Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Dyspnea from Pneumonia - Coggle Diagram
Dyspnea from Pneumonia
ข้อมูลผู้ป่วย
ผู้ป่วยชายไทย (พระภิกษุสงฆ์) อายุ 66 ปี
CC : เหนื่อยมากขึ้น ไอมีเสมหะมาก 1 วันก่อนมา รพ.
PI : 2 วัน หายใจเหนื่อย ไอมีเสมหะมาก สีขาวขุ่น ไม่มีไข้ ไม่มีแน่นหน้าอก ทานข้าวได้น้อย ไม่อาเจียน ไม่ถ่ายเหลว นอนราบได้
1 วันก่อนมาโรงพยาบาลเหนื่อยมากขึ้น ไอมีเสมหะมาก จึงพามาโรงพยาบาล
การเจ็บป่วยอดีต (Past History: PH)
T2DM, HT, DLP, Moderate AR with AF , CA Esophagus
โรคเบาหวานชนิดที่ 2
-
-
-
พยาธิการเกิดโรค
ความผิดปกติของเบต้าเซลล์ของตับอ่อน ทำให้ร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินได้อย่างเพียงพอหรือความสามารถของร่างกายไม่ สามารถใช้อินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพเกิดภาวะดื้ออินซูลิน หรือทั้งสองอย่างรวมกัน ซึ่งอินซูลินมีหน้าที่ในการนำกลูโคสจากในกระแสเลือดเข้าสู่เซลล์ไปเผาผลาญเป็นพลังงานหรือเก็บสะสมไว้เพื่อจะนำกลับมาใช้อีกครั้ง เมื่อร่างกายมีการหลังอินซูลินลดลงไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย จากภาวะที่เบต้าเซลล์ของตับอ่อนทำงานเสื่อมสภาพมากขึ้น ระดับอินซูลินที่เคยอยูในระดับปกติเริ่มลดต่ำลง ตับจะปล่อยกลูโคสออกมากขึ้นทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง เมื่อร่างกายมีระดับน้ำตาลที่สูงขึ้นเนื้อเยื่อต้องอาศัยอินซูลินในการนำกลูโคสเข้าสู่เซลล์ ถ้าร่างกายมีภาวะดื้ออินซูลิน เกิดความผิดปกติของกระบวนการทำงานของอินซูลินในการนำกลูโคสเข้าสู่เซลล์ (glucose transporter-4 [GLUT-4]) ทำให้มีอาการแสดงของโรคเบาหวาน
โรคไขมันมนเลือดสูง
พยาธิการเกิดโรค
ไขมันในเลือดสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคมากมาย ระดับไขมันในเลือดมีความสำคัญต่อการเกิดหลอดเลือดแข็ง หลอดเลือดตีบ ตัน โดยเฉพาะหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ ดังนั้นผู้ที่มีภาวะไขมันใในเลือดสูงจึงมีโอกาศเป็นโรคหัวใจขาดเลือด สมองขาดเลือด อัมพฤกษ์ อัมพาตได้
-
-
-
โรคความดันโลหิตสูง
-
-
วิธีการรักษา
-
-
-
-
ออกกำลังกายแบบแอโรบิก หมายถึงการออกกำลังกาย ที่มีการเคลื่อนไหวร่างกายตลอดเวลา เช่น วิ่ง เดินเร็ว ว่ายนํ้า อย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย วันละ 15-30 นาที 3-6 วันต่อสัปดาห์
-
ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับยาที่ใช้อยู่เพราะมียาบางตัวทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นได้ ปรึกษาแพทย์ถ้าต้องใช้ยาคุมกำเนิด
พยาธิการเกิดโรค
1) การกระตุ้นประสาทซิมพาธิติกส่วนแอลฟาทำให้หลอดเลือดแดงหดตัวจึงมีความต้านทานของหลอดเลือดเพิ่มขึ้น การกระตุ้นประสาทซิมพาธิติกจะมีผลต่อการทำงานของ renin angiotensin system, RAS ทำให้ผลิต angiotensin II ส่งผลให้หลอดเลือดแดงหดตัวซึ่งทำให้ความต้านทานของหลอดเลือดส่วนปลายเพิ่มขึ้นและการกระตุ้นประสาทซิมพาธิติกส่วนเบต้าทำให้อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มมากขึ้นแรงบีบตัวของหัวใจแรงขึ้นจึงเพิ่มปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจและทำให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น
2) การลดลงของสารเหลวในระบบไหลเวียนทำให้ปริมาตรเลือดที่ไหลผ่านไตน้อยลงซึ้งกระตุ้น renin angiotensin system ทำให้หลอดเลือดหดตัวจึงเกิดแรงต้านของหลอดเลือดทั่วร่างกายและ angiotensin II ในระบบไหลเวียนจะกระตุ้นให้มีการหลั่งของ aldosterone hormone จากต่อมหมวกไตส่วนนอก ซึ่งมีผลในการดูดซึมกลับของน้ำ และโซเดียมที่ไตปริมาณของเลือดจึงเพิ่มขึ้นและความดันโลหิตสูงขึ้น
3) ต่อมใต้สมองส่วนหลังมีการหลั่ง antidiuretic hormone เพื่อตอบสนองต่อการลดลงของสารเหลวในระบบไหลเวียนและฮอร์โมนดังกล่าวมีผลต่อกล้ามเนื้อเรียบ
ของหลอดเลือดทำให้เลือดที่ไหลผ่านต้องถูกบีบให้ผ่านอย่างแรงจึงทำอันตรายต่อเยื่อบุภายในหลอดเลือดซึ่งจะทำให้มีการหลั่งสารที่มีผลต่อหลอดเลือดทำให้หลอดเลือดมีการหดตัวมากยิ่งขึ้น