Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
4.โรคทางผิวหนัง - Coggle Diagram
4.โรคทางผิวหนัง
4.4 ฝี แผลพุพอง
:star: ขมิ้นชัน ดู 1.1_1
รักษาอาการฝี แผลพุพองและแก้อาการแพ้อักเสบแมลงสัตว์กัดต่อย โดยเอาเหง้ายาวประมาณ 2 นิ้วฝนกับน้ำต้มสุกทาบริเวณที่เป็นวันละ 3 ครั้งหรือใช้ผงขมิ้นไรยทาบริเวณที่มี อาการผื่นคันจากแมลงสัตว์กัดต่อยได้
:star: ชุมเห็ดเทศ ดู 4.1_3
รักษาอาการฝีเและแผลพุพองใช้ใบชุมเห็ดเทศและก้านสด 1 กำมือ ต้มกับน้ำพอท่วมยาแล้วเคี่ยวให้เหลือ 1 ใน 3 ชะล้างบริเวณที่เป็นวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ถ้าเป็นมากให้ใช้ ประมาณ 10 กำมือ ต้มอาบ
:star: เทียนบ้าน ชื่อท้องถิ่น เทียนดอก, เทียนไทย, เทียนสวัน
ส่วนที่ใช้เป็นยา ใบสด ดอกสด / ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บใบขนาดกลางที่สมบูรณ์/ รส และสรรพคุณยาไทย ส่วนใหญ่หมอจีนใช้ใบของเทียนดอกขาว ตำพอกเล็บขบ และปวดตามนิ้วมือ หรือนิ้วเท้าถอนพิษ ปวดแสบ ปวดร้อน/
วิธีใช้ ใช้ใบสด และดอกสด ประมาณ 1 กำมือ ตาละเอียด และพอก ทาบริเวณทีเป็นฝี และแผลพุพอง วันละ 3 ครั้ง
:warning: สีจากน้ำคั้นจะติดอยู่นาน ระวังการเปรอะเปื้อนเสื้อผ้าและร่างกายส่วนอื่นๆ
-
:star: ว่านมหากาฬ ชื่อท้องถิ่น ดาวเรือง (ภาคกลาง) ผักกาดกบ (เพชรบูรณ์),หนาดแห้ง (โคราช), คำโคก (ขอนแก่น, เลย)/
ส่วนที่ใช้ ใบสด และหัวใต้ดิน/ ช่วงเวลาที่เก็บ เก็บในช่วงที่ใบสมบูรณ์เต็มที่ ใบเพสลาด (ไม่อ่อน หรือแก่เกินไป) / รส และสรรพคุณยาไทย รสเย็น สรรพคุณ ใบสดใช้โขลกผสมเหล้าพอกฝีหรือหัวลำมะลอกทำให้เย็น ถอนพิษ บรรเทาปวดแสบ มหากาฬพิษร้อน ไข้เซื่องซึม กระสับกระส่ายรักษาพิษอักเสบ /
วิธีใช้แก้ฝี และแผลพุพอง ใช้หัวมหากาฬตำพอก หรือฝนกับน้ำนุ่นใสทาบริเวณที่เป็นฝี และแผลพุพอง วันละ 3-4 ครั้ง
-
4.1 กลากเกลื้อน
:star: ทองพันชั่ง ชื่อท้องถิ่น หญ้ามันไก่, ทองพันชั่ง (ภาคกลาง)/
ส่วนที่ใช้เป็นยา ใบสดหรือราก (สด หรือแห้ง)/ ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา ใบเก็บช่วงที่สมบูรณ์เต็มที่
รส และสรรพคุณยาไทย ใบสด รสเบื่อเมา เป็นยาเย็นดับพิษไข้ รากป่นละเอียดแช่เหล้า 7 วัน ทาแก้กลากเกลื้อน ผื่นคัน/
วิธีใช้ ใบสด หรือรากสด หรือแห้งของทองพันชั่ง ใช้รักษากลากเกลื้อน โดยใช้ใบ 5 - 8 ใบ หรือราก 2 - 3 ราก (จำนวนที่ใช้อาจเพิ่มหรือลดลงได้ตามอาการ) ตำให้ละเอียดแช่เหล้าหรือแอลกอฮอล 7 วัน นำมาทาบริเวณที่เป็นบ่อยๆ จนกว่าจะหาย
:star: พลู ชื่อท้องถิ่น เปล้าอ้วน ซีเก๊ะ (มลายู — นราธิวาส), พลูจีน (ภาคกลาง)/
ส่วนที่ใช้เป็นยา ใบสด/ ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บใบช่วงสมบูรณ์เต็มที่/ รส และสรรพคุณยาไทย รสเผ็ดเป็นยาฆ่าเชื้อโรค ขับลม ตามชนบทใช้ตำกับเหล้าทาบริเวณที่เป็นลมพิษ คนแก่ใช้ทาปูนแดง รับประทานกับหมาก /
วิธีใช้ใบพลูใช้เป็นยารักษาอาการแพ้อักเสบแมลงสัตว์กัดต่อย ได้ผลดีกับอาการแพ้ลักษณะลมพิษโดยเอาใบ 1-2 ใบ ตำให้ละเอียดผสมกับน้ำเหล้าขาว ทาบริเวณทีเป็น
:warning: ห้ามใช้กับแผลเปิด จะทำโม้แสบมาก
:star: ชุมเห็ดเทศ ชื่อท้องถิ่น ชุดเห็ดใหญ่ (ภาคกลาง), ขี้คาก, ลับมึนหลวง , หมากกะลิงเทศ (ภาคเหนือ), ส้มเห็ด (เชียงราย), จุมเห็ด (มหาสารคาม)/
ส่วนที่ใช้เป็นยาดอกสด,ใบสดหรือแห้ง/ ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บใบชุมเห็ดเทศขนาดกลาง ไม่แก่หรืออ่อนเกินไป ต้องเก็บก่อนออกดอก, เก็บดอกสดเป็นยา/ รส และสรรพคุณยาไทย รสเบื่อเอียน ใบตำทาแก้กลากเกลื้อนโรคผิวหนัง ดอก และใบต้มรับประทานแก้อาการท้องผูก/
วิธีใช้รักษา
- อาการท้องผูก ใช้ดอกชุมเห็ดเทศสด 2 - 3 ช่อ ต้มรับประทานกับน้ำพริก หรือนำใบสดมาล้างให้สะอาดหั่นตากแห้ง ใช้ต้มหรือชงน้ำดื่ม ครั้งละ 12 ใบ หรือใบแห้งบดเป็นผง ปั้นกับน้ำผึ้งเป็นลูกกลอนขนาดเท่าปลายนิ้วก้อยครั้งละ 3 เม็ด รับประทานก่อนนอนหรือเบื่อมีอาการท้องผูก/
- โรคกลาก ใบชุมเห็ดเทศสด ขยี้หรือตำในครกให้ละเอียด เติมน้ำเล็กน้อย หรือใช้ใบชุมเห็ดเทศกับหัวกระเทียมเท่าๆกัน ผสมปูนแดงที่กินกับหมากเล็กน้อยตำผสมกัน ทาบริเวณที่เป็นกลาก โดยเอาไม้ไผ่ขูดผิวให้แดงก่อนทาบ่อยๆจนหาย หายแล้วทาต่ออีก7 วัน/
:star: ข่า ดู 1.6_8
วิธีรักษาอาการกลากเกลื้อน เอาหัวข่าแก่ๆ ล้างให้สะอาด ฝานเป็นแว่นบางๆ หรือทุบให้แตกนำไปแช่เหล้าขาวทิ้งไว้ 1 คืน ทำความสะอาดบริเวณที่เป็นและใช้ไม้ บางๆ ขูดให้เป็นผิวสีแดงๆ และใช้น้ำยาที่ได้มาทาบริเวณที่เป็น ทา 2 ครั้ง เช้า - เย็นทุกวัน จนกว่าจะหาย
:star: กระเทียม ดู 1.6_3
วิธีใช้รักษาอาการอาการกลาก เกลื้อน ฝานกลีบกระเทียมแล้วนำมาถูบ่อยๆ หรือตำคั้นเอานน้ำทาบริเวณที่เป็นโดยใช้ไม้เล็กๆ ขูด บริเวณที่เป็น พอให้ผิวแดงๆ ก่อน แล้วจึงเอากระเทียมทาบ่อยๆ หรือวันละ 2 ครั้ง เช้า – เย็น
4.3 แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
:star: มะพร้าว ชื่อท้องถิ่น ดุง (จันทบุรี), โพล (กาญจนบุรี), หมากอุ๋น หมากอูน (ทั่วไป)/
ส่วนทีใช้เป็นยา น้ำมันมะพร้าว / ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บในช่วงผลแก่ และนำมาเคี่ยวเป็นน้ำมัน / รส และสรรพคุณยาไทย รสมัน ทาแก้ปวดเมื่อย และขัดตามเส้นเอ็น เจือกับยาที่มีรสฝาด รักษาบาดแผลได้ /
วิธีใช้ใช้น้ำมันมะพร้าวมาปรุงเป็นยารักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก วิธีใช้ทำได้โดยการนำเอาน้ำมันมะพร้าว 1 ส่วนใส่ในภาชนะคนพร้อมๆ กับเติมปูนใส 1 ส่วน โดยเดิมทีละส่วนพร้อมกับคนไปด้วยคนจนเข้ากันดี แล้วใช้ทาที่แผลบ่อยๆ
:star: ว่านหางจระเข้ ชื่อท้องถิ่น ว่านไฟไหม้ (ภาคเหนือ), หางตะเข้ (ภาคกลาง) /
ส่วนที่ใช้เป็นยา วุ้นจากใบ / ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บในช่วงอายุ 1ปี / รสและสรรพคุณยาไทย รสจืดเย็น โบราณใช้ทาปูนแดงปิดขมับ แก้ปวดศรีษะ /
วิธีใช้ วุ้นจากใบรักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก โดยเลือกใบที่อยู่ส่วนในล่างของด้น เพราะใบใหญ่ได้วุ้นมากกว่าใบเล็กปอกเปลือกสีเขียวออก ด้วยมีดที่สะอาด ล้างยากให้สะอาดด้วยน้ำต้มสุกหรือน้ำด่างทับที่มขูดเอาวุ้นใสมาพอกบริเวณแผล ทา 2 ครั้งเช้า-เย็นจนกว่าแผลจะหาย ช่วยระงับความเจ็บปวด ช่วยให้แผลหายเร็ว และไม่เกิดแผลเป็น วุ้นว่านหางจระเข้ยังใช้ทารักษาผิวไหม้ที่เกิดจากแดดเผาได้ /
:warning: ข้อควรระวัง ก่อนใช้ว่าน ทดสอบดูว่าแพ้หรือไม่ โดยเอาวุ้นทาบริเวณท้องแขนต้านใน ถ้าผิวไม่คัน หรือแดงก็ใช้ได้ / ควรล้างยางสีเหลืองที่อาจติดมากับวุ้นออกให้หมด เพราะจะเกิดอาการระคายเคืองต่อผิวหนังได้
-
:star: บัวบก ชื่อท้องถิ่น ผักหนอก (ภาคเหนือ) /
ส่วนที่ใช้เป็นยา ต้นสด และใบสด / ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บใบที่สมบูรณ์เต็มที่ / รส และสรรพคุณยาไทย กลิ่นหอม รสขมเล็กน้อย แก้อ่อนเพลีย เมื่อยล้า /
วิธีใช้ บัวบกใช้รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก โดยเอาบัวบกทั้งต้นสด 1 กำมือล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียด คั้นน้ำ และเอาน้ำทาบริเวณที่เป็นแผลบ่อยๆใช้กากพอกด้วยก็ได้
-
-
4.5 เริ่ม งูสวัด
:star: พญายอ ชื่อท้องถิ่น พญาปล้องดำ (ลำปาง), เสลดพังพอนตัวเมีย พญาปล้องทอง (กลาง), ลิ้นมังกร /
ส่วนที่ใช้เป็นยา ใบ / ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บใบขนาดกลางที่สมบูรณ์ ไม่แก่หรืออ่อนจนเกินไป / รส และสรรพคุณยาไทย รสจืด /
วิธีใช้ ใบพญายอ รักษาอาการอักเสบเฉพาะที่ (ปวด บวม แดง ร้อน แต่ไม่มีไข้) จากแมลงมีพิษกัดต่อย เช่น ตะขาบ แมงป่อง ผึ้งต่อย ต่อแตนเป็นด้นโดยเอาใบสด 10-15 ใบ (มากน้อยตามบริเวณที่เป็น) ล้างให้สะอาดใส่ลงในครกตำยา ตำให้ละเอียดเติมเหล้าขาว พอชุ่มยาใช้น้ำ และกากทาพอกบริเวณที่บวมหรือลูกแมลงสัตว์กัดต่อย
4.2 ชันนะตุ
:star: มะคำดีควาย ชื่อท้องถิ่น ประคำดีควาย (ภาคกลาง ภาคใต้), ส้มป่อยแถม (ภาคเหนือ) /
ส่วนที่ใช้เป็นยา ผลแก่ / ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บช่วงผลแก่ และตากแดดจนแห้ง / รส และสรรพคุณยา ไทย รสขม แก้กาฬภายใน แก้พิษไข้ ดับพิษร้อน ลูกต้มแล้วเกิดฟอง สุมหัวเด็ก แก้หวัด แก้รังแค ใช้ซักผ้า และสระผมได้ /
วิธีใช้ผลมะคำดีควาย ใช้รักษาชันตุที่หัวเด็กได้โดยเอาผลมาประมาณ 5 ผลแล้วทุบพอแตกต้มกับน้ำประมาณ 1 ถ้วยทาที่หนังศีรษะบริเวณ ที่เป็นวันละ 2 ครั้ง เข้า - เย็น จนกว่าจะหาย
:warning:ระวังอย่าให้เข้าตาจะทำให้แสบตา