Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การดูแลมารดาที่มีภาวะความดันโลหิตสูง, นางสาวภัคจิรา พันธ์ทอน 6305010022…
การดูแลมารดาที่มีภาวะความดันโลหิตสูง
Preeclampsia-eclampsia : ภาวะความดันโลหิตสูงที่จำเพาะกับการตั้งครรภ์ (Pregnancy-induced hypertension; PIH) ร่วมกับมีความผิดปกติของร่ายกายในหลายระบบ (multisystem involvement) โดยทั่วไปมักเกิดหลังอายุครรภ์ (Gestational age; GA) 20 สัปดาห์ ร่วมกับตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะ (Proteinuria)
Chronic hypertension : หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ ไม่ว่าจากสาเหตุใดใดก็ตาม หรือตรวจพบความดันโลหิตสูงก่อนอายุครรภ์ 20 สัปดาห์
Chronic hypertension with superimposed preeclampsia : Preeclampsia ที่เกิดในหญิงตั้งครรภ์ที่เป็น Chronic hypertension โดยเกิดในมากกว่าหญิงตั้งครรภ์ที่มีความดันโลหิตปกติ 4 – 5 เท่า
Gestational hypertension : ภาวะความดันโลหิตสูงที่จำเพาะกับการตั้งครรภ์ ที่ตรวจพบหลังอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ แต่ไม่พบ Proteinuria
ภาวะนี้สามารถเกิดได้ในสตรีตั้งครรภ์ทุกคน โดยมีปัจจัยบางประการที่เพิ่มความเสี่ยง ได้แก่
สตรีตั้งครรภ์แรก
การตั้งครรภ์แฝด
สตรีตั้งครรภ์ที่มีอายุมากกว่า 35 ปี
มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคไต โรคความดันโลหิตสูง
อ้วน
ผลกระทบอย่างไรต่อการตั้งครรภ์?
ผลต่อสตรีตั้งครรภ์ : อาจเกิดอาการชัก เลือดออกในสมอง รกลอกตัวก่อนกำหนด หากไม่ได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้อง อาจทำให้ภาวะของโรครุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้:
ผลต่อทารกในครรภ์ : เนื่องจากภาวะนี้ส่งผลให้ปริมาณเลือดที่ผ่านรกมายังทารกลดลง ดังนั้นจึงอาจทำให้ทารกโตช้าผิดปกติ หรืออาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตในครรภ์ได้
มีโอกาสเกิดซ้ำได้ในครรภ์ถัดไป และมีโอกาสที่โรคจะรุนแรงขึ้นกว่าเดิม
ปวดศีรษะมาก
ตามัว
จุกแน่นลิ้นปี่
ปวดเกร็งท้อง เลือดออกทางช่องคลอด ซึ่งอาจเป็นอาการแสดงของรกลอกตัวก่อนกำหนด
ลูกดิ้นน้อยลง
นางสาวภัคจิรา พันธ์ทอน 6305010022 นิสิตพยาบาลชั้นปีที่ 3