Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
1. ระบบทางเดินอาหาร (1.4-1.5) - Coggle Diagram
1. ระบบทางเดินอาหาร
(1.4-1.5)
1.4 คลื่นไส้อาเจียน
ขิง
:star: ขิง / ชื่อท้องถิ่น ขิงเผือก (เชียงใหม่), ขิงแคลง, ขิงแดง (จันทบุรี)/
ส่วนที่ใช้เป็นยาเหง้าแก่สด/ ช่วงเวลาที่เป็นยา เก็บเกี่ยวในช่วงอายู 11 - 12 เดือน/
รส และสรรพคุณยาไทย รสหวานเผ็ดร้อน แก้ลมจุกเสียด แก้เสมหะ บำรุงธาตุ แก้คลื่นเหียนอาเจียน/
วิธีใช้เหง้าแก่สด ขนาดเท่าหัวแม่มือ (ประมาณ 5 กรัม) ทุบให้แตก ต้มเอาน้ำดื่ม
ยอ
:star:ยอ / ชื่อท้องถิ่น ยอบ้าน (ภาคกลาง), มะตาเสือ (ภาคเหนือ)/
ส่วนที่ใช้เป็นยา ผลดิบ หรือผลห่ามสด/
รสและสรรพคุณยาไทย รสขมเล็กน้อย ผลยอแก้อาเจียนขับลม บำรุงธาตุ/
วิธีใช้ ใช้ผลยอหั่นปิ้งไฟพอเหลืองกรอบ ต้มเอาน้ำเป็นกระสายยาใช้ร่วมกับยาอื่น แม้คลื่นไม้อาเจียน ได้ผล ในการทดลองพบว่า ผลยอไม่มีพิษเฉียบพลัน และใช้เป็นอาหารจึงใช้เป็นยาแก้อาการคลื่นไส้ อาเจียน ที่ไม่รุนแรงได้ เลือกเอา ผลดิบหรือผลห่ามสด ฝานเป็นชิ้นบางๆ ย่างหรือคั่วไฟอ่อนๆ ให้เหลืองกรอบ ต้มหรือชงน้ำดื่ม ใช้ครั้งละ 2 กำมือ (11 - 15 กรัม) เอา น้ำที่ได้จิบทีละน้อย และบ่อยๆ ครั้ง จะได้ผลดีกว่าดื่มดีเดียว
1.กะเพรา
:star: กะเพรา /
ส่วนที่ใช้เป็นยา ใบสดหรือแห้ง/ ช่วงเวลาที่เก็บยา เก็บใบสมบรณ์เต็มที่ ไม่แก่ หรืออ่อนจนเกินไป/
รสและสรรพคุณยาไทย รสเผ็ดร้อน เป็นยาตั้งธาตุ แก้ปวดท้อง ท้องขึ้น จุกเสียดในท้องใช้แต่งกลิ่นแต่งรสได้
วิธีใช้แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด และปวดท้อง โดยใช้ใบ และยอดกะเพรา 1 กำมือ (ถ้าสดหนัก 25 กรัม แห้งหนัก 4 กรัม) ต้ม เอาน้ำดื่มเหมาะสำหรับเด็กท้องอืด หรือนำมาปรุงเป็นอาหารรับประทานแก้ท้องอืดก็ได้ จำนวนยา และวิธีใช้แบบเดียวกันนี้ใช้แก้อาการคลื่นไส้ อาเจียนที่เกิดจากธาตุไม่ปกติได้
1.5 ท้องผูก
ชุมเห็ดเทศ
:star:ชุมเห็ดเทศ ชื่อท้องถิ่น ชุดเห็ดใหญ่ (ภาคกลาง), หมากกะลิงเทศ (ภาคเหนือ)/
ส่วนที่ใช้เป็นยาดอกสด,ใบสดหรือแห้ง/ ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บใบชุมเห็ดเทศขนาดกลาง ไม่แก่หรืออ่อนเกินไป ต้องเก็บก่อนออกดอก, เก็บดอกสดเป็นยา
รส และสรรพคุณยาไทย รสเบื่อเอียน ใบตำทาแก้กลากเกลื้อนโรคผิวหนัง ดอก และใบต้มรับประทานแก้อาการท้องผูก/
วิธีใช้ ใบ และดอกชุมเห็ดเทศใช้เป็นยารักษาโรค และอาการดังนี้/
ท้องผูก ใช้ดอกชุมเห็ดเทศสด 2 - 3 ช่อ ต้มรับประทานกับน้ำพริก หรือนำใบสดมาล้างให้สะอาดหั่นตากแห้ง ใช้ต้มหรือชงน้ำดื่ม ครั้งละ 12 ใบ หรือใบแห้งบดเป็นผง ปั้นกับน้ำผึ้งเป็นลูกกลอนขนาดเท่าปลายนิ้วก้อยครั้งละ 3 เม็ด รับประทานก่อนนอนหรือเบื่อมีอาการท้องผูก;
โรคกลาก ใบชุมเห็ดเทศสด ขยี้หรือตำในครกให้ละเอียด เติมน้ำเล็กน้อย หรือใช้ใบชุมเห็ดเทศกับหัวกระเทียมเท่าๆกัน ผสมปูนแดงที่กินกับหมากเล็กน้อยตำผสมกัน ทาบริเวณที่เป็นกลาก โดยเอาไม้ไผ่ขูดผิวให้แดงก่อนทาบ่อยๆจนหาย หายแล้วทาต่ออีก7 วัน
ฝีเและแผลพุพองใช้ใบชุมเห็ดเทศและก้านสด 1 กำมือ ต้มกับน้ำพอท่วมยาแล้วเคี่ยวให้เหลือ 1 ใน 3 ชะล้างบริเวณที่เป็นวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ถ้าเป็นมากให้ใช้ ประมาณ 10 กำมือ ต้มอาบ
ขี้เหล็ก
:star:ขี้เหล็ก ชื่อในท้องถิ่น ขี้เหล็กบ้าน (ลำปาง) , ขี้เหล็กใหญ่ (ภาคกลาง)
ส่วนที่ใช้เป็นยาใบอ่อน และดอก/
รส และสรรพคุณยาไทย ดอกตูมและใบอ่อน รสขม ช่วยระบายท้อง ดอกตูมทำให้ นอนหลับ เจริญอาหาร/
วิธีใช้รักษา 1. อาการท้องผูก ใช้ใบขี้เหล็ก (ทั้งใบอ่อน และใบแก่) 4-5 กำมือ ต้มเอาน้ำดื่มก่อนอาหารหรือเวลามีอาการ/ /2.อาการนอนไม่หลับ กังวลเบื่ออาหาร ให้ใช้ใบแห้งหนัก 30 กรัม หรือใช้ใบสดหนัก 50 กรัม ต้มเอาน้ำรับประทานก่อนนอน หรือใช้ใบอ่อนทำเป็นยาดองเหล้า (ใส่เหล้าขาวพอท่วมยา แช่ไว้ 7 วัน คนทุกวันให้ น้ำยาสมำเสมอ กรองกากยาออก จะได้ยาดองเหล้าขี้เหล็ก) ดื่มครั้งละ 1 - 2 ช้อนชาก่อนนอน
คูน
:star:คูน/ ชื่อท้องถิ่น ลมแล้ง (ภาคเหนือ), ชัยพฤกษ์, ราชพฤกษ์ (ภาคกลาง)
ส่วนที่ใช้เป็นยา เนื้อในฝักแก่/ ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บช่วงฝักแก่ เปลือกเป็นสีน้ำตาลเข้ม/
รส และสรรพคณยาไทย รสหวานเอียนเล็กน้อย สรรพคณ เป็นยาระบาย ทำให้ถ่ายสะดวก ไม่มวนไม่ไซ้ท้อง /
วิธีใช้ เนื้อในฝักคูนแก้อาการท้องผูก โดยเอาเนื้อในฝักแก่เท่าหัวแม่มือ (ประมาณ4กรัม) ต้มกับน้ำใส่เกลือเล็กน้อย ดื่มก่อนนอน หรือตอนเช้าก่อนอาหารให้มาะเป็นยาระบายสำหรับคนท้องผูกเป็นประจำและสตรีมีครรภ์ใช้เป็น ยาแก้ท้องผูกได้
มะขาม
:star:มะขาม ชื่อท้องถิ่น มะขามไทย (กลาง), ขาม (ใต้) /
ส่วนที่เป็นยา เนื้อฝักแก่, เนื้อเมล็ดมะขามแก่/ ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บช่วงฝักแก่ เปลือกเป็นสีน้ำตาล/
รส และสรรพคุณยาไทย เนื้อฝักแก่ รสเปรี้ยว เป็นยาระบาย ขับเสมหะ เนื้อเมล็ดมะขามรสมัน ใช้ขับพยาธิ/
วิธีใช้รักษาอาการท้องผูก ใช้มะขามเปียกเปรี้ยว 10 — 20 ฝัก (หนัก 70 — 150 กรัม) จิ้มเกลือรับประทานแล้วดื่มน้ำตามมากๆ หรือเติมน้ำคั้นใส่เกลือเล็กนัอยดื่มเป็นน้ำมะขาม
วิธีใช้รักษาอาการพยาธิไส้เดือน นำเอาเมล็ดแก่มาคั่วแล้วกะเทาะเปลือกออกเอาเนื้อในเมล็ดแช่น้ำเกลือจนนุ่มรับประทานครั้งละ 20 — 30 เมล็ด/
วิธีใช้รักษาอาการอาการไอ มีเสมหะ ใช้เนื้อในฝักแก่ หรือมะขามเปียกจิ้มเกลือรับประทานพอสมควร
มะขามแขก
:star:มะขามแขก/
ส่วนที่ใช้เป็นยา ใบแห้งและฝักแห้ง/ ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เริ่มเก็บใบได้ในช่วงอายุ 1 เดือนครึ่ง (หรือก่อนออกดอก) /
รส และสรรพคุณยาไทย ใบ และฝักใช้เป็นยาถ่าย ใบไซ้ท้องมากกว่าฝัก/
วิธีใช้ มะขามแขกเป็นยาถ่ายที่ดีใช้รักษาอาการท้องผูก โดยใช้ใบแห้ง 1 - 2 กำมือ (หนัก 5-10 กรัม) ต้มกับน้ำดื่ม หรือใช้วิธีบดเป็นผงชงน้ำดื่ม หรือใช้ฝัก 4-5 ฝักต้มกับน้ำดื่ม บางคนดื่มแล้วเกิดอาการไซ้ท้องแก้ไขได้โดยใช้ร่วมกับยาขับลมจำนวนเล็กน้อย (เช่น กระวาน กานพลู เป็นด้น) มะขามแขกเหมาะกับคนที่ห้องผูกเป็นประจำแต่ควรใช้เป็นครั้งคราว
แมงลัก
:star:แมงลัก/ ชื่อท้องถิ่น มังลัก (กลาง), ก้อมก้อขาว (เหนือ)/
ส่วนที่ใช้ เมล็ดแก่/ ช่วงเวลาที่เก็บ เมล็ดแก่สีดำ/
รส และสรรพคุณยาไทย รสหอมร้อน สรรพคุณ ระบายอุจจาระ (เมื่อกขาวทำให้ลื่น อุจจาระไม่เกาะลำไส้)
วิธีใช้ ระบายอุจจาระ ใช้เมล็ด 1-2 ช้อนชา ล้างน้ำสะอาด แช่น้ำอุ่น 1 แล้ว (250 ซี.ซี.) จนพองตัวเต็มที่ รับประทานก่อนนอนจะช่วยให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น/
:warning: ข้อควรระวัง คือ ถ้าเมล็ดแมงลักพองตัวไม่เต็มที่ จะทำให้ท้องอืด และอุจจาระแข็ง
สีเสียดเหนือ
:star:สีเสียดเหนือ ชื่อท้องถิ่น สีเสียดแก่น (ราชบุรี)/
ส่วนที่ใช้เป็นยา ก้อนสีเสียด (ก้อนสีเสียดเป็นสิ่งที่สกัดที่ได้จากการนำเนื้อไม้มาตัดไม้เป็นชิ้นเล็กๆ ต้มกับน้ำกรอง และเคี่ยวให้งวด จะเหลือก้อนแข็งๆ สีดำ และเป็นเงา)/
รส และสรรพคุณยาไทย มีฤทธิ์ฝาดสมาน/
วิธีใช้ ก้อนสีเสียด ช่วยฝาดสมานแก้อาการท้องเดิน ใช้ผงประมาณ 1/3 - 1/2 ช้อนชา (หนัก 0.3 - 1 กรัม) ต้มเอาน้ำดื่ม