Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 10 การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่, หลักการอุ้มที่จะช่วยให้ทารกด…
หน่วยที่ 10 การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
ความสําคัญและประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
ประโยชน์ต่อลูก
ช่วยการเจริญเติบโต และการเผาผลาญของร่างกายทารก
ลดอัตราการตายของทารกแรกเกิด เนื่องจากช่วยป้องกันการเจ็บป่วย หรือ การตดิเชื้อในระบบต่าง ๆ
ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตสังคม
แม่ที่เลี้ยงลูก ด้วยนมแม่ จะมีความรู้สึกผูกพันกับลูก
ส่งเสริมพัฒนาการด้านสมองส่งเสริมพัฒนาการด้านสมองเนื่องจากนมแม่ช่วย เพิ่มประสิทธิภาพของ โกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) น้ําตาลโอลิโกแซคคาไรด์ กรดไขมันชนิด เส้นยาว และไม่อิ่มตัว
ลดกาเจ็บป่วยของทารก
ลดภาวะลําไส้เน่าอักเสบในทารกแรกเกิด
ลดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ทางเดินปัสสาวะและหูชั้นกลาง
ลดปัญหาสุขภาพฟัน
ลดปัญหาโรคอ้วน ป้องกันการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2
ประโยชน์ต่อแม่
ช่วยคุมกําเนิดตามธรรมชาติ ทำให้ไม่มีประจําเดือน (Lactational Amenorrhea) เนื่องจากระดับฮอร์โมนโปรแลคติน ยับยั้งการตกไข่
ลดโอกาสในการเกิดภาวะผิดปกติ และโรคต่างๆ
ลดอัตราการตกเลือดหลังคลอดโดยการสัมผัสแบบเนื้อแนบเนื้อ(Skinto Skin Contact) ระหว่างแม่กับลูก
กระตุ้นให้ทารกดูดนมแม่ในช่วง 30 นาทีแรกหลังคลอด เป็นการกระตุ้น การหลั่งของออกซิโทซิน ช่วยกระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก
โดยอิทธิพลร่วมกันของฮอร์โมน คือ โปร แลคติน ออกซิโทซิน วาโซเพรสซิน คอร์ติโคโทรปิน รีลีสซิงฮอร์โมน ปรอสตาแกรนดินส์ โปรเจสเตอโรน และไซโตไคนส์
ลดโอกาสการเกิดโรคมะเร็ง การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อย
12 เดือน สามารถลดโอกาสการเกิดมะเร็งเต้านม รังไข่ลงได้
ลดโอกาสการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่2
ลดการอักเสบ และติดเชื้อ เนื่องจากเมื่อฮอร์โมนออกซิโทซิน และ โปรแลคซินทํางานประสานกัน จะทําให้กดการทํางานของคอร์ติซอล ทําให้ความเครียดลดลง ส่งผล ต่อระบบภูมิคุ้มกันที่เพิ่มขึ้น
ส่งเสริมความรักความผูกพันระหว่างแม่และลูกแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ใช้ เวลาในการปฏิสัมพันธ์กับลูก
ช่วยให้จิตใจสงบ กระตุ้นสัญชาติญาณของความเป็นแม่ และลดโอกาสในการ เกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอด เนื่องจากอิทธิพลของฮอร์โมนออกซิโทซิน จะช่วยทําให้แม่รู้สึกสงบ
ประโยชน์ต่อประเทศชาติ
ลดค่าใช้จ่าย และประหยัดเวลา เนื่องจากประหยัดทั้งค่าใช้จ่ายจากนมผสม อุปกรณ์ในการเตรียมนม อาหารเสริม และค่ารักษาพยาบาลเด็กป่วย
เพิ่มคุณภาพประชากร จากแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 12 กล่าวถึงเด็ก ตั้งแต่แรกเกิดขึ้นไปจะต้องมีพัฒนาการที่สมวัยในทุกด้าน โดยเฉพาะการส่งเสริมภาวะโภชนาการ และแก้ปัญหาโรคขาดสารอาหารในทารก และเด็กก่อนวัยเรียน
หลักการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
บันไดขั้นที่ 3
ความรู้ และทักษะที่หญิงตั้งครรภ์และครอบครัวควรได้รับ
การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวใน 6 เดือนแรกหลังคลอด ความเสี่ยงใน การเลี้ยงลูกด้วยนมผสม หรือสารอาหารอื่นทดแทนนมแม่ และความจริงที่ว่าหลัง 6 เดือน นมแม่ยังคงมีความสําคัญควบคู่ไปกับอาหารอื่นตามวัย
บันไดขั้นที่ 4
ช่วยดูแลหลังคลอดทันที โดยให้แม่และลูกได้สัมผัสแบบเนื้อแนบเนื้อโดย ปราศจากการรบกวน และสนับสนุนให้ลูกดูดนมแม่ครั้งแรกเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
หลังทารกเกิดวางทารกในลักษณะนอนคว่ำลงบนหน้าอกแม่โดยให้เนื้อของทารกแนบเนื้อที่หน้าอกแม่โดยไม่มีเสื้อผ้าเร็วที่สุดเท่าที่จะทําได้ อย่างน้อย 60 นาที
เริ่มให้ดูดนมครั้งแรกภายใน 1 ชั่วโมงแรกหลังเกิด เพราะ หัวน้ำนม เต็มไปด้วยสารอาหาร
ทารกคลอดก่อนกําหนดและทารกน้ําหนักตัวน้อย ควรอุ้มทารกอยู่ระหว่างอก ในท่ากึ่งนั่งกึ่งนอนเพื่อรักษาอุณหภูมิร่างกายของทารก และเพื่อกระตุ้นการดูด
บันไดขั้นที่ 5
ให้คําแนะนําหลังคลอดเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งมี ส่วนช่วยให้อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพิ่มขึ้นในช่วง 6 เดือน
การจัดท่าอุ้มเข้าเต้าที่ถูกต้อง
การแนะนําไม่ให้ ป้อนอาหารหรือสารน้ําใดนอกเหนือจากนมแม่
สนับสนุนแม่ที่คลอดก่อนกําหนดให้สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ โดย แนะนําการบีบเก็บน้ํานมเพื่อกระตุ้นการสร้างน้ํานมและคงไว้ซึ่งการสร้างน้ํานมอย่างต่อเนื่อง
บันไดขั้นที่ 6
อย่าให้อาหารอื่นแก่ทารกที่กินนมแม่ ยกเว้นในกรณีที่มีข้อบ่งชี้ทาง การแพทย์
บันไดขั้นที่ 7
จัดบริการให้แม่และลูกได้อยู่ด้วยกันหลังคลอด
ตลอด 24 ชั่วโมง
แม่หลังผ่าตัด ควรช่วยเข้าเต้า
แยกทารกออกจากแม่น้อยที่สุด
บันไดขั้นที่ 8
สนับสนุนให้มารดามีการเรียนรู้และตอบสนองต่ออาการที่บ่งบอกว่าลูก หิว สนับสนุนให้ลูกได้กินนมแม่ตามต้องการ
แม่ควรได้รับการสนับสนุนให้ตอบสนองความต้องการของทารกจากอาการ
หิว โดยฝึกให้แม่สังเกต และให้ความสําคัญของอาการหิวของทารก
บันไดขั้นที่ 2
ทําให้บุคลากรมีความรู้ สมรรถนะและทักษะที่เพียงพอในการสนับสนุนการเลี้ยง ลูกด้วยนมแม่ โดยเตรียมการฝึกอบรมบุคลากรด้านสุขภาพทุกคนที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการด้านแม่ และลูก
บันไดขั้นที่ 9
ให้คําปรึกษาแม่เกี่ยวกับการใช้นมผสม และความเสี่ยงในการให้ลูกกิน
นมผสม การใช้จุกนมหรือหัวนมหลอก
กรณีรับนมบีบเก็บ ให้ ป้อนนมด้วยแก้ว ด้วยช้อน ขวดนม
ควรดูแลเรื่องความสะอาดของอุปกรณ์ที่ใช้เสริมระหว่าง รอน้ํานมแม่สร้าง และผลิตได้เพียงพอกับความต้องการของลูก
ควรระวังการใช้ขวดนมเป็นเวลานาน จะทำให้เจ้าเต้ายาก
ควรใช้จุกนมยาง หรือหัวนมหลอกอย่างระมัดระวัง การใช้จุกนมยาง หรือ หัวนมหลอกนิยมใช้ในสังคมตะวันตก เพื่อช่วยให้ทารกสงบ
ทารกคลอดก่อนกำหนด ควรใช้ ช้อน ถ้วยในการป้อน
บันไดขั้นที่ 1
มีนโยบายการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นลายลักษณ์อักษรที่สื่อสารกับบุคลากรทางการ แพทย์ และสาธารณสุขทุกคนได้
บันไดขั้นที่ 10
ประสานงาน และร่วมมือให้เกิดการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อย่างต่อเนื่องหลังจากที่แม่ได้รับอนุญาตให้กลับบ้าน โดยส่งเสริมให้แม่และครอบครัวเข้าถึงระบบการ สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่มีเครือข่ายอยู่
ความรู้พื้นฐานในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
กายวิภาคศาสตร์ของเต้านม
เต้านม
ประกอบด้วย
เส้นเอ็นคูเปอร์ (Cooper’s Ligament) โยงใยเป็นโครงข่ายช่วย พยุงเต้านมให้มีรูปทรงอยู่ได้
ต่อมสร้างน้ํานม (Mammary Gland or Alveoli)
มีท่อน้ํานมจะแผ่แขนงไปตามแนวของเส้นเอ็นคูเปอร์ มีหน่วยที่เล็กที่สุดในการสร้างน้ํานม (Secretory Acinar unit) ประมาณ 10 - 100 ต่อม
ล้อมรอบ ด้วยเซลล์กล้ามเนื้อเรียบที่เรียกว่า เซลล์ไมโออิปิทีเลียม (Myoepithelial Cell)
ทำงานด้วยออกซิโทซิน
ทําหน้าที่หดรัดตัวเพื่อบีบน้ํานมให้พุ่งออกไปสู่ท่อน้ํานมขนาดเล็ก
น้ำนมพุ่งออกไปตามท่อนมเล็ก ไปใหญ่ ไปเปิดที่หัวนม
1 more item...
พื้นที่ระหว่างพวงของต่อมสร้างน้ํานมจะประกอบด้วยชั้นไขมันหนา ๆ ของเนื้อเยื่อไขมัน (Adipose Tissue) มีครึ่งนึ่งของเต้านม
หัวนม (Nipple)
มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.25 ถึง 0.75 นิ้ว ยาวประมาณ 0.4 นิ้ว มีรู 5-10 รู
หัวนมใหญ่ขึ้น จากอิทธิพลของฮอร์โมนโปรแลคติน ใหญ่กว่าเดิม 2 mm
บริเวณหัวนมมีเนื้อเยื่อบุผิว ชนิดที่เป็นเซลล์รูปร่างสี่เหลี่ยมแบนบาง 3 ชั้นซ้อนกัน (Stratified Squamous Epithelium)
กล้ามเนื้อชั้นในสุดจะเรียงตัวไปตามแนวเดียวกับท่อน้ํานมในหัวนม
กล้ามเนื้อชั้นกลาง ถักทอเป็นตาข่ายขวางรอบหัวนมมัดท่อน้ํานมเข้าด้วยกัน
กล้ามเนื้อชั้นนอกสุดเป็นตาข่ายครอบคลุม รอบหัวนมและลานนม
ลานนม (Areola)
เป็นผิวหนังบริเวณรอบหัวนม มีลักษณะสีเข้ม หนา และมี ความยืดหยุ่น เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.25 ถึง 1.25 นิ้ว หรือประมาณ 6.4 ซม. 2 - 3 วันแรกหลัง คลอด ลานนมจะมีสีเข้มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
มีตุ่มนูนของต่อมไขมัน (Glands of Montgomery) ทําหน้าที่ผลิตไขมันเพื่อช่วยให้ผิวหนังบริเวณนี้ชุ่มชื้นไม่แห้งหรือแตกง่าย
ผลิตกลิ่น ตัวของแม่ที่จะช่วยให้ทารกหาเต้านม และจํากลิ่นแม่ได้
ผลิตสารต้านการติดเชื้อที่เซลล์พื้นผิว (sIgA) เพื่อป้องกันการติดเชื้อที่บริเวณหัวนม และลานนม
ความสำคัญ
กระตุ้นการดูดของทารกตาม สัญชาตญาณ
ทําให้ทารกได้รับน้ํานมเพียงพอ หากทารกอม และงับหัวนมถึงลานนมจะรีดน้ํานม ออกจากท่อน้ํานมขนาดใหญ่บริเวณลานนม
กระบวนการสร้างและหลั่งน้ํานม
ระยะสร้างต่อมน้ํานม (Mammogenesis)
ระยะสร้างต่อมน้ํานม (Mammogenesis)
ประกอบด้วย
ระยะก่อนคลอด (Prenatal)
ระยะก่อนถึงวัยรุ่น (Prepubertal)
ระยะตั้งครรภ์ (Pregnancy)
ระยะให้น้ํานมระยะแรก (Early Lactation)
เมื่อเริ่มเข้าสู่วัยรุ่นอายุประมาณ 10-12 ปี ร่างกายจะได้รับอิทธิพลของฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง คือ โปรแลคติน และโกรท ฮอร์โมน และฮอร์โมนจากรังไข่ทําให้เต้านมและหัวนมขยายใหญ่มากขึ้น
การพัฒนาการของเต้านมจะ สมบูรณ์ที่สุดในระยะตั้งครรภ์จากอิทธิพลของฮอร์โมนหลายตัว คือ โปรเจสเตอโรน โปรแลคติน ฮอร์โมนแลคโตเจนจากรก (Human Placental Lactogen) โกรทฮอร์โมน และ ตัวกระตุ้นการเจริญเติบโตที่มีโครงสร้างคล้ายอินซูลิน (Insulin–Like Growth Factor)
การเจริญมากที่สุดในช่วง 5 เดือนแรกของการตั้งครรภ์
เมื่ออายุครรภ์ประมาณ 16-20 สัปดาห์ เต้านมจะสามารถสร้าง และหลั่งหัวน้ํานมได้ หากมี การบีบน้ํานมก่อนการคลอดประมาณ 2 สัปดาห์
ระยะสร้างน้ํานม (Lactodenesis)
กลไกการสร้างน้ํานมระยะที่ 1 (Lactogenesis I)
เรียกน้ํานมระยะนี้ว่าน้ํานม ระยะหัวน้ํานม (colostrum)
เริ่มสร้างในช่วงไตรมาสที่ 3 -วันที่ 3 หลังคลอด
ฮอร์โมนโปรแลคตินจะกระตุ้นเซลล์ เยื่อบุผิว จากสี่เหลี่ยม เป็น สามเหลี่ยม เพื่อสังเคราะห์หัวน้ำนม แล้วเก็บไว้ที่ต่อมน้ำนม ท่อ
ตอนตั้งครรภ์ไม่หลั่งเพราะ ถูกยับยั้งการหลั่งของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน และเอสโตรเจนจากรก
ภายใน 24 ชั่วโมงแรกหลังทารกเกิด จะมีการผลิตน้ํานม เฉลี่ยประมาณ 100 มล./วัน จากนั้นปริมาณน้ํานมจะค่อย ๆ ผลิตเพิ่มขึ้น
ช่วงนี้แม่จะรู้สึกเต้านม หนักและคัดตึงมากขึ้น
กลไกการสร้างน้ํานมระยะที่ 2 (Lactogenesis II)
เรียกน้ํานมระยะนี้ว่า
น้ํานมระยะเปลี่ยนผ่าน (Transitional Milk)
เป็นระยะที่เริ่มมีการสร้างอย่างสมบูรณ์ จะเกิดขึ้น ในช่วงประมาณ 32-96 ชั่วโมง หรือ 3 -7 วันหลังคลอด
เมื่อแรกคลอดระดับของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะลดลงอย่างรวดเร็วภายใน 4 วัน การทํางานของ ฮอร์โมนโปรแลคตินจึงเป็นอิสระ
ทําให้มีการผลิตน้ํานมภายใน 3 วันหลังคลอด
มีการเพิ่มขึ้นของปริมาณสารอาหาร คือ แลคโตส กลูโคส และซิเตรทจะเกิด
คู่ขนานไปกับการลดลงของโปรตีน ไนโตรเจน โซเดียม คลอไรด์ และแมคนีเซียม
กลไกการสร้างน้ํานมระยะที่ 3 (Lactogenesis
เรียกน้ํานมระยะนี้ว่า
น้ํานมสมบูรณ์เต็มที่ (Mature Milk)
เกิดขึ้นหลังการคลอดประมาณ 2 สัปดาห์
การคงไว้ซึ่งการ สร้างปริมาณน้ํานมอย่างต่อเนื่อง
1) ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อ (Endocrine) คือฮอร์โมนที่ออกฤทธิ์ต่อเซลล์เป้าหมายที่อยู่ไกลออกไปจากเซลล์ที่สร้างฮอร์โมน คือ ฮอร์โมนโปรแลคติน และออกซิโทซิน
หน้าที่สร้าง น้ํานมในระดับสูงสุด และควบคุมการสร้างน้ํานมในระยะสั้น
2) ฮอร์โมนที่ออกฤทธิ์ที่เซลล์ผลิตฮอร์โมนเอง (Autocrine) คือ ต่อมสร้างน้ํานม
3) กระบวนการทางเคมีของร่างกาย
ลดลง คือ กลูโคส ซิเตรท ฟอสฟอรัส และแคลเซียม ส่วนสารอาหารที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นคือ ไขมัน โปรตีน แลคโตส และโซเดียม
การสร้างน้ํานมใหม่มีความ ต่อเนื่อง มีแนวทางปฏิบัติ
1.ควรมีการระบายน้ํานมออกจากเต้า หรือกระตุ้นให้ทารกดูดอย่าง สม่ำเสมอ อย่างน้อยทุก 3 ชั่วโมงหรือ 8 รอบของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ใน 24 ชั่วโมง เพื่อให้ระดับ ฮอร์โมนโปรแลคตินในกระแสเลือดสูงอยู่เสมอ และไม่ปล่อยให้เต้านมคัด
2.ควรเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในตอนกลางคืนเพื่อเพิ่มการหลั่งของฮอร์โมน โปรแลคตินซึ่งจะมีระดับสูงในเวลากลางคืน
3.ขจัดปัจจัยที่ขัดขวางการหลั่งของฮอร์โมนโปรแลคติน เช่น การสูบบุหรี่ ความวิตกกังวล ความเครียด หรือมีภาวะซึมเศร้า
พระราชบัญญัติ ควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสําหรับทารก และเด็กเล็ก พ.ศ. 2560
1) ห้ามแจกหรือให้คูปองหรือสิทธิส่วนลด ขายพ่วงแลกเปลี่ยนหรือให้ของขวัญของรางวัล ของขวัญหรือสิ่งอื่นใด
2) ห้ามแจกอาหารสําหรับทารก หรืออาหารสําหรับเด็กเล็ก หรือตัวอย่างอาหารสําหรับ ทารกหรืออาหารสําหรับเด็กเล็ก ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม
3) ห้ามให้อาหารสําหรับทารกหรืออาหารสําหรับเด็กเล็ก สิ่งของ หรือสิ่งอื่นใด แก่หญิง ตั้งครรภ์ หญิงที่มีบุตรซึ่งเป็นทารกหรือเด็กเล็ก หรือบุคคลในครอบครัวที่มีทารกหรือเด็กเล็ก
4) ห้ามติดต่อหญิงตั้งครรภ์ หญิงที่มีบุตรซึ่งเป็นทารกหรือเด็กเล็ก หรือบุคคลในครอบครัวที่มี ทารกหรือเด็กเล็ก เพื่อส่งเสริม สนับสนุนหรือแนะนําให้ใช้อาหารสําหรับทารกหรืออาหารสําหรับเด็ก เล็ก หรือเพื่อสื่อให้เกิดความเชื่อมโยงกับอาหารสําหรับทารก หรืออาหารสําหรับเด็กเล็ก
บทกําหนดโทษผู้ผลิต ผู้นําเข้า หรือผู้จําหน่ายอาหารสําหรับทารก หรือตัวแทน จะมีอัตราโทษ ปรับต่อพฤติกรรม ๆ ละ 1 แสนบาท ไปจนถึง 3 แสนบาท สําหรับโทษในการโฆษณาชี้ชวนมี บทลงโทษ คือ จําคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ หรือปรับอีกวันละไม่ เกิน 1 หมื่นบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง และหากผู้ใดขัดขวางการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ให้ ถือว่ามีความผิด ต้องได้รับโทษจําคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
สรีรวิทยาของการสร้างและหลั่งน้ํานม
1.สรีรวิทยาของการสร้างน้ํานม
ระยะตั้งครรภ
ในระยะเริ่มสร้างน้ํานมจะเริ่มสร้างในช่วงประมาณเดือนที่ 7 ของการ ตั้งครรภ์ และสร้างต่อเนื่องถึงช่วง 2-3 วันแรกหลังการคลอด
เ มื่อระดับของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน และเอสโตรเจนลดลงการ ทํางานของโปรแลคตินจึงเป็นอิสระ
ระยะหลังคลอด
ฮอร์โมนโปรแลคตินทํางานได้ดีขึ้น ในระยะ 2 ชั่วโมงแรกหลังคลอดระดับฮอร์โมนโปรแลคตินจะ สูงขึ้น และลดต่ําลง แต่จะกลับมาสูงขึ้นอีกครั้งหากได้รับการดูดกระตุ้น
7-14 วันแรก โปรแลคตินสร้างน้ำเป็นหลัก
เมื้อผ่าน 7-14 วันมาเป็นการทํางานร่วมกันกับต่อมสร้างน้ํานมบริเวณเต้านม
หลังคลอดระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน และเอสโตรเจน ลดลง
2.สรีรวิทยาของการหลั่งน้ํานม
กลไกการหลั่งน้ํานม
เกิดขึ้นเมื่อทารกดูดกระตุ้นหัวนม
เกิดการหลั่งฮอร์โมนออกซิโทซิน
กระตุ้นเซลล์กล้ามเนื้อเรียบภายในต่อมสร้างน้ํานม บีบน้ํานมให้พุ่งออกไปสู่ท่อน้ํานม
เรียกว่ากลไกการหลั่งน้ํานม ( Oxytocin reflex, Milk Ejection Reflex or Let-Down Reflex)
มารดาจะรู้สึก
รู้สึกปวดมดลูกเหมือนมดลูกหดรัดตัว หรือรู้สึกเหมือนเลือดลม พลุ่งพล่าน มีอาการกระหายน้ําขึ้นมาทันทีทันใด
ในขณะให้นมลูก ปฏิบัติตัวดังนี้
บีบน้ํานมทิ้งเล็กน้อย
กระตุ้นหัวนมอย่างนุ่มนวล
ปัจจัยขัดขวางการหลั่งฮอร์โมนออกซิโทซิน
อิทธิพลของฮอร์โมนอะดรีนาลีน (Adrenaline) จากความเครียด หรือ
อาการปวด เช่น หัวนมแตก ปวดแผลผ่าตัด ปวดแผลฝีเย็บ หรือ การใช้สารเสพติดจําพวก นิโคติน และแอลกอฮอล์
ขัดขวางการส่งผ่านของแคลเซียมในระดับ เซลล์เกิดการคลายตัวของกล้ามเนื้อมดลูก
น้ํานมไม่ถูกระบายออกจากเต้านม
การสร้างน้ํานมระยะที่2ล่าช้าหมายถึงการไหลของน้ํานมน้อยกว่า9.2 กรัมต่อหนึ่งมื้อนมใน 60 ชั่วโมงหลังคลอด และแม่ไม่มีความรู้สึกคัดตึงเต้านมในช่วง 72 ชั่วโมงหลังคลอดมากกว่า
ส่วนประกอบของน้ํานม
ระยะหัวน้ํานม(Colostrum)
สร้าง 7เดือน- 2-3วันหลังคลอด
หัวน้ํานม มีส่วนประกอบที่สําคัญ ดังนี้
เบตา แคโรทีน (Beta Carotene) ประกอบด้วยสารสีเหลืองเข้ม ซึ่งเป็นสาร ต้านอนุมูลอิสระ
เซลล์เม็ดเลือดขาว และสารภูมิคุ้มกันอิมโมนูโกลบูลิน ชนิด IgA
ไลโซไซม์ (Lysozyme) ซึ่งเป็นน้ําย่อยใช้ย่อยผนังเซลล์ของเชื้อแบคทีเรีย
สารภูมิคุ้มกันระบบ T-cell ฮอร์โมน
สารอาหารจําพวกไขมัน วิตามิน เกลือแร่ และสารที่เกี่ยวกับการเจริญเติบโต 3.1.6 สารอาหารจําพวกโปรตีนที่สําคัญคือแลคโตเฟอริน(Lactoferin) ประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยให้แบคทีเรียที่ทําให้เกิดโรคไม่สามารถ เจริญเติบโตในลําไสได้ หัวน้ํานมมีหน้าที่เคลือบลําไส้ทารกเพื่อป้องกันอันตรายต่อลําไส้ หากให้น้ํา หรือนมผสม หัวน้ํานมที่เคลือบบริเวณลําไส้ทารกจะถูกชะล้างออกไปได้ ทําให้ทารกเกิดการติดเชื้อ ได้ง่าย
ีลักษณะใสไปจนถึงสีเหลืองข้น ปริมาณ 3 -30 มล./วัน ในวันแรก 10-20 มล./มื้อ หรือ 175 มล./วัน ในวันที่ 2 และเพิ่มปริมาณเป็น 300-500 มล./วัน ในวันที่ 3 แม้ ปริมาณหัวน้ํานมจะน้อย
มีฤทธิ์เหมือนยาระบาย ช่วยขับขี้เทา ป้องกันอาการตัวเหลือง ปริมาณของน้ํานมระยะ นี้มีน้อย แต่เหมาะสมกับความจุในกระเพาะอาหาร และไตของทารกแรกเกิดที่ไม่สามารถย่อย หรือ ขับน้ํานมปริมาณมาก ๆ
น้ํานมระยะเปลี่ยนผ่าน (Transitional Milk)
น้ํานมที่มีการเปลี่ยนแปลงจาก หัวน้ํานมไปเป็นน้ํานมระยะน้ํานมสมบูรณ์เต็มที่ อยู่ในช่วงวันที่ 7-14 ของการให้นม
มีการปรับเปลี่ยนหน้าที่ในการควบคุมการสร้างน้ํานม จากฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อ คือ ฮอร์โมนโปรแลคติน มาเป็นฮอร์โมนที่ออกฤทธิ์ที่เซลล์ผลิตฮอร์โมน คือ ต่อมสร้างน้ํานม
ส่วนประกอบของน้ํานมในระยะนี้มี ปริมาณโปรตีน และภูมิต้านทานลดลง แต่มีปริมาณแลคโตส และไขมันเพิ่มขึ้น
น้ํานมระยะน้ํานมสมบูรณ์เต็มที่ (Mature Milk)
น้ํานมระยะที่ 3 ของการ สร้างน้ํานม อยู่ในช่วงสัปดาห์ที่ 3 ของการให้น้ํานม ประกอบด้วยโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามิน แร่ธาตุ และน้ําในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการของทารก
นมระยะสมบูรณ์เต็มที่ แบ่งได้เป็น 2 ส่วน
น้ํานมส่วนหน้า (Fore Milk)
ลักษณะใส มีส่วนประกอบของน้ํา และ น้ําตาลแล็กโทสมากกว่านมส่วนหลัง ซึ่งมีรสชาติที่ทําให้ทารกพึงพอใจ และมีไขมันต่ํากว่าน้ํานมส่วนหลัง
น้ํานมส่วนหลัง(HindMilk)
ปริมาณไขมันมากกว่าน้ํานมส่วนหน้า2–3 เท่า จึงทําให้ทารกรู้สึกอิ่ม
การให้ทารกดูดนมข้างละประมาณ 15- 20 นาที จะช่วยให้ทารกได้รับน้ํานมท้ังสองส่วน
ส่วนประกอบของนมแม่ระยะสมบูรณ์เต็ม
โปรตีน และไขมัน ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงตามช่วงเวลา อาหาร หรือปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ และคาร์โบไฮเดรต
น้ำ มาก
โปรตีน
เคซีน(Caseins)
เวย์(Whey)
มิวซิน(Mucin)
ในนมแม่ป้องกันการติดเชื้ออีโคไล (E-coli)ในระบบทางเดินอาหาร
ไขมัน
คาร์โบไฮเดรต
แลคโตส (Lactose)
ช่วยดูดซึมแคลเซียม
ช่วยเป็นแหล่งพลังงานสําหรับการเจริญเติบโตของสมอง
ช่วยชะลอการเจริญเติบโตของเชื้อโรคในลําไส้
โอลิโกแซคคาไรด์ (Oligosaccharides)
วิตามิน
วิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี วิตามินเค และวิตามินที่ละลายในน้ํา เช่น ไทอะมีน ไรโบฟลาวิน ไบโอติน วิตามินบี 6 โฟเลต วิตามินB12
ปัจจัยที่มีผลต่อการสร้าง และการหลั่งน้ํานม
ปัจจัยด้านเวลา
น้ํานมในระยะหัวน้ํานมมีหน้าที่หลักในการให้ภูมิ ต้านทานแก่ทารกมากกว่าให้สารอาหาร
ส่วนน้ํานมในระยะน้ํานมสมบูรณ์เต็มที่ มีส่วนประกอบของ
เคซีนมากถึงร้อยละ 80 ของปริมาณโปรตีน มีแลคโตส และไขมันเข้มข้นกว่าน้ํานมระยะหัวน้ํานม
ระยะห่างของการให้นมแม่
ยิ่งห่างความเข้มข้น ไขมันลดลง
หากไขมันมีความเข้มข้นมากแลคโตสจะมีความเข้มข้นน้อย แต่ หากไขมันมีความเข้มข้นน้อยแลคโตสจะมีความเข้มข้นมาก
ช่วงเวลาของแต่ละวันความเข้มข้นของไขมันในน้ํานมจะแตกต่างกนัใน แต่ละช่วงเวลา ไขมันจะมีความเข้มข้นต่ําในช่วงกลางคืน และตอนเช้าเมื่อเทียบกับตอนกลางวัน และ ตอนเย็น
ปัจจัยด้านแม
อายุของแม่
20-30 ปี จะสร้างน้ํานมที่มีส่วนประกอบของโปรตีนที่มีความเข้มข้นสูงที่สุด
อาหารที่แม่รับประทานเข้าไป
สุขภาพของแม่ ในแม่ที่เป็นโรคเบาหวานจะมีปริมาณน้ําตาลกลูโคสสูงกว่า ปกติ แต่มี sIgA, sIgG, โปรตีนซี 3 (C3 Protein) และอะไมเลสต่ํา แต่มีระดับไลเปสสูง
ปัจจัยด้านลูก
น้ําหนักตัวแรกคลอด หรือ การคลอดก่อนกําหนด
กายวิภาค และสรีรวิทยาของการดูดกลืนของทารก
กายวิภาคของอวัยวะภายในช่องปากที่ใช้ในการดูดกลืน
3.ลิ้น (Tongue)
ลิ้นมีหน้าที่สําคัญในการโอบรอบหัวนม และลานนมให้สนิท ทําให้เกิดช่องว่าง ในช่องปากด้านหน้าและด้านหลัง เกิดแรงกดไปที่หัวนม ลานนม ทําให้เกิดแรงดันในช่องปากสําหรับ ดูดน้ํานม
2.กระดูกขากรรไกร
ประกอบด้วยขากรรไกรบน (Maxilla)
และขากรรไกรล่าง (Mandible)
ควบคุมการทํางานด้วยเส้นประสาทสมองเส้นที่ 5 (Cranial Nerve V) ควบคุมการ เคลื่อนไหวของลิ้น ริมฝีปาก และแก้ม และมีการเคลื่อนไหวลงด้านล่างในขณะดูดเพื่อให้มีพื้นที่ในช่อง ปากสําหรับการสร้างแรงดูดลบลงด้านล่างช่องปาก (Negative Pressure)
4.เพดานปาก (Palate)
ประกอบด้วยเพดานแข็ง (Hard Palate) และเพดานอ่อน (Soft Palate)
เพดานแข็งด้านบนช่องปากช่วยกดหัวนม และช่วยให้ตําแหน่งของหัวนมอยู่กับที่ ทํา หน้าที่สัมพันธ์กับลิ้นโดยกดบริเวณหัวนม และลานนม ส่วนเพดานอ่อนอยู่ด้านหลังของช่องปากต่อ จากเพดานแข็ง มีเนื้อเยื่ออ่อนนิ่ม และเคลื่อนไหวได้ เมื่อมีการกลืนเพดานอ่อนจะยกขึ้น เพื่อช่วยให้ อาหารเข้าไปในหลอดอาหาร และไม่ให้ไหลเข้าไปในหลอดลม
ฝาปิดกล่องเสียง (Epiglottis)
ช่วยลดความเสี่ยงต่อการสูดสําลักน้ํานมโดยให้น้ํานมไหลผ่านด้านข้างแทนการไหลลงไปตรง ๆ
ต
6.กล่องเสียง (Larynx)
ขณะน้ํานมผ่านเข้ามา ในช่องปาก กล่องเสียงจะยกขึ้นมาอยู่ใต้โคนลิ้น เพื่อให้ของเหลวเคลื่อนย้ายเข้าสู่ช่องคอ การยกขึ้นสูง ของกล่องเสียงจะช่วยปิดหลอดลมได้เป็นอย่างดี
1.ช่องปาก
ปากช่วยงับหัวนม และนําหัวนม เข้าไปในปาก ช่วยจับให้หัวนม และลานนมอยู่ภายในช่องปาก
ไขมันที่ปากช่วยพยุง ช่วยสร้างแรงดันลบในช่องปาก
ในขณะที่ทารกที่คลอดก่อนกําหนดจะมีไขมันบริเวณ แก้มน้อย ทําให้กลไกการเกิดแรงดันลบขณะดูดไม่มากพอ
2.กลไกการดูด
กลไกการดูดนมจากเต้า
ในทารกครบกําหนด เมื่อนําทารกนอนคว่ำบนหน้าอก แม่ ทารกจะเริ่มเลียหัวนม ดูด และส่ายหน้าหาหัวนม หรือใส่มือเข้าไปในปาก หรือใช้มือคลําเต้านม
การให้ทารกสัมผัสแบบเนื้อแนบเนื้อกับแม่ในระยะ 2 ชั่วโมงแรกหลังคลอด จะช่วยส่งเสริมกลไกการ ดูดนม และเสริมสร้างสัมพันธภาพระหว่างแม่และลูก
อาศัยทฤษฎีหลัก 2 ทฤษฎ
1) ทฤษฎีแรงกดบนลานนม และ บริเวณรอบลานนม ร่วมกับการเคลื่อนไหวของลิ้นเป็นลูกคลื่น
2) ทฤษฎีแรง สุญญากาศ กล่าวถึงแรงดูดที่ทําให้เกิดสุญญากาศในช่องปาก
สรุป
ปากทารกอ้าออก อมทั้งหัวนม ลานนมลึกเข้าไปในปาก ลิ้น ริมฝีปาก และ แก้มช่วยคลุมหัวนม ลานนมให้แนบสนิท
ปลายลิ้นของทารกอยู่บริเวณเหงือกล่าง และโอบล้อมรอบลานนม
ขณะทารกดูดจะทําให้หัวนมแม่ยืดยาวขึ้นประมาณ 2 - 3 เท่าของความ ยาวตามปกติ เรียกว่าหัวนมใหม่ (Teat)
กล้ามเนื้อของลิ้นจะกดในทิศทางยกขึ้น เป็นลูกคลื่นเริ่มจากปลายลิ้น และ เคลื่อนไหวย้อนหลังเคลื่อนไหวเป็นลูกคลื่น
ขากรรไกรล่างเคลื่อนลงทําให้เกิดการเคลื่อนไหวแบบคลื่นอีกคลื่นหนึ่ง
1 more item...
การเปรียบเทียบการดูดนมแม่ที่ถูกต้องกับการดูดนมที่ไม่ถูกต้อง
การดูดนมที่ถูกต้อง (Effective Suckling)
ทารกจะอมหัวนมลานนมลึกเข้าไปในปาก เกิดหัวนมใหม่ที่ยาวขึ้น 2-3 เท่า ทําให้ท่อน้ํานม ใหญ่ของแม่อยู่ในปากของทารก
ลิ้นของทารกยื่นออกมาอยู่เหนือเหงือก ด้านล่าง ช่วยรีดน้ํานมออกจากเต้า
ทารกดูดกลืนเป็นจังหวะ ได้ยินเสียงกลืน เป็นระยะ ๆ ได้ปริมาณน้ํานมตามต้องการ และ แม่ไม่เจ็บหัวนม
การดูดที่ไม่ถูกต้อง (Ineffective Suckling)
ทารกอมไม่ลึกถึงลานนม ไม่เกิดหัวนมใหม่
ท่อน้ํานมใหญ่บริเวณใต้ลานนมไม่อยู่ในปาก ทารก ลิ้นของทารกจะกระดกขึ้น ทําให้ไม่ สามารถรีดน้ํานมออกมาได้
ทารกดูดเฉพาะหัวนม ทําให้แม่เจ็บ ทารกได้ น้ํานมไม่เพียงพอ
ปัจจัยส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ
พบว่าแม่ที่มีระดับการศึกษาสูงมีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
อย่างต่อเนื่องจาก มากกว่าแม่ที่มีระดับการศึกษาต่ำ
การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่ําคือ แม่อายุน้อย มีระดับการศึกษาต่ํา ทํางานเต็มเวลา และไม่ได้รับการสนับสนุนทางสังคมเพียงพอ
ปัจจัยด้านวัฒนธรรม และจิตสังคม
อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สูงพบในกลุ่มแม่ที่มีสถานภาพการ สมรสที่ชัดเจน มีระดับการศึกษา และมีรายได้ปานกลางขึ้นไป
ส่วนแม่ที่มีอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ต่ำคือ แม่อายุน้อย มีระดับการศึกษาต่ํา ทํางานเต็มเวลา และไม่ได้รับการสนับสนุนทางสังคมเพียงพอ ยากจน
ค่านิยม
ปัจจัยด้านแหล่งสนับสนุนทางสังคมใน ระบบสุขภาพ ครอบครัวและ ชุมชน และสถานที่ทํางาน
ปัจจัยสนับสนุนทางสังคมในระบบสุขภาพ
พยาบาล มีแนวปฏิบัติ คือ การให้ความรู้ และเสริมทักษะเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะตั้งครรภ์ ถึงหลังคลอด โดยพบว่าการให้สุขศึกษาเพื่อส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แก่หญิงตั้งครรภ์มีผลต่อการเพิ่มอัตรา การเลี้ยงลูกด้วยนมแม
ปัจจัยสนับสนุนทางสังคมในระดับครอบครัว
ทัศนคติคู่สมรส ย่า ยาย
พบว่าแม่ที่ คู่สมรสมีทัศนคติที่ดีต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีแนวโน้มที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มากกว่าคู่สมรสที่มี ทัศนคติที่ไม่ดีต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
ปัจจัยสนับสนุนทางสังคมในสถานที่ทํางาน
นโยบายการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของหน่วยงาน การขาดการสนับสนุนใน หน่วยงาน เช่น ไม่มีการจัดสถานที่ และอุปกรณ์สําหรับการบีบเก็บน้ํานม ไม่มีช่วงพักสําหรับการบีบ เก็บน้ํานม ไม่มีการปรับลักษณะงานหรือเวลางานให้มีความยืดหยุ่น
ปัจจัยส่วนบุคคล
1.ความตั้งใจของแม่ที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
2.ความมั่นใจในสมรรถนะแห่งตนว่าสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้
3.ปัจจัยของพฤติกรรมสุขภาพ หรือปัญหาสุขภาพของแม่ เช่น แม่สูบบุหรี่ การสูบบุหรี่จะทําให้การสร้างน้ํานมลดลง และทําให้ปริมาณน้ํานมลดลง
แนวทางการปฏิบัติในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่: การเตรียมความพร้อมในการเลี้ยงลูก ด้วยนมแม่
1.การเตรียมความพร้อมด้านจิตใจ และการปรับทัศนคติ
ให้ความรู้แม่จะได้รับรู้ประโยชน์นมแม่
2.การเตรียมความพร้อมด้านร่างกาย และทักษะที่จําเป็น
1.การตรวจประเมินเต้านม ลานนม และหัวนม
เต้านม ในขณะตั้งครรภ์ส่วนใหญ่เต้านมจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเล็กน้อย หลัง คลอดจะมีขนาดใหญ่มากขึ้น และสร้างน้ํานมได้เต็มที่ภายใน 7 วัน
ลานนม อาจไม่สัมพันธ์กับขนาดหัวนม ลานนมแคบ (เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.25-0.5 นิ้ว) ลานนมขนาดปานกลาง (เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 นิ้ว) ลานนมขนาดใหญ่ (เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.0-1.5 นิ้ว) ลานนมขนาดใหญ่พิเศษ (เส้นผ่าศูนย์กลางเกิน 2 นิ้ว)
ลานนมขนาดใหญ่มักพบร่วมกับหัวนมสั้นมาก
ลานนมมีความยืดหยุ่นดี คือ สามารถจับลานนมติด
ลานนมตึง คือ ไม่สามารถหยิบลานนมติด หรือดึงลานนมไม่ขึ้น
หัวนม
1) หัวนมปกติ เส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ย 16 มิลลิเมตร
3) หัวนมขนาดกลาง เส้นผ่าศูนย์กลาง 12-15 มิลลิเมตร
4) หัวนมขนาดใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลาง 16- 23 มิลลิเมตร
5) หัวนมขนาดใหญ่พิเศษ เส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 23 มิลลิเมตร
2) หัวนมขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 12 มิลลิเมตร
การประเมินความยาวของหัวนม ประเมินหัวนมด้วยวิธี Pinch Test
1) หัวนมปกติ ขณะอยู่นิ่งจะยื่นเล็กน้อย เมื่อได้รับการกระตุ้น หัวนมจะยื่นขึ้นและสามารถจับดึงหัวนมได้ง่ายยาว 0.7-1.0mm
2) หัวนมสั้น หมายถึง ความสูงจากฐานหัวนมถึงยอดหัวนมสั้น กว่า 0.7 เซนติเมตร แบ่งเป็นหัวนมสั้นไม่มาก คือ มีความยาวมากกว่าหรือเท่ากับ 0.4 เซนติเมตร แต่ น้อยกว่า 0.7 เซนติเมตร และหัวนมสั้นมาก คือ ความยาวน้อยกว่า 0.4 เซนติเมตรแต่มากกว่า 0.1 เซนติเมตร (ขณะตรวจด้วย Pinch Test หัวนมผลุบเข้าออก ทารกอม
3) หัวนมบุ๋มหรือบอด หมายถึง หัวนมที่มีความยาวน้อยกว่า 1.0 มิลลิเมตร หัวนมจะหดสั้นลง และจมลงไปเมื่อตรวจด้วย Pinch Test แต่หากดูด้วยสายตาหัวนมยื่น ปกติแต่เมื่อทดสอบด้วย Pinch Test หัวนมบุ๋มลึกลงไปจากลานนมคล้ายปล่องภูเขาไฟเรียกว่าหัวนมบุ๋มเทียม
4) หัวนมแบน หมายถึง หัวนมที่วัดจากฐานหัวนมสั้นมาก แบนราบไปกับลานนม เมื่อกระตุ้นหัวนมจะยื่นขึ้นมาเล็กน้อยแต่ไม่สามารถจับหัวนมติดทารก
5) หัวนมยาว มีความยาวกว่าปกติ มีการพับงอของหัวนมคล้ายฝักบัว ขณะทํา Pinch Test ลานนมสามารถยืดตามแรงดึงที่ ดึงได้ดี แสดงว่าลานนมมีความยืดหยุ่นดี ลานนมต้านหรือไม่ยืดตามแรงดึง แสดงว่าความยืดหยุ่นไม่ดี
2.ขั้นตอนในการให้นมลูก
ก่อนให้นมทารก ควรปฏิบัติ ดังนี้
1.เตรียมความพร้อมด้านร่างกาย เช่น ดื่มน้ําให้เพียงพอไม่ให้รู้สึก
กระหาย และทําจิตใจให้ผ่อนคลาย ควรกระตุ้นให้ทารกดูดนมทุก 2-3 ชั่วโมง
2.ล้างมือให้สะอาด เพื่อป้องกันสิ่งสกปรกติดมือของแม่ขณะนวด เต้านม หรือกระตุ้นบริเวณหัวนม
3.ก่อนให้ทารกดูดนม ควรนวดเต้านม และกระตุ้นบริเวณหัวนม ร่วมด้วย เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนเลือดบริเวณเต้านม และส่งเสริมการระบายของระบบน้ําเหลือง
4.นั่งหรือนอนในท่าสบาย ผ่อนคลาย อาจใช้หมอนหลาย ๆ ใบรองหลังแม่ หรือรองรับทารก จัดท่าให้จมูกของทารกอยู่ตรงกับระดับหัวนม ใช้หัวนมเขี่ยข้างแก้ม เพื่อกระตุ้นรีเฟล็กที่ทารกจะอ้าปาก และหันหน้าไปด้านที่มีสิ่งมาสัมผัสข้างแก้ม
ระหว่างให้นมลูก
ทารกจะดูดนมถี่เร็วในนาทีแรก จากนั้นจะดูดช้าลงสลับ การกลืน ระยะเวลาในการดูดขึ้นอยู่กับความต้องการของทารก
ควรให้ทารกดูดเต้านมแรกให้เกลี้ยงเต้า ก่อน เปลี่ยนข้าง แม่ควรสังเกต และตอบสนองความต้องการของทารก ควรให้ทารกเป็นผู้กําหนดความ ต้องการของตนเอง
หลังให้นมลูก
เมื่อดูดนมข้างหนึ่งนานอย่างน้อย 15 นาทีแล้วทารกหลับ หรือหยุดดูด หรือดูดจนเกลี้ยงเต้านม
แม่รู้สึกโล่งสบายไม่คัดตึงเต้านม นําทารกออกจากเต้าโดย สอดนิ้วเข้าไปชิดกับโคนหัวนม เพื่อให้ทารกปล่อยหัวนม เอาหัวนมออกจากปาก
หลัก 3 ดูด
1 ดูดเร็ว หมายถึง การนําทารกมาดูดนมแม่ภายใน 1 ชั่วโมงแรกหลังคลอด
2.ดูดบ่อยหมายถึงดูดตามความต้องการของทารกประมาณ8-12ครั้ง/วัน
หรือทุก 2-3 ชั่วโมง การดูดตามความต้องการของทารก
3.ดูดถูกวิธี และดูดเกลี้ยงเต้า จะช่วยให้ทารกได้รับน้ํานมเพียงพอ และ มีการสร้างน้ํานมอย่างต่อเนื่อง
ท่าอุ้มให้นมลูก
1.ท่าอุ้มขวางตักหรืออุ้มประคองศีรษะด้วยอ้อมแขน
2.ท่าอุ้มขวางตักประยุกต์(Modified/CrossCradle)
3.ท่าอุ้มใต้ท้องแขนหรืออย่างอุ้มลูกฟุตบอล(Clutchor Football Hold)
ท่านอนตะแคง(SideLyingPosition)
หลังผ่าตัด
ท่านอนตะแคงกลับด้าน (Inverted Side-Lying)
ท่าเอนหลัง(Laid–BackorBackLying)
ท่านั่งหลังตรง(UprightHold,KoalaHoldorAustralian Hold)
การประคองเต้านม เพื่อช่วยให้ทารกอมหัวนมได้ลึกถึงลานนม ทําให้หัวนมไม่หลุดจากปากทารกได้ง่ายขณะดูดนม
ท่าประคองเต้านมรูปถ้วยหรือตัวซี (Cup or C-Hold)
2.ท่าประคองเต้านมรูปขากรรไกร หรือตัววี (Scissors or V- Hold)
ท่าประคองเต้านมรูปตัวยู (U-Hold)
การดูด
1) เห็นลานนมบนมากกว่าลานนมล่าง
2) อ้าปากกว้าง มุมปากอ้ากว้างมากกว่า 160 องศา
4) คางแนบชิดเต้านม
3) ริมฝีปากล่างบานออก
4.รูปแบบการดูดของทารก โดยทั่วไปมี 3 ลักษณะ
การดูดเพื่อความสบาย (Non-Nutritive Sucking: Comfort or Flutter Sucking)
การดูดเพื่อให้ได้สารอาหาร (Nutritive Sucking: Active Feeding)
การดูดเพื่อกระตุ้น (Call up’ or Stimulation Sucking)
5.ท่าอุ้มให้ลูกเรอ
1.ท่าอุ้มพาดบ่า เป็นท่าที่ใช้บ่อยที่สุดเนื่องจากง่ายในทางปฏิบัติ โดยอุ้มทารกในท่าลําตัวตรงพาดบ่า ประคองหัว และคอ ใช้ผ้ารองที่บ่า เพื่อป้องกันการเลอะนมที่ทารกอาจ คายออกมา ลูบหลังอย่างนุ่มนวล
3 ท่าอุ้มพาดตัก อุ้มทารกในท่านอนคว่ําพาดตัก ลูบหลังเบา ๆ จนกว่าทารก
2.ท่านั่งอุ้มทารกในท่านั่งและลูบหลังทารกอย่างนุ่มนวลจนกระทั่งทารกเรอ
การเตรียมความพร้อมสําหรับแม่ที่ต้องกลับไปทํางาน
การเตรียมความพร้อมในระยะตั้งครรภ์ ดําเนินการตามบันไดข้ันที่ 3 คือ การให้ คําแนะนําเพื่อให้เกิดความรู้ และทักษะที่จําเป็นในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
ในระยะคลอด และหลังคลอดที่โรงพยาบาล ปฏิบัติตามบันไดขั้นที่ 4 คือการ สัมผัสแบบเนื้อแนบเนื้อ และให้ทารกดูดเร็วภายใน 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมงหลังคลอด
ในระยะก่อนกลับไปทํางาน แม่ควรบีบเก็บน้ํานม และเตรียมลูกโดยการฝึกให้ลูก กินนมจากการป้อนแก้ว พร้อมทั้งเตรียมผู้ดูแลลูก
การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ในบทบาทของพ่อ
บทบาทของพ่อในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
หาความรู้ เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
ปรับเปลี่ยนให้เกิดทัศนคติด้านบวกต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
เข้ามามีส่วนร่วมตัดสินใจ ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
ทําหน้าท่ีสนับสนุนด้านอารมณ์แก่แม่ โดยพ่อควรให้ ความรัก ความเอาใจ ใส่ กําลังใจแก่แม่ที่เล้ียงลูกด้วยนมแม่ อยู่ดูแลอย่างใกล้ชิด
รับผิดชอบในการรับภาระในครอบครัว ชดเชยกับการที่พ่อไม่สามารถเป็น ผู้ดูแลหลัก ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้
การส่งเสริมบทบาทของพ่อในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
ระยะตั้งครรภ์พบว่าพ่อมีความต้องการเข้าร่วมกิจกรรมการเตรียมความ พร้อมในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เช่นเดียวกับแม่ เพื่อให้มีความรู้ และทักษะในการช่วยเหลือแม่ในการ เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะหลังคลอด
ระยะหลังคลอด กิจกรรมการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สําคัญอยู่ที่ การตอบสนองได้ตรงความต้องการของพ่อ ที่ต้องการทราบเกี่ยวกับการแก้ปัญหา การเลี้ยงลูกด้วยนม แม่
การแก้ไขปัญหาการดูด
ทารกที่มีภาวะลิ้นติด
ทำให้เกิดปัญหา
ปัญหาที่เกิดขึ้นจากภาวะลิ้นติด ภาวะลิ้นติดอาจก่อให้เกิดปัญหาตอ่ การ เลี้ยงลูกด้วยนมแม่หรือไม่ก็ได
ลูกดูดไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากพังผืดใต้ลิ้น (Lingual Frenulum)
แม่เกิดความไม่สุขสบาย เนื่องจากลิ้นของลูกยืดไปไม่ถึงลานนม
จึงดูดได้เฉพาะหัวนม ทําให้แม่เจ็บหัวนม หัวนมแตกได้
การช่วยเหลือ
การรักษาโดยการขลิบพังผืดที่ยึดลิ้นออก (Frenulotomy)
ดูแลแบบประคับประคองอาการ
หัวนมผิดปกติ
1) หัวนมสั้น ลานนมแคบ แต่นิ่ม หยุ่นดี สามารถช่วยทารกให้ดูดนมได้แม้ ขนาดลานนมแคบ โดยอาศัยทักษะการอุ้มเข้าเต้าเพื่อช่วยให้ลูกอมหัวนมได้ลึกถึงล านนม เช่น ท่าฟุตบอล หรือท่าอุ้มขวางตักประยุกต์ หากหัวนมสั้น แต่ลานนมกว้าง และยืดหยุ่นดี จะไม่เป็น ปัญหาในการดูดเนื่องจากลานนมที่นิ่มจะทําให้ทารกงับได้ลึก และเกิดรูปร่างของหัวนม และลานนม
ใหม่ในปากของลูก
2) หัวนมสั้น ลานนมกว้าง ยืดหยุ่นดี ไม่ต้องแก้ไขเนื่องจากทารกสามารถ ดูดได้ ลึก แต่ไม่จําเป็นต้องให้ทารกพยายามอมหัวนมให้มิด เนื่องจากลานอาจกว้างเกินกว่าที่ทารกจะ อมได้มิด อาจอาศัยเพียงทักษะการช่วยเหลืออย่างถูกต้อง
3) หัวนมสั้น ลานนมหนาแข็ง ทําให้หัวนมถูกดึงรั้ง แก้ไขโดยการใช้ปทุม แก้วนวดลานนม เพื่อให้โคนหัวนมที่ใหญ่และแข็ง นิ่มลงได้ จากนั้นใช้ที่ดึงหัวนมช่วยแก้ไขให้หัวนมยืด
ออก และยืดหยุ่นดียิ่งขึ้น
4) หัวนมบอด หมายถึง หัวนมที่ไม่ยื่นออกมาเหนือลานนม เมื่อใช้นิ้วจับ
ดึงหัวนมอาจดึงไม่ขึ้น ไม่ถอยกลับ หรือถอยกลับ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของระดับหัวนมที่บอด สาเหตุ หัวนมสั้นหรือบอด เนื่องจากมีพังผืดยืดหัวนมไว้ ทําให้หัวนมไม่สามารถยื่นออกมาได้ ทารกจึงดูดได้ ยาก หรือดูดไม่ได้ แก้ไขโดยใช้ที่ดึงหัวนมทุกวัน
5)หัวนมบุ๋มเทียม (Pseudo Inverted Nipple) หมายถึง หัวนมที่ มองเห็นเป็นหัวนมปกติ แต่เมื่อจับบริเวณลานนม และบีบดูจะพบว่ามีรอยย่น และหัวนมผลุบกลับลง ไป ทําให้เด็กดูดยาก หรือดูดไม่ติด แก้ไขโดยใช้ที่ดึงหัวนม ดึงหัวนมที่ถูกดึงรั้งขึ้นมา ในขณะเดียวกัน
ควรใช้ปทุมแก้วนวดลานนมด้วย แก้ไขจนกว่าลานนมนิ่ม และหัวนมยื่นออกมา
อุปกรณ์ และเทคนิคที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาหัวนมสั้น
1) ปทุมแก้ว (Breast Shells or Breast Cups)
วิธีการใช้ต้องใส่เสื้อยกทรง ทับชั้นนอกปทุมแก้ว ปรับสายเสื้อยกทรงให้ กระชับพอดีกับเต้านม เพื่อให้เกิดแรงกดที่คงที่ และสม่ําเสมอรอบลานหัวนมจะทําให
2) ที่ดึงหัวนม (Nipple Puller/Syringe Puller) ใช้แก้ปัญหาหัวนมสั้น แบนหรือบุ๋ม
วิธีใช้ที่ดึงหัวนม ใช้หลักการของแรงดันลบ (Negative Pressure)
ดูดหัวนมขึ้นมาจากแรงดึงของอุปกรณ
3) การนวดลานนม (Hoffman’s Maneuver or Hoffman Exercise) แก้นมสั้น
โดยการใช้นิ้วหัวแม่มือสองข้างวางลงที่บริเวณลานนมชิดกับหัวนม ในด้านตรงข้ามกัน แล้วกดรูดนิ้วออกจากหัวนมไปในทิศทางตรงกันข้าม ในแนวซ้าย-ขวา และบน-ล่าง
4) การคลึงหัวนม (Nipple Rolling)
เป็นการคลึงหัวนมด้วยนิ้วหัวแม่มือ และนิ้วชี้ และดึงให้หัวนมยื่นออกมาทํารอบละ 10 ครั้งซ้ํา ๆ กัน ทําวันละประมาณ 2 รอบ จะช่วยให้เกิดความยืดหยุ่นของเนื้อเยื่อรอบ ๆ หัวนม
หัวนมใหญ่ หมายถึง หัวนมขนาดใหญ่เส้นผ่าศูนย์กลาง 16-23 มิลลิเมตร หรือ มากกว่า 23 มิลลิเมตรซึ่งมีขนาดใหญ่
แก้โดย
1) คลึงหัวนม เพื่อทําให้กล้ามเนื้อรอบ ๆ หัวนมหดตัวลดขนาดลง เล็กน้อย และยื่นออก
2) อุ้มทารกเข้าเต้าโดยใช้ท่าอุ้มฟุตบอล เพื่อช่วยประคองศีรษะลูกให้อม หัวนมได้ลึกขึ้น
หัวนมยาว หมายถึง หัวนมที่มีความยาวกว่าปกติ (ปกติ 0.7-1 ซม.) มีการพับงอ
ของหัวนมคล้ายฝักบัว
การแก้ไข
1) อธิบายให้แม่เข้าใจสาเหตุของปัญหา และสาธิตการบีบน้ํานมที่บริเวณ หัวนมและลานนมเพื่อเปรียบเทียบปริมาณน้ํานม แทนการดูดเฉพาะหัวนมให้แม่ดู
2) ช่วยแม่ให้ลูกอมเต้านมให้ลึกมากที่สุด ฝึกลูกให้ดูดลึกจนถึงลานนม
3) ช่วยบีบน้ํานม (Breast compression) กรณีลูกยังดูดได้ไม่ลึกพอเพื่อ ป้องกันการได้รับน้ํานมไม่เพียงพอ
4) สอนแม่ให้ประคองเต้านมแบบตัวซี เพื่อช่วยให้หัวนมยื่นออกมาเพื่อให้ ทารกงับหัวนมได้ลึกถึงลานนมได้ง่ายขั้น
ปัญหาเกี่ยวกับเต้านม
เต้านมใหญ่ทําให้เกิดปัญหาในการจัดท่าดูดนมที่จะทําให้ลูกดูดนมลึกถึงลานนม ได้ โดยเต้านมที่ใหญ่จะกั้นไม่ให้ท้องลูกแนบติดกับหน้าท้องแม่ ทําให้ลูกอยู่ในท่านอนหงาย บางครั้ง เต้านมของแม่อาจทับบนตัวลูก แก้ปัญหาโดยอุ้มท่าฟุตบอล หลีกเลี่ยงท่านอนขวางตัก ที่ทําให้ลูกอมหัวนมได้ไม่ลึกถึงลานนม
เต้านมหย่อนยาน หัวนมมักชี้ลง ลูกต้องอยู่ในท่านอนหงายเพื่อให้ปากลูกตรงกับหัวนมแม่ ทําให้เต้านมของแม่ทับบนตัวลูกได้เช่นเดียวกับเต้านมใหญ่ แก้ปัญหาโดยจัดท่าอุ้มให้นมลูก เช่นเดียวกับเต้านมใหญ่ แต่เพิ่มการใช้ผ้าผืนเล็กพับหนุนใต้ฐานของเต้านมเพื่อให้หัวนมช
น้ํานมน้อย
สาเหตุ
สาเหตุจากการสร้างฮอร์โมนโปรแลคตินลดลง ทําให้สร้างน้ํานมลดลง
1) แม่หัวนมแตก เจ็บหัวนม อาจทิ้งช่วงห่างในการให้นมลูก
แม่มีภาวะเครียด ส่งผลให้การสร้างฮอร์โมนโปรแลคตินลดลง
แม่ที่ยังไม่มีประสบการณ์ในการเลี้ยงลูก ทําให้ขาดความมั่นใจ
ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
การสร้างน้ํานมน้อยในระยะแรกหลังคลอด ในระยะ 1-3 วัน แรกหลังคลอดร่างกายจะผลิตหัวน้ํานม มีลักษณะข้น และมีปริมาณน้อย ซึ่งเพียงพอกับความต้องการ
ของร่างกายทารก
ดูดนมไม่มีประสิทธิภาพ เช่น ดูดเบา ดูดไม่ลึกถึงลานนมแม้จะจัด
การให้เริ่มดูดนมช้า ควรดูดนมทันที หรือภายในวันแรกหลังคลอด
การให้นมผสม ทําให้ทารกดูดนมน้อยลง การสร้าง และขับน้ํานม
การช่วยเหลือ
1 ปฏิบัติตามบันไดขั้นที่ 3 และ 7 คือ ให้ทารกได้เริ่มดูดนมแม่ทันที และ บ่อย ๆ ประมาณ 8 มื้อต่อวันหรือตามต้องการ ให้แม่ และลูกอยู่ด้วยกันหลังคลอดตลอดเวลา
2 ดูแลให้ทารกดูดนมแม่อย่างเดียว โดยยึดหลัก 3 ดูด
3 แม่ควรทําจิตใจให้ผ่อนคลาย ไม่ควรเครียดหรือวิตกกังวล ก่อนให้นมลูก
4 แม่ควรได้รับสารน้ํา อาหาร และการพักผ่อนให้เพียงพอ
ทารกกูนมแม่ 8-12ครั้ง ทุก2-3ชม.ในอาทิตย์แรก แรก และ 7-9 ครั้ง/วัน หลัง 1 สัปดาห์ โดยใช้เวลาในการดูดประมาณ 20 นาทีต่อครั้ง หากทารก
การแก้ปัญหาหัวนม และลานนม ในระยะตั้งครรภ์ และหลังคลอด
หลักการอุ้มที่จะช่วยให้ทารกดูดนมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1)ศีรษะ ไหล่ ลําตัวของทารกอยู่ในแนวตรง ไม่บิดคอ หรือลําตัว
2) ลําตัวทารกชิดลําตัวแม่ ท้องทารกชิดท้องแม่
3) หน้าทารกหันเข้าหาเต้า ปากทารกตรงกับหัวนม
4) ทารกได้รับการประคอง หรือใช้หมอนประคองเพื่อให้ทารกมั่นคง
การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสถานประกอบการ
ประโยชน์ของการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสถานประกอบการ คือ
1ลดอัตราการลาของแม่จากการที่ลูกแข็งแรงไม่ป่วยบ่อย
2 ลดค่าใช้ในการรักษาพยาบาลของลูก กรณีลูกต้องใช้สิทธิสวัสดิการของแม่
.3 เป็นการสร้างขวัญกําลังใจให้พนักงาน
4.สร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้บริหารและพนักงาน
พนักงานมีความจงรักภักดีต่อองค์กร
6.ช่วยรักษาพนักงานที่มีทักษะและประสบการณ์ให้อยู่กับสถานประกอบการ
เป็นการสร้างภาพลักษณ์ และชื่อเสียงที่ดีในสถานประกอบการ
แนวปฏิบัติในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสถานประกอบการดําเนินการ
1 มีนโยบายส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม
อนุญาตให้แม่มีเวลาในการบีบเก็บน้ํานมประมาณทุก 3 ชั่วโมงครั้งละ
ประมาณ 30 นาทีในช่วงเช้า และช่วงบ่าย
เตรียมสถานที่ และอุปกรณ์อํานวยความสะดวกในการบีบ หรือปั๊มน้ํานม
สถานที่ มีความสะอาด สงบ สบาย มีความเป็นส่วนตัว อากาศ
ถ่ายเทได้สะดวก อุณหภูมิพอเหมาะ และไม่ใช้ห้องน้ําเป็นสถานที่บีบเก็บน้ํานม
อุปกรณ์อํานวยความสะดวก ประกอบด้วย
1) โซฟา หรือที่น่ังที่สบายเพื่อให้แม่ได้นั่งบีบ หรือปั๊มน้ํานมเก็บแข็ง
2) อ่างล้างมือ สบู่ล้างมือ ผ้าเช็ดมือที่สะอาด และถังขยะ
3) โต๊ะขนาดเล็กสําหรับวางอุปกรณ์เกี่ยวกับการบีบเก็บน้ํานม
4) อุปกรณ์สําหรับเก็บรกั ษาน้ํานม เช่น ตู้เย็น และกระติกน้ําแข็ง
การบีบและจัดเก็บน้ํานม
ระยะเวลาที่เหมาะสมในการบีบเก็บน้ํานม และวิธีการเก็บรักษาน้ํานม
หลังคลอดประมาณ 1 เดือน แม่สามารถเริ่มเก็บตุนน้ํานม โดยบีบเก็บทุก ครั้งหลังทารกดูดนมแล้ว หรือบีบเก็บทุก 3 ชั่วโมง บีบครั้งละ 15 – 30 นาทีต่อเต้า
เริ่มฝึกทารกให้กินนมที่บีบเก็บไว้ เพื่อให้เคยชินกับกลิ่นหืนของนมที่เก็บ แช่แข็ง เมื่อทารกอายุได้ประมาณ 1 เดือนครึ่ง
หลัง 3 เดือนเมื่อแม่กลับไปทํางาน ควรบีบเก็บน้ํานมทุก 2 -3 ชั่วโมงเพื่อ รักษาระดับการสร้างน้ํานมให้คงที่ ให้ปริมาณน้ํานมที่สร้างไม่ลดลง ผู้เลี้ยงไม่ควรให้ทารกกินนมแม่ เกินชั่วโมงละ 1 ออนซ์
การเก็บรักษาน้ํานม น้ํานมมีระยะเวลาของอายุแตกต่างกันตามประเภท ของอุปกรณ์ที่ใช้ ดังนี้
ที่อุณหภูมิห้องเกิน 25 ไม่เกินองศาเซลเซียส เก็บได้นาน 4
ชั่วโมง หากเกิน 25 องศาเซลเซียส เก็บได้ไม่เกิน 1 ชั่วโมง
กล่องโฟมที่มีน้ําแข็งเต็ม รักษาอุณหภูมิที่ 15 องศาเซลเซียส
เก็บได้นาน 8 – 12 ชั่วโมง
กระติกน้ําแข็งที่น้ํานมแช่ไว้ตลอดเวลา เก็บได้นาน 1 วัน
ตู้เย็นช่องธรรมดา เก็บได้นาน 2 วัน
5.ตู้เย็นช่องแช่แข็งชนิด 1 ประตู เก็บได้นาน 2 สัปดาห์
ตู้เย็นช่องแช่แข็งชนิด 2 ประตู เก็บได้นาน 3 เดือน
ตู้เย็นชนิด Deep Freezer เก็บได้นาน 6 – 12 เดือน