Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Chronic kidney disease (CKD) - Coggle Diagram
Chronic kidney disease (CKD)
พยาธิสภาพ
เกิดจากการเสื่อมของไต และการถูกทำลายของหน่วยไต มีผลทำให้ การกรองทั้งหมดลดลงและการขับถ่ายของเสียลดลง ปริมาณ Creatinine และ BUN ในเลือดสูงขึ้น หน่วยไตที่เหลืออยู่จะเจริญมากผิดปกติเพื่อกรองของเสียที่มีมากขึ้น ผลที่เกิดขึ้นคือทำให้ไตเสียความสามารถในการปรับความเข้มข้นของปัสสาวะ ปัสสาวะถูกขับออกไปต่อเนื่อง หน่วยไตไม่สามารถดูดกลับเกลือแร่ต่างๆ ทำให้สูญเสียเกลือแร่ออกจากร่างกาย เมื่ออัตราการกรองของไตน้อยกว่า 10-20 มล./นาที ส่งผลให้เกิดการคั่งของยูเรียในร่างกายเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในที่สุด ดังนั้นเมื่อเข้าสู่ระยะดังกล่าวผู้ป่วยจึงควรได้รับการรักษาด้วยการบำบัดทดแทนไต
ความหมาย
ภาวะที่มีความผิดปกติทางโครงสร้างหรือการทำหน้าที่ของไตอย่างใดอย่างหนึ่งติดต่อกันนานกว่า 3 เดือน เช่น การมีนิ่ว หรือถุงน้ำที่ไต การมีโปรตีน หรือเม็ดเลือดแดงในปัสสาวะ โดยที่อัตราการกรองของไตอาจปกติหรือผิดปกติก็ได้รวมถึงการตรวจพบอัตราการกรองของไต (EGFR) ต่ำกว่า 60 มล. /นาที/พื้นที่ผิวกาย 1.73 เมตร ติดต่อกันนานกว่า 3 เดือน
สาเหตุ
ทฤษฎี
การดูแลโรคเรื้อรังไม่ดีพอ หากเป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวานหรือความดันโลหิตสูง คุณจำเป็นต้องรักษาอย่างถูกต้อง ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ ใช้ยาตามที่กำหนด และพบแพทย์ตามนัดเป็นประจำเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดหรือความดันโลหิตให้ดี
การสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่ทำให้มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ เช่น หัวใจวายและโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงให้เป็นโรคไตเรื้อรัง การเลิกสูบบุหรี่จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ ได้
อาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ การรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพจะช่วยควบคุมความดันโลหิต ระดับน้ำตาลและระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคไตเรื้อรังได้
การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปอาจทำให้ความดันโลหิตและคอเลสเตอรอลเพิ่มขึ้นถึงระดับที่ไม่ดีต่อสุขภาพ
กรณีศึกษา
อาจเกิดจากการดูแลโรคเรื้อรังไม่ดีพอ มีโรคประจำตัวเป็นเบาหวาน และความดันโลหิตสูง
อาการและอาการแสดง
ขาบวมและกดบุ๋ม เกิดจากมีเกลือและน้ำคั่งในร่างกาย หรือมีโปรตีนรั่วมาในปัสสาวะมาก หากบวมมากจะทำให้เกิดอาการหอบเหนื่อยจากการมีน้ำคั่งในปอด ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต
ความดันโลหิตสูง
คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร คันตามร่างกาย อ่อนเพลีย
ในเพศหญิงอาจมีการขาดประจำเดือนหรือไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ ส่วนเพศชายจะมีความรู้สึกทางเพศลดลงและการสร้างอสุจิลดลง
ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน พบได้เมื่อการทำงานของไตเริ่มเสื่อมลงในระยะแรก
การรักษา
ทฤษฎี
การรักษาเพื่อชะลอการเสื่อมของไต
ควบคุมโรคประจำตัวให้ดี ได้แก่ คุมโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงให้ดี ยาลดความดันบางกลุ่มหรือยารักษาเบาหวานบางกลุ่มก็ช่วยชะลอความเสื่อมของไตได้ การให้ยากดภูมิในผู้ป่วยโรคไตอักเสบ ควบคุมโรคไขมันโลหิตสูง
การควบคุมอาหาร ลดทานอาหารเค็ม รับประทานอาหารโปรตีนให้เหมาะสม ได้รับพลังงานที่เพียงพอ การควบคุมระดับโพแทสเซียมและฟอสฟอรัสในอาหารให้ไม่มากเกินไป อาจมีการจำกัดปริมาณสารอาหารบางชนิด ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์โรคไตที่ดูแลเพราะผู้ป่วยแต่ละรายอาจมีการจำกัดอาหารบางชนิดที่ไม่เหมือนกัน ขึ้นกับสาเหตุและระยะของโรคไตเรื้อรัง
การรักษาด้วยยา เช่น ยาลดการดูดซึมฟอสเฟต ยาขับปัสสาวะ ยารักษาภาวะโลหิตจาง ยาลดความดันโลหิต ยาลดไขมันในเลือด และการให้ยาปรับสมดุลกรดด่าง
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น ลดน้ำหนัก งดสูบบุหรี่ ออกกำลังกาย และหลีกเลี่ยงสารหรือยาที่มีผลเสียต่อไต
การรักษาด้วยวิธีบำบัดทดแทนไต (Renal Replacement Therapy) คือกระบวนการรักษาผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 5 เพื่อทดแทนไตที่ไม่สามารถทำงานได้เองตามที่ควรจะเป็น ช่วยขจัดของเสียที่ค้างอยู่ในร่างกาย จะเริ่มมีบทบาทเมื่ออัตราการกรองของไต (eGFR) น้อยกว่า 6 มล./นาที/1.73 ตร.ม. หรือผู้ที่มี eGFR น้อยกว่า 15 มล./นาที/1.73 ตร.ม. ร่วมกับมีภาวะแทรกซ้อนที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา หรือมีภาวะแทรกซ้อนที่อาจเป็นอันตรายรุนแรงต่อผู้ป่วย
สามารถเลือกการรักษาได้ 3 วิธี ดังนี้
การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (Hemodialysis)
วิธีการ การนำเลือดออกทางเส้นเลือดที่แขนหรือคอ ผ่านเข้าเครื่องไตเทียมไปยังตัวกรอง เพื่อขจัดของเสียและน้ำส่วนเกินที่คั่งอยูในร่างกาย แล้วนำเลือดที่ฟอกแล้วกลับคืนสู่ผู้ป่วย ทำให้ระดับของเสียในร่างกายลดลง โดยผู้ป่วยต้องมีการผ่าตัดเตรียมเส้นเลือดให้พร้อมก่อนการฟอกเลือด
ระยะเวลา 4-5 ชั่วโมง/ครั้ง สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง
การล้างไตทางช่องท้อง (Peritoneal Dialysis)
วิธีการ ใส่น้ำยาล้างไตเข้าไปทิ้งค้างในช่องท้อง โดยอาศัยเยื่อบุช่องท้องแลกเปลี่ยนของเสียและน้ำส่วนเกินออกมาที่น้ำยาล้างไต เมื่อครบตามเวลาที่กำหนดก็จะทำการปล่อยน้ำยาล้างไตที่เต็มไปด้วยของเสียและน้ำส่วนเกินทิ้ง พร้อมทำการเปลี่ยนใส่น้ำยาล้างไตถุงใหม่เข้าไป โดยผู้ป่วยต้องมีการผ่าตัดใส่สายยางสำหรับใส่น้ำยาล้างไตทางช่องท้องให้พร้อมก่อนการล้างไต
ระยะเวลา วันละ 4 รอบ ต่อเนื่องกันทุกวัน หรืออาจใช้เครื่องอัตโนมัติช่วยเปลี่ยนน้ำยาแทน (APD; Automated Peritoneal Dialysis)
การปลูกถ่ายไต (Kidney Transplantation)
คือ การผ่าตัดนำไตที่ดีจากผู้บริจาคใส่ไปในผู้รับไต โดยผู้รับไตต้องรับประทานยากดภูมิต้านทานสม่ำเสมอเพื่อป้องกันภาวะปฏิเสธไตที่ปลูกถ่าย ปัจจุบันการปลูกถ่ายไตจัดเป็นวิธีบำบัดทดแทนไตที่มีประสิทธิภาพดีสุด และทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยมีอัตราการอยู่รอดของไตที่ปลูกถ่ายมากกว่าร้อยละ 90 ในช่วงปีแรก
กรณีศึกษา
ผู้ป่วยได้รับการล้างไตทางช่องท้องแบบถาวร (continuous ambulatory peritoneal dialysis: CAPD)
การล้างไตทางช่องท้องแบบถาวร คือ การล้างช่องท้องด้วยน้ำยาเพื่อกรองของเสียในร่างกายออกโดยการใส่น้ำยาเข้าไปในช่องท้องผ่านทางท่อ ทำทุกวัน มีการเปลี่ยนน้ำยา 4 ครั้ง/วัน
ผลข้างเคียง อาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือปนเปื้อนเชื้อโรคได้ง่ายในขณะทำการล้างไต
การวินิจฉัย
ทฤษฎี
จากนั้น แพทย์อาจขอให้ผู้ป่วยเข้ารับการตรวจ เช่น: การตรวจเลือด การตรวจปัสสาวะ การตรวจวินิจฉัยด้วยภาพถ่าย การตัดชิ้นเนื้อไตส่งตรวจ
ในช่วงซักประวัติ แพทย์จะถามประวัติส่วนตัวและครอบครัวของผู้ป่วย ยิ่งไปกว่านั้น แพทย์อาจถามว่า ผู้ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงหรือไม่ หรือกำลังใช้ยาบางชนิดที่มีผลต่อการทำงานของไตหรือไม่ ยาที่ได้รับ เช่น สเตียรอยด์ สมุนไพรแผนโบราณ ยาบรรเทาอาการอักเสบที่ไม่ใช่ สเตียรอยด์ เช่น ไดโคลฟีแนค ยาลดความดันโลหิต เช่น ไฮดราลาซีน หรือผู้ป่วยสังเกตุพฤติกรรมการปัสสาวะที่เปลี่ยนแปลงบ้างหรือไม่
การตรวจร่างกาย วัดสัญญาณชีพ มักพบความดันโลหิตสูง
ภาวะความไมสมดุลของน้ำและอิเล็กโทรไลต์ เลือดเป็นกรด อาจพบชีพจรเต้นเร็ว ไม่สม่ำเสมอ หายใจหอบ มีไข้เฉพาะในรายที่ติดเชื้อร่วมด้วย
อาการและอาการแสดงของโรค เช่น ซีด ผิวแห้งคัน มีจ้ำเลือดตามตัว หลอดเลือดโป่งพอ มีเสียง crepitation บริเวณชายปอดทั้ง 2 ขาง จากน้ำท่วมปอด มีอาการบวม ท้องผูก ปวดศีรษะ เป็นตะคริว ชัก
กรณีศึกษา
ซักประวัติ ผู้ป่วยมีโรคประจำตัวเป็นเบาหวานและความดันโลหิตสูง การตรวจร่างกายผู้ป่วยมีภาซีดเล็กน้อย ไม่มีอาการบวม ไม่มีกดบุ๋ม
ระยะของโรคไต
ทฤษฎี
ระยะที่ 1 ของโรคไตเรื้อรัง
คำอธิบาย: ไตเกิดความเสียหายแต่สามารถทำงานได้เกือบเป็นปกติ
อัตราการกรองของไต สูงกว่า 90
หมายความว่าอย่างไร: ในระยะที่ 1 ไตจะยังทำงานในระดับเกือบปกติ อาจมีเลือดหรือโปรตีนในปัสสาวะบ้าง แต่ไม่มีอาการของโรคไตเรื้องรัง แต่อาจมีอาการของโรคประจำตัวที่ก่อให้เกิดโรคไตเรื้อรังเช่น เบาหวาน หรือ โรคไตอักเสบ คุณอาจจะไม่สังเกตเห็นอาการใด ๆ ของโรคไตเรื้อรังและสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ แต่จะต้องมาพบแพทย์เป็นประจำเพื่อติดตามดูอัตราการกรองของไต และจัดการกับปัญหาสุขภาพอื่นที่อาจะส่งผลต่อการทำงานของไต
ระยะที่ 2 ของโรคไตเรื้อรัง
คำอธิบาย: ความเสียหายทำให้ไตสูญเสียการทำงานเล็กน้อย
อัตราการกรองของไต 60-89
หมายความว่าอย่างไร: เมื่อโรคไตเรื้อรังเข้าสู่ระยะที่ 2 การสูญเสียการทำงานของไตจะยังไม่รุนแรง และโดยปกติจะยังไม่มีอาการชัดเจน อย่างไรก็ตาม ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานมักได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคไตวายเรื้อรังระยะที่ 2 และจะเริ่มการรักษาเพื่อช่วยชะลอการลุกลามของโรคไตวายเรื้อรัง
คำอธิบาย: ความเสียหายทำให้ไตสูญเสียการทำงานปานกลาง
อัตราการกรองของไต 30-59
หมายความว่าอย่างไร: โรคไตเรื้อรัง ระยะที่ 3 เป็นระยะสำคัญที่อาจมีอาการเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก หรืออาจได้รับการวินิจฉัยโรคไตเป็นครั้งแรก ในระยะนี้ควรเริ่มทำการรักษาเพื่อชะลอการลุกลามของโรค ประชากรส่วนมากจะมีภาวะไตเรื้อรังในระยะที่ 3 มีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่ดำเนินไปสู่ระยะที่สูงขึ้น ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้รับการประเมินหรือการรักษาเพื่อชะลอการเสื่อมของไต
ระยะที่ 3 ของโรคไตเรื้อรัง
ระยะที่ 4 ของโรคไตเรื้อรัง
คำอธิบาย: ความเสียหายทำให้ไตสูญเสียการทำงานอย่างมาก
อัตราการกรองของไต 15-29
หมายความว่าอย่างไร: โรคเรื้อรังระยะที่ 4 คือระยะที่มีความเสียหายของไตขั้นสูง อีกทั้งมีความเสี่ยงสูงที่จะดำเนินไปสู่ไตวาย ดังนั้นมีความจำเป็นต้องมีการวางแผนเพื่อทดแทนการทำงานของไตด้วยการล้างไตในระยะที่ 4
ระยะที่ 5 ของโรคไตเรื้อรัง
อัตราการกรองของไต น้อยกว่า 15
หมายความว่าอย่างไร: มีแนวโน้มที่จะสังเกตเห็นอาการต่าง ๆ ของโรคไตเรื้อรัง ควรต้องเข้ารับการรักษาบำบัดทดแทนไต
กรณีศึกษา
ผู้ป่วยรับการวินิจฉัยว่าอยู่ระยะที่ 5 ของโรคไตเรื้อรัง อัตราการกรองของไต eGFR 2.6 ml/Min/1.73n ได้รับการบำบัดทดแทนไตโดยการล้างไตผ่านทางหน้าท้อง
ภาวะแทรกซ้อน
อาจเกิดอาการ Uremia เป็นกลุ่มอาการในภาวะท้ายของโรคไตวาย ผู้ป่วยจะมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ปลายประสาทเสื่อม เกิดความคิดสับสน ชัก และหมดสติ
ยาที่ผู้ป่วยได้รับ
sodium BICARBONATE (SODAMINT) TAB 300 MG ทาน 3 เม็ด วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร เช้า กลางวัน เย็น ให้ในคนไข้โรคไตเพื่อรักษา/ป้องกันภาวะสมดุลกรด-ด่างที่ผิดปกติที่เรียกว่า metabolic acidosis
VITAMIN B-COMPLEX (MEDICPLEX) TAB ทาน 1 เม็ด วันละ 3 ครั้ง หลังอาหารเช้า เนื่องจากไตทำงานผิดปกติ ร่างกายไม่สามารถดูดซึมวิตามินบางตัวได้
Folic acid TAB 5 MG ทาน 1 เม็ด วันละ 1 ครั้ง หลังอาหารเช้า
ยาบำรุงเลือด
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
Electrolyte
Na 134 mmol/L ต่ำ เนื่องจากร่างกายไม่สามารถขับน้ำส่วนเกินออกไปได้ ส่งผลให้ระดับโซเดียมในเลือดต่ำลง
K 5.37 mmol/L สูง เนื่องจากอัตราการกรองและความสามารถในการขับโพแทสเซียมของไตลดลง
Cl 91 mmol/L ต่ำ เนื่องจากไตไม่ดูดกลับโซเดียม ก็ย่อมทำให้โซเดียมในเลือดลดลง และมีผลทำให้คลอไรด์ลดระดับความเข้มข้นลงไปด้วย
CO2 17.4 mmol/L ต่ำ เนื่องจากไตเสื่อมหน้าที่ ทำให้ควบคุมไบคาร์บอเนตไม่ได้
ผลตรวจค่าไต (Renal function test)
Creatinine 13.24 mg/dl และ BUN 43 mg/dl สูง เกิดจากการทำงานของไตเสื่อมลง มีภาวะไตวายเรื้อรัง
eGFR 2.6 ml/Min/1.73n เนื่องจากผู้ป่วยเป็นโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย
หน้าที่ของไต
สร้างปัสสาวะซึ่งจะช่วยขับของเสียที่เกิดจากการเผลาผลาญสารอาหารต่างๆ และช่วยในการรักษาความปกติของน้ำเกลือแร่ของร่างกาย นอกจากนั้นไตยังมีหน้าที่ในการสร้างสารที่ควบคุมความดัน โลหิต และสารที่ช่วยกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง ดังนั้นเมื่อไตทำงานน้อยลงมักเกิดปัญหาความดันโลหิตสูงและโลหิตจางร่วมกันด้วย
ขับถ่ายของเสีย
ไตทำหน้าที่ขับถ่ายของเสียที่เกิดจากการเผาผลาญอาหารประเภทโปรตีนออกจากร่างกาย ของเสียประเภทนี้ได้แก่ ยูเรีย ครีอะดีนิน กรดยูริก และสารประกอบในโตรเจนอื่นๆ
ยูเรีย
ยูเรียเป็นโปรตีนที่ถูกตัดหมู่amino ออก (-NH2) แล้วเปลี่ยนเป็นยูเรีย ส่งกรองไปที่ไต กระบวนการเปลี่ยนให้เป็นยูเรียที่เกิดขึ้นที่ตับ ยูเรียมีความสำคัญอย่างยิ่งในการทำงานของหน่วยไต เรียกว่า countercurrent system ช่วยในการดูดซึมกลับของสารน้ำและเกลือแร่ที่อยู่ในหน่วยไต โปรตีน urea transporter 2 เป็นตัวขนถ่ายยูเรียเข้าสู่ท่อไตเพื่อขับออกทางปัสสาวะ
ครีอะตินิน
การทำหน้าที่กรองของไตเสียไปโดยไม่สามารถทำหน้าที่ได้ตามปกติ จะสามารถตรวจพบระดับของครีอดินินในเลือดสูงเพิ่มขึ้น
สมดุลของน้ำและเกลือแร่
ไตทำหน้าที่ควบคุมปริมาณสารน้ำและเกลือแร่ในร่างกายน้ำและแร่ส่วนที่เกินควรจำเป็นจะถูกขับออกมาทางปัสสาวะ เกลือแร่ดังกล่าว เช่น โซเดียม โปตัสเซียม แมกนีเซียม แคลเซียม และฟอสฟอรัส เป็นต้น
ความดันโลหิต
ไตทำหน้าที่สร้างสารเรนิน (renin) ช่วยควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ระดับคงที่ ทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆเพียงพอ ใน ภาวะความดันโลหิตในหลอดเลือดแดงที่ไตโดยเฉลี่ยลดลง ทำให้ร่างกายกระตุ้นกระบวนการเรนิน-แองจิโอเทนซิน ซึ่งจะทำให้มีการหลั่งเรนินจากจักซตาโกลเมอรูลาร์ อัฟพาราตัส (juxtaglomerular apparatus) ในไต เรนินเป็นเอนไซม์ที่หลั่งจากไตเข้าไปในกระแสเลือด ทำหน้าที่เปลี่ยนแองจิโอเทนซิโนเจน ให้เป็นแองจิโอเทนซิน I หลังจากนั้นเอนไซม์แเองจิโอเทนซิน คอนเวอทติง (angiotensin converting enzyme : ACE) จะเปลี่ยนแองจิโอเทนซิน I ให้เป็นแองจิโอเทนซิน II ที่ปอด เมื่อสารน้ำในร่างกายต่ำกว่าปกติ ระบบเรนิน-แองจิโอเทนซิน จะไปกระตุ้นหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดหดรัดตัว และกระตุ้นการหลั่งแอลโดสเตอโรนที่ต่อมหมวกไตส่วนนอก ทำให้เพิ่มปริมาณของโซเดียมและน้ำมากขึ้น ปริมาณเลือดจะเพิ่มขึ้น
การสร้างเม็ดเลือดแดง
ไตทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง มีชื่อเรียกว่า อีริโทโพอิติน (erythropoietin) หรือเรียกว่า อีโป (EPO) สารนี้ช่วยกระตุ้นไขกระดูกให้สร้างเม็ดเลือดแดง ทำให้ร่างกายมีปริมาณเลือดเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายอย่างเพียงพอ ป้องกันการเกิดภาวะโลหิตจาง ไข กระดูกเป็นแหล่งสร้างเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาวและเกร็ดเลือด โดยทั่วไปไขกระดูกจะอยู่ตามโพรงของกระดูกทุกชิ้น และมีปริมาณมากที่กระดูกเชิงกราน และกระดูกหน้าอก เม็ดเลือดแดงมีสารฮีโมโกลบิน ทำหน้าที่นำออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย ทำให้เซลล์ทำงานได้ตามปกติ