Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะตัวเหลืองในทารก - Coggle Diagram
ภาวะตัวเหลืองในทารก
ภาวะแทรกซ้อน
-
-
-
-
-
-
-
-
-
kernicterus
ระยะเฉียบพลัน ทารกจะเริ่มมีอาการซึมลง ไม่ดูดนม ร้องเสียงแหลม แขน ขาอ่อนแรง ต่อมาในระยะหลัง ทารกจะมีไข้ ตัวเกร็งแข็ง ชักเกร็ง (opisthotonos) ร้องกวนมาก หากชักเกร็งมากอาจทำให้ทารกเสียชีวิตได้
ระยะเรื้อรัง ทารกอาจเกิดการสูญเสียการได้ยิน มีปัญหาด้านกาพูด ชัก ตัวเกร็งแข็ง การเคลื่อนไหวของร่างกายผิดปกติ มีปัญหาด้านพัฒนาการและสติปัญญาได้ โดยเฉพาะทารกที่มีอาการเหลืองผิดปกติมาก ๆ มีบิลิรูบินสูงเกิน 20 มิลลิกรัม/เดชิลิตร
การพยาบาล
- จัดท่านอนให้กับทารกในท่านอนหงาย ตะแคง หรือคว่ำ โดยเปลี่ยนท่านอนทุก 2-4 ชั่วโมงเพื่อให้ผิวหนังทุกส่วนได้สัมผัสแสงไฟ
- ดูแลให้ทารกให้ดูดนมมารดาทุก 2-3 ชั่วโมง หรือตามความต้องการของทารก เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ และเพิ่มประสิทธิภาพของการขจัดบิลิรูบินออกจากร่างกาย และอุ้มทารกเรอหลังให้นมเสร็จทุกครั้ง
- ปิดตาทารกด้วยผ้าปิดตาที่ปราศจากเชื้อ ปิดตาให้สนิท เพื่อป้องกันการระคายเคืองและการเกิดเยื่อบุตาอักเสบ และควรหมั่นสังเกตผ้าปิดตา เนื่องจากอาจเกิดการเลื่อนหลุด
- ประเมินสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง และดูแลให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายทารก
- ไม่ควรทาแป้ง น้ำมัน หรือโลชั่น เพราะอาจมีส่วนผสมของสารที่ทำให้เกิดการสะท้อนของแสง
- หากทารกมีการขับถ่ายควรเปลี่ยนผ้าอ้อมใหม่ทุกครั้ง รวมทั้งสังเกตลักษณะ และจำนวนครั้งของการขับถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ
- ดูแลเจาะเลือดเพื่อประเมินระดับบิลิรูบินเป็นระยะทุก 12-24 ชั่วโมง หรือบ่อยกว่านั้นตามความจำเป็น และติดตามผลทางห้องปฏิบัติการ
- ถอดเสื้อผ้าทารกออกเหลือเพียงผ้าอ้อมอย่างเดียว และจัดให้ทารกนอนใน crib ภายใต้แสงไฟ ส่องตลอดเวลาที่ได้รับการรักษา แต่สามารถนำทารกออกจาก crib ได้ช่วงที่ทารกดูดนมมารดา และขณะที่ทารกมีการขับถ่าย
- สังเกตอาการผิดปกติของทารก เช่น ดูดนมไม่ดี ซึมลง ร้องเสียงแหลม เคลื่อนไหวร่างกายน้อย อาเจียนหลังดูดนม ตัวเขียว ชักเกร็ง
สาเหตุ
-
Hemolysis
หมู่เลือดแม่ลูกไม่เข้ากัน Abtibody ในเลือดของแม่ ไปทำลาย antigen จากกรุ๊ปเลือดลูก ทำให้มีการแตกสลายของเม็ดเลือดเดิ่มขึ้น
ภาวะเม็ดเลือดแดงเกิน (polycythemia) เมื่อมีเม็ดเลือดแดงมาก การทำลายก็จะมากขึ้น ทำให้มี bilirubin มากขึ้น
-
-
-
ขับ bilirubin ออกได้น้อย
-
-
-
-
Cepalhematoma
มีเลือดออกระหว่ากะโหลกศีรษะ เกิดจากการฉีกขาดของหลอดเลือดที่อยู่เยื่อหุ้มกระดูก ทำให้มีบิลิรูบินเข้าสู่กระแสเลือดมากกว่าปกติ
ทารกคลอดก่อนกำหนด
เนื่องจากทารกเกิดก่อนกาหนดมักมีโปรตีนในเลือดต่ำ ทำให้จับบิลิรูบินได้น้อย ส่งผลให้มีบิลิรูบินอิสระเพิ่มขึ้น และการทำงานของตับยังทำงานได้ไม่สมบูรณ์ทำให้มีบิลิรูบินเพิ่มสูงขึ้น
การวินิจฉัยโรค
การตรวจร่าางกาย
ทารกที่มีจุดเลือดออกตามตัว ตับ ม้าม โต อุจจาระสีซีด ปัสสาวะสีเหลืองเข้มมากกว่าปกติ ซึ่งอาการนี้แสดงถึงภาวะตับหรือทางเดินน้ำดีผิดปกติ การเจริญเติบโตช้า ความพิการแต่กำเนิดก็พบอาการตัวเหลืองได้บ่อย
-
การซักประวัติ
- ประวัติในครอบครัวเป็นโรคเม็ดเลือดแดงแตกง่าย ได้แก่ บิดา Rh positive มารดา Rh
negative มารดามีประวัติติดเชื้อในระหว่างการตั้งครรภ์ เบาหวาน ได้รับยาบางชนิด การคลอดผิดปกติ การแท้งคุกคาม อาจบ่งบอกภาวะ Rh incompatibility ภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD
- ประวัติการคลอดของทารก ได้แก่ การได้รับบาดเจ็บจากการคลอด การคลอดก่อนกำหนด การตัดสายสะดือช้า
- อาการผิดปกติอื่น ๆ ของทารกที่ร่วมกับอาการตัวเหลือง ได้แก่ อาการอาเจียน ซึมลง ดูด นมได้ไม่ดี น้ำหนักตัวน้อย หายใจเร็วอุณหภูมิร่างกายไม่คงที่
การรักษา
1 Phototherapy
-
-
โดยแสงจะทําปฏิกิริยา ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของโมเลกุลของบิลิรูบินชนิดที่ไม่ละลายน้ําให้เป็นสารที่ละลายน้ําได้ การ เปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นในเส้นเลือดฝอยบริเวณผิวหนังหรือชั้นไขมันใต้ผิวหนัง โดยพลังงานของแสงจะทําให้บิ ลิรูบินแตกตัวเป็นโมเลกุลที่เล็กลง และเหมาะสมที่จะถูกขับออกจากร่างกาย ซึ่งขับออกทางปัสสาวะและ อุจจาระ ในทางปฏิบัติแสงสีฟ้าจะทําให้ผู้ดูแลทารกมีอาการคลื่นไส้อาเจียนได้
หลอดไฟควรมีระยะห่าง จากทารกประมาณ35-50เซนติเมตรและหลอดไฟควรวางห่างกันพอสมควร เพื่อให้มีการระบายความร้อน ที่ดี จะทําให้มีอายุการใช้งานได้นานขึ้น
-
-
2 exchange
บิลิรูบินในซีรั่มเกิน 20 มก./ดล.จึงต้องรักษาด้วยการถ่ายเปลี่ยนเลือด เลือดที่ใช้ในการถ่าย
เปลี่ยนเลือดต้องเลือกหมู่เลือดเหมือนกับผู้ป่วย
พิจารณาทำเมื่อต้องการแก้ไขภาวะซีดในทารกที่มีการแตกทำลายของเม็ดเลือดแดงอย่างรุนแรง จากหมู่เลือดไม่เข้ากัน(Erythroblastosis fetalis) และ/หรือ แก้ไขภาวะตัวเหลือง เกิด kernicterus ระดับบิลิรูบินอย่างคร่าว ๆ ที่ใช้ช่วย เกิด kernicterus ระดับบิลิรูบินอย่างคร่าว ๆ ที่ใช้ช่วยพิจารณาในการถ่ายเปลี่ยนเลือด สัมพันธ์กับน้ำหนักตัวแรกเกิดของทารก
-
3 Drug
ยาที่ใช้ในการกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ตับ และลดระดับบิลิรูบิน คือ phenobarbital จะช่วยการขนส่งบิลิรูบินเข้าสู่เซลล์ตับ มีเมตาบอลิซึมกลับของ บิลิรูบินจากลำไส้ และให้ tin protoporphyrin เพื่อลดการสร้างบิลิรูบิน
ความหมาย
เป็นภาวะที่ทารกมีระดับบิลิรูบินในเลือดสูงกว่าค่าปกติ เป็นภาวะปกติที่พบได้ในทารกแรกเกิด เนื่องจากทารกมีขีดจำกัดในการกำจัดบิลิรูบิน ในทารกครบกำหนดจะมีบิลิรูบินเพิ่มขึ้นช้า ๆ และมักเหลืองไม่เกิน 1 สัปดาห์ ส่วนทารกที่เกิดก่อนกำหนดจะเหลืองได้เร็วและนานกว่า โดยอาจเหลืองได้นานถึง 2 สัปดาห์ จะปรากฎอาการให้เห็นที่ผิวหนัง เยื่อบุตาขาว เล็บ และปัสสาวะเหลือง เมื่อระดับบิลิรูบินสูงเกินกว่า 5 มิลลิกรัม/เดซิลิตร อาการเหลืองจะเริ่มจากบริเวณใบหน้าเข้าหาลำตัวไปสู่แขนขา ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ในทารกแรกเกิดภาวะบิลิรูบินที่ขึ้นสูงในระดับหนึ่งมีผลต่อการพัฒนาของระบบประสาท อาจทำให้เกิดอันตรายต่อเซลล์สมองของทารก ทำให้สมองถูกทำลาย ส่งผลให้เนื้อสมองพิการ ทำให้พัฒนาการทางระบบประสาทบกพร่อง ก่อให้เกิดความพิการหรือเสียชีวิตได้