Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กระบวนการสร้างความสัมพันธ์และกลยุทธ์การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการศึ…
กระบวนการสร้างความสัมพันธ์และกลยุทธ์การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการศึกษากับชุมชน
ขาที่ 2 กระบวนการพัฒนาความสัมพันธ์ของโรงเรียนกับชุมชน
หลัก 3S’s ในการสร้างความร่วมมือและการสนับสนุนจากชุมชน
S –Shared Vision คือการสร้างให้ชุมชนมีวิสัยทัศน์ร่วมกันกับสถานศึกษา ในการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้และพัฒนาตนเองของนักเรียน ให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ
S- Synergy คือการรวมพลังประสานความร่วมมือกับชุมชนให้ทำงานร่วมกับสถานศึกษา โดย เอาจุดแข็งและความพร้อมของบุคคลและทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนมาสร้างสรรค์จนเกิดเป็นประโยชน์สูงสุดโดย
มุ่งผลประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสำคัญ
S-School Based Activities การสร้างสถานศึกษาให้เป็นแหล่งความรู้ ศูนย์กลางพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของชุมชน โดยการดึงผู้ปกครองและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมพัฒนาคุณภาพสถานศึกษารวมไปถึงการหรือการจัดฝึกสอนฝึกอบรมตามที่ชุมชนต้องการ
แนวทางทั่วไปตามแนวคิดของกระบวนการพัฒนาคุณภาพ 4 ขั้นตอน
ขั้นที่ 1 ขั้นวางแผน (Plan) ประกอบด้วยขั้นตอนย่อย 3 ขั้นตอน คือ 1. ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน 2. กำหนดเป้าหมายการพัฒนา (มนตรา ผลศรัทธา และสุเทพ ลิ่มสกุล, 2557) 3. กำหนดยุทธศาสตร์ / แนวทางในการพัฒนาความสัมพันธ์ เป็นขั้นตอนของการกำหนดวิธีการ ดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ในข้อ 2
ขั้นที่ 2 ขั้นดำเนินการ (Do) เป็นการดำเนินการตามยุทธศาสตร์/แนวทางที่กำหนดไว้ในแต่ละเรื่องที่ เป็นเป้าหมายในการพัฒนา แต่เพื่อให้การดำเนินการประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย
ขั้นที่ 3 ขั้นตรวจสอบ (Check) ประกอบด้วยการตรวจสอบ 2 ขั้นตอน คือ 1. การตรวจสอบระหว่างดำเนินการเพื่อนำผลการตรวจสอบมาปรับปรุงการดำเนินการใน แต่ละขั้น 2. การตรวจสอบหลังดำเนินการ เป็นการตรวจสอบหลังจากที่ได้ดำเนินการครบทุกขั้นตอนในการ พัฒนา โดยนำผลการดำเนินงานมาเปรียบเทียบกับเป้าหมายที่กำหนดไว้
ขั้นที่ 4 ขั้นปรับปรุงแก้ไข (Act) เป็นขั้นของการนำผลการตรวจสอบมาใช้ประโยชน์ โดยขั้นปรับปรุง แก้ไขนี้ จำแนกเป็นการปรับปรุงแก้ไข 2 ส่วน คือ 1. การปรับปรุงแก้ไขระหว่างดำเนินการของแต่ละขั้นตอน 2. การปรับปรุงแก้ไขแผนในวงรอบต่อไป เป็นการนำผลการประเมินมาปรับเป้าหมาย และวิธีดำเนินการให้เหมาะสม มีประสิทธิภาพประสิทธิผลสูงขึ้นในวงรอบการพัฒนาใหม่
ขาที่ 1 ความหมายของคำ
กระบวนการ
แนวทางการดำเนินงานเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
อย่างมีขั้นตอน ซึ่งวางไว้อย่างเป็นลำดับ ตั้งแต่ต้นจนจบ ตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ ช่วยให้การดำเนินการ มีประสิทธิภาพ นำไปสู่ความสำเร็จตามจุดประสงค์และเป้าหมายได้ โดยใช้เวลาและทรัพยากรน้อยที่สุด
สรุป
กระบวนการ คือขั้นตอนการปฏิบัติงาน หรือการทำงาน ตั้งแต่เริ่มต้นจนงานเสร็จ ตามวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้เวลาและทรัพยากรน้อยที่สุด
หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา
กระบวนการปฏิบัติหรือกระบวนการทำงานตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุด การปฏิบัติงานบรรลุตามวัตถุประสงค์ อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเป็นที่น่าพอใจ
การสร้างความสัมพันธ์ของโรงเรียนกับชุมชน
สรุป การสร้างความสัมพันธ์ของโรงเรียนกับชุมชน คือ การสร้างความสัมพันธ์อันดีร่วมกันของโรงเรียนและชุมชนเพื่อช่วยกันสนับสนุนการศึกษา เผยแพร่แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นร่วมกันวางแผนแนวทางจัดการศึกษาให้ได้ประสิทธิผลตามความต้องการคนในชุมชนตลอดจนการสร้างความสัมพันธ์ของโรงเรียนกับชุมชนเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งเพราะช่วยให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกัน ช่วยให้ทราบความเคลื่อนไหวหรือความ เปลี่ยน แปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับทั้งสองฝ่าย ช่วยลดและแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างกันและช่วยให้เกิดการมีส่วนร่วมที่เป็นไปเพื่อประโยชน์
ขวัญใจ ฟุ้มโอ ( 2562 : 18)
โรงเรียนเป็นสถาบันพัฒนาคนเพื่อดำรงชีวิตที่ดีในชุมชนและการศึกษาในโรงเรียนมีความสัมพันธ์กันกับบุคคลในชุมชนเพื่อโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมทำให้ ครู ผู้ปกครอง นักเรียนและประชาชนในชุมชน
นาวิน แกละสมุทร (2562 : 570)
โรงเรียนจะต้องประสานสัมพันธ์กับหน่วยงานต่างๆ เพื่อประโยชน์ของการศึกษา ชุมชนจึงมีบทบาทและความสำคัญในการดูแลส่งเสริมโรงเรียน เพื่อมุ่งหวังที่จะให้สมาชิกในชุมชนได้เข้าศึกษาและเป็นสมาชิกที่ดีมีคุณภาพของชุมชน
ศราวุธ คามวัลย์ และคณะ (2560 : 80)
โรงเรียนเป็นสถาบันหนึ่งของชุมชนที่มีบทบาทสำคัญในการให้การศึกษาแก่ชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้แก่สมาชิกชุมชน
ชูชาติ พ่วงสมจิตร์ (2560 : 13)
บ้าน วัด โรงเรียน หรือที่เรียกว่า “บวร” คือสามเสาหลักคู่สังคมไทย การบริหารงานความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนช่วยให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกัน ช่วยให้ทราบความเคลื่อนไหวหรือความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นนกับทั้งสองฝ่ายช่วยลดและแก้ปัญหาความขัดแย้ง
รณกร ไข่นาค และคณะ (2562 : 134)
ได้กล่าวไว้ว่า สถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นสถานศึกษาที่มีความใกล้ชิดกับชุมชนมากที่สุดโดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานศึกษาที่อยู่ในชนบท ซึ่งการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างสถานศึกษากับชุมชนจึงเป็นสิ่งสำคัญประการหนึ่งที่จะช่วยให้การดำเนินงานของสถานศึกษามีประสิทธิภาพ
กัญจนพร (2565) การส่งเสริมให้สถานศึกษามีการติดต่อกับชุมชน มีการแลกเปลี่ยนทรัพยากรซึ่งกันและกัน ในทุกๆ ด้าน มีส่วนร่วมในการพัฒนาทางด้านการศึกษาและด้านอื่น ๆ คอยสนับสนุนซึ่งกันและกันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์
การวางแผนกลยุทธ์
ประเวศน์ มหารัตน์สกุล (2560: 45)
กระบวนการวางแผนงาน ที่ได้มีการตระเตรียมชุดการตัดสินใจสำหรับการกระทำในอนาคตด้วยวิธีทางที่ดีที่สุด ที่มีการเชื่อมโยงเป้าประสงค์อันได้แก่ วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย เข้ากับวิถีทาง (Means) และวิธีการ (Method) ที่จะทำให้บรรลุเป้า ประสงค์ กลยุทธ์เป็นกระบวนการทางความคิดที่ต้องการเอาชนะเกม หรือความพยายามอื่นๆ เกี่ยวกับงานหรือการผลิต โดยการประยุกต์ใช้โอกาสและข้อมูลเชิงลึกไม่ซ้ำกัน เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร (2560: 4)
การวางแผนกลยุทธ์ Strategic Planning) การวางแผนอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ทิศทางการดำเนินงานขององค์กรมีความชัดเจน เหมาะสมกับศักยภาพขององค์กรและบริบทสังคมโลก ในปัจจุบัน มีการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในองค์กร เพื่อให้การดำเนินงานขององค์กรมีความได้เปรียบในการแข่งขัน บรรลุเป้าหมาย ผู้วางแผนกลยุทธ์จำเป็นต้องมีความรู้ มีความชำนาญ โดยทั่วไปบุคคลที่มีหน้าที่วางแผนกลยุทธ์คือ ผู้บริหารระดับสูงและผู้บริหารระดับกลางขององค์กร
สถาบันการศึกษา สถาบันสังคมซึ่งเกี่ยวข้องกับแบบแผนการขัดเกลาและการถ่ายทอดวัฒนธรรม การให้ความรู้ และการฝึกทักษะอาชีพ เพื่อความเป็นสมาชิกที่เหมาะสมของสังคมกลุ่มสังคมในสถาบันการศึกษา ได้แก่ โรงเรียน มหาวิทยาลัย กระทรวง ทบวง กรม ที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา กลุ่มสังคมเหล่านี้จะประกอบไปด้วยตำแหน่ง หรือสถานภาพทางสังคม เช่น ครู อาจารย์
ชุมชน
กลุ่มคนที่มาอยู่รวมกันในเขต หรือบริเวณเดียวกันที่แน่นอน มีวิถีการดำเนินชีวิตคล้ายกัน มีความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีปฎิสัมพันธ์ต่อกันและกัน อยู่ภายใต้กฎระเบียบกฎเกรฑ์เดียวกัน 1.คน (People) 2.ความสนใจร่วมกัน (Common Interest) 3.อาณาบริเวณ (Area) 4.ปะทะสังสรรค์ต่อกัน (Interaction) 5.ความสัมพันธ์ของสมาชิก (Relationship) 6.วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี (Cultural Traditions)
ลักษณะของชุมชน ชนบทและชุมชนเมือง
1.ชุมชนชนบท (Rural Community)
เป็นบริเวณที่ผู้คนอาศัยอยู่กันตามภูมิประเทศ ที่อยู่นอกเขตเมืองโดยมีบ้านเรือน กระจัดกระจายทั่วไป และรวมกันอยู่เป็นหมู่ ซึ่งใช้เป็นศูนย์กลางในการกระทำกิจกรรมร่วมกัน โดยคนในชุมชนมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ด้วยเหตุนี้ เมื่อกล่าวถึงชุมชนชนบทจึงเป็นที่เข้าใจตรงกันว่า เป็นชุมชนที่อยู่ในบริเวณของตำบลและหมู่บ้าน ซึ่งเป็นหน่วยการปกครองท้องที่หน่วยหนึ่งของรัฐบาล
2.ชุมชนเมือง (Urban Community)
อาณาบริเวณที่มีประชากรอยู่ร่วมกันจำนวนหนึ่ง และต้องมีความหนาแน่นมากพอสมควร เป็นบริเวณที่มีอาคารบ้านเรือนหนาแน่น อยู่ในเขตการปกครองแบบใดแบบหนึ่ง ประชาชนส่วนใหญ่ในชุมชน มีการประกอบอาชีพทีแตกต่างกันออกไป มีความเจริญเป็นศูนย์กลางต่างๆ และรวมทั้งความเสื่อมโทรมต่างๆ อยู่ด้วย เช่น สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ เป็นต้น
ชูชาติ พ่วงสมจิตร์ (2554)
ได้ประมวลสรุปความสำคัญของชุมชนไว้ 6 ประการ ดังนี้ 1. ชุมชนเป็นศูนย์กลางที่ยึดเหนี่ยวทุกคนทุกครอบครัวให้มารวมกัน สังเกตได้จากชุมชนในชนบท หลายแห่งที่มีวัดหรือสุเหร่าเป็นศูนย์กลางของชุมชน เป็นแหล่งให้ประชาชนมาชุมนุมร่วมพิธี หรือร่วมกิจกรรมกัน อย่างพร้อมเพรียง 2. ชุมชนเป็นสถาบันระดับพื้นฐานที่ช่วยสร้างระบบในการจัดการตนเองให้เหมาะสมกับสภาพของชุมชน 3.เป็นศูนย์กลางในการสร้างกระบวนการเรียนรู้ของประชาชน 4.เป็นแหล่งสร้างและอนุรักษ์รากฐานทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น 5.เป็นองค์กรสังคมที่ช่วยถ่วงดุลไม่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วเกินไป 6.เป็นองค์กรท้องถิ่นที่ช่วยจัดระบบความสัมพันธ์ของคนในชุมชนให้เกิดความเหมาะสม
ขาที่ 3 ประโยชน์และความจำเป็นของการสร้างความสัมพันธ์
1.ช่วยให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกัน 2.ช่วยแก้ปัญหาความขัดแย้ง 3.ช่วยให้เกิดการมีส่วนร่วม
บทบาทหน้าที่ของโรงเรียนต่อชุมชนตามที่กฎหมายกำหนด คือ พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 สรุปได้ 7 ประการ ได้แก่ 1) บทบาทในการจัดกระบวนการเรียนรู้ และพัฒนากระบวนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ 2) บทบาทในการประเมินผู้เรียน 3) บทบาทในการจัดสรรโอกาสการเข้าศึกษาต่อ 4) บทบาทในการพัฒนาหลักสูตร 5) บทบาทในการประสานความร่วมมือกับ ครอบครัว ชุมชน สังคมเพื่อการจัดการศึกษา 6) บทบาทในการประกันคุณภาพการศึกษา และ 7) บทบาทในการ ระดมทรัพยากรและบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อการจัดการศึกษา
บทบาทหน้าที่ของโรงเรียนต่อชุมชนตามแนวคิดของนักวิชาการ (สุวัฒน์ มุทธเมธา: 2524; ไพฑูรย์ สินลารัตน์: 2540; ปรีชา คัมภีรปกรณ์: 2540) สรุป บทบาทของสถานศึกษากับชุมชนได้ 6 ประการ ได้แก่ 1) บทบาทในการให้การศึกษาอบรมแก่บุคลากรในชุมชน 2) บทบาทในการถ่ายทอดและส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณีของชุมชน 3) บทบาทในการบูรณาการและ สร้างสมดุลให้กับชุมชนและสังคม 4) บทบาทในการเป็นแหล่งวิทยาการและขุมปัญญาของชุมชน 5) บทบาทในการเป็นศูนย์ประสานงานของชุมชนกับหน่วยงาน และ 6) บทบาทในการพัฒนาชุมชนให้ก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง
นางสาวอภิชญาพร ก้อนศรีลา รหัสนักศึกษา 65U54620209