Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
7.2ความผิดปกติทางจิตใจ ในระยะหลังคลอด - Coggle Diagram
7.2ความผิดปกติทางจิตใจ
ในระยะหลังคลอด
ผลกระทบต่อภาวะสุขภาพของมารดาและทารก
ผลต่อมารดาหลังคลอดและครอบครัว
มารดาหลังคลอดจะสูญเสียสมรรถภาพทางร่างกาย จากการพักผ่อนไม่เพียงพอ ความเหนื่อยอ่อน เซื่อง ซึม
มารดาหลังคลอดมีพฤติกรรมการทําร้ายตัวเอง เช่น ดื่มสุรา สูบบุหรี่ เสพสารเสพติด หรือการฆ่าตัวตาย
มารดาหลังคลอดสูญเสียความสนใจในชีวิตสมรส โดยเฉพาะเรื่องเพศสัมพันธ์ทําให้ชีวิตสมรสไม่ราบรื่น อาจเป็นสาเหตุของการหย่าร้าง
ผลต่อทารก
มารดาหลังคลอดที่มีภาวะซึมเศร้า มักจะไม่สามารถแสดงบทบาทการเป็นมารดาที่ดีได้ ส่งผลต่อทารก มี ปัญหาในด้านการพัฒนาสติปัญญา การพัฒนาด้านอารมณ์ และพฤติกรรมแสดงออกในระยะยาว เช่น ไม่เล่นกับผู้อื่น พูดช้า ไม่ตอบสนองด้านอารมณ์
มารดาหลังคลอดที่มีโรคจิตหลังคลอด ต้องพบแพทย ทันที เป็นภาวะฉุกเฉินทางจิตเวช จําเป็นต้องรับการ รักษาในโรงพยาบาล เนื่องจากอาการค้อนข้างรุนแรง มีความเสี่ยงสูงในการทําร้ายตัวเอง และหรือผู้อื่น กลุ่มโรค ทางจิตใจหลังคลอดสามารถรักษาหายขาดได้
โรคจิตหลังคลอด
(postpartum psychosis)
เป็นโรคที่พบได้ไม่บ่อย เริ่มใน 2-3 วันแรกหลังคลอด อาจพบ อาการของโรคได้ภายใน 1 เดือนแรกหลังคลอด ผู้ที่เป็นรุนแรงอาจ มีอาการวิกลจริต ส่วนใหญ่โรคจิตหลังคลอด สามารถรักษาหายขาดได้ หากได้รับการประเมินและให้การช่วยเหลือ ดูแลรักษาตั้งแต่เริ่มแรก
อาการและอาการแสดง
1.อาการนํา เริ่มด้วยความไม่สุขสบายก่อน อาการแรกๆ ที่พบบ่อยคือ นอนไม่หลับ บุคลิกภาพ เปลี่ยนแปลง ขาดความสนใจต่อสิ่งแวดล้อมรอบตัว
2.อาการโรคจิต หลังจากนั้น อาจมีอารมณ์ซึมเศร้า หรืออารมณ์ดีแบบไม่สมเหตุสมผลก็ได้ อารมณ์จะ เปลี่ยนแปลงเร็วมาก
สาเหตุและปัจจัยส่งเสริม
เคยมีประวัติโรคจิตหลังคลอด
มีประวัติเป็น bipolar มีโอกาสที่จะเป็นโรคนี้สูงกว่าสตรทั่วไป ร้อยละ 40
มีบุคลิกภาพแปรปรวนอยู่ก่อนแล้ว
มีความเครียดขณะตั้งครรภ์ และขากการสนับสนุนจากบุคคลรอบข้าง และอาจมีปัญหาเศรษฐกิจ
แนวทางการรักษา
การรักษาโดยใช้ยา จะใช้ยาหลายกลุ่มร่วมกัน
ยากลุ่ม SNRIs และ NDRIs
ยากลุ่ม TCAs ใช้กรณีที่มีอาการรุนแรง
ยากลุ่ม SSRIs เป็นยาที่มีผลต่อระดับ serotonin ในสมอง
1.การรักษาโดยไม่ใช้ยา ได้ผลดีในภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
การปรับพฤติกรรมด้วยความคิด
การแก้ปัญหาด้านปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
การทําจิตบําบัด
การรักษาโดยการแก้ไขสิ่งแวดล้อม
การรักษาด้วยไฟฟ้า
การพยาบาล
พยาบาลมีบทบาทสําคัญในการป้องกัน และดูแลมารดาหลังคลอดที่มีความผิดปกติทางจิตใจในระยะหลัง คลอด ต้องเริ่มตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมที่จะเป็นมารดาและดูแลต่อเนื่องในระยะหลัง คลอด