Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 29 ปี เตียง 8 - Coggle Diagram
ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 29 ปี เตียง 8
Dx. Blighted ovum
พยาธิสภาพ
การตั้งครรภ์ที่ไม่มีตัวอ่อนหรือตัวอ่อนสลายไปตั้งแต่ระยะเริ่มแรกเป็นการแท้งลูกแบบหนึ่งเกิดในช่วงระยะไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ จะพบการตั้งครรภ์เกิดในโพรงมดลูกแต่ไม่มีตัวทารกในถุงการตั้งครรภ์ มีแต่ถุงการตั้งครรภ์ ต่างจากการตั้งครรภ์ปกติซึ่งจะตรวจพบทั้งถุงการตั้งครรภ์และตัวทารก
อาการ
ทฤษฎี
จะมีอาการเหมือนหญิงตั้งครรภ์ที่มีการตั้งครรภ์ตามปกติ
ได้แก่อาการแพ้ท้อง คลื่นไส้ อาเจียน
เวียนศีรษะตรวจระดับฮอร์โมนการตั้งครรภ์ก็จะเหมือนครรภ์ปกติ
กรณีศึกษา
ประจำเดือนขาด 2 เดือน
อาการคลื่นไส้อาเจียน
เวียนศีรษะ
ปวดท้องหน่วงๆ
การรักษา
ทฤษฎี
รอดูอาการและรอให้ร่างกายช่วยขับส่วนที่เป็นถุงน้ำและรกออกมาเองเมื่อการตั้งครรภ์ดำเนินถึงระยะเวลาหนึ่ง ฮอร์โมนการตั้งครรภ์จะลดลงแต่อาจจะใช้เวลาหลายอาทิตย์ ร่างกายจะช่วยกำจัดถุงน้ำในมดลูกออกมาได้เอง ข้อดีของวิธีนี้คือ ไม่ต้องให้ยาสลบเพื่อทำการขูดมดลูกและผนังโพรงมดลูกไม่เป็นแผล แต่ก็มีข้อเสียในกรณีที่เนื้อเยื้อไม่ยอมหลุดลอกผู้ป่วยก็จะต้องรอไปนานมาก หรือบางครั้งมีการหลุดลอกเนื้อเยื่อแต่ออกไม่หมดก็จำเป็นต้องมาขูดมดลูกซ้ำที่หลัง
ในกรณีที่ร่างกายไม่สามารถขับถุงน้ำออกมาได้เอง หรือผู้ป่วยต้องการยุติการตั้งครรภ์โดยเร็ว ก็จะใช้การขูดมดลูกเพื่อลอกเนื้อเยื่อที่ค้างอยู่ภายในมดลูกออก
ใช้ยา Cytotec ที่ใช้เพื่อให้เกิดการคลอดและรักษาภาวะตกเลือดเนื่องจากการหดรัดตัวของมดลูกน้อย ยาทำให้เกิดการหดตัวของกล้ามเนื้อมดลูกก่อนทำ MVA
4.การขูดมดลูกมี 2 แบบ ได้แก่
1.การถ่างขยายปากมดลูกร่วมกับการขูดมดลูก (Dilation and curettage) การขูดมดลูกในการทำหัตถการนี้ ปากมดลูกของผู้หญิง(ส่วนที่ต่ำที่สุดและแคบที่สุดของมดลูก) จะถูกถ่างขยายด้วยเครื่องมือหรือยา เพื่อให้สามารถขูดเยื่อบุโพรงมดลูกด้วยอุปกรณ์ที่มีลักษณะคล้ายช้อนคม ๆ เรียกว่า curette ซึ่งcurette นี้มีความคม
2.การขูดมดลูกแบบแยกส่วน เพื่อตรวจหาความผิดปกติภายในโพรงมดลูกซึ่งทำให้ เกิดเลือดออกโดยเฉพาะอย่างยิ่งมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก นอกจากนี้อาจจะหยุดภาวะเลือดออกผิดปกติได้ โดยตรวจแต่ละส่วนของมดลูกด้วยการขูดเยื่อบุปากมดลูกด้านในและโพรงมดลูกส่งตรวจทางพยาธิวิทยา
ใช้วิธีการดูดมดลูกด้วยเครื่องมือสุญญากาศ มี 2 ชนิดคือ
1.เครื่องดูดไฟฟ้า (Electric Vacuum Aspiration - EVA)
2.เครื่องดูดมือถือ (Manual Vacuum Aspiration - MVA)
ภายหลังการรักษาภาวะท้องลม โดย
-เมื่อการตั้งครรภ์ภาวะท้องลมสิ้นสุดลง ประจำเดือนจะมาตามปกติใน 1-2 เดือน
-การคุมกำเนิดเพื่อเป็นการพักมดลูก 2-3 เดือน
กรณีศึกษา
25/04/66
-NPO
-5% DN/2 1000ml rate 80/hr
set D & C
สาเหตุ
ทฤษฎี
ไม่ทราบสาเหตุที่แนชัด แต่เชื่อว่าเป็นเหตุที่เกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติ
-พบว่าส่วนใหญ่ประมาณ 45-50% เกิดจากตัอ่อนมีความผิดปกติของโครโมโซมทำให้ไม่สามารถเจริญต่อเป็นทารกได้ตามปกติและสลายตัวไปเหลือแต่ถุงการตั้งครรภ์
-มีโอกาสพบได้ขึ้นอยู่กับพันธุกรรมของหญิงตั้งครรภ์ โดยความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นตามอายุแลประวัติการตั้งครรภ์ในอดีต
-การแบ่งเซลล์เพื่อสร้างตัวอ่อนผิดพลาด เกิดจากช่วงปฏิสนธิทำให้ตัวอ่อนมีโครโมโซมมากหรือน้อยเกินไปจึงไม่มีการสร้างตัวทารกขึ้นมาแต่เซลล์ในส่วนของการสร้างถุงน้ำคร่ำและรกยังคงพัฒนาต่อไปได้
กรณีศึกษา
ข้อมูลผู้ป่วย เกิดการแบ่งเซลล์ตัวอ่อนผิดพลาดจากการปฏิสนธิ ตัวอ่อนไม่แข็งแรงทำให้ไม่สามารถเจริญเติบโตได้ จึงพบแต่ส่วนถุงน้ำคร่ำ
ข้อมูลผู้ป่วย
ข้อมูลทั่วไป
ชื่อผู้ป่วย นางสาวสอนทะลี พรมมหาชัย
อายุ 29 ปี
เพศหญิง
เชื้อชาติ ลาว
สัญชาติ ลาว
อาชีพ พนักงานโรงแรม
รายได้ 360บาท/วัน
วันที่เข้ารับการรักษา 25 เมษายน 2566
ข้อมูลการเจ็บป่วย
อาการสำคัญ
มีเลือดออกทางช่องคลอด ประมาณ 1 pad 2วันก่อนมาโรงพยาบาล
ประวัติการเจ็บป่วยปัจจุบัน
2 วันก่อนมาโรงพยาบาล มีเลือดออกทางช่องคลอด ประมาณ 2 pad วันนี้มีเลือดออกอยู่จึงมาโรงพยาบาล
การวินิจฉัย
Blighted ovum ความหมาย ภาวะท้องลมหรือไข่ฝ่อ
การผ่าตัด Dilation and Curettage
การขูดมดลูก
ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ
Neutrophil 73.4 H
ร่างกายอาจกำลังเกิดความเครียดอย่างหนัก
Eosinophil 0.6 L
% Basophil 0.0 L
การตรวจร่างกาย
มารดาถามตอบรู้เรื่อง ให้ความร่วมมือในการซักประวัติ สีหน้าท่าทางไม่สุขสบายและวิตกงวลเล็กน้อย เยื่อบุตาไม่ซีดทั้ง2ข้างไม่มีอาการวิงเวียนศีรษะ ไม่มีตาพร่ามัว ต่อมไทรอยค์ไม่บวมโต หัวนม เต้านม ปกติทั้ง2ข้าง ขาทั้ง2 ข้างไม่บวม
แบบแผนที่ผิดปกติ
แบบแผนที่ 5 การนอนหลับพักผ่อน
มีความเครียดหลังจากการมีเลือดออกทางช่องคลอดทำให้มีอาการนอนไม่หลับวิตกกังวล
แบบแผนที่ 9 เพศสัมพันธุ์และการเจริญพันธุ์
มีปัญหาเลือดออกทางช่องคลอด
แบบแผนที่ 10 การเผชิญความเครียดและความทนต่อความเครียด
มีอาการปวดหัวเมื่อมีความเครียด
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
ผู้ป่วยวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะของโรคที่เป็นอยู่
ข้อมูลสนับสนุน
S : - ผู้ป่วยบอกว่ามีความวืตกกังวลในการรักษา
O - มีสีหน้าซึมเศร้า
จุดมุ่งหมาย
เพื่อคลายความวิตกกังวลของหญิงหลังทำแท้ง
เกณฑ์การประเมินผล
หญิงหลังทำแท้งและญาติคลายความวิตกกังวล มีสีหน้าสดชื่นขึ้น
ปฏิบัติตนได้ถูกต้อง ให้ความร่วมมือในการรักษาพยาบาล
นอนหลับช่วงกลางคืน ได้วันละ 6- 8 ชั่วโมง
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินความวิตกกังวล เปิดโอกาสให้หญิงหลังแท้งและญาติ ซักถามข้อสงสัย และตอบคำถามด้วยน้ำเสียงที่นุ่มนวล เป็นกันเอง
แนะนำและอธิบายให้ทราบถึงแนวทางการรักษาของแพทย์ ระยะเวลาที่ต้องอยู่โรงพยาบาล
ให้ญาติมีส่วนร่วมในดูแล เป็นเพื่อนพูดคุยคอยให้กำลังใจแก่ตลอดเวลา
ดูแลให้ได้รับการพักผ่อนอย่างเต็มที่ นอนหลับช่วงกลางคืนได้วันละ 6-8 ชั่วโมง
การประเมินผล
หญิงหลังทำแท้งมีสีหน้าที่ยิ้มแย้มสดใส คลายความวิตกกังวลลง
ให้ความร่วมมือในการรักษาพยาบาลเป็นอย่างดี
นอนหลับพักผ่อนได้ 7 ชั่วโมงในช่วงกลางคืน
มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนภายหลังได้รับการขูดมดลูก
ได้แก่ ภาวะตกเลือด มดลูกทะลุ
ข้อมูลสนับสนุน
S : - หญิงหลังทำแท้งบอกว่า “ปวดหน่วงท้องน้อย
O : - สีหน้าไม่สดชื่น- ได้รับการรักษาภาวะแท้งไม่ครบ โดยการขูดมดลูก
จุดมุ่งหมาย
เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ภาวะตกเลือดมดลูกทะลุ
เกณฑ์การประเมินผล
สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ
อุณหภูมิร่างกาย36.5 – 37.4องศาเซลเซียส
อัตราการเต้นของชีพจร60-80ครั้ง/นาที
อัตราการหายใจ18-24ครั้ง/นาที
ความดันโลหิต90/60-130/90มิลลิเมตรปรอท
มีเลือดออกทางช่องคลอดน้อยกว่า 50 มิลลิลิตร/ชั่วโมง
กิจกรรมการพยาบาล
ติดตามและประเมินค่าความเข้มข้นของเลือดทุก 4 ชั่วโมงและรายงานให้แพทย์ทราบ
สังเกตและประเมินปริมาณเลือด ที่ออกจากช่องคลอดทุก 4 ชั่วโมง
แนะนำผู้ป่วยใส่ผ้าอนามัยไว้ตลอดเวลา เพื่อประเมินปริมาณลักษณะ สี และกลิ่นเลือดที่ออกจากช่องคลอด
แนะนำไม่ให้กลั้นปัสสาวะ เพื่อป้องกันภาวะตกเลือด
ตรวจวัดสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง
3.ไม่พบภาวะแทรกซ้อนหลังได้รับการขูดมดลูก
ความดันโลหิต100/70 มิลลิเมตรปรอท
อัตราการหายใจ20ครั้ง/นาที
อัตราการเต้นของชีพจร82ครั้ง/นาที
อุณหภูมิร่างกาย36.9 องศาเซลเซียส
ปริมาณจำนวนเลือดที่ออกจากช่องคลอด มีปริมาณเล็กน้อยสีแดงจางปริมาณลดลงเรื่อยๆและไม่มีกลิ่นเหม็น
การประเมินผล
ผู้ป่วยขาดทักษะในการดูแลตนเองเมื่อกลับบ้าน
M (Medication) : ความรู้เกี่ยวกับยา อธิบายเกี่ยวกับยาที่ได้รับ ให้หญิงหลังทำแท้งที่มีภาวะติดเชื้อได้รับทราบและปฏิบัติได้ถูกต้องยาที่ได้รับ ยาแก้การอักเสบได้แก่
Amoxycillin (500 มิลลิกรัม) รับประทานครั้งละ1 แคปซูล วันละ 3 เวลาหลังอาหารและก่อนนอน รับประทานให้หมดซองให้ 28 แคปซูล อาการแพ้ มีผื่นขึ้น หายใจไม่ออก
ยาบรรเทาอาการปวดลดไข้
Paracetamal (500มิลลิกรัม) รับประทานครั้งละ 1 เม็ด เวลาปวดท้องหรือมีไข้ห่างกันทุก 4- 6 ชั่วโมง ให้สังเกตผื่นขึ้น และให้ดื่มน้ำตามมากๆ
E (Environement & Economic) : ความรู้เกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อมที่บ้านให้เหมาะสมกับภาวะสุขภาพ
จัดสิ่งแวดล้อมให้เป็นระเบียบ
บ้านควรเปิดประตูหน้าต่างให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก
T (Treatment) : รู้ปัญหาการรักษาและมีทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติตามการรักษาสามารถเฝ้าระวัง การสังเกตอาการของตัวเอง แนะนำการปฏิบัติตัวหลังขูดมดลูก ให้ใส่ผ้าอนามัยไว้จนกว่าจะไม่มีเลือดออกทางช่องคลอด อาการผิดปกติที่ควรมาพบแพทย์ ได้แก่ มีเลือดออกจากช่องคลอดมากขึ้น มีเลือดอกจากช่องคลอดนานเกิน 3 วัน โดยเลือดที่ออกมีปริมาณไม่ลดลง แต่กลับมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นและมีสีแดงเข้ม สิ่งคัดหลั่งที่ออกจากช่องคลอด มีกลิ่นเหม็นและมีลักษณะคล้ายหนอง หรือมีไข้ร่วมด้วย ปวดท้องน้อยมาก รับประทานยาแก้ปวดแล้วไม่ทุเลาให้มาพบแพทย์ทันที
H (Health) : ต้องเข้าใจภาวะสุขภาพของตัวเองว่ามีข้อจำกัดอะไรบ้าง
หญิงหลังทำแท้ง เข้าใจพยาธิสภาพของโรคที่ตนเองเป็นอยู่ และสามารถยอมรับได้ โดยปฏิบัติตาม คำแนะนำในขณะอยู่โรงพยาบาลได้
แนะนำงดกิจกรรมที่ต้องใช้แรงมากๆ เช่น ยกของหนัก ออกกำลังกายหนักๆเป็นเวลา2-3 สัปดาห์
แนะนำงดร่วมเพศอย่างน้อย 4 สัปดาห์
O (Outpatient and referral) : เข้าใจความสำคัญของการมาตรวจตามนัด ทั้งวัน เวลา สถานที่
แนะนำให้หญิงหลังทำแท้งมาตรวจตามนัด
D (Diet) : ต้องเข้าใจและสามารถเลือกรับประทานอาหารได้ถูกต้อง
แนะนำให้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ให้ครบ 5 หมู่ ตามที่มีในท้องถิ่น เช่น เนื้อหมู ไก่ ปลา ผัก ผลไม้ตามฤดูกาล
งดอาหารหมักดอง อาหารที่มีรสจัด สิ่งมึนเมา บุหรี่ กาแฟ และเครื่องดื่มที่มีอัลกอฮอล์
ดื่มน้ำวันละ 8-10 แก้ว
D (Diagnosis) : ให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะท้องลมหรือไข่ฝ่อ ถึงสาเหตุ อาการ การรักษาด้วยการผ่าตัดและการผ่าตัดที่ได้รับแก่ผู้ป่วย
การประเมินผล
ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติเมื่อกลับบ้านได้ถูกต้องเหมาะสม
2.แนะนำการปฏิบัติตัวกลับบ้านตามหลัก D-METHOD
ประเมินความพร้อมในการปฏิบัติตัวและทักษะในการดูแลตัวเองของผู้ป่วย
ยาที่ได้รับ
Amoxicillin
เป็นยาปฏิชีวนะในกลุ่ม Penicillin
500 mg. 1 tab
กลไกลการออกฤทธิ์ ยาเข้าไปยับยั้งชีวสังเคราะห์ของมิวโคเปปไทด์ (mucopeptide) ที่เป็นองค์ประกอบของผนังเซลล์ของเชื้อแบคทีเรีย ทำให้เชื้อตายและลดจำนวนลง
ผลข้างเคียง
ปัสสาวะมีสีเข้ม
ปวดท้อง
ท้องเสียอย่างต่อเนื่อง
อุจจาระมีมูกเลือดปน
คลื่นไส้อาเจียน
เวียนหัว
ลิ้น และคอบวม
ตัวเหลือง ตาเหลือง
Paracetamol
กลุ่ม analgesics
500 mg. 1 tab
ออกฤทธิ์ระงับปวด (analgesic effect) โดยการจับกับ arachidonic acid แล้วเกิด N-arachidonoyl- phenolamine (AM404) หลังจากนั้น AM404 จะกระตุ้น capsaicin receptor (TRPV1) และ cannabinoid CB1 receptor ในระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งส่งผลให้ความปวด ลดลง
ผลข้างเคียง
หายใจไม่ออก
อุจจาระเป็นเลือด หรือมีสีดำ
ปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะน้อยลงอย่างไม่มีสาเหตุ
มีอาการไข้ หนาวสั่น
ใบหน้า ดวงตา และปาก เกิดอาการบวม
มีจุดแดงเล็ก ๆ ขึ้นตามผิวหนัง
มีผื่นคัน
มีแผลร้อนใน หรือ จุดขาว ๆ ขึ้นที่ริมฝีปากหรือภายในช่องปาก
ผลตวจพิเศษ
ตรวจอัลตราซาวด์พบถุงการตั้งครรภ์ขนาดใหญ่กว่า 2 ซม. จากการอัลตราซาวด์ทางหน้าท้อง หรือ ใหญ่กว่า 1.3 ซม. จากการอัลตราซาวด์ทางช่องคลอดแต่ยังไม่พบถุงอาหารของทารกในครรภ์
ผู้ป่วยชาวลาววัยทำงาน 2วันก่อนมาโรงพยาบาล มีเลือดออกทางช่องคลอด ~2pad แพทย์วินิจฉัยว่าเป็น Bilghted ovum
วันที่ 25 เมษายน 2566 ผู้ป่วยหญิงชาวลาว สวมชุดโรงพยาบาล ช่วยเหลือตัวเองได้ on injection/plug ที่แขนข้างขวา แพทย์งดน้ำงดอาหารเตรียมผ่าตัด มีเลือดออกทางช่องคลอด ~ 1 pad ปัสสาวะ4ครั้ง อุจจาระ1ครั้ง
วันที่26 เมษายน 2566 ผู้ป่วยมีผ่าตัด 10.00น.การผ่าตัดคือ Dilation and curettage หลังผ่าตัดผู้ป่วยมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน1ครั้ง จากฤทธิ์ยาสลบ มีอาการหน่วงท้อง เลือดออก~1 pad
27 เมษายน 2566 ผู้ป่วยไม่มีอาการหน่วงท้อง เลือดไม่ออก แพทย์จึงอนุญาตให้กลับบ้านได้