Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 11 การพยาบาลทารกแรกเกิด - Coggle Diagram
หน่วยที่ 11 การพยาบาลทารกแรกเกิด
การพยาบาลทารกแรกเกิดทันที
ประเมินสํารวจร่างกายทารกอย่างรวดเร็วทันที่ที่ทารกคลอดใช้เวลาไม่กี่วินาทีประเมินทางเดินหายใจ ความตึงตัวของกล้ามเนื้อและสีผิวของทารก สังเกต สํารวจร่างกายทารกคร่าวๆดูขนาดของทารก
การประเมินคะแนน APGAR
การดูแลทารกแรกเกิดทันที
การดูแลการทํางานของปอดและหัวใจ
ดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง
การดูแลการทํางานของหัวใจ
การดูแลควบคุมอุณหภูมิร่างกายของทารก
เมื่อต้องแยกทารกจากมารดาให้ใช้ผ้าอุ่นแห้งห่อตัวทารกไว้และการดูแลทารกควรทําให้เครื่องให้ความอบอุ่น (Radiant warmer) ปรับอุณหภูมิที่ 36.5-37.3 c เพื่อให้ทารกมีอุณหภูมิร่างกายใกล้เคียงหรือเท่ากับ 37 c
การระบุความเป็นบุคคลของทารก
การเขียนและใส่ป้ายข้อเท้าให้แก่ทารกทันทีหลังคลอดโดยระบุ ชื่อ-สกุลของมารดา เพศ วันที่ และเวลาคลอด
การป้ายตาทารกเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
ป้ายตาแก่ทารกแรกเกิดทําเพื่อยาฆ่าเชื้อหนองใน (Neisseria gonorrhoeae)
การให้วิตามินเค
เพื่อกระตุ้นให้ตับ สร้าง Coagulation Factor II, VII, IX,X เพิ่ม Prothrombin และป้องกันภาวะเลือดออก
การดูแลสะดือ
แต่งสายสะดือให้แน่นตรวจสอบเลือดออก แล้วเช็ดด้วย Povidone Solution หรือ Triple dye สังเกตว่ามีเลือดซึมหรือไม่
การทําความสะอาดร่างกาย
ใช้ผ้านุ่มๆ เช็ดเลือดและน้ําคร่ำตามลําตัวออก ส่วนไขตาม ผิวหนังมีประโยชน์ช่วยรักษาอุณหภูมิร่างกายทารก
การส่งเสริมสายสัมพันธ์ระหว่างมารดาและทารกหรือระหว่างมารดาบิดาและทารก
มารดาและทารกควรได้รับการดูแลให้มารดาสัมผัส โอบกอดทารกภายใน 1 ชั่วโมงหลังคลอด
การประเมินสภาพทารกแรกเกิด
การตรวจร่างกายตามระบบ
การตรวจร่างกายทารกแรกเกิดเพื่อประเมินอายุครรภ์
การดูแลประจําวันในทารกแรกเกิดปกติ
การควบคุมอุณหภูมิกาย
ควรวัดอุณหภูมิกายทางรักแร้ ผิวหนัง วันละ 2 ครั้ง อบอุ่น ร่างกายทารกให้ได้ 36.5-37.4 องศาเซลเซียส เพื่อเฝ้าระวังภาวะอุณหภูมิ ต่ำกว่า 36.5 องศาเซลเซียส
การให้อาหารและการดูแลน้ําหนักตัว
เริ่มให้ทารกดูดนมแม่ตั้งแต่แรกเกิดและให้ทุก 2-3 ชั่วโมง ควรชั่งน้ําหนักทารกแรกเกิดทุกวันขณะอยู่โรงพยาบาล
การดูแลผิวหนัง
ทําความสะอาดผิวหนังทารกโดยการอาบน้ํา เช็ดทําความสะอาด คราบนม อุจจาระ ปัสสาวะ ดูแลให้ผิวหนังแห้งอยู่เสมอ
การทําความสะอาดสะดือ
ทําความสะอาดอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
การทําความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์
ทําทกุ ครั้งที่อาบน้ําและหลังขับถ่าย
การดูแลการขับถ่าย
ทารกควรได้รับการเปลี่ยนผ้าอ้อมทุกครั้งที่มีการขับถ่าย เพื่อป้องกันภาวะอุณหภูมิกายต่ำ
การให้วัคซีนทารกแรกเกิด (Immunization)
Active immunization
จําเป็นที่ทารกปกติจะต้อง ได้รับ BCG และฉีดวัคซีนป้องกันตับอักเสบ บี ครั้งที่ 1 (HBV1)
Passive immunization
หากมารดาติดเชื้อ
ไวรัสตับอักเสบ บี ให้ดูแลฉีด HBIG แก่ทารกภายใน
12 ชั่วโมงหลังคลอด
การประเมินและการดูแลทารก
แรกเกิดที่มีความผิดปกติเล็กน้อย
Clubfoot or talipes equinovarus (เท้าปุก)
เป็นความผิดปกติของรูปเท้าที่พบไม่บ่อย สามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่แรกเกิดหรืออาจค่อยๆเกิดขึ้นในภายหลังอันเนื่องมาจากโรคบางอย่างเป็นสาเหตุให้เกิดได้
ประเภทของเท้าปุก
เท้าปุกเทียม (postural clubfoot)
เท้าปุกแท้ (congenital clubfoot)
เท้าปุกชนิดที่เกิดร่วมกับโรคอื่น (syndromic หรือ teratologic clubfoot)
Meconium impact
การมีปัญหาคั่งค้างของขี้เทา (Meconium) ในระยะแรกเกิด ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของลําไส้ เป็นสาเหตุหนึ่งของการถ่ายขี้เทาช้า อาจมีกลุ่มอาการที่เรียกว่า Meconium ileus ลําไส้อาจมี cystic fibrosis
Lactose intolerance (Galactosemia)
ภาวะ Galactosemia เป็น Autosomal Recessive disorder ซึ่งพบได้น้อย มีปัญหา ที่Carbohydrate metabolism ผิดปกติ
Down syndrome (กลุ่มอาการดาวน์)
เป็นกลุ่มอาการที่มีความผิดปกติของโครโมโซม คู่ที่ 21 (Trisomy 21)
อาการและอาการแสดง
กล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียก (Hypotonia) ตัวเตี้ย ศีรษะแบน ผิวหนังหย่อน ที่คอด้านหลัง
ดั้งจมูกแบน ใบหูเล็ก เกาะต่ำ (Low Set ear)
ลิ้นโตคับปาก มือกว้างแต่สั้น เส้นลายมือขาด
นิ้วมือที่ 5 (นิ้วก้อย)โค้งออก
Neonatal tooth or natal tooth
ฟันขึ้นในทารกแรกเกิด เป็นภาวะที่พบได้ ส่วนใหญ่เป็นฟันล่าง อาจเป็นฟันน้ํานม มีความแข็ง มีความแตกต่างจาก Eruption cyst ซึ่ง เป็นตุ่มเหงือกที่เกิดขึ้นก่อนที่ฟันจะพ้นเหงือก
Neonatal Jaundice or Neonatal Hyperbilirubinemia (ภาวะตัวเหลืองในทารกแรก เกิด)
ภาวะที่ทารกแรกเกิดมีการคั่งของสารบิลิรูบิน ในเลือดสูง (total serum bilirubin: TSB) มีค่ามากกว่า 5 mg/dl
ภาวะอุณหภูมิกายต่ำ (Sub temperature)
ทารกที่มีอุณหภูมิที่วัดจากทางทวารหนัก ต่ำกว่า 36.5 องศาเซลเซียส หรือวัดทางผิวหนัง (Skin Temperature) ต่ำกว่า 36.0 องศาเซลเซียส
น้ําตาไหลในทารกแรกเกิด (Epiphora) Dacryostenosis or Congenital nasolacrimal duct obstruction
(ตาแฉะและท่อน้ำตาอุดตันแต่กําเนิด)
ท่อน้ําตาอุดตันในเด็ก
ภาวะของท่อน้ําตาที่ตามปกติจะเปิดเข้าสู่โพรงจมูกนั้นไม่เปิด ทําให้น้ําตาที่สร้างโดยต่อมน้ําตาเพื่อมาหล่อลื่นตานั้นเอ่อล้นออกมาให้เห็นและเกิดอาการได
สาเหตุ
เกิดจากท่อระบายน้ําตาบริเวณหัวตาข้างนั้น
อุดตันแต่กําเนิด
การวินิจฉัย
ใช้สําลีพันปลายไม้ที่ปลอดเชื้อกดที่หัวตาเบาๆ และเคลื่อนขึ้นด้านบน จะมีเมือกหรือขี้ตาออกมาจากรูเปิดของท่อน้ําตา
วิธีการดูแล
ใช้สําลีชุบน้ําต้มสุก เช็ดทําความสะอาดได้ แต่ต้องแยกจากท่อน้ําตาอุดตัน ควรพาเด็กมาพบกุมารแพทย์หรือจักษุแพทย์ก่อนทุกราย เพื่อทําการตรวจวินิจฉัยว่าเป็นท่อน้ําตาอุดตัน จริงหรือไม่
Suckling defect
เป็นภาวะบกพร่องการดูดของทารกอันเนื่องจากสาเหตุต่างๆ ให้ทารกได้รับน้ํานมไม่เพียงพอ
Undescended testes (อัณฑะไม่ลงถุง)
เป็นปัญหาทางกุมารศัลยศาสตร์ที่พบบ่อย จึงควรมีความเข้าใจถึงอันตรายหรือสิ่งที่ตามมาเนื่องจากการไม่มีอัณฑะในถุงอัณฑะ
ภาวะบวมน้ําของศีรษะทารกแรกเกิด
(Caput succedaneum)
เป็นการบวมน้ําในหนังศีรษะของทารกแรกเกิด
มีลักษณะบวมเป็นวงกลม
การบวมเกิดบริเวณข้ามรอยประสารกระดูก(suture)
คลําขอบเขตได้ไม่ชัดเจน
พบรอยบุ๋มหลังกดบริเวณที่บวม การบวมจะลดลง
ภายใน 24 ชั่วโมง และหายไปภายใน 2-3 วัน
สาเหตุ
ศีรษะทารกถูกกดขณะคลอด
ถูกบีบรัดโดยปาดมดลูกในระหว่างคลอดนาน
หลอดเลือดหนังศีรษะทารกถูกบีบรัดในระหว่างการคลอดทําให้มีน้ําคั่งพบรายคลอดโดยใช้เครื่องดูดสุญญากาศ
การพยาบาล
อธิบายให้บิดามารดาทราบถึงลักษณะศีรษะบวมน้ําและสาเหตุที่เกิดขึ้น
ให้ข้อมูลการยุบลงและการหายไปใน2-3วันหลังเกิดไม่ต้องรกัษาใช้ยาทาหรือนวด
ให้สังเกตการเปลี่ยนแปลงอาการบวมอาการทางระบบประสาทของทารกเช่นซึมลง
ภาวะเลือดคั่งใต้เยื่อหุ้มกะโหลกศีรษะ (Cephalhematoma)
เป็นเลือดที่สะสมอยู่ใต้เยื่อหุ้มกะโหลกศีรษะทารก ก้อนโตขึ้นเรื่อยๆ ปรากฏชัดเจนภายใน 24 ชั่วโมงหลังเกิด ก้อนมีลักษณะนูนนุ่มบนกะโหลกศีรษะ ไม่ข้ามรอยประสานกระดูก
สาเหตุ
มีการฉีกขาดของหลอดเลือดทําให้มีเลือดคั่งบริเวณใต้เยื่อหุ้มกะโหลกศีรษะ
บาดเจ็บจากศีรษะทารกผ่านทางคลอด
การใช้เครื่องมือทําคลอด เช่น F/E, V/E
การพยาบาล
อธิบายให้บิดามารดาเข้าใจถึงภาวะ Cephalhematoma และสาเหตุที่เกิดขึ้น
สังเกตลักษณะ ขนาด อาการซีด การเปลี่ยนแปลงต่างๆ
ให้ทารกนอนตะแคงตรงข้ามก้อนที่โน
แนะนําไม่ให้ใช้ยาทา ยานวด ประคบหรือการเจาะเอาเลือดออก
ให้ข้อมูล Cephalhematoma หายไปใน 2-3 สัปดาห์ หรือบางรายหายใน 2 เดือน
ภาวะน้ําตาลในเลือดต่ำในทารกแรกเกิด (Hypoglycemia)
เป็นภาวะที่ระดับน้ําตาลในเลือดที่ ถูกควบคุมรักษาระดับโดยการที่ร่างกายเปลี่ยนกลัยโคเจนในร่างกายเป็นกลูโคส
ทารกที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะHypoglycemia
ตัวโตกว่าอายุครรภ์
ตัวเล็กกว่าอายุครรภ์
มารดาเป็นเบาหวาน
คลอดก่อนกําหนด
คลอดเกินกําหนด
ทารกป่วยหรือเครียด
ทารกมีเม็ดเลือดแดงสูง
ทารกที่มีการอดอาหาร
อาการของทารกที่มี Hypoglycemia
ไวต่อสิ่งเร้า
แขนขาสั่นและควบคุมไม่ได้
ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายสั่นแบบเป็นจังหวะหรือมีอาการเกร็ง
มีการตอบสนองช้าหรือไม่ตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น
หยุดหายใจแบบเกิดทันทีและมีอาการเขียว
น้ําตาลในเลือดต่ำแต่ไม่มีอาการใดๆ
การประเมินทารกท่ีมีภาวะบิลิรูบินสูง
การตรวจร่างกาย
สังเกตบริเวณผิวหนังโดยอยู่ในที่ๆมีแสงสว่างเพียงพอ
วางหัวแม่มือและนิ้วชี้ชิดกันท่ีบริเวณหน้าผากหรือหน้าอก กดเบาๆ โดยแยกนิ้วออกจากกันบนผิวหนังทารก
หรือมองตาขาวว่ามีอาการ เหลืองหรือไม่
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ปกติทารกไม่ควรมีระดับบิลิรูบินเกิน 3 มิลลิกรัม/เดซิลิตร โดยใช้ Microbilirubin (MBB) ในกรณีตัวเหลืองเร็วภายใน 24 ชั่วโมงต้องตรวจกรอง jaundice work up
การรักษาด้วยการส่องไฟ (Phototherapy)
การส่องไฟจะช่วยให้ Indirect Bilirubin (Unconjugated Bilirubin) เปลี่ยนเป็น Direct Bilirubin (Conjugate Bilirubin) เพื่อให้สามารถละลายน้ําได้ ปฏิกิริยานี้เกิดที่นอกหลอดเลือดและเข้าสู่ระบบไหลเวียน โดยจับกับ Albumin ในกระแสเลือดและถูกส่งไปที่ตับ ขับออกทางน้ําดี เข้าสู่ลําไส้ ถูกขับออกมากับอุจจาระ
ข้อบ่งชี้
การรักษาด้วยการส่องไฟ รักษาภาวะบิลิรูบินในเลือดสูง ทารกอายุครรภ์ 35 สัปดาห์ขึ้นไป มีน้ําหนัก 2000 -2500 gm ขึ้นไป MB ≥ 13 mg/dl หรือพิจารณาตามเกณฑ์ตามแผนการรักษา
ข้อบ่งห้าม
ทารกเป็น Direct hyperbilirubinemia
ทารกที่มีครอบครัวเป็น light sensitive porphyria
การพยาบาลขณะส่องไฟทารก
อธิบายให้มารดา บิดา เข้าใจเหตุผลของการรักษาด้วยการส่องไฟ
วัดสัญญาณชีพ
เช็ดตัว เช็ดตา เช็ดสะดือ
งดทาแป้งทารกหรือโลชั่นเพื่อให้ผิวหนังสัมผัสแสงมากที่สุด
ปิดตาทารกให้มิดชิดด้วยวัสดุนุ่มทึบแสง เนื่องจากแสงอาจเป็นอันตรายต่อจอประสาทตา
ถอดเสื้อและผ้าอ้อมเพื่อให้ผิวหนังสัมผัสกับแสงมากที่สุด
วางทารกตําแหน่งกลางไฟห่างจากหลอดไฟ 30-40 เซนติเมตร
ใช้ผ้าคลุมรอบๆ เครื่องสองไฟเพื่อลดการกระจายแสง
จัดอุณหภูมิสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมประเมินอุณหภูมิกายทารกทุก 4 ชั่วโมง
ดูแลเรื่องการได้รับนมให้เพียงพอ ชั่งน้ําหนักวันละ 1 ครั้ง
การรักษาด้วยการเปลี่ยนถ่ายเลือด (Blood exchange transfusion)
จะได้ผลดีในกรณีที่มีภาวะ Bilirubin encephalophathy และภาวะโลหิตจางจางเม็ดเลือดแดงแตก
เลือดที่ใช้ควรเป็นเลือดทีใหม่อายุไม่เกิน 3 วัน เพราะเลือดเก่าจะมีโพแทสเซียมสูง
การเฝ้าระวังหลังการเปลี่ยนถ่ายเลือด
ปริมาณการไหลเวียนเลือดที่เพิ่มหรือลดลง
การเปลี่ยนแปลงของอิเลคโทรไลท์
ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
เลือดออกง่าย
เกล็ดเลือดต่ำ
ติดเชื้อ
อุณภูมิกายต่ำ
ลําไส้เน่า (เกิดจากการขาดเลือดไปเลี้ยง)