การประเมินภาวะสุขภาพผู้ที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจ
1.การซักประวัติ อาการเจ็บแน่นหน้าอกประวัติเจ็บป่วยในอดีต แบ่งตามความรุนแรงเป็น 4 ระดับ
− Class I: สามารถทํากิจวัตรประจําวันได้ เจ็บหน้าอก เมื่อออกแรงหรือใช้กําลังมาก
− Class II: สามารถทํากิจวัตรประจําวันได้ มีอาการเจ็บหน้าอกเมื่อออกแรงเพียงเล็กน้อย
− Class III: เจ็บหน้าอกเมื่อทํากิจวัตรประจําวัน
− Class IV: ไม่สามารถทํากิจวัตรประจําวันใดๆได้ หรือเจ็บหน้าอกขณะพัก
2.การตรวจร่างกาย อาการรุนแรงจะพบสัญญาณชีพผิดปกติ เช่น ความดันโลหิตต่ํา จังหวะการเต้นของหัวใจและการหายใจผิดปกติระดับความรู้สึกตัวลดลงผิวหนังเย็นชื้นคลื่นไส้อาเจียนหากหัวใจข้างซ้ายวาย ฟังปอดอาจพบCrepitation ที่ปอดทั้งสองข้าง
3.การตรวจทางห้องปฏิบัติการ - cardiac enzymesที่บ่งชี้ถึงการตายของกล้ามเนื้อหัวใจ เช่น Troponin T (TnT), Myoglobin, Total CPK, CK-MB ระดับ cardiac enzymes ที่สูงเกินค่าปกติเป็นตัวบ่งบอกว่ามีการตายของเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจจากการขาดเลือด - การส่งตรวจ SGOT, LDH ค่าจะอยู่ในระดับสูงกว่าปกติ - การตรวจไขมันในเลือด เพื่อหาปัจจัยเสี่ยงควรตรวจภายใน 24 ชั่วโมงเพราะจะลดลงหลัง 24 ชั่วโมงแรกของ MI - การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด(Complete blood count, CBC) จะพบเม็ดเลือดขาว (WBC) มีค่าสูงขึ้นระหว่าง 12,000-15,000 ลูกบาศก์มม.ซึ่งจะสูงในระยะแรกและคงอยู่ 3-7 วัน หลังเกิดอาการเจ็บหน้าอก - การตรวจ Erythrocyte sedimentation rate (ESR) พบอัตราการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดงมีค่าสงขึ้นอย่างช้าๆ และค่าสูงอยู่นานเกินกว่าสัปดาห์
4.การตรวจพิเศษอื่นๆ - การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ(EKG)ช่วยในการวินิจฉัยและรักษาได้เร็วEKGอาจมีลักษณะจําเพาะที่แสดงถึงการขาดเลือด ได้แก่ ST segment elevationในLead V2-V3 ≥2มม.ในชายหรือ ≥1.5มม.ในหญิงหรือ ST segment elevation ≥1มม.ใน limb leads หรือ chest leads อื่นที่ไมใชV2-V3แต่บางรายมีลักษณะไมจําเพาะ -การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกําลังกาย(Exercise stress testing) -การฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ (Coronary arteriography) -การตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ (Echocardiography) ประเมินการบีบตัวของหัวใจและดูภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น Mitral regurgitation -การตรวจหัวใจด้วยภาพคลื่นสะท้อนในสนามแม่เหล็ก (Magnetic resonance imaging)