Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การตกเลือดหลังคลอด (postpartum hemorrhage) - Coggle Diagram
การตกเลือดหลังคลอด (postpartum hemorrhage)
การตกเลือดหลังคลอดด หมายถึง
การที่มารดาหลังคลอดมีเลือดออกหลังการคลอดบุตรทางช่องคลอดแล้วในปริมาณที่มากกว่า 500 cc.หรือ ในกรณีผ่าตัดคลอด เสียเลือดมากกว่า 1,000 cc. มักเกิดขึ้นภายใน 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด และเป็นสาเหตุการตาย
อันดับแรกของมารดาหลังคลอดทั่วโลก
1.การตกเลือดหลังคลอดในระยะแรก (early or immediate or primary postpartum hemorrhage)
เกิดภายใน 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอดโดยรวมระยะที่สามของการคลอดด้วย สาเหตุที่สำคัญคือ
4 T
2. การตกเลือดหลังคลอดในระยะหลัง (late or secondary postpartum hemorrhage)
เกิดหลัง 24
ชั่วโมง ไปจนถึง 6 สัปดาห์หลังคลอดสาเหตุเกิดจาก เศษรกหรือเยื่อหุ้มเด็กค้าง อาจเป็นเศษเนื้อรก หรือรกน้อย หรือเยื่อหุ้มทารก ค้างในโพรง
มดลูก
อาการและอาการแสดง (sign and symptom)
อาการและอาการแสดงขึ้นอยู่กับสาเหตุ ปริมาณ ระยะเวลาในการเสียเลือด สุขภาพของมารดาและ
ภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ
คือมีเลือดออกทางช่องคลอดลักษณะแตกต่างกันตามสาเหตุ มดลูกหดรัดตัวไม่ดี เลือดที่ออกมาจะเป็นสีคล้ำ มีลิ่มเลือดปนการฉีกขาดของช่องทางคลอด เลือดที่ออกมาจะเป็นสีแดงสด เศษรกค้าง การปลิ้นของมดลูก
พยาธิสรีรภาพ
การตกเลือดหลังคลอดอย่างรุนแรง จะทำให้ปริมาณเลือดในร่างกายลดลง เกิดภาวะ hypovolemia จะส่งผลกระทบต่อการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงไตลดลงการขาดเลือดไปเลี้ยงไตเป็น
เวลานานอาจทำให้เกิดภาวะไตล้มเหลว (renal shutdown) กรณีที่การตกเลือดหลังคลอด เกิดจากการฉีกขาดของหนทางคลอดใกล้บริเวณท่อปัสสาวะทำให้ท่อ
ปัสสาวะบวม ทำให้มารดาหลังคลอดถ่ายปัสสาวะลำบากหรือถ่ายปัสสาวะไม่ได้ ทำให้กระเพาะปัสสาวะเต็ม(full
bladder) ซึ่งขัดขวางการหดรัดตัวของมดลูก ทำให้เสี่ยงต่อการตกเลือดซ้ำได้
การประเมิน และการวินิจฉัย
การซักประวัติ เพื่อค้นหาภาวะเสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอด
การตรวจร่างกาย
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
แนวทางการรักษา
การกู้ชีพเบื้องต้น
เปิดเส้นเลือดเพื่อให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
2 ให้ออกซิเจน
3 วัดสัญญาณชีพ และประเมินต่อเนื่อง
4 ใส่สายสวนปัสสาวะ เพื่อประเมินปริมาณปัสสาวะ
ประเมินสาเหตุที่ทำให้เกิดการตกเลือด 4T
รักษาตามสาเหตุหลัก
ดูแลตามสาเหตุของการตกเลือด
1รกไม่คลอด หรือ คลอดไม่หมด (Tissue)
2.การหดรัดตัวของมดลูกไม่ดี (Tone)
3.บาดเจ็บช่องทางคลอด มดลูกปลิ้น มดลูกแตก (Trauma)
การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ (Thrombin)
.
กรณีไม่ตอบสนองต่อการรักษาเบื้องต้น
1.ปรึกษาแพทย์ผู้มีประสบการณ์ / วิสัญญีแพทย์
2.ส่งต่อมารดาทารกหลังคลอดโดยมีแพทย์ พยาบาลพร้อมทีมกู้ชีพร่วมดูแลระหว่างการส่งต่อ
ภายหลังการตัดมดลูก เลือดยังออกไม่หยุด
ทำ abdominal packing โดยนำผ้ากอซ(swab) ใส่ในช่องท้องเพื่อห้ามเลือด แล้วเอาออกภายใน 24 ชั่วโมง
การพยาบาล
1ระยะตั้งครรภ์
ครรภ์แฝด ประวัติคลอดครรภ์แฝด ทารกตัวโตมาก
เคยผ่าตัดคลอด เลือดออกง่าย
เกล็ดเลือดต่ำ
แก้ไขปัญหาความเข้มข้นของเลือด เช่น ภาวะซีด
เลือดออกง่ายจากเกล็ดเลือดต่ำ
2 ระยะคลอด
หลีกเลี่ยง /ลดความรุนแรงของปัจจัยเสี่ยง เช่น การคลอดที่ยาวนาน
การให้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกนานๆ
ทำคลอดในระยะที่สองและสามของการคลอดอย่างถูกต้องเหมาะสม
3 ระยะหลังคลอด
ให้ oxytocin
ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด ใน 2 ชั่วโมงแรกหลังคลอด
ดูแลกระเพาะปัสสาวะว่าง โดยกระตุ้นให้ขับถ่ายปัสสาวะ
สังเกตการหดรัดตัวของมดลูก ถ้ามดลูกนุ่มให้คลึงมดลูกให้แข็งตัวไว้
ตรวจดูการบวมเลือดของอวัยวะสืบพันธุ์
การพยาบาลขณะที่มีการตกเลือดหลังคลอด
-บันทึกปริมาณเลือดที่ออกทางช่องคลอด ปัสสาวะ
-ให้สารน้ำหรือเลือดทางหลอดเลือดดำ
-ประเมินระดับความรู้สึกตัว
-บันทึกสัญญาณชีพ
-จัดให้นอนราบ ไม่หนุนหมอน ตะแคงหน้าเพื่อให้ทางเดินหายใจโล่ง
-ดูแลให้ออกซิเจน Nasal cannula 4-5 ลิตร/นาที
การพยาบาลเพื่อฟื้นฟูและส่งเสริมสุขภาพของมารดาหลังคลอด
1.ดูแลให้มารดาหลังคลอดได้พักผ่อนอย่างเต็มที่
2.ดูแลให้รับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย มีคุณค่าสูง
3.ดูแลความสะอาดร่างกายทั่วไป อวัยวะสืบพันธุ์ และสังเกตลักษณะน้ำคาวปลา
4.ดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา
5.แนะนำการมาตรวจตามนัดหลังคลอด