Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Hypoglycemia, อาการหายไปหลังจากแก้ไขให้ระดับกลูโคสในเลือดกลับสู่ปกติ, - -…
Hypoglycemia
การรักษา
ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัวหรือหมดสติ ไม่สามารถกลืนน้ำหวานได้ เนื่องจากเสี่ยงต่อการสำลัก ควรรีบนำส่งสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุติเพื่อแก้ไขด้วยการให้ Glucose ทางหลอดเลือดดำต่อไป
- จากกรณีศึกษ
า ผู้ป่วยได้รับ 50 % Glocose 50 ml push
เพื่อให้มีการทำงานของระบบประสาทซิมพาเทติค มากขึ้น ทำให้การหลั่งฮอร์โมน catecholamine และ glucogen มากขึ้น นอกจากนั้นยังมีการกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนcortisol และ growth
hormone เพิ่มขึ้น เพื่อช่วยเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดโดยสลายไกลโคเจนทำให้มีน้ำตาลมากขึ้น สมองได้รับน้ำตาลเพียงพอ
ถ้าผู้ป่วยที่ยังรู้สึกตัวดีควรได้รับกลูโคสปริมาณ 15 กรัม เช่น ดื่มน้ำผลไม้หรือน้ำอัดลม 120-180 มิลลิลิตร (ประมาณ1/2-1 แก้ว) หรือรับประทานน้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะละลายน้ำ 100 มล. ลูกอม 2-3 เม็ด สัมขนาดกลาง 1 ผล หรือกล้วย 1 ผลจะช่วยให้ระดับน้ำตาลเพิ่มขึ้นประมาณ 40 mg/dL
3.2 ถ้าพบว่าระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นน้อยกว่า 20 mg/dL และเวลาอาหารในถัดไปนานกว่า 1 ชั่วโมง ให้กินอาหารว่างที่มีแป้งและโปรตีน ได้แก่ ขนมปังกรอบ
หรือแซนวิช ร่วมกับนม 1 แก้ว
3.3. หลังจากนั้นให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารหลักต่อ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือด
2.1 เมื่อผู้ป่วยฟื้นแล้วให้ 10 % DN/2 เข้าทางหลอดเลือดดำ ในอัตรา 100-200 มิลลิกรัมต่อชัวโมง
จากกรณีศึกษา
ผู้ป่วยได้รับ10 % DN/2 เข้าทางหลอดเลือดดำอัตตรา 100 มิลลิกรัมต่อชั่วโมง
เพื่อเพิ่มระดับกลูโคสในเลือดให้สูงมากขึ้น
ประเมินระดับความรู้สึกตัว และตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดจากปลายนิ้ว
จากกรณีศึกษา
ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดเเรกรับได้ 32 มก./ดล.
3.1 ควรเจาะระดับน้ำตาลปลายนิ้วซ้ำหลังให้กลูโคส 15 นาที
ข้อมูลทั่วไป
อาการสำคัญ มีอาการซึม พูดไม่รู้เรื่อง 30 นาทีก่อนมา
อาการเจ็บป่วยปัจจุบัน 1 เดือนก่อนมา เริ่มทานข้าวได้น้อย
1 สัปดาห์ก่อนมาทานข้าวได้น้อยลงกว่าเดิม ไม่เกินวันละ 10 ช้อน
1 วันก่อนมามีอการเวียนศรีษะ ทานน้ำหวานดีขึ้น
อาการเจ็บป่วยในอดีต 3 ปีก่อนมาตรวจพบโรคเบาหวาน ความดัน ไขมัน รับยาต่อเนื่องที่โรงพยาบาลพระนารายณ์
2 ปีก่อนมาตรวจเจอเส้นเลือดสมองตีบ รับยาต่อเนื่องที่โรงพยาบาลพระนารายณ์
ผู้ป่วยหญิงไทยวัยผู้ป่วยใหญ่ เชื้อชาติไทย สัญชาติไทย อาชีพขายอาหารตามสั่ง รับไว้ในการดูแลวันที่ 3 เมษายน 2566
การตรวจร่างกาย
ทรวงอกสมมาตรกันดี ไม่มีสารคัดหลั่งบริเวณเต้านม
ท้อง ไม่มีท้องมาณ ท้องโต Bownl sounds 3 ครั้งต่อนาที
กล้ามเนื้อและกระดูก แขนขาเล็ก moter power grade 5
ระบบประสาทพบว่าผู้ป่วยมีการรับรู้ดี ถามตอบรู้เรื่อง รู้วัน เวลา สถานที่
ศรีษะและใบหน้ามีความสมมาตรกันดีมีการกระจายตัวของเส้นผมดีบริเวณดวงตามี Arcus senilis และมีอาการตาพร่ามัวบางครั้ง
ผิวหนังและเล็บ ผิวขาวเหลือง capillary refill 2 วินาที
ผลตรวจทางห้องปฎิบัติการ
Glucose 18 mg/dl L
RBC count 3.88 L
Hct 34.4 %L
Hb 11.4 g/dL L
Cl 96 mmol/L L
แปลผลทางห้องปฎิบัติการ
Glucose ต่ำ เกิดจากการไม่ได้รับประทานอาหาร รับประทานอาหารได้น้อย ไม่อยากอาหารทำให้ได้รับปริมาณเพียงพอจนอาจเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้ ในผู้ป่วยรายนี้เกิดจากไม่อยากอาหาร รับประทานอาหารได้น้อยจนทำให้เกิดภาวะน้ำตาลลในเลือดต่ำ
Cl ต่ำ จากการใช้ยาบางชนิด ยาลดความดันโลหิต ยาลดไขมันในเลือด ในผู้ป่วยรายนี้เกิดจากมีโรคประจำตัวเป็นโรคไขมันในเลือด ความดันโลหิต
RBC count ต่ำเกิดจากการมีภาวะขาดสารอาหารหรือโปรตีนที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของธาตุเหล็กในการสร้างเม็ดเลือดแดง ในผู้ป่วยรายนี้มีอาการไม่อยากอาหาร รับประทานอาหานน้อย ค่า BMI อยู่ในเกณฑ์ผอม
Hct Hb ต่ำเกิดจากการขาดสารอาหารที่เกี่ยวกับเลือด เช่นธาตุเหล็กก วิตามิน บี 12 ในผู้ป่วยนี้ได้รับประทานอาหารได้น้อย BMI อยู่ในเกณฑ์ผอม
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
1 ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้เนื่องจากมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารไม่เหมาะสม
ข้อมูลสนับสนุน
s " รู้สึกไม่ยากอาหาร"
s "เลือกรับประทานอาหารแค่ที่ชอบ"
s "มีพ่อเป็นโรคเบาหวาน"
o : พบเห็นญาตินำของมาเยี่ยมที่เป็นขนมหวาน
o : ผู้ป่วยมีโรคประจำตัวคือ เบาหวานตรวจพบเมื่อ 3 ปีที่แล้วรับยาต่อเนื่อง
s "รับประทานอาหารไม่ตรงเวลเพราะต้องขายของก่อน"
จุดมุ่งหมายและเกณฑ์การประเมิณ
ผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกฌฑ์ปกติได้
ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติที่เเพทย์ Keep คือ 80-200 mg %
ผู้ป่วยไม่มีอาการของระดับน้ำตาลในเลือดต่ำและระดับน้ำตาลในเลือดสูง
ผู้ป่วยและญาติเข้าใจถึงแนวทางและความสำคัญของการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
กิจกรรมการพยาบาลและเหตุผล
สังเกตระดับความรู้สึกและอาการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยที่อาจจะเกิดเช่น Hypoglycemia มีอาการ มือสั่น หัวใจเต้นเร็ว กระวนกระวายและภาวะน้ำตาลในเลือดสูง Hyperglycemia มีอาการคือ หิวบ่อย อ่อนเพลียง่ายเพื่อหากเกิดอาการดังกล่าวจะได้ให้ความช่วยเหลือได้ทันท่วงที
เจาะ DTX ทุก 4 ชั่วโมงใช้ RI scale med
วัดสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมงเพื่อประเมิณอาการที่จะเปลี่ยนแปลงไปและวางแผนการช่วยเหลือได้ทันท่วงที
ให้คำแนะนำผู้ป่วยและญาติถึงการรับประทานอาหารที่ถูกต้องเหมาะสมกับโรค คือ รับประทานอาหารให้ครบ3มื้อ ลดการรับประทานกระทิ ลดรับประทานอาหารหวา เลือกรับประทานเนื้อสัตว์ไขมันต่ำเช่น ปลา ไก่ เต้าหู้ และรับประทานสารให้รสหวานทดแทนการรับประทานน้ำตาล เช่น Equal และรับประทานอาหารให้สอดคล้องกับการรับประทานยา เพื่อให้ผู้ป่วยมีการปฎิบัติตนที่ต้องกับโรคที่เป็น
แนะนำญาติและผู้ป่วยให้สังเกตอาการผิดปกติที่ต้องมาพบแพทย์ คือ อาการชาปลายมือปลายเท้า ตาพร่ามัว แขนขาอ่อนแรง มีไข้เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาได้ทันท่วง
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาตามแผนการรักษาคือ Metformin 500 mg 1×2 pc และสังเกตอาการข้างเคียงของยาคือ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ หายใจเร็ว เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับยาตามแผนการรักษาเเละเฝ้าระวังผลข้างเคียงของยา
แนะนำให้ผู้ป่วยออกกำลังกายและมีวิธีปฎิบัติดังนี้ ก่อนออกกำลังกายควรสวมใส่ถุงเท้าและรองเท้าที่เหมาะสมและหากค่าระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 100 มก/ดล รับประทานคาร์โบไฮเดตเพิ่ม ขณะออกกำลังกายยควรมีญาติหรือสัญลักษณ์ที่แสดงตัวตนว่าเป็นผู้ป่วยเบาหวานและควรพกน้ำผลไม้ 120 มิลลิลิตร 1 กล่อง หลังออกกำลังกายควรตรวจเช็คบริเวรเท้าว่ามีแผลหรือไม่ เพื่อให้ผู้ป่วยได้เพิ่มสมมรรถภาพร่างกายและปฎิบัติตนได้ถูกต้องทั้งก่อน ขณะ และหลังออกกำลังกาย
แนะนำผู้ป่วยให้รับประทานยาต่อเนื่องห้ามหยุดยาเองโดยทันทีที่แพทย์ไม่ได้สั่งเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลให้คงที่และป้องกันอันตรายจากการหยุดยาเอง
ประเมิณผล ผู้ป่วยมีระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติไม่มีอาการของระดับน้ำตาลในเลือดต่ำและระดับน้ำตาลในเลือดสูง ผู้ป่วยและญาติเข้าใจถึงแนวทางและความสำคัญของการควบคุมมระดับน้ำตาลในเลือด
อาจเกิดภาวะเเทรกซ้อนของโรคประจำตัวคือ โรคเบาหวาน ความดันโลหิต และไขมันในเลือด
ข้อมูลสนับสนุน
o : ผู้ป่วยมีโรคประจำตัวคือ เบาหวานตรวจพบเมื่อ 3 ปีที่แล้วรับยาต่อเนื่อง
s : "รับประทานอาหารไม่ตรงเวลาเนื่องจากต้องขายของก่อน'
s : "รู้สึกไม่อยากอาหาร"
o : ผู้ป่วยมีโรคประจำตัวคือ โรคไขมันในเลือดสูง และ ความดันโลหิตสูง รับยาต่อเนื่อง
o: พบเห็นญาตินำของมาเยี่ยมเป็นของหวาน
จุดมุ่งหมายและเกณฑ์การประเมิณ
ป้องกันการเกิดอันตรายจากภาวะเเทรกซ้อนของโรคประจำตัว
ผู้ป่วยไม่มีอาการแสดงภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำซ้ำคือ มือสั่น หัวใจเต้นเร็ว กระวนกระวาย
ผู้ป่วยไม่มีอาการแสดงของภาวะน้ำตาลในเลือดสูง
คือหิวบ่อย อ่อนเพลีย
ผู้ป่วยไม่มีอาการแสดงของภาวะไขมันในเลือดสูงคือเป็นปื้นเหลืองที่ผิวหนัง เช่นผิวหนังตา ข้อศอก ฝ่ามือ ปวดข้อเเขน ขาตึง เป็นต้น
ผู้ป่วยไม่มีอาการแสดงของภาวะ Hypertension คืออ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ใจสั่น มือเท้าชาและอาการ Hypotension คือหู้อื้อ ตาลาย มือเท้าเย็น
กิจกรรมการพยาบาลและเหตุผล
วัดสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมงและติดตามระดับความรู้สึกตัวเพื่อประเมิณอาการเปลี่ยนแปลงและวางแผนการรักษาช่วยเหลือทันท่วงที
สังเกตอาการและอาการแสดงของระดับน้ำตาลในเลือดสูง คือ ในเลือดสูงคือหิวบ่อย อ่อนเพลียและอาการแสดงภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำซ้ำคือ มือสั่น หัวใจเต้นเร็ว กระวนกระวายเพื่อประเมิณและเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน
ให้ความรู้ผู้ป่วยและญาติหากเกิดอาการน้ำตาลในเลือดต่ำและอาการน้ำตาลในเลือดสูงขณะอยู่บ้านควรปฎิบัติดังนี้ คือหากมีอาการน้ำตาลในเลือดต่ำ ควรดื่มน้ำหวาน 1 แก้วและหากเกิดอาการน้ำตาลในเลือดสูงให้หยุดทำกิจกรรม นอนพัก และดื่มน้ำมากๆ เพื่อให้ผู้ป่วยปฎิบัติตนได้ถูกต้องหากมีอาการดังกล่าว
ประเมิณอาการของผู้ป่วยว่ามีภาวะความดันโลหิตสูงหรือต่ำผิดปกติหรือไม่คือเมือผู้ป่วยมีภาวะความดันโลหิตต่ำจะมีค่า BP น้อยกว่าหรือเท่ากับ 90/60 mmHg มีอาการอ่อนเพลีย มือเท้าเย็น และผู้ป่วยที่มีอาการความดันโลหิตสูงจะมีค่าความดันโลหิตมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 mmHg มีอาการสั่น มือเท้าชา และส่งเสริมการรับประทานอาหารที่มีรสจืด ย่อยง่ายเพื่อประเมิณและเฝ้าระวังภาวะความดันโลหิตสูงและภาวะความดันโลหิตต่ำ
แนะนำการปฎิบัติตนของผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง เช่น ลดอาหารที่มีคอเรสเทอรอลสูง เช่น ไข่แดง เครื่องใน หลีกเลี่ยงอาหารที่มีการผัด ทอด ใช้น้ำมันหรือเนย เปลี่ยนวิธีปรุงอาหารเป็นการ ต้ม อบ เพื่อให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารได้ถูกต้องเหมาะสมกับโรค
ดูแลผู้ป่วยให้ได้รับยาลดไขมันในเลือดตามแผนการรักษาคือ Atrovastatin Atrovastatin 40 mg 1×1 p.c สังเกตอาการข้างเคียงคือกล้ามเนื้ออ่อนเเรง ปัสสาวะมีสีแดงเข้มหรือมีสีเข้มผิดปกติเพื่อให้ผู้ป่่วยได้รับยาตามแผนการรักษษและสังเกตอาการข้างเคียง
ดูแลผู้ป่วยให้ได้รับยาบดระดับน้ำตาลในเลือดคือ Metformin 500 mg 1×2 pc สังเกตผลข้างเคียงคือ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ หายใจเร็ว เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับยาตามแผนการรักษาและสังเกตอาการช้างเคียง
การประเมินผล
ผู้ป่วยไม่มีอาการแสดงภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำซ้ำคือ มือสั่น หัวใจเต้นเร็ว กระวนกระวาย
ผู้ป่วยไม่มีอาการแสดงของภาวะน้ำตาลในเลือดสูงอ่อนเพลีย หิวบ่อย
ผู้ป่วยไม่มีอาการแสดงของภาวะไขมันในเลือดสูงคือเป็นปื้นเหลืองที่ผิวหนัง เช่นผิวหนังตา ข้อศอก ฝ่ามือ ปวดข้อเเขน ขาตึง
ผู้ป่วยไม่มีอาการแสดงของภาวะ Hypertension คืออ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ใจสั่น มือเท้าชาและอาการ Hypotension คือหู้อื้อ ตาลาย มือเท้าเย็น
ผู้ป่วยและญาติมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการดำเนินของโรค
จุดมุ่งหมายและเกณฑ์การประเมิณ
ผู้ป่วยและญาติมีสีหน้าแจ่มใสขึ้น
ผู้ป่วยและญาติปฎิบัติตามคำแนะนำต่างๆ
ผู้ป่วยและญาติคลายความกังวล
กิจกรรมการพยาบาล
บอกถึงความก้าวหน้าของความเจ็บป่วยแก่ญาติของผู้ป่วยและกิจกรรมการรักษาพยาบาลเข้าใจเพื่อลดความวิตกวังวลและให้ผู้ป่วยและญาติเข้าใจในกระบวนการรักษามากขึ้น
สัมผัสผู้ป่วยด้วยความนุ่มนวลและบอกกล่าวทุกครั้งที่ให้การพยาบาลอธิบายถึงสาเหตุของการพยาบาลอธิบายสาเหตุของการเจ็บป่วยการดำเนินของโรค ตลอดจนถึงการรักษาของโรค ตลอดจนถึงการรักษาพยาบาลตามการรับรู้ของผู้ป่วยและญาติเพื่อให้ญาติและผู้ป่วยมีความเข้าใจเกี่ยวกับโรคและการรักษามากขึ้น
ประเมิณความรู้สึกของผู้ป่วยและญาติ เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยและญาติได้พูดระบายความรู้สึกออกมาและซักถามเกี่บงกับอาการของตนเพื่อให้ทราบถึงปัญหาของผู้ป่วยและญาติ
สร้างสัมพันธ์ภาพที่ดีกับผู้ป่วยและญาติให้การช่วยเหลือด้วยใจยินดี เพื่อให่ผู้ป่วยผ่อนคลายและได้รู้จักผู้ป่วยมากขึ้น
ตอบคำถามเกี่ยวกับความกลัวต่อสิ่งต่างๆด้วยความจริงใจและมีเหตุผลเพื่อให้ผู้ป่วยคลายความสงสัยเเละมีวิธีปฎิบัติตนถูกต้อง
6.แนะนำให้ครอบครัวและญาติมีส่วนร่วมในกิจกรรมการดูแลผู้ป่วยเพื่อให้ได้ใกล้ชิดกันมากขึ้นภายใยครอบครัว
การประเมิณและญาติมีสีหน้าแจ่มใสพูดคุยตามคำถามกับพยาบาลเป็นอย่างดี ผู้ป่วยและญาติให้ความร่วมมือในการรักษาพยาบาลเป็นอย่างดี
ข้อมูลสนับสนุน
s : " ไม่รู้ว่าน้ำตาลต่ำมาก
แล้วจะเป็บแบบนี้ "
s : "เป็นแล้วอีกนานไหมจะหาย "
o : ผู้ป่วยมีสีหน้ากังวลขณะถามถึงอาการเจ็บป่วย
o : ญาติมีสีหน้ากังวลและซักถามถึงอาการผู้ป่วยบ่อยครั้ง
o : ขณะเจาะ Dtx ผู้ป่วยถามถึงผลการตรวจบ่อยครั้งและมีสีหน้ากังวล
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ Hypoglycemia ซ้ำเนื่องจากรับประทานอาหารได้น้อยและขาดความรู้ในการจัดการกับโรคเบาหวาน
ข้อมูลสนับสนุน
s : "รู้สึกไม่อยากอาหาร"
s : "รับประทานอาหารไม่ตรงเวลาเนื่องจากต้องขายของก่อน
s: "ไม่รู้ว่าอาการน้ำตาลต่ำเป็นอย่างนี้"
s : "ไม่รู้ว่าที่ตรวจน้ำตาลเองที่บ้านจำเป็นไหม
s :ตอนเช้ากินเเต่กาแฟ
o : ผู้ป่วยมีโรคประจำตัวคือ เบาหวานตรวจพบเมื่อ 3 ปีที่แล้วรับยาต่อเนื่อง
o : ผู้ป่วยซักถามบ่อบครั้งถึงการปฎิบัติตนสำหรับคนเป็นโรคเบาหวาน
จุดมุ่งหมายและเกณฑ์การประเมิณ
ผู้มีพฤติกรรมการรับประทานอาหารเหมาะสมกับภาวะเเทรกซ้อนของโรคได้อย่างถูกต้อง
ผู้ป่วยมีความเข้าใจและสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่เหมาะสม
ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติที่เเพทย์ Keep คือ 80-200 mg %
ผู้ป่วยไม่มีอาการของระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ
กิจกรรมการพยาบาล
กระตุ้นให้ผู้ป่วยรับประทานอาหาร เพื่อให้ได้รับสารอาหารครบถ้วน
พูดคุยให้คำปรึกษาเกี่ยวกับสาเหตุของการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
เจาะ DTX ทุก 4 ชั่วโมงใช้ RI scale med
แนะนำให้ผู้ป่วยและญาติรู้จักการปฎิบัติตัวเพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเช่น รับประทานอาหารให้ตรงเวลาสอดคล้องกับการรับประทานยา การออกกำลังกาย การควบคุมระดับน้ำตาล หลีกเลี่ยงการดื่มเเอลกอฮอล์ เป็นต้น
แนะนำเกี่ยวกับการเลือกรับประทานอาหารเนื้อสัตว์ไขมันต่ำเช่น ปลา ไก่ เต้าหู้ และรับประทานสารให้รสหวานทดแทนการรับประทานน้ำตาล และรับประทานอาหารให้ตรงเวลา เพื่อให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารได้ถูกต้อเหมาะสมกับโรค
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาตามแผนการรักษาคือ Metformin 500 mg 1×2 pc และสังเกตอาการข้างเคียงของยาคือ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ หายใจเร็ว เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับยาตามแผนการรักษาเเละเฝ้าระวังผลข้างเคียงของยา
แนะนำให้สังเกตภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำซ้ำคือ มือสั่น หัวใจเต้นเร็ว ไม่มีแรง เวียนศรีษะ กระวนกระวายเพื่อประเมิณและเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน
การประเมินผล ผู้ป่วยมีความเข้าใจและสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่เหมาะสม ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติคือ 87 มก/ดล ผู้ป่วยไม่มีอาการของระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ
ยาที่ผู้ป่วยได้รับ
Aspirin 1 × 1 po pc เป็นยาป้องกันการแข็งตัว ลดการจับกลุ่มกันของเส้นเลือด ผลข้างเคียง อาจมีเลือดกำเดา เกล็ดเลือดเเข็งตัวช้า
Omeprazole 1 × 1 po ac ยาลดกรด ผลข้างเคียง คลื่นไส้อาเจียน
Metformin 1 × 2 po pc ยาลดระดับน้ำตาลในเลือด ผลข้างเคียงคือ เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน
Atrovastatin 1 × 1 po pc ยาลดระดับคอเรสเตอรอล เเละเพื่อป้องกันการเป็นซ้ำของผู้ที่เคยเป็นโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ ผลข้างเคียง กล้ามเนื้ออ่อนเเรง ปัสสาวะมีสีเเดงเข้ม
อาการและอาการแสดงแบ่งเป็น 2 ชนิดคือ
อาการออโตโนมิค (autonomic symptoms) ได้แก่ ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อออก มือสั่น รู้สึกกังวล ความดันโลหิตสูง กระสับกระส่าย คลื่นไส้ และซา เป็นอาการเตือนว่ามีภาวะน้ำตาลต่ำในเลือดเกิดขึ้น
อาการทางระบบประสาท (neuroglycopenic symptoms) ได้แก่ อ่อนเพลีย รู้สึกร้อนทั้ง ๆ ที่ผิวหนังเย็นและชื้น มึนงง ปวดศีรษะ สมองเฉื่อยชา ปฏิกิริยาตอบสนองช้าลง สับสน ไม่มีสมาธิ ตาพร่ามัวพูดช้า ง่วงซึม หลงลืม พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง หมดสติ และชัก นอกจากนี้ยังอาจมีอัมพาตครึ่งซีกคล้าย
โรคหลอดเลือดสมองได้
จากกรณีศึกษา
ผู้ป่วยมาด้วยอาการ ซึม พูดไม่รู้เรื่อง 30 นาทีก่อนมา
ภาวะน้ำตาลต่ำในเลือดสามารถแบ่งได้เป็น 3 ระดับตามอาการและอาการแสดงที่เกิดขึ้นและความสามารถที่ผู้ป่วยในการช่วยเหลือตนเอง
ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำระดับปานกลาง คือมีระดับพลาสมากลูโคสต่ำ มีอาการออโตโนมิคเต้นเร็ว รู้สึกหิว รู้สึกร้อน เหงื่อออก มือสั่น ความดันโลหิตสูง รู้สึกกังวล คลื่นไส้ และอาการสมองขาดเลือด ได้แก่ อ่อนเพลีย มึนงง ปวดศรีษะ แต่ผู้ป่วยสามารถแก้ไขด้วยการรับประทานอาหารที่มีรสหวาน เมื่อตรวจน้ำตาลจะอยู่ระหว่าง 20-40 มก./ดล.
จากกรณีศึกษา
ผู้ป่วยอยู่ในภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำระดับปานกลาง เนื่องจาก ผู้ป่วยมาด้วยอาการมีอาการซึม พูดไม่รู้เรื่อง 30 นาทีก่อนมาและเเรกรับตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดที่ห้องฉุกเฉินได้ 32 มก./ดล.
ภาวะตาลต่ำในเลือดระดับรุนแรง คือผู้ป่วยไม่สามารถแก้ไขด้วยตนเองได้และต้องได้รับการช่วยเหลือจากผู้อื่น หรือมีอาการรุนแรงเช่น ชัก หมดสติ เมื่อตรวจน้ำตาลจะน้อยกว่า 20
ภาวะระดับน้ำตาลต่ำในเลือดระตับไม่รุนแรง คือมีระดับพลาสมากลูโคสต่ำแต่ไม่มีอาการออโตโมนิคได้แก่ ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว รู้สึกหิว รู้สึกร้อน เหงื่อออกมือสั่น และผู้ป่วยสามารถแก้ไขด้วยตนเองได้ด้วยการรับประทานอาหารที่มีรสหวาน เมื่อตรวจน้ำตาลจะอยู่ระหว่าง 40-70 มก./ดล.
สาเหตุ
ยารักษาโรคเบาหวานที่ผู้ป่วยได้รับ โดยเฉพาะ ยาฉีดอินซูลิน และยาเม็ดรับประทานลดระดับน้ำตาลในเลือด
จากกรณีศึกษา
ผู้ป่วยได้รับยาลดระดับน้ำตาลในเลือดคือ Metfomin 1× 2 po p.c
Citical organ failure โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีสภาวะ ดังนี้ hepatic failure, renal
failure, cardiac failure
การผิดปกติฮอร์โมน เช่น มีภาวะ adrenocortical insufficiency, Hypopituitarism.
Hypothyroidism, Glucocorticoid excess
คำนิยาม
ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia)คือการเกิดน้ำตาลในเลือดต่ำในผู้ใหญ่ มักเป็นผลของการรักษาโรคเบาหวาน จากการใช้ยาลดระดับน้ำตาลบางชนิดและการเข้มงวดต่อการด้วบคุมระดับน้ำตาล โดยที่คนปกติจะนับว่ามีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเมื่อมีระดับน้ำตาลที่ 55-60 มก./ดล. (ทารกแรกเกิดจะวัดที่น้อยกว่า 35 มก./ดล.) แต่สำหรับผู้ป่วยโรดเบาหวานมักจะตัดสินภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำที่ค่าน้อยกว่า 70 มก./ดล. เพื่อป้องกันและให้หลือภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้ทันเนื่องจากระดับน้ำตาลที่ 60 มก./ดล.จะเริ่มมีอาการของภาวะน้ำตาลต่ำ และที่ระดับ 50 มก.ดล.จะมีผลต่อการทำงานของสมอง ภาวะน้ำตาจากการอุดอาหารมักจะแสดงอาการแบบเรื้อรังและไม่เร่งด่วน (chronic subacute) และสามารถสังเกตได้จากอาการทางระบบประสาท แต่ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำหลังอาหารมักจะมีอาการทางระบบประสาท อัตโนมัตินำมาก่อน เช่น อาการเหงื่อออก ใจสั่น วิตกกังวล
ประเภทของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
(fasting hypoglycemia)ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในขณะอดอาหารมักเป็นผลจากการไม่สมดุลระหว่างการสร้างน้ำตาลกลูโคสจากตับและการใช้กลูโคสที่เนื้อเยื่อส่วนปลาย
1.เกิดจากการสร้างน้อย (underproduction) ได้แก่
ภาวะขาดฮอร์โมนบางชนิด เช่น ขาด growth hormone, cortisol
ความผิดปกติของเอนไซม์ (enzyme defect) มักพบในเด็ก เช่น การขาด glucose-6-phosphatase
ภาวะมี substrate deficiency เช่น การขาดอาหารที่รุนแรง
โรคตับ เช่น ตับแข็งหรือ hemochromatosis อันทำให้ตับสร้างน้ำตาลด้วยกลไก gluconeogenesis และ glycogenolysis ไม่ได้
ยาบางชนิด เช่น propranolol ที่อาจทำให้มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำและกลบอาการแสดงอีกด้วย
การกินเหล้า มักพบในผู้ป่วยที่มีโรคตับแข็งซึ่งมักมีภาวะขาดอาหารร่วมอยู่ด้วย นอกจากนี้เหล้ายังยับยั้งเอนไซม์ pyruvate carboxylase ไม่ให้เกิดกระบวนการ gluconeogenesis รวมทั้งยับยั้งการนำ lactate, alanine และ glycerol ไปที่ตับ ทำให้กระบวนการสร้างน้ำตาลลดลง
2 เกิดจากการใช้น้ำตาลมาก (overutilization) แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
ผู้ได้รับการฉีดอินซูลิน หรือรับประทานยาลดน้ำตาลในเลือด
ยาบางชนิด เช่น ยา quinine ก็กระตุ้นให้หลั่งอินซูลินเพิ่มได้
จากกรณีศึกษา
ผู้ป่วยได้รับยาลดระดับน้ำตาลในเลือดคือ Metfomin คือยากลุ่มquinine
(postprandial hypoglycemia)น้ำตาลในเลือดต่ำในช่วงหลังรับประทานอาหาร
เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในช่วงหลังรับประทานอาหาร ส่วนใหญ่จะเกิดภายใน 3-4 ชั่วโมง เช่น พบในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดกระเพาะอาหาร เช่น gastrectomy, pyloroplasty หรือ gastrojejunostomy เป็นต้น อันเป็นผลให้มี gastric emptying time เร็วขึ้น ดูดซึมน้ำตาลได้เร็ว และมีการกระตุ้นให้หลั่งอินซูลินออกมา
พยาธิสภาพ
เมื่อเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ จะเกิดผลกระทบต่อสมองเป็นอันดับแรก ทำให้เกิดภาวะขาดน้ำตาลทั้งนี้เพราะสมองไม่มีแหล่งเก็บสะสมอาหารเพื่อใช้พลังงานกกระแสเลือดเท่านั้นโดยน้ำตาลสามารถผ่านเข้าสมองได้โดยไม่ต้องอาศัย Insulin เซลล์สมองไวต่อการขาดน้ำเมื่อสมองขาดนั้นระบบประสาท Autonomic Nervous System และระบบส่วนกลาง ระบบประสาทAutonomic Nervous System มีการทำงานของระบบประสาทซิมพาเทติค มากขึ้น ทำให้การหลั่งฮอร์โมน catecholamine และ glucogen มากขึ้น นอกจากนั้นยังมีการกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนcortisol และ growth hormone เพิ่มขึ้น เพื่อช่วยเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดโดยสลายไกลโคเจนทำให้มีน้ำตาลมากขึ้น สมองได้รับน้ำตาลเพียงพอ
ส่วนระบบประสาทเมื่อมีน้ำตาลในเลือดต่ำทำให้เชลล์สมองขาดกลูโคสซึ่งเป็นสาเหตุทำให้สมองทำงานได้ลดลง ผู้ป่วยจะมีพฤติกรรมเปลี่ยนไป และเมื่อมีน้ำตาลในเลือดต่ำแคทีโคลามีนจะถูกกระตุ้นให้หลั่งอย่างรวดเร็ว และทำให้มีอาการเตือนทีสำคัญก่อนที่จะมีอาการทางสมองซึ่งจะเป็นอันตรายรุนแรง อาการเตือนที่สำคัญ ได้แก่อาการหิว อ่อนเพลีย หมดแรง ใจสั่น ชีพจรเต้นเร็ว ความดันเลือดสูงขึ้นเล็กน้อยๆเหงื่อออก ตัวเย็น มีอสั่น ชีด และปวดศีรษะ หากไม่ได้รับการช่วยเหลือทันท่วงทีและน้ำตาลในเลือดยังคงต่ำต่อไปจะทำให้เกิดอาการทางสมองซึ่งมีความผิดปกติในส่วนของคอร์เท็กซ์ (Cortex) ทำให้มีอาการปวดศีรษะ สับสน พูดไม่ชัดเดินเช มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลง ซึมลง และหากไม่ได้รับการช่วยเหลืออีกจะมีความผิดปกติในส่วนของไดเอนเซฟาลอน (Diencephalon) และส่วนอื่นๆ ทำให้แขนหรือขาข้างหนึ่งเป็นอัมพาต (Monoplegia) หรืออัมพาตครึ่งซีก หรืออัมพาดครึ่ง
จากกรณีศึกษา
มีความผิดปกติในส่วนของคอร์เท็กซ์ (Cortex) ซึม พูดไม่รู้เรื่อง
ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลการส่งเสริมให้เกิดภาวะน้ำตาลต่ำในเลือด ได้แก่ ผู้ที่เคยมีประวัติภาวะน้ำตาลต่รุนแรงมาก่อน ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมน้ำตาลอย่างเข้มงวด การรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา ออกกำลังกายมากเกินกว่าปกติและมิได้เพิ่มอาหารในระหว่างการออกกำลังกาย
จากกรณีศึกษา ผู้ป่วยให้ข้อมูลว่ารับประทานอาหารไม่ตรงเวลา
การวินิจฉัย
การวินิจฉัยภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia)
ในการวินิจฉัภาวะHypoglycemia นั้นไม่สามารถอาศัยระดับน้ำตาลในเลือด หรืออาการที่เกิดขึ้นเพียงอย่างหนึ่งอย่างใดในการวินิจฉัยได้ ดังนั้นจึงควรอาศัย Whipple's triad ในการวินิจฉัย
ระดับกลูโคสในเลือดต่ำกว่า 50 มก/ดล.
จากกรณีศึกษา
ผู้ป่วยมีค่าระดับน้ำตาลในเลือด เเรกรับที่ห้องฉุกเฉิน 32 มก./ดล
มีอาการต่างๆ ของ hypoglycemia
จากกรณีศึกษา
ผู้ป่วยมีอาการของ hypoglycemia คือ ซึม พูดไม่รู้เรื่อง 30 นาทีก่อนมา
การซักประวัติ
มีการใช้สารเพิ่มฤทธิ์ของยาเบาหวาน เช่น การดื่มสุรา การรับประทานอาหารได้น้อย รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา ทำงานหนัก
จากกรณีศึกษา
มีประวัติดื่มแอลกอฮอล์ และการรับประทานอาหารที่ไม่ตรงเวลา ทำงานหนัก
การตรวจร่างกาย
มักมีอาการของระบบประสาท ซิมพาเทติก เช่น เวียนศรีษะ หน้ามืด ตาพร่ามัว สับสน
จากกรณีศึกษา
ผู้ป่วยมีประวัติหน้ามืด เเต่รับประทานน้ำหวานดีขึ้น
ผลตรวจทางห้องปฎิบัติการ
ผลตรวจ plasma glucose ต่ำกว่า 50 mg/dl
จากกรณีศึกษา
พบ Glucose 18 mg/dl L
ภาวะเเทรกซ้อน
เกิดขึ้นได้ถ้าหากปล่อยให้เกิดอาการนานจนเกินไปอาจทำให้ผู้ป่วยหมดสติ เพราะสมองต้องการน้ำตาลเพื่อการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพตามปกติ ควรสังเกตถึงสัญญาณและอาการของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเพื่อให้ทันท่วงที เพราะหากไม่ได้รักษาอาจทำให้เกิดอาการที่รุนแรง เช่น อาการชัก หมดสติ หรืออาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ นอกจากนั้น หากผู้ป่วยโรคเบาหวานเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ อาจเกิดอาการที่รุนแรงได้ และการเกิดภาวะดังกล่าวซ้ำซ้อน อาจทำให้ผู้ป่วยต้องใช้อินซูลินในปริมาณน้อยเพื่อควบคุมไม่ให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำจนเกินไป อย่างไรก็ตาม หากมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไปติดต่อกันระยะยาวก็ทำให้เกิดความเสียหายกับระบบประสาท หลอดเลือด หรืออวัยวะอื่น ๆ ในร่างกายได้
โรคเบาหวาน
โรคเบาหวาน เป็นกลุ่มโรคที่มีการเปลี่ยนแปลงทางเมตาบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต ซึ่งก่อให้เกิดระดับน้ำตาลในเลือดสูง อันเป็นผลมาจากความผิดปกติในการหลั่งอินซูลิน หรือประสิทธิภาพของอินซูลินลงจากภาวะดื้อต่ออินชูลิน หรือทั้งสองอย่าง
ประเภทของโรคเบาหวาน
โรคเบาหวานชนิดที่ 1 (Type 1 Diabetes Mellitus: T1DM) เป็นโรคเบาหวานชนิตที่เกิดจากการทำลาย B cellของตับอ่อน ส่งผลให้ร่างกายเกิดภาวะขาดอินซูลิน
โรคเบาหวานชนิดที่ 2 (Type 2 Diabetes Mellitus: T2DM) เป็นโรคเบาทวานที่เกิดจากความบกพร่องของการ หลั่งอินชูลินร่วมกับภาวะดื้ออินชูลิน
จากกรณีศึกษา
ผู้ป่วยรายนี้เป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2
โรคเบาหวานที่ตรวจพบขณะที่ตั้งครรภ์ (Gestational diabetes melitus: GDM) เป็นภาวะของโรคเบาหวานที่มักตรวจพบระหว่างการตั้งครรภ์ ในช่วงไตรมาสที่ 2 หรือ 3
โรคเบาหวานชนิดอื่นๆ จากสาเหตุต่างๆ เช่น ความผิดปกติทางพันธุกรรมในการทำงานของ
B cell การออกฤทธิ์ของอินซูลิน, โรคของตับอ่อนโรคของต่อมไว้ท่อผลกระทบจากยาหรือสารเคมี
อาการและอาการแสดง
อาการและอาการแสดงของโรคเบาหวานอาการที่พบบ่อยในผู้ป่วยเบาหวานมีทั้งส่วนที่เป็นผลจากภาวะน้ำตาลสูงโดยตรง และจากโรคแทรกเช่น อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ (weight loss) เนื่องจากร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลในกระแสเลือดได้ ร่างกายจึงย่อยสลายโปรตีนและไขมันในร่างกายแทน
ปัสสาวะบ่อยและมาก (Polyuria) ปัสสาวะกลางคืน (Nocturia)
คอแห้ง กระหายน้ำ ดื่มน้ำมาก (Polydypsia)
หิวบ่อย รับประทานจุ (Polyphagia) แต่น้ำหนักลด อ่อนเพลีย (Tiredness)
ภาวะเเทรกซ้อน
ภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลัน ได้แก่
1.2 ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia) มีอาการสับสนเ กร็ง เป็นลม นำไปสู่การซัก และหมดสติ
1.2 ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง(Hyperglycemia)
ภาวะน้ำตาลสูงในเลือดชนิดไม่มีกรดคีโตนคั่ง (HHNS)มักพบในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2(ไม่พึ่งอินซูลิน) สาเหตุมาจากขาดยาควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ มีอาการซึมซัก และหมดสติ น้ำตาลในเลือดมากกว่า 320 มก./ดล.
ภาวะน้ำตาลสูงในเลือดชนิดมีกรดคีโตนคั่ง (DKA) ผู้ป่วยจะมีน้ำตาลในเลือดมากกว่า 250 มก./ดล. ร่วมกับตรวจพบสารคีโตนในปัสสาวะ อาการ หอบลึก ซึมร่วมกับภาวะขาดน้ำ ถ้าเป็นมากอาจหมดสติ
ภาวะเเทรกซ้อนเรื้อรัง ได้แก่
2.1 ภาวะแทรกช้อนทางหลอดเลือดใหญ่ (macrovascular)เกิดในผู้ป่วยเบาหวานที่มี
ระดับน้ำตาสในเลือดสูง เป็นเวลานานทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของผนังหลอดเลือด
เกิดภาวะหลอดเลือดตีบแข็ง ทำให้เกิดผลภาวะแทรกซ้อนทางหลอดเลือดใหญ่ คือ หลอด
เลือดหัวใจตีบหลอดเลือดสมอง ความดันโลหิตสูง และหลอดเลือดส่วนปลายตีบเกิดปัญหาที่เท้า เกิดแผลเบาหวานที่เท้า
2.2 กาวะแทรกช้อนทางหลอดเลือดเล็ก (microvascular) ได้แก่
เบาหวานขึ้นตา ทำให้ผู้ป่วยตาบอด
เบาหวานลงไต (DiabeticNephopathy) มีสาเหตุจาก
มีโปรตีนอัลบูนมินรั่วออกมาในปัสสาวะผู้ป่วยอาจบวมหรือมีความดันโลหิตสูง
มีความดันหิตสูงเป็นสาเหตุทำให้ไตเสื่อม
ไตเริ่มเสื่อมมากขึ้น
เบาหวาน(Diabetic retinopathy) โรคแทรกซ้อนทางระบบประสาท (Diabetic Neuropathy) เกิดในผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ดีเป็นเวลานาน ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาทคือ 1. ระบบประสาทส่วนปลายเสื่อม มีอาการแสบร้อนบริวณปลายเท้า รู้สึกเหมือนเข็มแทง ขาดความรู้สึก ที่เท้าเกิดแผลได้โดยไม่รู้ตัว 2. ความผิดปกติของระบบประสาทอัตโนมัติทำให้ต่อมเหงื่อและไขมันเสียหน้าที่ไปเกิดผิวแห้งแตก และเป็นแผลได้ง่าย
การวินิจฉัย
ระดับพลาสมากลูโคสตอนเช้าหลังอดอาหารข้ามคืนมากกว่า 8 ชั่วโมง (fasting plasma glucose
หรือ FPG) เท่ากับหรือมากกว่า 126 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร จำนวนมากกว่า 1 ครั้ง และตรวจซ้ำในวันต่อมาหรือสัปดาห์ต่อมา วิธีนี้เหมาะสำหรับบุคคลทั่วไปที่มารับการตรวจสุขภาพประจำปี หรือผู้ที่ไม่มีอาการ
มีอาการของโรคเบาหวานชัดเจน ได้แก่ หิวน้ำบ่อย ดื่มน้ำมาก ปีสสาวะบ่อยและมาก และน้ำหนักตัวลดโดยไม่ทราบสาเหตุ เมื่อตรวจระดับพลาสมากสูโคสเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยจำไม่เป็นต้องอดอาหารมีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
ระดับน้ำตาลพลาสมากลู่โคส ณ เวลา 2 ชั่วโมง ภายหลังจากตรวจความทนต่อกูลโคส (75 gram oral glucose tolerance test (75g OGTT)] เท่ากับหรือมากกว่า 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
ระดับ hemoglobin A1c (HbA1c) หรือค่าน้ำตาลสะสม มีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 6.5%วิธีการนี้เป็นที่นิยมในปัจจุบันเนื่องจากไม่ต้องงดน้ำและอาหารก่อนเจาะเลือดตรวจ แต่อย่างไรก็ตามต้องได้รับการตรวจวัดในห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐาน ในกรณีที่ไม่มีอาการควรตรวจด้วยวิธีนี้ซ้ำอีกครั้งในต่างวันเพื่อยืนยันผลการตรวจ ในกรณีที่พบว่าค่าน้ำตาลพลาสมากลูโคสตอนเช้าหลังอดอาหารข้ามคืนมากกว่า 8 ชั่วโมง กับค่าน้ำตาลสะสมไม่สอดคล้องกันควรพิจารณาใช้กณฑ์ที่ผิดปกติทั้งสองค่าที่มีการเจาะเลือดในเวลาเดียวกัน
อาการหายไปหลังจากแก้ไขให้ระดับกลูโคสในเลือดกลับสู่ปกติ
จากกรณีศึกษา
ผู้ป่วยได้รับ 50 % Glocose 50 ml push หลังจากได้รับแล้วผู้ป่วยมีค่าระดับน้ำตาลในเลือด 245 Mg %
-