Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Chronic Kidney Disease - Coggle Diagram
Chronic Kidney Disease
ความหมาย
ภาวะที่มีความผิดปกติทางโครงสร้างหรือการทำหน้าที่ของไตอย่างใดอย่างหนึ่งติดต่อกันนานกว่า 3 เดือน เช่น การมีนิ่ว หรือถุงน้ำที่ไต การมี โปรตีน หรือเม็ดเลือดแดงในปัสสาวะ โดยที่อัตราการกรองของไตอาจปกติหรือผิดปกติก็ได้รวมถึงการตรวจพบอัตราการกรอง
ของไต (EGFR) ต่ำกว่า 60 มล./นาที/พื้นที่ผิวกาย 1.73 เมตร
ติดต่อกันนานกว่า 3 เดือน
-
พยาธิ
เกิดจากการเสื่อมของไต และการถูกทำลายของหน่วยไต มีผลทำให้การกรองทั้งหมดลดลงและการขับถ่ายของเสียลดลง ปริมาณCreatinine และ BUN ในเลือดสูงขึ้น หน่วยไตที่เหลืออยู่จะเจริญมากผิดปกติเพื่อกรองของเสียที่มีมากขึ้น ผลที่เกิดขึ้นคือทำให้ไตเสียความสามารถในการปรับความเข้มข้นของปัสสาวะ ปัสสาวะถูกขับออกไปต่อเนื่อง หน่วยไตไม่สามารถดูดกลับเกลือแร่ต่างๆ ทำให้สูญเสียเกลือแร่ออกจากร่างกาย เมื่ออัตราการกรองของไตน้อยกว่า 10-20 มล./นาที ส่งผลให้เกิดการคั่งของยูเรีย ในร่างกายเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในที่สุด ดังนั้นเมื่อเข้าสู่ระยะดังกล่าวผู้ป่วยจึงควรได้รับการรักษาด้วยการบำบัดทดแทนไต
การทำงานของไต
การสร้างปัสสาวะซึ่งจะช่วยขับของเสียที่เกิดจากการเผาผลาญสารอาหารต่างๆ และช่วยในการรักษาความปกติของน้ำและเกลือแร่ของร่างกายนอกจากนั้นไตยังมีหน้าที่ในการสร้างสารที่ควบคุมความดัน โลหิต และสารที่ช่วยกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง ดังนั้นเมื่อไตทำงานน้อยลงมักเกิดปัญหาความดันโลหิตสูงและโลหิตจางร่วมด้วย
ขับถ่ายของเสีย
ไตทำหน้าที่ขับถ่ายของเสียที่เกิดจากการเผาผลาญอาหารประเภทโปรตีนออกจากร่างกาย ของเสียประเภทนี้ ได้แก่ ยูเรีย ครีอะตินีน กรดยูริก และสารประกอบไนโตรเจนอื่นๆ
ยูเรีย
ยูเรียเป็นโปรตีนที่ถูกตัดหมู่ amino ออก (-NH2) แล้ว เปลี่ยนเป็นยูเรีย ส่งไปกรองที่ไต กระบวนการเปลี่ยนให้เป็นยูเรียเกิดขึ้นที่ตับ ยูเรียมีความสำคัญอย่างยิ่งในการทำงานของหน่วยไต เรียกว่า countercurrent system ช่วยในการดูดซึมกลับของสารน้ำและเกลือแร่ที่อยู่ในหน่วยไต โปรตีน urea transporter 2 เป็นตัวขนถ่ายยูเรียเข้าสู่ท่อไตเพื่อขับออกทางปัสสาวะ
ครีอะตินีน
การทำหน้าที่กรองของไตเสียไปโดยไม่สามารถทำหน้าที่ได้ตามปกติ จะสามารถตรวจพบระดับของครีอะตินีนในเลือดเพิ่มสูงขึ้น
สมดุลของน้ำและเกลือแร่
ไตทำหน้าที่ควบคุมปริมาณสารน้ำและเกลือแร่ในร่างกายน้ำและแร่ส่วนที่เกินควรจำเป็นจะถูกขับออกมาทางปัสสาวะ เกลือแร่ดังกล่าว เช่น โซเดียม โปตัสเซียม แมกนีเซียม แคลเซียม และฟอสฟอรัส
ความดันโลหิต
ไตทำหน้าที่สร้างสารเรนิน (renin) ช่วยควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ระดับคงที่ ทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆเพียงพอ ใน ภ
การสร้างเม็ดเลือดแดง
ไตทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง มีชื่อเรียกว่า อีริโทโพอิติน (erythropoietin) หรือเรียกว่า อีโป (EPO) สารนี้ช่วยกระตุ้นไขกระดูกให้สร้างเม็ดเลือดแดง ทำให้ร่างกายมีปริมาณเลือดเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายอย่างเพียงพอ
ภาวะแทรกซ้อน
- มีภาวะน้ำท่วมปอด เนื่องจากไตไม่สามารถขับน้ำได้ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ ปวดหน้าอก หายใจหอบเหนื่อย หายใจลำบาก
-
- มีภาวะโปแตสเซียมในเลือดสูง
- มีอาการความดันเลือดสูงขึ้นจนผิดปกติ
- มีภาวะซีดหรือมีภาวะเลือดจาง
- มีภาวะยูเรียหรือระดับยูเรียสูงมาก
- ติดเชื้อโรคได้ง่าย และ มีอาการรุนแรง ภูมิต้านทานต่ำ ร่างกายจึงติดเชื้อโรคได้ง่าย ส่งผลทำให้มีอาการติดเชื้อบ่อย หากไม่ได้รับการรักษา อาจส่งผลต่อชีวิตได้
อาการและอาการแสดง
-
-
-
-
-
กรณีศึกษา
ผู้ป่วยมีอาการตัวบวมทั้งตัว อ่อนเพลีย หายใจเหนื่อยหอบ on cannula 5L มีผื่นตามตัว ผิวแห้ง และคันมา 3-4 เดือน
การวินิจฉัยโรค
- การซักประวัติ
เกี่ยวกับอาการ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน บวม กดบุ๋ม ถ่ายปัสสาวะผิดปกติ ภาวะติดเชื้อ
- โรคประจำตัว เบาหวานความดันโลหิตสูง ภาวะหัวใจวาย
- ยาที่ได้ เช่น สเตียรอยด์ และยาสมุนไพรแผนโบราณ ยาบรรเทาอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เช่น ไดโคลฟีแนค (Diclofenac) , ยาลดความดันโลหิต เช่น ไฮดราลาซีน (Hydralazine)
- การได้รับสารพิษ เช่น สารตะกั่ว
- ประวัติการเป็นโรคไตในครอบครัว
- การตรวจร่างกาย
- วัดสัญญาณชีพ มักพบความดันโลหิตสูง
- ภาวะไม่สมดุลน้ำและอิเล็กโทรไลต์ เลือดเป็นกรด อาจพบชีพจรเต้นเร็ว ไม่สม่ำเสมอ หายใจหอบลึก มีไข้เฉพาะในรายที่ติดเชื้อร่วมด้วย
- อาการและอาการแสดงตามระยะของโรค เช่น ซีด ผิวแห้งคัน มีจ้ำเลือดตามตัว หลอดเลือดโป่งพอง มีเสียง crepitation บริเวณชายปิดทั้ง 2 ข้าง จากน้ำท่วมปอด มีอาการบวม ท้องผูก ปวดศีรษะ เป็นตะคริว ชัก
- การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
3.1.การตรวจค่าไต (Renal Function Test)
- BUN ปกติ 0.6-20.0 mg/dl -
Creatinine ปกติ 0.51-1.17 mg/dl
- eGFR
3.2. การตรวจปัสสาวะ
- การตรวจพิเศษ
- การทำ plain KUB คือการถ่ายภาพรังสีวินิจฉัย เพื่อดูรูปร่าง ลักษณะ และตำแหน่งของผลึกหรือก้อนนิ่ว
- renal CT scan , renal MRI , ultrasonography
กรณีศึกษา
1.การซักประวัติ ผู้ป่วยมีอาการบวมทั้งตัว ปัสสาวะออกน้อย ครั้งละ 3-4 หยด
มีโรคประจำเป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง
- การตรวจร่างกาย BP= 168/93 (08/05/66) ผิวแห้ง มีผื่น และมีแผลถลอกจากการเกาทั้งตัว มีอาการคันมา 3-4 เดือน มีอาการบวมทั้งตัว กดไม่บุ๋ม Bowel sound 5/min
-
Electrolyte
k 6.15 สูง เนื่องจากอัตราการกรองและความสามารถใรการขับโพแทสเซียมของไตลดลง รวมทั้งภาวะ metabolic acidosis ทำให้โพแทสเซียมในเลือดสูง ในผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ที่มีปัสสาวะน้อย สามารถเกิด Hyperkalemia เนื่องจากไตเสียหน้าที่
-
-
การรักษา
1.การรักษาสาเหตุที่ทำให้ทำหน้าที่ผิดปกติ ค้นหาสาเหตุและแก้ไขสาเหตุนั้นเท่าที่ทำได้ เช่น
ภาวะช็อก ให้ยารักษาภาวะติดเชื้อ หรือหยุดยาที่ทำให้ไตวาย ผ่าตัดรักษาการอุดตันของทางเดินปัสสาวะควบคุมระดับน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวาน
- การรักษาแบบประคับประคองและรักษาภาวะแทรกช้อน ในผู้ป่วยไตเรื้อรัง ซึ่งไตยังไม่ฟื้นตัว เพื่อป้องกันและรักษาภาวะแทรกช้อน รวมทั้งชะลอความก้าวหน้าของโรค ต้องดูแลทั้งในด้านปริมาณสารน้ำในร่างกาย ความเป็นกรดด่าง และสมดุลเกลือแร่ ให้อยู่ในภาวะที่เหมาะสม รวมทั้งดูแลการให้อาหารและโภชนาการที่ครบถ้วน เพื่อไม่ให้เกิดภาวะเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เสียชีวิตได้บ่อยที่สุด
- การรักษาโดยวิธีบำบัดทดแทนการทำงานของไต ซึ่งมีด้วยกัน 3 วิธี ได้แก่ การปลูกถ่ายไต (kidney transplantation) การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (hemodialysis;HD) และการล้างไตผ่านทางหน้าท้อง (peritoneal dialysis: PD) เป็นการรักษาเพื่อยืดชีวิตและเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วยให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ใกล้เคียงคนปกติ
ยารักษาโรค
โรคไตเรื้อรังไม่สามารถรักษาให้หายได้ จึงรักษาโดยการช่วยลดภาวะแทรกซ้อนและชะลอการลุกลามของโรค
- ยารักษาภาวะขาดสมดุลกรด-ด่าง เช่น Sodamint ใช้ควบคุมภาวะเลือดเป็นกรด
- ยาบำรุงกระดูก เช่น Calcium carbonate ช่วยบำรุงกระดูก
- ยาควบคุมโรคความดัน ได้แก่ Manidipine
- ยารักษาความดันโลหิตสูง เช่น losartan , doxazosin 5. ยาลดไขมันในเลือด เช่น simvastatin
-
-
ระยะของไตเรื้อรัง
ระยะที่ 1 มีการทำลายไตเกิดขึ้นแต่อัตราการกรองยังอยู่ในเกณฑ์
ปกติ EGFR >90 albuminuria น้อยกว่า 30 mg/g ปกติ หาก albuminuria มากกว่า 30 เริ่มเข้าสู่ความผิกปกติ การมีความผิดปกติของไต แต่ค่าอัตราการกรองของไตยังอยู่ในเกณฑ์ปกติหรืออาจต่ำลงเล็กน้อย ในระยะนี้
ยังไม่พบอาการแสดงที่ผิดปกติ แต่บางรายอาจตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะได้
ควรรับประทานโปรตีนในปริมาณ 0.6 กรัมต่อกิโลกรัมของน้ำหนักตัว และควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีฟอสฟอรัสสูง เช่น ถั่ว นมสด กาแฟ และควรรับประทานอาการที่มีโพแทสเซียมต่ำ เช่น องุ่น ชมพู่ พีช
ระยะที่ 2 มีการทำลายไตร่วมกับอัตราการกรองลดลงเล็ก น้อย EGFR 60-89 albuminuria น้อยกว่า 30 mg/g ปกติ หาก albuminuria มากกว่า 30 เริ่มเข้าสู่ความผิกปกติ การมีความผิดปกติของไต เมื่อค่าอัตราการกรองของไตลดลงเล็กน้อยโดยทั่วไปผู้ป่วยจะยังคง
มีอาการปกติ ความดันโลหิตอาจเริ่มสูงขึ้นในระยะนี้ จะเริ่มพบความผิดปกติในผลการตรวจ
ทางห้องปฏิบัติการต่างๆ ควรรับประทานโปรตีนในปริมาณ 0.6 กรัมต่อกิโลกรัมของน้ำหนักตัว และควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีฟอสฟอรัสสูง เช่น ถั่ว นมสด กาแฟ และควรรับประทานอาการที่มีโพแทสเซียมต่ำ เช่น องุ่น ชมพู่ พีช
ระยะที่ 3a :มีการลดลงของอัตราการกรองของไตปานกลาง EGFR 45-59 albuminuria น้อยกว่า 30 mg/g เริ่มเข้าสู่ระดับผิดปกติ หาก albuminuria มากกว่า 30 ถือว่าผิดปกติ
ระยะที่ 3b : มีการลดลงของอัตราการกรองของไตปานกลาง EGFR 30-44 albuminuria น้อยกว่า 30 mg/g ถือว่าผิดปกติ หาก albuminuria มากกว่า 30 ผิดปกติ มีความผิดปกติของไต ค่าอัตราการกรองของไตลดลงปานกลาง มักยังไม่แสดงอาการผิดปกติ
โดยส่วนใหญ่พบภาวะความดันโลหิตสูง และอาจตรวจพบภาวะซีด แคลเซียมในเลือดต่ า และฟอสเฟต
ในเลือดสูงได้ในระยะนี้ซึ่งต้องมีการเฝ้าระวังและให้การรักษาภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น ควรรับประทานโปรตีนในปริมาณ 0.6 กรัมต่อกิโลกรัมของน้ำหนักตัว และควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีฟอสฟอรัสสูง เช่น ถั่ว นมสด กาแฟ และควรรับประทานอาการที่มีโพแทสเซียมต่ำ เช่น องุ่น ชมพู่ พีช
ระยะที่ 4 มีการลดลงของอัตราการกรองของไตรุนแรง
EGFR 15-29 albuminuria น้อยกว่า 30 mg/gและ หาก albuminuria มากกว่า 30 ถือว่าผิดปกติ การมีความผิดปกติของไต และค่าอัตราการกรองของไตลดลงอย่างมาก ผู้ป่วยมักมีอาการ
อ่อนเพลีย ไม่มีแรง เบื่ออาหาร บวม ความจำแย่ลงผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการต่างๆผิดปกติ พบภาวะ
กรดจากการเผาผลาญ (metabolic acidosis) และไขมันในเลือดผิดปกติ(dislipidemia) ควรมีการ
เตรียมพร้อมเพื่อให้การบ าบัดรักษาทดแทนไตต่อไป
ควรระวังภาวะ K+ สูง เลือดเป็นกรด ภาวะฟอตเฟตสูง แคลเซียมในเลือดต่ำ และรับประทานโซดามิ้นท์ เพื่อควบคุมภาวะเลือดเป็นกรด ในระยะนี้ควรได้รับโปรตีน 1.0-1.2 กรัมต่อน้ำหนักตัว โดยร้อยละ 50 ควรเป็นโปรตีนสูง ได้แก่ เนื้อปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน
ระยะที่ 5 มีภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย (End Stage Renal
Disease : ESRD) EGFR <15 albuminuria น้อยกว่า 30 mg/gและ หาก albuminuria มากกว่า 30 ถือว่าผิดปกติ มีความผิดปกติเกือบทุกระบบของร่างกาย ร่างกายเสียสมดุล น้ า และ
อิเล็กโตรไลต์ผู้ป่วยมีอาการยูรีเมีย เช่น อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ผิวแห้ง คัน คลื่นไส้อาเจียน สะอึก
เป็นตะคริว นอนไม่หลับ อาจเกิดภาวะหัวใจวายเนื่องจากน้ำเกิน
การรักษาก็สามารถทำได้โดยและภาวะความดันโลหิตสูงได้ ผู้ป่วย
จำเป็นต้องได้รับการบำบัดทดแทนไต โดยเฉพาะในรายที่มีอาการยูรีเมีย
การใช้เครื่องไตเทียมหรือการลา้งไตทางช่องท้อง ในผู้ป่วยระยะนี้ จะไดรับยา แคลเซียมคาร์บอเนต พร้อมอาหารคำแรก เพื่อควบคุมให้ระดับฟอสฟอรัสไม่สูงเกิน 5.5 mg/dl ผักผลไม้ที่แนะนำ ได้แก่ แตงกวา มะระ ผักบุ้ง แอปเปิ้ล องุ่น ชมพู่
-
-