Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การติดเชื้อหลังคลอด(puerperal infection) - Coggle Diagram
การติดเชื้อหลังคลอด(puerperal infection)
การติดเชื้อแบคทีเรียของระบบอวัยวะสืบพันธุ์มารดาหลังคลอด มักเกิดในช่วง 28 วันหลังคลอด เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยในช่วงหลังคลอด
สาเหตุส่งเสริม
-ภาวะทุพโภชนาการ โลหิตจางตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ ภาวะขาดน้ำการ -ตรวจสอบเสียงหัวใจทารกผ่านทางช่องคลอด(internal fetomonitoring) อาจมีการปนเปื้อน
-การเจ็บครรภ์และระยะคลอดยาวนาน โดยเฉพาะในรายที่ถุงน้ำแตก
-เทคนิคการทำคลอดไม่ถูกต้อง
-การล้วงรกหรือมีการตรวจโพรงมดลูกหลังคลอดในรายที่รกค้าง
-มีเศษรกค้างในโพรงมดลูก
-ดูแลแผลฝีเย็บไม่ถูกต้อง หรือขาดการดูแลรักษาความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
พยาธิสรีรภาพ
การติดเชื้อเฉพาะที่ อยู่เฉพาะตำแหน่งที่เป็น เช่น ติดเชื้อแผลฝีเย็บปากช่องคลอด ช่องคลอด ปากมดลูกและเยื่อบุโพรงมดลูก
การติดเชื้อแผลฝีเย็บ ปากช่องคลอด ช่องคลอด และปากมดลูก
อาการ ปวดเฉพาะที่ไม่รุนแรง ปัสสาวะลำบาก(dysuria) ร่วมด้วย ถ้าระบายหนองได้ดี อาการจะไม่รุนแรง ไข้ต่ำกว่า 38.5 ํC แต่ถ้ามีหนองคั่งอยู่ในแผลฝีเย็บ/ช่องคลอด/ช่องคลอด อาจมีอาการไข้สูง หนาวสั่น
การรักษา
การดูแลเหมือนแผลศัลยกรรมทั่วไป ตัดไหม เปิดแผลให้หนองระบาย ทำ hot sitz baths ช่วยบรรเทาอาการปวดในระยะเฉียบพลันของการติดเชื้อ ให้ยาปฏิชีวนะและยาระงับอาการปวด
การติดเชื้อเยื่อบุโพรงมดลูก หรือการติดเชื้อของของมดลูก
พบบ่อยที่สุด
เริ่มจากแบคทีเรียเพาะตัวที่เยื่อบุมดลูก (decidua) บริเวณที่รกเกาะ เกิดขึ้นตั้งแต่ 2-3 ชั่วโมง ถึง 2-3 วันหลังคลอด ถ้าการติดเชื้ออยู่เฉพาะบริเวณผิวก็จะหลุดออกมาเองใน 2-3 วัน
อาการและอาการแสดง
ขึ้นกับความรุนแรงของการติดเชื้อ อาการมักเริ่มต้นใน 48 ชั่วโมงแรกหลังคลอด มีไข้สูงแบบฟันเลื่อยระหว่าง 38.5-40 ํ C ชีพจรเร็วสัมพันธ์กับอุณหภูมิ ปวดท้องน้อยบริเวณมดลูก น้ำคาวปลามีกลิ่นเหม็น(จากเชื้อ anaerobes)
การรักษา
ยาปฏิชีวนะชนิด broad spectrum เช่น ampicillin เริ่มให้ยาทางหลอดเลือดดำ 4-8 กรัม/วันจนไม่มีไข้ 24-48 ชั่วโมง เปลี่ยนเป็นแบบรับประทาน 4-5 วัน และรักษาตามอาการ
การติดเชื้อลุกลามออกไปนอกมดลูก
แพร่กระจายไปตามหลอดเลือดดำ
เกิด septic pelvic thrombophlebitis, femoral thrombophlebitis, pyemia จาก infected emboli หลุดไปตามกระแสโลหิต
อาการและอาการแสดง
Septic pelvic thrombophlebitis เป็นภาวะที่วินิจฉัยได้ยาก ส่วนมากจะสงสัยในรายไข้สูงลอยทั้งที่ให้ยาปฏิชีวนะอย่างเพียงพอ
แนวทางการรักษา
ให้ heparin ถ้าตอบสนองดีภายใน 48-72 ชั่วโมง จะเป็นการยืนยันการวินิจฉัยและต้องให้ต่อไปจนครบ 10 วัน ควรให้ยาปฏิชีวนะร่วมด้วย
แพร่กระจายไปตามระบบน้ำเหลือง
ทำให้เกิด pelvic cellulitis (para metritis), pelvic abscess, peritonitis
Pelvic cellulitis
เป็นการติดเชื้อของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันในอุ้งเชิงกรานนอกเยื่อบุช่องท้อง
Peritonitis
การติดเชื้อของมดลูกกระจายทางท่อน้ำเหลืองมดลูก ลุกลามไปเยื่อบุช่องท้อง การอักเสบอาจเป็นเฉพาะที่อยู่ในช่องเชิงกราน หรือเชื้ออาจกระจายเป็น generalized peritonitis
อาการและอาการแสดง
Pelvic cellulitis
ไข้สูงมากกว่า 38 ํ C ต่อเนื่องหลายวัน ปวดท้องน้อย อาจเป็นข้างเดียว หรือทั้งสองข้าง
peritonitis
ปวดท้องรุนแรง มีท้องโป่งตึง กดเจ็บ มี rebound tenderness ไม่มีเสียงการทำงานของลำไส้ ไข้สูง ชีพจรเร็ว
แนวทางการรักษา
ให้ยาปฏิชีวนะครอบคลุมทั้ง anaerobic และ aerobe coliform organism รายที่เป็นรุนแรงจะต้องได้รับการผ่าตัด
การประเมิน
และการวินิจฉัย
1.การซักประวัติ หาปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อในระยะหลังคลอด
2.การตรวจร่างกาย ที่อาจบ่งชี้ถึงการติดเชื้อในระยะหลังคลอด
3.การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
CBC: WBC เพิ่มสูง / เพาะเชื้อ
4.การตรวจพิเศษ
Ultrasound หาก้อนหนอง
การพยาบาล
1.การพยาบาลเพื่อป้องกันการติดเชื้อหลังคลอด
-แนะนำการปฏิบัติตัวระหว่างการตั้งครรภ์ให้มีสุขภาพแข็งแรง ฝากครรภ์ตามนัด
-ดูแลให้ผู้คลอดได้พักผ่อนและได้รับสารน้ำอย่างเพียงพอ
-บุคลากรในห้องคลอดผูก mask ใช้อุปกรณ์ sterile และ Aseptic technique
-ทำคลอดด้วยความระมัดระวังเพื่อป้องกันการบาดเจ็บ
-แนะนำทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ที่ถูกวิธี
การพยาบาลขณะ
มีการติดเชื้อหลังคลอด
-แยกมารดาที่ติดเชื้อออกจากมารดาหลังคลอดทั่วไป
-ประเมินสัญญาณชีพและสังเกตอาการ ประเมินภาวะ shock
-ให้พักผ่อนอย่างเต็มที่ ดูแลความสุขสบาย
-ดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะ ยาแก้ปวด
-ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ