Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
1. ระบบทางเดินอาหาร (1.6), c ((ข่า), (ดีปลี), (ขิง), (เร่ว), (มะนาว),…
-
c
:star:ข่า/ ชื่อท้องถิ่น ข่าตาแดง
- ส่วนที่ใช้เป็นยาเหง้าแก่ สด หรือแห้ง/ ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา ช่วงเวลาที่เหง้าแก่/
- รส และสรรพคุณยาไทยเหง้าข่า รสเผ็ดปร่า ขับลม แก้บวมฟกซํ้า/
- วิธีใช้ ใช้เหง้าแก่สดหรือแห้ง ขยาดเท่าหัวแม่มือ (สด 5 กรัม แห้ง2 กรัม) ต้มน้ำดื่ม
:star:ดีปลี/ ชื่อท้องถิ่น ประดงข้อ
- ส่วนที่ใช้เป็นยา ผลแก่แห้ง (หมอยาเรียก ดอกดีปลี)/ ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา ช่วงที่ผลแก่จัดแต่ยังไม่สุก ตากแดดให้แห้ง /
- รส และสรรพคุณยาไทย รสเผ็ดร้อนขม บำรุงธาตุ ขับลม แก้จุกเสียด/
- วิธีใช้ ผลแก่แห้งของดีปลี ใช้เป็นยารักษาอาการ ดังนี้ใช้ผลแก่แห้ง 1 กำมือ (ประมาณ 10— 15 ดอก) ต้มเอาน้ำดื่ม ถ้าไม่มีดอกใช้เถาต้มแทนได้
-
:star:เร่ว/ ชื่อท้องถิ่น มะอี้ หมากอี้ (เชียงใหม่) หมากเน็ง (อีสาน)
- ส่วนที่ใช้เป็นยา เมล็ดแห้ง/ ส่วนเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บช่วงผลแก่/
- รส และสรรพคุณยาไทย รสเผ็ดปร่า สรรพคุณ แก้คลื่นเหียนอาเจียน ขับผายลม แก้ท้องอืดห้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด/
- วิธีใช้ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด ปอกเปลือกผลเร่วออก ใช้เมล็ดบดเป็นผง รับประทานครั้งละ 3 - 9 ผล (หนัก 1-3 กรัม) รับประทานวันละ 3 ครั้ง
:star:มะนาว ชื่อท้องถิ่น ส้มมะนาว, มะลิว (เชียงใหม่)
- ส่วนที่ใช้เป็นยา เปลือก และน้ำของลูกมะนาว/ ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา ช่วงผลสุก/
- รส และสรรพคณยาไทย เปลือกผล รสขม ช่วยขับลม น้ำมะนาวรสเปรี้ยวจัด เป็นยาขับเสมหะ เมื่อก่อนตามชนบทเมื่อเด็กหกล้มหัวโน จะใช้น้ำมะนาวผสมกับดินสอพองโปะบริเวณที่หัวโนจะทำให้เย็น และยุบลง/
- วิธีใช้ เปลือกมะนาว รักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และแน่นจุกเสียด ให้นำเอาเปลือกของผลสดประมาณครั้งผล คลึง หรือทุบเล็กน้อยพอให้น้ำมันออก ชงน้ำ ร้อนดื่มเวลามีอาการ
:star:ตะไคร้ ชื่อท้องถิ่น จะไคร (ภาคเหนือ), ไคร (ภาคใต้)
- ส่วนที่ใช้เป็นยา ลำต้น และเหง้าแก่ สดหรือแห้ง/ ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บเหง้าและลำด้นแก่
- รส และสรรพคุณยาไทย รสปร่ากลิ่นหอม บำรุงไฟธาตุ แก่โรคทางเดินปัสสาวะ ขับลมในลำไส้ ทำให้เจริญอาหาร แก้คาว/
- วิธีใช้ ใช้ลำต้นแก่สดๆ ทุบพอแหละ ประมาณ 1 กำมือ (ราว 40 — 60 กรัม) ต้มเอาน้ำดื่ม หรือประกอบเป็นอาหาร
:star:พริกไทย ชื่อท้องถิ่น พริกน้อย (ภาคเหนือ)
- ช่วงเวลาที่เก็บ ผลแก่จัด /
- รส และสรรพคุณยาไทย รสเผ็ดร้อน สรรพคุณ ขับลม แก้ท้องอืดเฟ้อ บำรุงธาตุ เจริญอาหาร ช่วยแต่งกลิ่นรส ถนอมอาหาร/
- วิธีใช้ ใช้ผลแก่แห้งบดเป็นผงปั้นเป็นลูกกลอน รับประทานครั้งละ 15-20ผล (0.5-1 กรัม) หรือบดเป็นผงชงรับประทาน/ ช่วยขับลม แก้ท้องอืด /
:forbidden: ข้อควรระวัง สตรีมีครรภ์ไม่ควรรับประทาน
:star:แห้วหมู/ ชื่อท้องถิ่น หญ้าขนหมู (แม่ฮ่องสอน)
- ส่วนที่ใช้เป็นยา หัว/ ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บหัวแก่/
- รส และสรรพคุณยาไทย รสเผ็ดขมเล็กห้อย ขับลม/
- วิธีใช้ หญ้าแห้วหมูใช้เป็นยาแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และแน่นจุกเสียด โดยใช้หัวหญ้าแห้วหมู 1 กำมือ (60 - 70 หัวหรือหนัก 15 กรัม) ทุบให้แตก ต้มเอาน้ำดื่มหรือใช้หัวสดครั้งละ 5 หัว โขลกให้ละเอียดผสมกับน้ำผึ้งรับประทาน
-