Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Catheter-related bloodstream infection ( CRBSI) - Coggle Diagram
Catheter-related bloodstream infection
( CRBSI)
พยาธิสภาพ
ทฤษฎี
Sepsis R/O CRBSI (Sepsis rute out Catheter Related Blood
Stream Infection) ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด สงสัยว่า มีการติด
เชื้อของแบคที่เรียโดยแหล่งของการติดเชื้อ คืออยู่ใน Central line
คือ การติดเชื้อที่เกิดขึ้นที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งในร่างกาย แล้ว
ทำให้ร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อการติดเชื้อหรือต่อพิษของเชื้อ
โรค ทำให้เกิดการอักเสบขึ้นในอวัยวะภายในของร่างกาย หากมี
ความรุนแรงมากขึ้นอาจพัฒนาไปสู่ภาวะช็อก และทำให้การทำงาน ของอวัยวะภายในร่างกายต่างๆ ล้มเหลว
Catheter Related Blood Stream Infection การติดเชื้อของ
แบคที่เรียโดยแหล่งของการติดเชื้อคืออยู่ใน Central line การ
เคลื่อนที่ของเชื้อแบคทีเรีย Enterococus faecium และเชื้อ
Candida albicans ที่ผิวหนัง เข้าสู่ร่างกายตามผิวภายนอกสายสวน
การกระจายของเชื้อมากับกระแสเลือดจากการติดเชื้อที่ตำแหน่งอื่น
การปนเปื้อนของเชื้อโรคที่มากับสารละลายที่ให้ทางสายสวนหลอด
เลือด การปนเปื้อนของเชื้อ โรคที่ทางเข้าของสารละลายการปนเปื้อน
ของเชื้อโรคที่ tansducer หรือสายชุดให้สารละลาย (V tubing)
กรณีศึกษา
ผู้ป่วยมีการติดเชื้อบริเวณหน้าอกซ้าย ที่เป็นตำแหน่งสายล้างไต โดยมีอาการบวม แดง อักเสบ
อาการและอาการแสดง
ทฤษฎี
อาการติดเชื้อทั่วไป ไข้ หายใจเร็ว หอบเหนื่อย ใจสั่น
อาการที่เกิดจากภาวะแทรกซ้อนของการติดเชื้อ เช่น อาการแสดงของการทำงานล้มเหลวของอวัยวะต่างๆ เช่น ปัสสาวะออกน้อยลงจากไตเสื่อมฉับพลัน ซึมลง หรือสับสน
กรณีศึกษา
ผู้ป่วยอาการไข้ หนาวสั่น เหนื่อยหอบ ปัสสาวะออกน้อย ครั้งละ 2-3 หยด
การวินิจฉัย
ทฤษฎี
การตรวจเลือดทั่ว ๆ ไป เป็นการตรวจวินิจฉัยเพื่อหาการติดเชื้อ ตรวจค่าความสมบูรณ์เม็ดเลือด (CBC) ค่าการทำงานตับไต เกลือแร่ ค่าความสมดุลกรดด่างในเลือด ตรวจปัสสาวะ เป็นต้น
การตรวจเพาะเชื้อโดยตรงจากเลือด เสมหะ ปัสสาวะ บาดแผล หรือหนอง ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจแพทย์ และอาการของผู้ป่วย
การตรวจวินิจฉัยโดยรังสีวิทยา
อัลตราซาวนด์ เป็นเทคโนโลยีคลื่นเสียงส่งภาพไปยังหน้าจอ เพื่อวินิจฉัยภาวะการติดเชื้อในช่องท้อง เช่น ตับ ทางเดินน้ำดี ไต หรือชั้นใต้ผิวหนัง เป็นต้น
กรณีศึกษา
ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ
Electrolyte
k 6.15 สูง
เนื่องจากอัตราการกรองและความสามารถใรการขับโพแทสเซียมของไตลดลง รวมทั้งภาวะ metabolic acidosis ทำให้โพแทสเซียมในเลือดสูง ในผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ที่มีปัสสาวะน้อย สามารถเกิด Hyperkalemia เนื่องจากไตเสียหน้าที่
Na 132 ต่ำ
เนื่องจากมีภาวะน้ำเกิน มีผลให้ระดับโซเดียมในเลือดต่ำลงจากการถูกเจือจาง
Co2 21.1 ต่ำ
อาจเกิดจากสภาวะของโรคไตวาย จึงควบคุมไบคาร์บอเนตไม่ได้
การตรวจค่าไต (Renal Function Test)
Creatinine 8.75 , BUN 43 สูง
เกิดจากการทำงานของไตลดลง ทำให้เกืดภาวะไตวาย/ไตล้มเหลว
Albumin 3.63 ต่ำ
อาจเกิดโรคไต ทำให้ปล่อยทิ้งโปรตีนไปกับปัสสาวะ ไม่สามารถกรองโปรตีนกลับคืนมาสู่ระบบของร่างกาย อาจทำให้เกิดภาวะบวมน้ำได้
Total protein 6.13 ต่ำ
ทำให้กรวยไตไม่กรองโปรตีนกลับคืนตามที่ควรและปะปนกับน้ำปัสสวะ
eGRF 5.4 ผู้ป่วยมีภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย
CBC
% NEUTROPHIL 92.3 สูง , %LYMHOCYTE 3.9 ต่ำ ,%MONOCYTE 1.3 ต่ำ
มีการติดเชื้อแบคทีเรีย เนื่องจากผู็ป่วยมีบริเวณที่ล้างไตบวม แดง อักเสบ
RBC COUNT 3.59 ต่ำ , Hb 9.9 ต่ำ, Hct 30.4 ต่ำ
อาจเกิดจากผู้ป่วยมีภาวะบวมน้ำและเป็นโรคไตเรื้อรัง ส่งผลให้เลือดไม่สามารถพาออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายได้เพียงพอ
การรักษา
ทฤษฎี
การรักษาด้วยยา
การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
การให้ยาเพิ่มความดันโลหิตหากความดันโลหิตของผู้ป่วยต่ำแม้ว่าจะได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดแล้ว แพทย์อาจสั่งยาเพิ่มความดันโลหิต ซึ่งช่วยกระตุ้นการบีบตัวของหลอดเลือด
การให้ยาปฏิชีวนะแบบกว้างทางหลอดเลือดดำ ครอบคลุมชนิดและตำแหน่งของการติดเชื้อที่แพทย์สงสัย
การรักษาด้วยการผ่าตัด
การถอดสายสวนหลอดเลือดดำที่มีการติดเชื้อออกเป็นต้น เนื่องจากการติดเชื้อชนิดดังกล่าวนั้นลุกลามเกินกว่าจะรักษา
การรักษาอื่นๆ
การฟอกไต ในกรณีที่มีภาวะไตวายเฉียบพลัน ปัสสาวะออกน้อย เลือดเป็นกรด ความสมดุลเกลือแร่ผิดปกติรุนแรง
การให้เลือดหรือพลาสม่าในกรณีที่มีภาวะซีดรุนแรงหรือการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ
กรณีศึกษา
1.ผู้ป่วยได้รับยา vencomycin 750 mg v q 48 hr เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
ข้อมูลผู้ป่วย
อาการสำคัญ
ไข้ หนาวสั่น 30 นาทีก่อนมาโรงพยาบาล
ประวัติการเจ็บป่วยปัจจุบัน
1 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล ขณะล้างไต ได้ 1 ชั่วโมง มีไข้ หนาวสั่น เหนื่อยหอบ บริเวณที่้ล้างไตบวม แดง อักเสบ
ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต
เป็นโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย มา 3 ปี
ภาวะความดันโลหิตสูง มา 3 ปี
โรคไขมันในเลือดสูง มา 3ปี
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด เนื่องจาก on HD บริเวณหน้าอกซ้าย
ข้อมูลสนับสนุน
O : on HD บริเวณหน้าอกซ้าย มีอาการบวม แดง อักเสบ
O : T = 37.6 ํC , P=86/min ,
R=20/min , BP = 174/98 mmHg
O : % NEUTROPHIL 92.3 % สูง
จุดมุ่งหมาย
เพื่อลดภาวะติดเชื้อในร่างกาย
เกณฑ์การประเมิน
ไม่มีอาการบวม แดง อักเสบ
2.สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ
T = 36.5-37.4 ํC
P=60-100 /min
R=16-20/ min ,
BP = 120/80-129/89 mmHg
3.ค่า % NEUTROPHIL
อยู๋ในค่าปกติ 40.0-73.1 %
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินอาการติดเชื้อที่เส้นล้างไตบริเวณหน้าอกซ้าย เช่น ปวด บวม แดง เพื่อสังเกตอาการที่ผิดปกติ
2.ตรวจสอบและบันทึกสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง
T = 36.5-37.4 ํC
P=60-100 /min
R=16-20/ min ,
BP = 120/80-129/89 mmHg
เพื่อติดตามการเปลียนแปลงของร่างกาย
3.ล้างมือก่อนและหลังให้การพยาบาลทุกครั้ง เพื่อลดการปนเปื้อนและการแพร่กระจายเชื้อโรค
4.ทำความสะอาดแผล โดยยึดหลัก Aseptic tecnique เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
5.แนะนำให้ผู้ป่วยทำความสะอาดร่างกาย และบริเวณรอบเตียงผู้ป่วย เพื่อลดการสะสมของเชื้อโรค
6.ดูแลให้ได้รับยา vencomycin 750 mg v q 48 hr พร้อมสังเกตผลข้างเคียงของยา ได้แก่ ทำให้หูหนวก ไตเสียหน้าที่ มีอาการหนาวสั่น ผื่นแดงที่คอ มีไข้ ผื่นลมพิษ เพื่อป้องกันการติดเชื้อและสังเกตผลข้างเคียง
มีภาวะของเสียคั่งในร่างกาย เนื่องจากประสิทธิภาพ การทำงานของไตลดลง
ข้อมูลสนับสนุน
S : "คันตามตัว มา 3-4 เดือนแล้ว"
S: "บวมทั้งตัว หน้าก็บวม ตรงตาบวมจนมองจะไม่เห็นแล้ว"
S : "เหนื่อย หายใจไม่สะดวกบ่อยๆ"
O: ผู้ป่วยทำ HD วันอังคาร พุธ ศุกร์
O: on cannula 3 L
O: creatinine 8.75 mg/dl H
O: BUN 43 mg/dl H
O: Albumin 3.63 g/dl L
จุดมุ่งหมาย
มีของเสียคั่งในร่างกายลดลง ไม่เกิดอันตรายจากของเสียคั่ง
เกณฑ์การประเมิน
ไม่มีอาการของเสียคั่งในร่างกาย เช่น อ่อนเพลีย บวม คันตามตัว หอบเหนื่อย
ค่า creatinine อยู่ในเกณฑ์ปกติ 0.51-1.17 mg/dl
BUN อยู่ในเกณฑ์ปกติ 6.0-20.0 mg/dl
Albumin อยู๋ในเกณฑ์ปกติ 3.5-5.2 g/dl
กิจกรรมการพยาบาล
สังเกตอาการของเสียคั่งในร่างกาย ได้แก่ อ่อนเพลีย มึนงง เบื่ออาหาร อาเจียน นอนไม่หลับ ชักหมดสติ เพื่อประเมินความรุนแรงของของเสียคั่งในร่างกายและให้การรักษาที่เหมาะสม
2.ล้างมือให้สะอาด 7 ขั้นตอน ก่อนและหลังให้การพยาบาลผู้ป่วย เพื่อป้องกันการติดเชื้อและการแพร่กระจายเชื้อ
3.เตรียมร่างกายผู้ป่วยก่อนไปทำ HD โดยวัดสัญญาณชีพและเจาะน้ำตาลในเลือด เพื่อประเมินความพร้อมและสังเกตอาการที่อาจะผิดปกติ
4.จำกัดน้ำผู้ป่วยไม่เกิน 1000 cc/วัน เพื่อป้องกันภาวะบวมน้ำจากการที่ไตกรองได้ลดลง
5.ดูแลให้ได้รับอาหารสูตรโรคไต และลดอาหารรสเค็ม เพื่อลดการดูดซึมกลับของน้ำเข้าร่างกายและลดบวม
6.ดูแลให้ผู้ป่วยทำความสะอาดผิวหนัง ซอกนิ้วมือ นิ้วเท้า เพราะผู้ป่วยมีผิวหนังบาง อาจติดเชื้อได้ง่าย เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
7.แนะนำให้ตัดเล็บให้สั้น เพื่อป้องกันการเกาผิวหนังจนเกิดบาดแผล
8.บันทึกน้ำเข้าและออกร่างกายทุก 8 ชั่วโมง เพื่อประเมินความสมดุลของน้ำเข้าและออก
9.ติดตามผลทางห้องปฏิบัติการตามแผนการรักษาของแพทย์ เพื่อประเมินการทำงานของไต
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน เนื่องจากความดันโลหิตสูง
ข้อมูลสนับสนุน
S: "เป็นโรคความดันโลหิตสูง มา3ปีแล้ว"
O: BP= 174/98 mmHg
จุดมุ่งหมาย
เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนความดันโลหิตสูง
เกณฑ์การประเมิน
ไม่มีอาการของภาวะความดันโลหิตสูง เช่น ปวดศีรษะ ตาพร่ามัว
สัญญาณชีพปกติ โดยเฉพาะ ค่า BP ปกติไม่เกิน
120/80-129/89 mmHg
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินสัญญาณชีพ ทุก 4 ชั่วโมง T = 36.5-37.4 ํC P=60-100 /min , R=16-20/ min , BP = 120/80-129/89 mmHg
เพื่อติดตามการเปลียนแปลงของร่างกาย
2.ประเมินอาการที่แสดงถึงการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูง เช่น อาการปวดศีรษะ ตาพร่ามัว มองเห็นภาพซ้อน คลื่นไส้ อาเจียน ปากเบี้ยว เพื่อสังเกตอาการที่อาจผิดปกติ
3.แนะนำให้ผู้ป่วยระมัดระวังการเปลียนท่า อาจทำให้ความดันโลหิตเปลี่ยนแปลงและเกิดอุบัติเหตุได้ เพื่อป้องกันการเกิดความดันเปลี่บยแปลงเฉียบพลัน
4.ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง และภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เพื่อให้ผู้ป่วยตระหนักในการดูแลตนเองและควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
5.แนะนำให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้ความดันโลหิตสูง เช่น ภาวะอ้วน ภาวะไขมันในเลือดสูง ภาวะเครียด การดื่มสุรา และสูบบุหรี่ เพื่อป้องกันไม้ให้เกิดความเสี่ยงของความดันโลหิตสูง
6.แนะนำให้ผู้ป่วยออกกำลังกาย เบาๆ เช่น การแกว่งแขน เดินไปมา สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 30 นาที เพือป้องกันหลอดเลือดแข็งตัว
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง
ทฤษฏี
ผู้ป่วยขาดการรักษาความสะอาด เช่น ไม่อาบน้ำ ใส่เสื้อผ้าซ้ำ ไม่รักษาความสะอาดบริเวณสายล้างไต ไม่ตัดเล็บให้สั้น
ผู้ป่วยไม่ระมัดระวังบริเวณสายล้างไต เช่น บริเวณสายล้างไตโดนน้ำ
ผู้ป่วยแกะ เกา บริเวณสายล้างไต
กรณีศึกษา
ผู้ป่วยใส่เสื้อผ้าซ้ำ และเกาเมื่ิอรู้สึกคัน
ความหมาย
การติดเชื้อในกระแสเลือดจากการใส่สายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลาง เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยในผู้ป่วยที่ได้รับการใส่คาสายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลาง
ภาวะแทรกซ้อน
การติดเชื้อที่เกิด
จากการใส่คาสายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลาง ได้แก่
การติดเชื้อเฉพาะที่บริเวณที่ใส่คาสายสวน การอักเสบของหลอดเลือดดำและการติดเชื้อในกระแสเลือด โดยส่งผลกระทบให้ความดันต่ำลง เลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ได้ลดลง รวมถึงอาจมีภาวะลิ่มเลือดขนาดเล็กอุดตันในเส้นเลือดฝอย ทำให้เกิดอวัยวะล้มเหลวได้หลายระบบ เช่น ไตวายเฉียบพลัน การหายใจล้มเหลว ภาวะเลือดเป็นกรดที่รุนแรงจากกรดแลกติกในเลือดคั่ง คนไข้ส่วนใหญ่ที่ไม่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อนั้นส่วนใหญ่จะสามารถฟื้นตัวได้ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการติดเชื้อ