Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 57 ปี Dx : cirrhosis whit UGIB, 8AD11E4E-BCAB-4C69…
ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 57 ปี Dx : cirrhosis whit UGIB
Cirrhosis
ความหมาย
ภาวะที่ตับมีการก่อตัวของเนื้อเยื่อพังผืดส่วนเกิน อันเป็นผลจากภาวะตับอักเสบเรื้องรังจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น โรคพิษสุราเรื้อรัง ไวรัสตับอักเสบเรื้อรัง หรือไขมันคั่งในตับ เป็นต้น เมื่อเกิดการอักเสบเรื้อรังเป็นระยะเวลานาน ตับจะทำการซ่อมแซมตัวเอง กระบวนการซ่อมแซมจะสร้างเนื้อเยื่อพังผืดสะสมจนเกิดเป็นโรคตับแข็ง
สาเหตุเเละปัจจัยเสี่ยง
ทฤษฎี
โรคพิษสุราเรื้อรัง เกิดจากการดื่มแอลกฮอล์ติดต่อกันเป็นเวลานาน
โรคไวรัสตับอักเสบบี ซี และดี
โรคตับอักเสบจากภูมิต้านทานตนเอง
โรคเนื้อเยื่อสะสมธาตุเหล็กผิดปกติ
ภาวะท่อน้ำดีอุดตัน ทำให้น้ำดีที่ไหลย้อนกลับไปที่ตับส่งผลทำลายเนื้อตับจนเป็นตับแข็งได้
ภาวะไขมันพอกตับ ซึ่งทำให้เกิดตับอักเสบเรื้อรังจนอาจกลายเป็นตับแข็งได้
การรับประทานยาบางชนิดติดต่อกันเป็นเวลานาน
กรณีศึกษา
ผู้ป่วยดื่มสุราเป็นเวลานาน 27 ปี สุราทำให้ผู้ป่วยเกิดโรคตับเเข็ง
อาการ
ทฤษฎี
โรคพิษสุราเรื้อรัง เกิดจากการดื่มแอลกฮอล์ติดต่อกันเป็นเวลานาน อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า ไม่อยากอาหาร ในบางครั้งอาจเกิดร่วมกับอาการคลื่นไส้ อาเจียนเป็นเลือด น้ำหนักลด ในผู้หญิงอาจมีประจำเดือนผิดปกติ ในผู้ชายอาจมีเต้านมขยายใหญ่ขึ้นพร้อมอาการปวด สมรรถภาพทางเพศลดลง ขาบวมหรือท้องโต ท้องมาน มือสั่น ใจสั่น มีอาการคันที่ผิวหนังอย่างรุนแรง ตับจะไม่สามารถกรองยาออกจากเลือดได้ในอัตราปกติ ตัวยาจึงออกฤทธิ์นานขึ้นและสะสมอยู่ในร่างกาย มีเลือดออกอย่างรุนแรงในกระเพาะอาหารส่วนบนหรือหลอดอาหาร เนื่องมาจากการไหลเวียนของเลือดผิดปกติ
กรณีศึกษา
ผู้ป่วยดื่มสุรามานาน 27 ปี มีอาการ อาเจียนเป็นเลือด อ่อนเพลีย น้ำหนักลด คลื่นไส้ อาเจียนเป็นเลือด น้ำหนักลด มือสั่น ใจสั่น ผลตรวจร่างกาย เคาะท้อง fluid thrill and shiftin dullness positive
S: มีประวัติดื่มแอลกอฮอล์เป็นเวลานานติดต่อกัน 27 ปี
S: ผู้ป่วยบอกว่าดื่ม แอลกอฮอล์วันละสองขวดเป็นประจำทุกวัน
O:มีอาการมือสั่นเล็กน้อยทั้งสองข้าง
O:ผู้ป่วยมีอาการมือสั่นใจสั่นคลื่นไส้อาเจียน
จุดมุ่งหมาย : ไม่มีอาการมือสั่นใจสั่น
เกณฑ์การประเมิน : ผู้ป่วยไม่เกิดอาการขาดแอลกอฮอล์เช่นมือสั่น ใจสั่น อาเจียน
กิจกรรมการพยาบาล
ซักประวัติแบบแผนการดื่มสุราชนิดแอลกอฮอล์ระยะเวลาปริมาณดื่มต่อวันเวลาปริมาณการดื่มครั้งสุดท้ายเพื่อรับรู้ประวัติการดื่มแอลกอฮอล์ในแต่ละวัน
ประเมินอาการขาดแอลกอฮอล์และตรวจสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมงจนครบสามมื้อซึ่งเป็นระยะที่ควรจะอาการขาดแอลกอฮอล์ให้ยาตามแผนการรักษาของแพทย์เพื่อป้องกันการเกิดภาวะขาดแอลกอฮอล์
เฝ้าระวังการเกิดอาจารย์ไม่ถึงประสงค์จากการได้รับยาป้องกันภาวะขาดแอลกอฮอล์ผู้ป่วยได้รับยา Valium 10 mg เพื่อรับรู้ถึงผลข้างเคียงของยา
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารสารน้ำอย่างเพียงพอเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารเพียงพอ ต่อร่างกาย
ดูแลความสะอาดร่างกายความสุขสบายการพักผ่อนอย่าง น้อยวันละ4ถึง 6 ชั่วโมง เพื่อให้ผู้ป่วยพักผ่อนให้เพียงพอ
ดูแลป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ
ดูแลอย่างใกล้ชิดเพราะคนไข้อาจมีอาการสับสน
ข้อวินิฉัยการพยาบาล เสี่ยงต่อการเกิดภาวะขาดเเอลกอฮอล์
ภาวะเเทรกซ้อน
ทฤษฎี
ภาวะหลอดเลือดขอดในหลอดอาหาร
เกิดจากพังผืดในตับ ดึงรั้งทำให้เกิดความดันเลือดในตับและในหลอดอาหารสูงขึ้น จนเกิดเส้นเลือดขอดในหลอดอาหารโดยหากเส้นเลือดขอดในหลอดอาหารแตกจะทำให้ผู้ป่วยอาเจียนเป็นเลือด
ท้องมาน ( Ascites )
เป็นภาวะที่มีน้ำในช่องท้องปริมาณมากกว่าปกติ
ภาวะไตวายจากตับแข็ง ( Hepatorenal syndrome )
เกิดจากภาวะตับที่เสื่อมสภาพ
เลือดออกผิดปกติ
ตับเป็นอวัยวะทีสร้างโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือด ในภาวะตับแข็งจะทำให้เกิดการลดลงของโปรตีนเหล่านี้ ร่วมกับเกล็ดเลือดที่ต่ำจากม้ามโตทำให้ผู้ป่วยตับแข็งมีปัญหาเลือดออกง่ายกว่าปกติ
กรณีศึกษา
ผู้ป่วยมีภาวะเเทรกซ้อน เลือดออกในทางเดินอาหารส่วนบน มีท้องมาน
ข้อวินิฉัยทางการพยาบาล : มีภาวะท้องมานเนื่องจากประสิทธิภาพการทำงานของตับลดลง
ข้อมสนับสนุน
S: ผู้ป่วยบอกว่า มีอาการเจ็บท้อง ท้องอืด
O: fluid thrill and shiftin dullness positive
จุดมุ่งหมาย : ภาวะท้องมานลดลง
เกณฑ์การประเมิน : เคาะท้อง fluid thrill and shiftin dullness Negative
กิจกกรมการพยาบาล :
ดูแลให้ผู้รับบริการได้รับอาหารโซเดียมต่ำหรือจำกัดปริมาณเกลือให้ผู้รับบริการได้รับน้อยกว่า 1000 mg/วัน นอกจากนั้นยังต้องแนะนำญาติเกี่ยวกับอาหารที่สามารถนำมาให้ผู้ป่วยรับประทานได้ เพื่อลดการดูดกลับของสารน้ำเข้าสู่ร่างกาย
จำกัดน้ำดื่มตามแผนการรักษาเพื่อลดปริมาณสารน้ำเข้าสู่ร่างกาย
จัดท่าศีรษะสูง 15 องศา ให้กับผู้ป่วยเพื่อให้สารน้ำไหลลงตามแรงโน้มถ่วงลดการกดจากกระบังลมหรือสารน้ำในช่องท้องทำให้ปอดขยายตัวได้ โดยมีการศึกษาพบว่าการจัดท่าศีรษะสูง 15 องศา, 30 องศา และ 45 องศาให้ผลไม่แตกต่างกันในเรื่องของความสุขสบายและค่าออกซิเจนในเลือด แต่ผู้ป่วยที่มีน้ำในช่องท้อง การจัดท่าศีรษะสูง 45 องศา จะทำให้ผู้ป่วยหายใจลำบากมากกว่าการจัดท่าศีรษะสูง 15 องศา
ดูแลให้ผู้ป่วยชั่งน้ำหนักทุกวัน วันละหนึ่งครั้ง ด้วยเครื่องชั่งเดิม วัดรอบท้องและประเมินอาการบวมบริเวณอวัยวะส่วนปลายร่วมกับติดตามปริมาณสารน้ำเข้าออกจากร่างกายเพื่อประเมินปริมาณสารน้ำที่คั่งค้างอยู่ในชั้นไขมันใต้ผิวหนังและช่องท้อง
เฝ้าระวังระดับอิเล็กโทรลัยต์ในเลือดเปลี่ยนแปลงในผู้ป่วยที่ได้รับยาขับปัสสาวะ โดยเฉพาะโพแทสเซียมและโซเดียมต่ำ
การรักษา
ทฤษฎี
ประเมินการรักษาของตับ
งดดื่มสุราเด็ดขาด
อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า ไม่อยากอาหาร ในบางครั้งอาจเกิดร่วมกับอาการคลื่นไส้ น้ำหนักลด ขาบวมหรือท้องโตขึ้น เนื่องจากโปรตีนอัลบูมินถูกผลิตน้อยลง ส่งผลให้มีน้ำสะสมในขาหรือท้อง อาการตัวเหลืองตาเหลือง ซึ่งเกิดจากการสะสมเม็ดสีของน้ำดี
หากอาเจียนเป็นเลือดให้มาพบเเพทย์ทันที
กรณีศึกษา
ผู้ป่วมีอาการอาเจียนเป็นเลือด
พยาธิสภาพ
ตับแข็งระยะที่ 1 เป็นระยะขั้นต้นที่อาการยังไม่รุนแรงมาก บางรายอาจมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร เหนื่อยง่าย ตับแข็งระยะที่ 2 อาจเริ่มมีอาการคันตามผิวหนัง ตัวเหลือง ตาเหลือง เริ่มมีภาวะท้องมาน ตับเเข็งระยะที่ 3 เป็นโรคตับเรื้อรังระยะสุดท้าย (end-stage liver disease) ที่เซลล์ตับจำนวนมากถูกทำลายอย่างถาวร เซลล์ตับถูกแทนที่ด้วย fibrous connective tissue ส่งผลให้โครงสร้างเนื้อเยื่อมีลักษณะเป็นปุ๊ม(nodule formation) กลายเป็นเนื้อเยื่อพังผืดที่มีลักษณะแข็งกว่าปกติ
กรณีศึกษา
ผู้ป่วยเป็นโรคตับเเข็งระยะที่ 3
UGIB
ความหมาย
ภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนบน เป็นภาวะที่เกิดจากความผิดปกติของระบบทางเดินอาหารส่วนบน อย่างหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น ที่ทำให้อาเจียนปนเลือดออกมา ผู้ที่มีเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนบนอาจมีอาการเพียงเล็กน้อยไปจนถึงระดับที่รุนแรง หากมีปริมาณเลือดออกน้อยก็อาจไม่พบความผิดปกติในระยะเริ่มแรก และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตหากปล่อยไว้นาน
สาเหตุเเละปัจจัยเสี่ยง
ทฤษฎี
เกิดจากพยาธิสภาพของ โรคที่ทำให้มีเลือดออก มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งหลอดอาหาร หลอดเลือดดำโป่งพอง
ปัจจัยที่หลีกเลี่ยงได้ ; ส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรม การปฏิบัติตัวที่ส่งผลต่อการมี เลือดออกทางเดินอาหาร พฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม เช่น การรับประทานอาหารรสจัด เป็นต้น ที่ส่งผลให้เกิดแผลใน พฤติกรรมการรับประทานยาที่ ไม่เหมาะสม เช่น การแข็งตัวของเลือด ยากลุ่มสเตียรอยด์ เป็นต้น พฤติกรรมการใช้สารให้โทษ เช่น ดื่มเครื่องดื่มที่ มีเเอลกอฮอล์
กรณีศึกษา
ผู้ป่วยดื่อมสุราเป็นเวลานาน 27 ปี ร่วมกับมีพันธุกรรม ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่ไม่เหมาสม ชอบรับประทานอาหารที่มีรดจัด การเป็นโรคตับ ทำให้เกิด UGIB
อาการ
ทฤษฎี
มีอาการปวดท้อง อาเจียนเป็นเลือดสด (Hematemesis) และถ่ายอุจาระเป็นสีดำ (Melena) ซีด อ่อนเพลียอย่างรวดเร็ว เหงื่อออก ปวดศีรษะ หน้ามืดเหมือนจะเป็นลม มือเท้าเย็น เป็นตะคริว ชีพจรเบาเร็ว ความดันเลือดต่ำ ใจสั่น หิวน้ำ หายใจเร็วและหมดสติ อาจมีอาการปวดท้องหรือไม่มีอาการนำมาก่อน ตรวจหน้าท้องแข็งเกร็งเป็นตะคริว ปวดศีรษะและตรวจเลือดพบเม็ดเลือดแดงน้อย เลือดออกง่าย
ผู้ป่วยมีอาการอาเจียนเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ ก่อนมา รพ. 2ครั้ง มีผิวหนังซีด อ่อนเพลีย เลือดออกง่าย ตาเหลือง capillary refill 3 วินาที ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ HCT 29.9 HB 10.1
ข้อวินิฉัยทางการพยาบาล: ภาวะซีดเนื่องจากเสียเลือดทางเดินอาหารส่วนบน
ข้อมูลสนับสนุน
S: ผู้ป่วยบอกว่า มีอาการอ่อนเพลีย อาเจียนเป็นเลือด อุจจาระเป็นสีดำ
S: ผู้ป่วยบอกว่า มีปลายมือปลายเท้าชา
O: Capillary refill 3 วินาที
O: HB = 10.1 HCT = 29.9
จุดมุ่งหมาย : ไม่มีภาวะซีด
เกณฑ์การประเมิน : 1. ไม่มีอาการอาเจียนเป็นเลือด อุจจาระเป็นสีดำ
กิจกรรมการพยาบาล
ดูเเลให้ได้รับเลือดตามเเผนการรักษาเเละเฝ้าระวังการให้เลือด เช่น เจ็บหน้าอก คลื่นไส้ มีไข้ หนาวสั่น ผิวหนังเเดง
ดูเเลให้รับยาลดกรด/ยาช่วยให้หลอดเลือดเเข็งตัวทางหลอดเลือดดำ ดูเเลให้รับยา Omeprazole 40 mg q 12 he ตามเเผนการรักษา อาการข้างเคียง ปวดท้อง ท้องเสีย ท้องอืด คลื่นไส้ อาเจียน
สังเกตระดับความรู้สึกตัว/การหายใจ/อาการซีด/อาเจียนเป็นเลือด/ถ่ายเป็นเลือด
ประเมิน HCT หลังผู้ป่วยได้รับเลือด ค่าHCT อยู่ในเกณฑ์ปกติถ้ามีอาการถ่ายดำ ให้รายงานเเพทย์ทันที
ดูเเลจำกัดกิจกรรมบนเตียง
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ อยู่ในเกณฑ์ปกติ HCT = 37-47 HB : 12-16
O: ผู้ป่วยมีตาขาวเหลือง
O: bowel sound 4 ครั้งต่อนาที
S: ผู้ป่วยบอกว่าถ่ายเป็นเลือด
O: ผู้ป่วยได้รีบยาต้านการเเข็งตัวของเลือด ได้เเก่ ยาwarfarin
ข้อวินิฉัยการพยาบาล : อาจเกิดภาวะเลือดออกง่ายเนื่องจากปัจจัยในการเเข็งตัวของเลือดลดลง
จุดมุ่งหมาย: ปลอดภัยจากภาวะเบือดออกง่าย
เกณฑ์การประเมิน: ไม่มีอาการเเสดงของการมีเลือดออกในร่างกาย เช่นเลือดออกตามไรฟัน ถ่ายเป็นเลือด อาเจียนเป็นเลือด
กิจกรรมการพยาบาล
อธิบายข้อบ่งใช้ของยาต้านการแข็งตัวของเลือด เเละอาการข้างเคียงที่ได้รับยา ได้เเก่ รอยจ้ำเลือดตามตัว อาเจียนเป็นเลือด คลื่นไส้ เพื่อให้ผู้ป่วยทราบถึงอาการข้างเคียงของยา
เเนะนำให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้เลือกออกง่าย เช่น การเเปรงฟัน แรงเกินไปการออกกำลังกายแบบหักโหม เพื่อไม่ให้เกิดภาวะเลือดออก
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ เพื่อให้ผู้ป่วยพักผ่อนอย่างเพียงพอ
สังเกตุอาการที่ผิดปกติของการเลือดออกในร่างกายได้แก่เลือดออกตามไรฟัน ถ่ายเป็นเลือดอาเจียนเป็นเลือดมีบาดแผลเลือดไหลไม่หยุด เพื่อดูความผิดปกติที่จะเกิดกับผู้ป่วย
ภาวะเเทรกซ้อน
ทฤษฎี
GI Bleeding อาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น โลหิตจาง ไตวาย ภาวะช็อกหากเลือดออกมาก และอาจส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้หากได้รับการรักษาไม่ทันท่วงที นอกจากนี้ วิธีการรักษา GI Bleeding บางประเภทยังอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้ เช่น การส่องกล้องอาจทำให้ปอดอัดเสบจากการสำลัก หรืออวัยวะภายในทะลุ และการผ่าตัดอาจทำให้เกิดลำไส้อุดตัน ติดเชื้อ หรือมีปัญหาเกี่ยวกับแผลหลังการผ่าตัดได้
กรณีศึกษา
ผู้ป่วยกรณีศึกษาไม่มีภาวะช็อค เนื่องจากมารพ. ได้ทันท่วงทีมีภาวะ เเต่เนื่องจากมีอาการอาเจียน เป็นเลือด1ครั้ง ถ่ายเป็นเลือด2ครั้ง จึงทำให้ผู้ป่วยซีดจากการสูญเสียเลือด
การรักษา
ทฤษฎี
การรักษาโดยวิธีการให้ยา somatostatin
การรักษาโดยไม่ใช้วิธีการใช้ยา หรือการเปลี่ยนแบบแผนการดำรงชีวิต
กรณีศึกษา
ให้ยาตามเเผนการรักษา 1. Omeprazol 80 mg อาการข้าง ท้องเสีย ปวดท้อง ท้องอืด คลื่นไส้ อาเจียน 2. ให้เลือด 1 u อาการข้างเคียงหลังให้เลือด เจ็บหน้าอก มีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ คลื่นไส้ ปวดหลัง มีไข้ หนาวสั่น ผิวหนังเเดง ความดันโลหิตต่ำ ชีพจรเต้นเร็วผิดปกติ
พยาธิสภาพ
ภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนบน (Upper Gastrointestinal Bleeding : UGIB) เกิดจากทางเดินอาหารอักเสบหรือเป็นแผล ตามปกติ ทางเดินอาหารจะมี mucosal barrier เพื่อป้องกันการย่อยตัวเอง (acid autodigestion) เมื่อมีการหลั่งกรด โดยมี prostaglandin เป็นตัวช่วยป้องกัน แต่ถ้ากลไกการป้องกันล้มเหลวหรือขาดความสมดุล จะทำให้ทางเดินอาหารอักเสบ มีการทำลายของ mucosa ทำให้เกิดอันตรายต่อเส้นเลือดเล็กๆ (small vessels) ทำให้เกิดการบวม เลือดออก และรอยถลอก
เลือดที่ออกมาจะทำปฏิกิริยากับน้ำย่อยในกระเพาะอาหารจึงทำให้เลือดเป็นสีดำ ผู้ป่วยมักมาด้วยอาการอาเจียนเป็นเลือดสดหรือเลือดเก่า และถ่ายดำ
กรณีศึกษา
ผู้ป่วยราย นี้มีอาการ อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายเป็นเลือด