Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีความสูงอายุ, นางสาวเก็จมณี กิ่งมณี เลขที่ 67 ปี 2 ห้อง 2…
ทฤษฎีความสูงอายุ
ทฤษฎีความสูงอายุเชิงชีวภาพ
Cross linkage theory
ทฤษฎีการเชื่อมตามขวาง เมื่ออายุมากขึ้นจะมีความผิดปกติของการเชื่อมไขว้ของโมเลกุลขนาดใหญ่ เช่น โปรตีน จากกระบวนการ Glycation
ผลกระทบ
collagen เป็นโปรตีนที่ช่วยพยุงเนื้อเยื่อ ทำให้คุณสมบัติของเซลล์และเนื้อเยื่อเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
พบมากที่ผิวหนัง เอ็น กระดูก กล้ามเนื้อ หลอดเลือดหัวใจ
เมื่ออายุมากขึ้น Collagen จะมีการเชื่อมตามขวางมากขึ้นทำให้ มีอาการ แข็ง แห้ง แตก โดยเฉพาะเมื่อ สัมผัสความร้อน อากาศ แสง Ultraviolet (UV)
Elastin จะมีการเชื่อมตามขวางมากขึ้นทำให้ฉีกขาด เปื่อยยุ่ย ทำให้ผิวหนังเหี่ยวย่น
การเชื่อมตามขวางของผนังด้านในของหลอดเลือดแดงของผนังไต ทำให้ไตเสียหน้าที่
Glycation
กระบวนการเกิดการเชื่อมข้ามสายโมเลกุล (Cross-linking) ซึ่งเกิดจากการสร้างพันธะทางเคมีระหว่างโปรตีนด้วยกันหรือโปรตีนกับโมเลกุลขนาดใหญ่ทั่วไป เช่นน้ำตาลเกิดเป็นสารประกอบตัวใหม่ที่แข็งกว่าเดิม มีความยืดหยุ่นน้อย และมีแนวโน้มจะแตกเปราะได้ง่าย
ในคนที่มีอายุมาก การเชื่อมข้ามสายโมเลกุลนี้ เป็นผลให้โครงสร้างคอลลาเจนถูกทำลาย กลายเป็นผิวที่ ไม่สามารถยืดหยุ่นได้เหมือนเดิม และเกิดรอยเหี่ยวย่นที่ผิว
การรับประทานของหวานในปริมาณมากเป็นประจำนั้นส่งผลให้ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ก่อให้เกิดปฏิกิริยาไกลเคชั่น และก่อให้เกิดสารตัวหนึ่งที่เรียกว่า AGEs (Advanced Glycation End-Product) จากการวิจัยพบว่า AGEs เป็นตัวทำลายคอลลาเจนรวมไป ถึงใยโปรตีนในผิวหนัง ส่งผลให้เกิดริ้วรอยและมีจุดด่างดำตามมา
การพยาบาล
การพยาบาล แนะนำให้ป้องกันไม่ให้มีการเร่งของกระบวนการ Glycation
ลดอาหารประเภทข้าวขาว แป้ง น้ำตาล
หลีกเลี่ยงการประกอบอาหารที่มีโปรตีนและ ไขมันสูงโดยใช้ความร้อนแห้ง
ปิ้ง ย่าง คั่ว ทอด
แนะนำ ต้ม นึ่ง แกง ตุ๋น
Free radical theory
ทฤษฎีอนุมูลอิสระ เชื่อว่า การเปลี่ยนแปลงตามกระบวนการชราภาพ เกิดจากการถูกทำลาย โดยอนุมูลอิสระ
สาเหตุ
สร้างจากกระบวนการเผาผลาญของร่างกายเมื่อมีการใช้ออกซิเจน เช่น ขณะออกกำลังกาย
การรับเข้ามา เช่น การรับประทานอาหารทอด สูบบุหรี่ ตากแดดนานเกินไป
ติดเชื้อ ภาวะของโรคและสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ
ภายในร่างกาย
จากการเผาผลาญสารอาหาร (เมตาบอลิซึม) การกำจัดสารพิษในตับ การบาดเจ็บ การอักเสบทั่วไป การติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย ความเครียด การออกกำลังกายหักโหมมากเกินไป
ภายนอกร่างกาย
จากอาหาร (ปิ้ง ทอด ย่าง) จากควันพิษ (บุหรี่ ควันไฟ ท่อไอ เสีย) จากสารเคมี (ยาฆ่าแมลง ยากำจัดวัชพืช สาร แต่งเติมในอาหารสารกันบูด) จากรังสี (แสงแดด รังสีเอกซเรย์โทรศัพท์มือถือ)
ผลที่เกิดขึ้น
ทำลายโครงสร้างผนังของเซลล์
รบกวนการเผาผลาญของเซลล์กลายพันธ์ > มะเร็ง
ทำให้เกิดของเสียจากการเผาผลาญ เช่น Lipofuscin
ถ้ามีการสะสมมากเกินไป > Aging Spots
Wear and tear theory
ความชราเป็นผลมาจากการเสื่อมของเซลล์ในร่างกาย ที่ไม่สามารถจะถูกซ่อมหรือทดแทนได้ เช่น การเสื่อมของ ระบบหัวใจ หลอดเลือด กระดูก และข้อ
ความชราเป็นผลมาจากการเสื่อมของเซลล์ในร่างกายที่ไม่ สามารถจะถูกซ่อมแซม หรือทดแทนได้ การเสื่อมของระบบหัวใจและหลอดเลือด การเกิดหลอดเลือดแข็ง (arthrosclerosis)
อวัยวะบางอย่าง เช่น กระเพาะอาหาร ไต หรือผิวหนัง อาจถูกทําลายโดยสารพิษ อาหาร สิ่งแวดล้อม
รับประทานอาหารหวานจัด ไขมันสูง
ดื่มกาแฟ หรือ แอลกอฮอล์
การได้รับแสงอัลตร้าไวโอเลตเป็นเวลานาน ทำให้เซลล์ เสื่อมสภาพและไม่สามารถซ่อมแซมได้
การพยาบาลเพื่อป้องกันความเสื่อมของเซลล่ ในอวัยวะต่าง ๆ
การออกกำลังกายที่เหมาะสม
การรับประทานอาหารที่ถูกต้อง
การหลีกเลี่ยงสารพิษ หรือมลพิษต่าง ๆ
การป้องกันแสงอัลตร้าไวโอเลต
การนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ
Accumulative theory
ทฤษฎีการสะสม เชื่อว่าความสูงอายุมีผลจากการสะสมสาร ที่เป็นอันตรายต่อการทำหน้าที่ของเซลล์ คือ Lipofuscin
พบได้ตามเซลล์ผิวหนัง เซลล์ประสาท เซลล์กล้ามเนื้อลาย กล้ามเนื้อหัวใจ ไต ตับ ประสาทเป็นต้น
จะสะสมเพิ่มตามอายุ เรียก Age pigment ถ้าสะสมที่ ผิวหนังเรียก Aging spot
การพยาบาล
แนะนำให้รับประทานอาหารที่มีวิตามิน อี สูง เพราะวิตามินอี ทำให้ลูกโซ่ของไลโปฟัสซินชินแตกตัวได้
อัลมอนด์
เนยถั่ว
ซอสมะเขือเทศ
อาหารที่มีเส้นใยอาหารสูง
อาหารเหล่านี้จะช่วยลดการสะสมของไลโปฟัสซิน นอกจากนั้นวิตามิน อี ยังเป็นสารต้านอนุมูล อิสระที่ดี ช่วยป้องกันให้
Immunologic theory
ความสูงอายุเกิดจาก ระบบภูมิคุ้มกันเสื่อมสภาพทีละน้อยจนไม่สามารถป้องกันตนเองจาก อันตรายที่เกิดจากโรค หรือ สิ่งแปลกปลอมได้เพียงพอ
เมื่ออายุมากขึ้น B-cell and T-cell จะสูญเสียความสามารถในการจับและทำลายเชื้อโรค เช่น แบคทีเรีย และไวรัส
T cell จะเสียความสามารถในการจับและทำลายเซลล์ที่ร่างกายรับรู้ว่าเป็นสิ่งแปลกปลอม เช่น เชลล่มะเร็ง
เมื่อ B-cell and T-cell สูญเสียหน้าที่อาจทำให้เกิดโรคที่มีการทำลายเซลล์ที่ผิดปกติของ ร่างกาย (autoimmune disease)
Programmed theory
ทฤษฎีความสูงอายุที่กล่าวถึงการกระทำหน้าที่ของ genes ซึ่งเป็นตัวควบคุมรหัสพันธุกรรมและเกี่ยวข้องกับการคาดอายุเฉลี่ยเมื่อ snhe (Life expectancy)
นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าความชราภาพเกิดจาก กรรมพันธุ์ 25% ที่เหลือคือสิ่งแวดล้อมและการดำเนินชีวิตที่ไม่เหมาะสม (Eliopoulos, 2018)
ปกติยีนส์เป็นตัวกำหนดลักษณะทางพันธุกรรมโดยจะเรียงตัวอยู่บนโครโมโซมส่วนประกอบทางเคมีของยีนส์คือ DNA มีลักษณะเป็น เกลียว ส่วนประกอบนี้จะทำหน้าที่เป็นรหัสพันธุกรรม ฉะนั้นโมเลกุลของ DNA ถูกทำลายไป จะทำให้สารประกอบต่างๆอยู่ผิด ตำแหน่ง ให้ยีนสผิดปกติ การทำงานของเซลล์จะเสียไป
ปัจจัยที่ทำให้เกิดความชราภาพ คือ เทียโรเบียเรส (Telomeres)
Genetic program and error theory
ทฤษฎีนี้เชื่อว่า พันธุกรรม (Gene) เป็นตัวกำหนดอายุขัยของมนุษย์ โดยมีโปรแกรมทางพันธุกรรมเป็นตัวกำหนดอายุขัยของบุคคลนั้น ๆ
Genetic clock เซลล์ในร่างกายจะถูกตั้งโปรแกรมกำหนดจำนวนครั้งของการแบ่งตัวไว้แล้ว
คนที่มีเซลล์จะอายุยืนกว่าและมีการแบ่งตัวมากกว่าคนที่มีเซลล์ที่อายุสั้นกว่า ในการสืบทอดทางสายเลือดทำให้ความยืนยาวของอายุไม่เท่ากัน
ยีนส์ของพันธุกรรมแต่ละคนเป็นตัวกำหนดอายุขัยของแต่ละคน
เซลล์มนุษย์มี 2 กลุ่มใหญ่ คือเซลล์ร่างกาย และเซลล์สืบพันธุ์
เมื่ออายุมากขึ้น อาจมีความผิดปกติของการแบ่ง เซลล์ ทำให้เกิดโรค เช่น แก่เร็วกว่าอายุจริง (Progeria)
Wener's syndrome
มีโอกาสเกิดการผ่าเหล่าของยีนส์ได้สูง (Gene mutation) เช่น การเกิดโรค Down's syndrome ในทารกที่มีมารดาอายุมาก
ทฤษฎีความสูงอายุเชิงจิตสังคม
Disengagement theory
กระบวนการที่คนเราถดถอย หรือ ถอนตัวออกจากสังคม
การถอนตัวเป็นการยอมรับของตัวผู้สูงอายุและสังคม
โดยได้รับประโยชน์และพึงพอใจทั้งสองฝ่าย
ประโยชน์
ผู้สูงอายุ > สามารถเป็นตัวของตัวเองได้อย่างเต็มที่ เป็นอิสระจากบทบาทสังคม
สังคม > ช่วยให้ง่ายต่อการเปลี่ยนผ่าน หรือ ถ่ายทอดอำนาจให้กับคนรุ่นหลังต่อไป ทำให้สังคมทำหน้าที่ไปได้อย่างต่อเนื่อง
การถดถอยจากสังคม เป็นสิ่งที่ผู้สูงอายุเลือก มิใช่กระบวนการชราภาพ ดังนั้นจะเห็นว่ามีผู้สูงอายุจำนวนหนึ่งที่ไม่ถอนตัวออกจาก สังคมเดิม เช่น นักวิชาการ ผู้พิพากษา
การถอนตัวออกจากสังคมของผู้สูงอายุว่าอาจ ไม่จำเป็นถ้าสังคมมีการดูแลสุขภาพ และการดูแลเรื่องเศรษฐกิจของผู้สูงอายุให้ดีขึ้น (Eliopoulos, 2018)
Activity theory
เชื่อว่า ผู้สูงอายุควรมีการดำเนินชีวิต หรือมีกิจกรรมเช่นเดียวกับวัยกลางคน และควรปฏิเสธความสูงอายุให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้
ไม่ควรให้ผู้สูงอายุลดกิจกรรม ควรให้มีส่วนเกี่ยวข้องในฐานะสมาชิกคนหนึ่ง
ทฤษฎีนี้ให้ข้อเสนอแนะแนวทาง การดงกิจกรรมของผู้สูงอายุให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงตามกระบวนการชราภาพ
อาจชดเชยการเปลี่ยนแปลง หรือ การสูญเสียเหล่านั้นด้วยบทบาทใหม่ ความสนใจ ใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิม
ทดแทนบทบาทการทำงาน ด้วยบทบาทอื่นแทนเมื่อเกษียณอายุ
Continuity theory
แบบแผนการพัฒนาการเข้าสู่วัยสูงอายุของแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับความสามารถในการคงไว้ซึ่งพฤติกรรมหรือแบบแผนการดำเนินชีวิตเดิมที่เคยทำในอดีต และสามารถทำต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง
บุคลิกภาพ จะเป็นตัวกำหนดว่าผู้สูงอายุจะปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างไร ซึ่งแต่ละคนจะมีความแตกต่างกัน
เช่น คนไม่ชอบเข้าสังคม เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุก็จะไม่ชอบเข้าสังคมเช่นเดิม
การดูแลผู้สูงอายุควรคำนึงถึงความแตกต่างของแบบแผนการดำเนินชีวิต บุคลิกภาพของผู้สูงอายุแต่ละราย
Peck’s theory
แบ่งผู้สูงอายุเป็นสองกลุ่ม
ตอนต้น 55-75 ปี
ตอนปลาย 75 ปีขึ้นไป
ความรู้สึกของผู้สูงอายุขึ้นอยู่กับงานที่มีอยู่ ผู้สูงอายุจะรู้สึกภาคภูมิใจและเห็นว่าตนเองมีคุณค่า แต่เมื่อเกษียณแล้วความรู้สึกนี้จะลดลง ฉะนั้นบางคนจะสร้างความพึงพอใจต่อไปด้วยการหางานอื่นทำ เช่น ปลูกต้นไม้
ผู้สูงอายุยอมรับว่าเมื่ออายุมากขึ้น สมรรถภาพของร่างกายเปลี่ยนแปลงไปตาม ธรรมชาติ ร่างกายมีความแข็งแรงลดลง ชีวิตจะมีความสุขถ้าสามารถยอมรับและ ปรับความรู้สึกนี้ได้
ผู้สูงอายุยอมรับว่าร่างกายต้องเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติ ยอมรับเรื่องความ ตายโดยไม่รู้สึกกลัว
Erickson’s theory
ขั้นที่ 7 ความเป็นห่วงชนรุ่นหลัง – ความคิดถึงแต่ตนเอง
(Generativity vs Stagnation)
ขั้นที่ 8 ความพอใจในตนเอง ความสิ้นหวังและความไม่พอใจในตนเอง
(Ego Integrity vs Despair)
ระยะที่ 7 อายุ 25-65 ปี และ ระยะที่ 8 65 ปีขึ้นไป
ในช่วงระยะที่ 7 และ 8 เป็นช่วงที่ผู้สูงอายุควรได้รับการดูแล เพราะถ้าประสบความสำเร็จ ในระยะที่ 7 จะส่งผลให้มีความมั่นคง มีความภาคภูมิใจในตนเอง และสืบทอดต่อไปในรุ่นลูกหลาน
Genertivity มีความมั่นคง มีความภาคภูมิใจในตนเอง
Stagnation ถ้าระยะที่ 7 ไม่ประสบผลสำเร็จ เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุจะขาดความกระตือรือร้น เหงาหงอย
พัฒนาการขั้นสุดท้ายนี้มีพื้นฐานจากการปรับตัวในช่วงต้นของชีวิต บุคคลในช่วงวัยนี้มักแสวงหาความ มั่นคงภายในจิตใจ
Ego Integrity
เกิดเมื่อบุคคลสามารถผ่านพัฒนาการในขั้นต่างๆ มาได้อย่างดี เป็นวัยของการยอมรับ ความเป็นจริง ใช้คุณค่าจากประสบการณ์ ที่สั่งสมมา ให้เป็นประโยชน์ต่อชนรุ่นหลัง และเป็นช่วงของ การระลึกถึงความทรงจำในอดีต ถ้าในอดีตที่ผ่านมาบุคคลมีความสุข ประสบความสำเร็จในพัฒนาการ และสิ่งต่างๆ รอบตัว ก็จะมีทัศนคติที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น มีความมั่นคงทางจิตใจ
Despair
ในทางตรงข้ามถ้าบุคคลมีความทรงจำที่ผิดหวังอยู่ตลอด และพบปัญหาอุปสรรคใน พัฒนาการของช่วงที่ผ่านมา จะมีความรู้สึกท้อแท้ หมดหวัง เหนื่อยหน่ายกับชีวิต วิตกกังวลกับอดีตที่ไม่ ดีงามของตนเอง ขาดกำลังใจในการต่อสู้ และไม่สามารถพัฒนาชีวิตในวัยชราได้อย่างมีความสุข
นางสาวเก็จมณี กิ่งมณี เลขที่ 67 ปี 2 ห้อง 2 (64125301136)