HDL < 40
โรคเบาหวาน
ความดันโลหิตสูง
อาการและอาการแสดง
ไม่มีอาการ เมื่อเริ่มมีหลอดเลือดตีบ
หากหลอดเลือดตีบร้อยละ 50 ขึ้นไป
พบเจ็บเค้นหน้าอก เจ็บหน้าอกซ้าย เจ็บแบบแน่นๆ
หนักๆ เหมือนมีของมาทับ เจ็บขณะพักหรือออกแรงเล็กน้อย
อาการหัวใจล้มเหลว เช่น เหนื่อยง่าย หัวใจเต้นเร็ว
บวมหน้าแขน/ขา
ฟังเสียงหัวใจอาจได้ยินเสียง Murmur
การรักษา
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทานอาหาร จำกัดไขมัน
แป้ง นํ้าตาล โซเดียม และออกกำลังกาย
รักษาด้วยยา
ยาต้านเกล็ดเลือด (Antiplatelet agents)
ยาละลายลิ่มเลือด (Thombolytic หรือ fibrinolytic agents)
ยาต้านการแข็งตัวของเลือด (Anticoagulant agents)
การสวนหัวใจ PCI, PTCA , Bypass
ปัญหาทางการพยาบาล
เจ็บแน่นหน้าอก เนื่องจากกล้ามเนื้อหัวใจได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ
ประเมินอาการเจ็บอก จากลักษณะ ตำแหน่ง อาการ ระยะเวลาที่เป็น และตรวจคลื่นหัวใจ 12 lead ทุกครั้งที่มีอาการเจ็บหน้าอก
ดูแลให้ได้รับยา Nitroglycerin 1 tab อมใต้ลิ้น เมื่อเจ็บหน้าอกตามแผนการรักษา
ดูแลให้ได้รับยาลดปวด
ดูแลให้ cannular 4-6 ลิตรต่อนาที
ติดตามประเมินสัญญาณชีพ และ EKG
บันทึกสารนํ้าทุก 8 hr และชั่งนํ้าหนักทุกวันในเวลาเดิม
ภาวะหัวใจห้องบนสั่น (Atrial fibrillation, AF)
เกิดจากจุดกำเนิดไฟฟ้าไม่ได้เกิดจาก SA node แต่มีจุดกำเนิดไฟฟ้าหลายจุดที่หัวใจห้องบน -- กลไกแบบหมุนวนทำให้อัตราการเต้นเร็วขึ้น > 300-350 ครั้ง/นาที พลิ้วและไม่มีการบีบตัว
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค
อายุที่เพิ่มขึ้น
เพศชาย
ความดันโลหิตสูง
โรคหัวใจ เช่น เช่น CAD, mitral valve
heart disease, acute MI, pericarditis
การผ่าตัดหัวใจ
ธัยรอยด์เป็นพิษ
โรคปอด
อาการและอาการแสดง
ใจสั่น หัวใจเต้นเร็วไม่สมํ่าเสมอ เหนื่อยง่าย
หายใจลำบาก หรือแน่นหน้าอก
การรักษา
รักษาด้วยยา
ใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ
เครื่องกระตุ้นหัวใจอัตโนมัติ
การรักษาด้วยการจี้หัวใจ
ปัญหาทางการพยาบาล
พร่องความรู้ในการดูแลตนเอง
ประเมินความวิตกกังวลและความกลัว
แนะนำให้งดสูบบุหรี่ ดื่มสุราหรือกาแฟ
แนะนำการผ่อนคลายความเครียด
แนะนำให้รับประทานยาตามแผนการรักษาอย่างต่อเนื่อง
แนะนำให้สังเกตอาการผิดปกติที่ต้องมาพบแพทย์ก่อนเวลานัด
เช่น ใจสั่น รู้สึกหัวใจเต้นไม่สมํ่าเสมอ หน้ามือ หมดสติ
เจ็บหน้าอก ปัสสาวะออกน้อย ชีพจรเบาเร็ว เป็นต้น
การพยาบาลผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจผิดปกติ
(Cardiac valvular disease, Valvular heart disease,
Heart valve disease)
เกิดจากการอักเสบ ติดเชื้อ ความเสื่อม การรั่วหรือการตีบของลิ้นหัวใจ
อาการและอาการแสดง
เหนื่อยหอบเมื่อออกแรง อ่อนล้า ขาบวม ฟังได้ยินเสียง murmur
การรักษา
รักษาด้วยยา ได้แก่ ยาดิจิทาลิส รักษาอาการเต้นเร็วของเวนตริเคิล, ยาต้านการแข้งตัวของเลือด thrombus, ยาปฏิชีวนะ, ยาขับปัสสาวะหากมีภาวะหัวใจล้มเหลว
ขยายหรือถ่างลิ้นหัวใจตีบด้วยบอลลูน (Balloon valvuloplasty)
ผ่าตัดเปลี่ยนหรือซ่อมแซมลิ้นหัวใจ
ปัญหาทางการพยาบาล
ความทนต่อการทำกิจกรรมลดลง เนื่องจากปริมาตรเลือดออกจากหัวใจลดลง
ประเมินสัญญาณชีพ ลักษณะการเต้นของหัวใจ ความแรง และจังหวะชีพจร
ประเมินอาการของ heart failure ได้แก่ fatigue, dyspnea with exertion,
orthopnea, PND, hemoptysis, อ่อนเพลีย เจ็บอก
ดูแลให้ได้รับยา ตามแผนการรักษาของแพทย์
จัดท่านอนศีรษะสุง
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของหัวใจจากการอักเสบติดเชื้อ
การอักเสบที่เยื่อบุหัวใจ (Infective Endocarditis)
สาเหตุ
ได้แก่ Staphylococcus aureus, Streptococci viridans,
Enterococci และ Streptococcus bovis
อาการและอาการแสดง
อาการคล้ายไข้หวัดใหญ่
ครั่นเนื้อตัว ไข้เป็นๆหาย ไอ เบื่ออาหาร
การอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจ (Myocarditis)
สาเหตุ
เชื้อไวรัส แบคทีเรีย
อาการและอาการแสดง
อ่อนเพลีย เหนื่อยหอบ ใจสั่น เจ็บอก
การอักเสบของเยื่อหุ้มหัวใจ (Pericarditis)
สาเหตุ
กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน, SLE, Rheumatoid arthritis
อาการและอาการแสดง
เจ็บหน้าอก คอ ใต้ไหปลาร้าและสะบักซ้าย
การรักษา
รักษาตามอาการ
กำจัดเชื้อที่ทำให้อักเสบ
ผ่าตัด
เฝ้าระวังและรักษาอาการแทรกซ้อน
ปัญหาทางการพยาบาล
ไม่สุขสบาย เนื่องจากปวด
ประเมินระดับความปวด
ดูแลให้พักผ่อนเพียงพอ ลดการทำกิจกรรม
จัดท่าศรีษะสูงโน้มตัวไปข้างหน้า
ดูแลให้ได้รับยาแก้ปวดตามแผนการรักษาของแพทย์
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของหลอดเลือดดำ
ภาวะลิ่มเลือดอุดตันหลอดในเลือดดำ
(Deep vein thrombosis, DVT)
ขาด natural anticoagulant, ขาด antithrombin
ทําให้มีการสร้าง thrombin เพิ่มขึ้น
อาการและอาการแสดง
1.calf vein thrombosis ปวดร้อนที่น่อง (การอักเสบ)
iliofemoral thrombosis ปวดทั่วทั้งขา
การรักษา
ให้สารนำ้เพียงพอ
ให้นอนพัก
รักษาโรคที่เป็สาเหตุ
ให้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด
ปัญหาทางการพยาบาล
ปวด เนื่องจากการไหลเวียนเลือดบกพร่อง
คลำชีพจรส่วนปลาย Femoral, Popliteal, Dorsalis pedis artery
ดูแลให้นอนพักบนเตียง
พันขาด้วยผ้ายืด
ยกขาให้สูงกว่าระดับหัวใจ /ใช้หมอนรองลดบวมลดปวด
ดูแลให้ได้รับยาแก้ปวดตามแผนการรักษา
ภาวะหลอดเลือดดำอักเสบ (Thrombophlebitis)
อาการและอาการแสดง
ปวด บวม แดง ปวดน่องเวลากระดกปลายเท้าขึ้น
การรักษา
หยุดฉีดยา /เปลี่ยนตำแหน่งฉีดใหม่
ยกบริเวณที่อักเสบให้สูง ประคบร้อน
ให้ยาแก้ปวด NSAIDs
ปัญหาทางการพยาบาล
ปวดขา เนื่องจากหลอดเลือดขอด
แนะนำให้เลี่ยงการยืนนาน/ นั่งนานๆ เลี่ยงการนั่งไขว้ห้าง
ยกขาให้สูงกว่าหัวใจ
แนะนำให้ออกกำลังกายขา โดยเดิน/ปั่นจักรยาน
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของหลอดเลือดแดง
ความดันโลหิตสูง (Hypertension)
สาเหตุ
Primary hypertension
เชื้อชาติ, ความอ้วน, บริโภคเกลือมาก, เครียด, ไม่ออกกำลังกาย เป็นต้น
Secondary hypertension
โรคไต, โรคหลอดเลือดแดงของไตตีบ, เนื้องอกต่อมหมวกไต เป็นต้น
อาการและอาการแสดง
ปวดศรีษะ มึนงง เวียนศรีษะหลังตื่นนอน ปวดท้ายทอย
การรักษา
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทานอาหาร
การรักษาด้วยยา
ปัญหาทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการมีความดันโลหิตสูง
วัดความดันโลหิตและติดตามการเปลี่ยนแปลงของระบบประสาท
แนะนำให้ทานยาตามแผนการรักษาของแพทย์
แนะนำให้รับประทานอาหารตามหลัก DASH DIET ลดโซเดียม
แนะนำให้ออกกำลังกายเป็นประจำ
หลอดเลือดแดงอุดตัน Arterial occlusion
สาเหตุ
มีไขมันสะสมที่ผนังหลอดเลือด
อาการและอาการแสดง
ปวด ชา ขาเย็น ซีด คลำชีพจรเท้าไม่ได้
การรักษา
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
รักษาด้วยยา ยาต้านการเข็งตัวของเลือด ยาแก้ปวด ยาละลายลิ่มเลือด
การผ่าตัด
ปัญหาทางการพยาบาล
ปวด เนื่องจากเนื้อเยื่อขาดเลือด
อธิบายสาเหตุที่ทำให้ปวดน่อง
แนะนำให้ระมัดระวังการกระทบกระเทือนแล้วเกิดบาดแผล
ประเมินการไหวเวียนเลือด สีผิว อุณหภูมิ ชีพจรส่วนปลาย
ดูแลให้ได้รับยาแก้ปวดตามแผนการรักษา
ภาวะหลอดเลือดแดงโป่งพอง (Arterial Aneurysm)
ผนังหลอดเลือดแดงบางลง เกิดการปริและรั่วซึม ทำให้มีเลือดคั่ง
อาการและอาการแสดง
ปวดหลัง ปวดท้องอย่างรุนแรง /เจ็บหน้าอก
ปัจจัยเสี่ยง
อายุ 65 ปีขึ้นไป, การสูบบุหรี่, มีประวัติคนในครอบครัว
การรักษา
การผ่าตัด
ปัญหาทางการพยาบาล
วิตกกังวลเนื่องจากขาดความรู้เกี่ยวกับโรค
แนะนำไม่ให้คลำก้อนบริเวณหน้าท้อง
แนะนำไม่ให้ออกแรงเบ่งถ่ายอุจจาระ
ดูแลให้ยาลดความดันโลหิตตามแผนการรักษา
แนะนำการไออย่างมีประสิทธิภาพ