Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
1. ระบบทางเดินอาหาร (1.1, 1.2, 1.3) - Coggle Diagram
1. ระบบทางเดินอาหาร (1.1, 1.2, 1.3)
1.1 โรคกระเพาะ อาหาร
1.ขมิ้น
:star: ขมิ้น / ชื่อท้องถิ่น ขมิ้นหัว (เชียงใหม่) ขี้มิ้น หมิ้น (ใต้)/
- ส่วนที่ใช้เป็นยาเหง้าสด และแห้ง /ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บในช่วงอายุ 9-10 เดือน/
- รส และสรรพคณยาไทย รสฝาด กลิ่นหอม แก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน ขับลม แก้ท้องร่วง/
- วิธีใช้ ล้างขมิ้นให้สะอาด (ไม่ต้องปอกเปลือก) หั่นเปืนชิ้นบางๆตากแดดจัด 1-2วัน บดให้ละเอียดผสมกับน้ำ ปั้นเป็นเมล็ดขนาดปลายนิ้วก้อย เก็บในขวดสะอาด กินครั้งละ 2 - 3 เม็ด วันละ 3 - 4 ครั้ง หลังอาหาร และก่อนนอน /
:warning: บางคนกินขมิ้นแล้วท้องเสียให้หยุดยาทันที
:star: กล้วยน้ำว้า / ชื่อท้องถิ่น กล้วยใต้ (ภาคเหนือ)/
- ส่วนที่ใช้เป็นยา ลูกดิบ หรือ ลูกห่าม /ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บลูกกล้วยช่วงเปลือกยังเป็นสีเขียว ต้นกล้วยจะให้ผลในช่วงอายู 8-12 เดือน /
- รส และสรรพคุณยาไทย ลูกดิบ รสฝาด ฤทธิ์ฝาดสมาน /
- วิธีใช้ กล้วยดิบรักษาอาการท้องเสียที่ไม่รูนแรงโดยใช้กล้วยน้ำว้าห่ามรับประทานครั้งละครึ่งผลถึงหนึ่งผล หรือใช้กล้วยน้ำว้าดิบฝานเป็นแว่น ตากแดดให้แห้ง บดเป็นผง ชงน้ำดื่มครั้งละครึ่งผลถึงหนึ่งผลหรือบดเป็นผง ป่นเป็นยาลูกกลอนรับประทานครั้งละ 4 เม็ด วันละ 4 ครั้ง ก่อนอาหารและก่อนนอน
:warning: รับประทานแล้วแล้วอาจมีอาการท้องอืดเฟื้อ ป้องกันได้โดยใช้ร่วมกับยาขับลม เช่น น้ำขิง พริกไทย เป็นต้น
1.2 ท้องเดิน ท้องเสีย
:star: ฝรั่ง /ชื่อท้องถิ่น มะก้วยกา (ภาคเหนือ), บักสีดา (ภาคเหนือ)/
- ส่วนที่ใช้เป็นยา ใบแก่สด หรือลูกอ่อน ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บใบในช่วงแก่เต็มที่ หรือลูกอ่อน
- รส และสรรพคุณยาไทย รสฝาด ฤทธิ์ฝาดสมาน แก้ท้องเสีย /
- วิธีใช้ ลูกอ่อน และใบแก่ของฝรั่งแก้ท้องเสีย ท้องเดินได้ผลดีใช้เป็นยาแก้อาหาร ท้องเดินแบบไม่รุนแรงที่ไม่ใช้บิด หรือ อหิวาตกโรค โดยใช้ใบแก่ 10 - 15 ใบ ปิ้งไฟแล้วชงน้ำรับประทาน หรือใช้ผลอ่อนๆ 1 ผล ฝนกับน้ำปูนใส รับประทานเมื่อมีอาการท้องเสีย
4.ฟ้าทะลายโจร
:star: ฟ้าทะลายโจร / ชื่อท้องถิ่น น้ำลายพังพอน (กรุงเทพฯ), หญ้ากันงู (สงขลา)/
- ส่วนที่ใช้เป็นยา ใบ เก็บในช่วงเริ่มออกดอก ใช้เวลาปลูก 3 เดือน/
- รส และสรรพคุณ รสขม
- วิธีใช้ใบฟ้าทลายโจรใช้รักษาอาการท้องเสีย และอาการเจ็บคอ มีวิธีใช้ 3 วิธีดังนี้
- ยาต้ม ใช้ใบฟ้าทลายโจรสด 1 - 3 กำมือ (แก้อาการเจ็บคอ ใช้เพียง 1 กำมือ) ต้มกับน้ำนาน 10 - 15 นาที ดื่มก่อนอาหารวันละ 3 ครั้ง หรือเวลามีอาการ ยาต้มฟ้าทลายโจรมีรสขมมาก/
- ยาลูกกลอน นำใบฟ้าทลายโจรสด ล้างให้สะอาด ผึ่งลมให้แห้ง (ควรผึ่งในร่มที่มีอากาศโปร่งห้ามตากแดด) บดเป็นผงให้ละเอียด ปั้นกับน้ำผึ้งเป็นเมล็ดยาลูกกลอน ขนาดเท่าปลายนิ้วก้อย หรือขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.8 เซนติเมตร ผึ่งลมให้แห้ง เก็บไว้ในขวดแห้ง และมิดชิด รับประทานครั้งละ 3 -6 เมล็ด วันละ 3 - 4 ครั้ง ก่อนอาหาร และก่อนนอน/
- ยาดองเหล้าหรือนำใบฟ้าทลายโจรแห้งขยำให้เป็นชิ้นเล็กๆ ใส่ขวดแล้ว ใช้เหล้าโรง 40 ดีกรี แช่พอให้ท่วมยาเล็กน้อย ปิดฝาให้แน่นเขย่าขวด หรือคนยาวันละ 1 ครั้ง พอครบ 7 วัน กรองเอาแต่น้ำเก็บไวัในขวดที่มิดชิด และสะอาด รับประทานครั้งละ 1 - 2 ช้อนโต๊ะ (รสขมมาก)วันละ 3 - 4 ครั้ง ก่อนอาหาร /
:warning: ข้อควรระวัง 1. บางคนรับประทานฟ้าทะลายโจรจะเกิดอาการปวดท้อง ท้องเสีย ปวดเอว เวียนหัว แสดงว่าแพ้ยาให้หยุดและเปลี่ยนไปใช้ยาอื่น 2. ไม่ควรรับประทานฟ้าทะลายโจรติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะฟ้าทะลายโจรเป็นยาเย็น รับประทานติดต่อกันจะทำให้มือเท้าชา อ่อนแรงได้ 3. การเตรียมฟ้าทะลายโจรในรูปแบบของยาดองและยาลูกกลอนไม่ควรเก็บไว้นานเกิน 3 เดือน เพราะยาจะเสื่อมคุณภาพ :
:star: ทับทิม / ชื่อท้องถิ่น พิลา (หนองคาย), มะก่องแก้ว (น่าน)/
- ส่วนที่ใช้เป็นยา เปลือกผลแห้ง/ ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บในช่วงที่ผลแก่ ใช้เปลือก ผลตากแดดให้แห้ง/
- รส และสรรพคุณยาไทย รสฝาด เป็นยาฝาดสมาน/
- วิธีใช้
- อาการท้องเดิน ใช้เปลือกผลแห้งประมาณ 1 ใน 4 ของผล ฝนกับน้ำฝน หรือน้ำปูนใสให้ข้นๆ รับประทานครั้งละ 1 - 2 ช้อนแกง หรือต้มกับน้ำปูนใส แล้วดื่มน้ำต้มก็ได้;
- บิด (มีอาการปวดเบ่ง และมีมูก หรืออาจมีเลือดด้วย) ใช้เปลือกผลแห้งของทับทิม ครั้งละ 1 กำมือ (3-5 กรัม) ต้มกับน้ำดื่มวันละ 2 ครั้ง อาจใช้กานพลู หรืออบเชย แต่ง กลิ่นให้น่าดื่มก็ได้
:star: มังคุด / ชื่อท้องถิ่น แมงคุด (ไทย)/
- ส่วนที่ใช้เป็นยา เปลือกผลแห้ง/
- รส และสรรพคุณยาไทย รสฝาด แก้ท้องเสีย บิด มูกเลือด ในชนบทมักใช้น้ำต้มเปลือกมังคุดล้างแผล ช่วยให้แผลหายเร็ว/
- วิธีใช้ มังคุดใช้เป็นยารักษา 1.อาการท้องเสีย ใช้เปลือกผลตากแห้ง ต้มกับน้ำปูนใส หรือฝนน้ำดื่ม; 2.บิด (ปวดเบ่ง มีมูก และอาจมีเลือดด้วย) ใช้เปลือกผลแห้งประมาณ 1/2 ผล (4 กรัม) ย่างไฟให้เกรียม ฝนกับน้ำปูนใสประมาณครึ่งแก้ว หรือบดเป็นผง ละลายน้ำข้าว (น้ำข้าวเช็ด) หรือน้ำสุกดื่มทุก 2 ชั่วโมง
-
1.3 พยาธิลำไส้
:star: มะหาด / ชื่อท้องถิ่น หาด (กลาง), หาดใบใหญ่ (ตรัง), หาดขนุน (เหนือ)/
- ส่วนที่ใช้เป็นยา แก่นด้นมะหาด / ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา ช่วงอายุด้นมะหาด 5 ปีขึ้นไป/
- รส และสรรพคุณยาไทย ปวกหาดใช้เป็นยาขับพยาธิตัวตืด ละลายกับน้ำทาแก้ผื่นคัน/
- วิธีใช้ ผงปวกหาด เตรียมได้โดยการเอาแก่นมะหาดมาต้มเคี่ยวด้วยน้ำ จะมีฟองเกิดขึ้น และช้อนฟองขึ้นมาตากแห้ง จะได้ผงสีเหลือง นำผงปวกหาดมา บดให้ละเอียด รับประทานกับน้ำสุกเย็น ครั้งละ 1 - 2 ช้อนชา (ประมาณ 3 - 5 กรัม) ก่อนอาหารเช้า หลังจากรับประทานผงปวกหาดแล้วประมาณ 2 ชั่วโมง ให้รับประทานดีเกลือ หรือยาถ่ายตามใช้ถ่ายพยาธิตัวตืด และพยาธิไส้เดือน/
:warning:*ข้อควรระวัง ห้ามรับประทานผงปวกหาดกับน้ำร้อน จะทำให้คลื่นไส้ อาเจียนได้
:star: เล็บมือนาง / ชื่อท้องถิ่น จะมั่ง, จ๊ามั่ง, มะจีมั่ง (ภาคเหนือ)/
- ส่วนที่ใช้เป็นยา เมล็ด/ ส่วนเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บเมล็ดแก่ช่วงที่เป็นสีน้ำตาล /
- รส และสรรพคุณยาไทย รสเอียน เบื่อเล็กน้อย ใช้ขับพยาธิ และตานทราง/
- วิธีใช้ เมล็ดเล็บมือนาง ใช้ถ่ายพยาธิไส้เดือน สำหรับเด็กใช้ 2-3 เมล็ด (หนัก 5 - 6 กรัม) ผู้ใหญ่ใช้ 5-7 เมล็ด (หนัก 10-15) ทุบพอ แตก ต้มเอาน้ำดื่ม หรือหั่นทอดกับไข่รับประทาน/
:warning:ข้อควรระวัง เมล็ดเล็บมือนางอาจทำให้เกิดอาการข้างเคียง คือ สะอึก เวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน ห้องเดิน
:star: มะเกลือ /: ชื่อท้องถิ่น มะเกือ มะเกีย (ภาคเหนือ), /
- ส่วนที่ใช้เป็นยา ผลดิบสด (ผลแก่ที่มีสีเขียว ผลสุกสีเหลือง หรือผลสีดำห้ามใช้)/ ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา ผลดิบสด/
- รส และสรรพคุณยาไทย รสเบื่อเมา สรรพคุณ ถ่ายพยาธิตัวตืด และพยาธิใส้เดือนตัวกลม/
- วิธีใช้ ชาวบ้านรู้จักใช้ลูกมะเกลือพยาธิมานานแล้ว ผลดิบสดของมะเกลือ (ผลแก่ที่มีสีขาว ผลสุกสีเหลือง หรือผลสีดำห้ามใช้)ได้ผลดีสำหรับพยาธิปากขอ และพยาธิเส้นดาย(พยาธิเข็มหมุด)โดยใช้ผลสดสีเขียวไม่ช้ำ ไม่ดำ จำนวนเท่ากับอายุคนใช้ (1 ปีต่อ 1 ผล) แต่ไม่เกิน 25 ผล (คนไข้ที่มีอายุเกินกว่า 25 ปี ก็ใช้ เพียง 25 ผล) นำมาตำโขลกพอฺแหลกแล้วผสมกับหัวกะทิ คั้นเอาแต่น้ำดื่มให้หมดก่อนรับประทานอาหารเช้า ถ้า 3 ชั่วโมงแล้วยังไม่ถ่าย ให้ใช้ยาระบาย เช่น ดีเกลือ 2 ช้อนโต๊ะ ละลายน้ำดื่มตามลงไป
:star: ฟักทอง / ชื่อท้องถิ่น น้ำเด้า (ภาคใด้), มะฟักแก้ว (ภาคเหนือ), หมากอี (ภาคอีสาน)/
- ส่วนที่ใช้เป็นยา เมล็ดฟักทองแก่/
- รส และสรรพคุณยาไทย รสมัน ไม่มีระบุในสรรพคุณยาไทย แต่ยาจีนใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ/
- วิธีใช้ใช้เมล็ดฟักทองถ่ายพยาธิลำไส้ให้มาะกับการถ่ายพยาธิตัวตืดโดยใช้เมล็ดฟังทองประมาณ 60 กรัม ทุบให้แตกผสมกับน้ำตาลและนม หรือน้ำตาลที่เติมลงไปจนได้ปริมาณ 500 มิลลิลิตร แบ่งรับประทาน 3 ครั้ง ห่างก้นทุกๆ 2 ชั่วโมง หลังจากให้ยาแล้วประมาณ 2 ชั่วโมง ก็ให้รับประทานน้ำมันละทุ่งระบายตาม
-