Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
นางสาวธนนันท์ เกลาโพธิ์ นักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 2 …
นางสาวธนนันท์ เกลาโพธิ์
นักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 2
เคสกรณีศึกษา Diabetic Ketoacidosis (DKA)
Type 2 diabetes Mellitus (โรคเบาหวานชนิดที่ 2)
พยาธิสภาพของโรค
1.การหลั่งอินซูลินไม่เพียงพอ ความผิดปกติในการหลั่งอินซูลินจากตับอ่อน
2.การดื้อต่ออินซูลิน ร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน ปรับโดยหลั่งอินซูลินออกมากขึ้นถึงระดับหนึ่งที่ Beta cell หลั่งอินซูลินลดลง ไม่ตอบสนองให้หลั่งอินซูลินออกมาเพื่อลดระดับน้ำตาล พบ islet amyloid polypeptide หลั่งออกมาพร้อมกับอินซูลิน 100:1 รวมกันเป็น amyloid fibrill สะสมภายในและนอก Beta cell จนจำนวน Beta cell ลดลงและถูกทำลายมากขึ้น
ความหมาย
พบความผิดปกติในกลุ่มวัยรุ่นและเด็กอายุมากกว่า 10 ปีขึ้นไปที่อ้วน การถ่ายทอดทางพันธุกรรมมีโอกาสเสี่ยงต่อโรคเบาหวานมากขึ้น ยังพบสาร amyloid มาแทนที่ iselets cells ทำให้ Beta cell ลดลงเกิดภาวะ glucose toxicity และ lipotoxicity
อาการและอาการเเสดง
มีการโรคก้าวหน้าไปแล้ว พบ1/3 ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จะพบเมื่อมีอาการของโรคหัวใจร้อยละ 50 ของผู้ป่วย วินิจฉัยจากอาการปัสสาวะบ่อยเฉพาะเวลากลางคืน กระหายน้ำ อ่อนเพลีย ตาพร่ามัว ร้อยละ16 เมื่อมาพบแพทย์ด้วยอาการติดเชื้อ ผู้ป่วยไว้ วัยกลางคนจนถึงวัยสูงอายุอาจพบอาการหมดสติจากน้ำตาลในเลือดสูงแบบไม่มีกรดคั่ง
โรคแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน
ชนิดเฉียบพลัน
ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
(Hypoglycemia)
ความหมาย
ภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่า 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
สำหรับคนปกติให้ใช้ระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่า 50 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
สาเหตุ
เกิดจากการใช้ยารักษาเบาหวานโดยมีปัจจัยอื่นร่วม เช่น รับประทานอาหารน้อยเกินไป ออกกำลังกายมากเกินไป เป็นโรคตับหรือไตที่ทำให้ระดับของยาในร่างกายสูง
พยาธิสภาพของโรค
สมองขาดน้ำตาล เกิดการกระตุ้นระบบประสาทซิมพาเทติค ทำให้มีการหลั่ง Glucagon, catecholamine, Cortisol และ Growth hormone เพื่อเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด สลายไกลโคเจนของระบบประสาทส่วนกลางทำให้สมองทำงานลดลง เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดต่ำจะหลั่งอินซูลินลดลง จากนั้น Glucagon จะหลั่งกระตุ้นให้ตับสลายไกลโคเจนเป็นกลูโคส และไตสร้างกลูโคสของสารอื่น ระยะนี้ถ้าไม่ได้แก้ไขจะเป็นระยะวิกฤต ร่างกายจะหลั่ง Epinephrine เป็นลำดับสุดท้าย กระตุ้นให้ตับสลายไกลโคเจนและเพิ่มการสร้างกลูโคสจากตับ ถ้าระดับกลูโคสต่ำหรือต่ำนานจะมีการหลั่ง Cortisol และ Growth hormone ทำให้มีการสร้างกลโคสและลดการใช้กลูโคส
อาการและอาการแสดง
1.อาการจากระบบประสาทซิมพาเทติคถูกกระตุ้น คือ เหงื่อออก ตัวซีดเย็น
ใจสั่น มือสั่น หิว ชีพจรเต้นเร็ว กระสับกระส่าย
2.อาการจากระบบประสาทส่วนกลาง คือ ปวดศีรษะ มึนงง สับสน ความคิด
ความจำเสื่อม ตาพร่ามัว พูดไม่ชัด เดินเซ ซึมลง รูม่านตาขยาย และหมดสติ
การวินิจฉัยและการรักษา
-การตรวจระดับน้ำตาลปลายนิ้ว รักษาโดยให้กลูโคส 15-20 กรัม เช่น
น้ำผลไม้ 120 มิลลิลิตร น้ำหวานเข้มข้น 2 ช้อนโต๊ะในน้ำ 100 มิลลิตร
ลูกอม 3-5 เม็ด และสามารถให้ซ้ำอีกและรักษาอื่นๆตามอาการ
ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงชนิดมีกรดเกิดขึ้น
(Diabetic Ketoacidosis)
ความหมาย
เป็นภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงที่เกิดจากการขาดอินซูลิน ร่างกายใช้กลูโคสเป็นแหล่งพลังงานไม่ได้ จึงใช้จากไขมันแทน ทำให้เกิดคีโตนสะสม และเกิดภาวะกรด
กรณีศึกษา: แพทย์วินิจฉัยภาวะน้ำตาลในเลือดสูงชนิดมีกรดเกิดขึ้น
(Diabetic Ketoacidosis)
อาการและอาการแสดง
1.ตรวจพบระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากกว่า 250 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
2.CO2 น้อยกว่า 18 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
3.pH ต่ำกว่า 7.30
4.ปัสสาวะมาก
5.ดื่มน้ำมาก
6.โพแทสเซียมต่ำ
7.มืนงง
8.หายใจหอบ
9.ปัสสาวะมีคีโตน
10.หายใจหอบลึก
11.หายใจมีกลิ่นผลไม้
กรณีศึกษา: DTX 294 mg% (วันที่ 15/04/66)
CO2 14.3 mmol/L (วันที่15/04/66)
K 3.39 mmol/L (วันที่ 14/04/66)
หายใจหอบเหนื่อย
Intake 1350 Output 1000 (วันที่ 20/040/66)
ผลตรวจปัสสาวะ Ketone 3+ (วันที่ 14/04/66)
พยาธิสภาพของโรค
1.การขาดฮอร์โมนอินซูลิน (Glucagon,Cortisol, Adrenaline, Catecholamine) ทำให้เนื้อเยื่อร่างกายไม่สามารถนำกลูโคสไปใช้เป็นพลังงานได้ ร่างกายเปลี่ยนไขมันเป็นกรดไขมันอิสระ (Free fatty acid) ที่ตับ เพื่อใช้เป็นแหล่งพลังงาน ตับเปลี่ยนกรดไขมันอิสระเป็นสารคีโตนมีฤทธิ์เป็นกรด
2.การเพิ่มของฮอร์โมนตอบสนองความเครียด (Glucagon, Growth hormone, Cortisol, Catecholamine)
สร้างกลูโคสใหม่ ใช้กลูโคสที่เนื้อเยื่อส่วนปลายลดลง ทำให้กลูโคสสูงมากขึ้น Glucagon กระตุ้นให้เกิดการสร้างคีโตน
การวินิจฉัยและการรักษา
-ตรวจพบคีโตนในปัสสาวะ ภาวะกรดในเลือด การตรวจอิเล็กโทรไลต์
-การรักษา: เพื่อให้เลือดสามารถไปเลี้ยงเนื้อเยื่อต่างๆเพียงพอ ลดระดับน้ำตาลในเลือด แก้ไขภาวะกรดและอิเล็กโทรไลต์ โดยการให้อินซูลิน ให้น้ำและอิเล็กโทรไลต์แทนที่ให้เพียงพอ โดยเฉพาะไปแตสเซียมจะต่ำเมื่อเกิดภาวะกรด และเคลื่อนที่เข้าในเซลล์ ควรเพิ่มโปแตสเซียมลงในสารน้ำที่ให้แก่ผู้ป่วย ร่วมกับการแก้ไขภาวะกรด แต่ต้องระวังเรื่องการให้น้ำที่มากและเร็วเกินไปตาจทำให้สมองบวม
กรณีศึกษา: การตรวจปัสสาวะ Ketone 3+ (วันที่ 14/04/66)
ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงชนิดไม่มีกรดคั่ง
(Hyperosmolar hyperglycrmic nonketotic nonketotic syndrome)
ความหมาย
ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงมาก โดยไม่มีภาระกรดจากคีดีโตน มักพบในโรดเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เป็นผู้สูงวัย และเกิดร่วมกับการติดเชื้อ โรตหัวใจหรือโรตได
พยาธิสภาพของโรค
เกิดจากการขาดอินซูลิน มีการผลิตกลูโคสจากตับ กล้ามเนื้อไม่สามารถใช้กลูโคสเป็นแหล่งพลังงานได้ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงจึงทำให้เกิดภาวะ Osmotic diuresis เกิดภาวะขาดน้ำ แต่ไม่มีภาวะกรดคั่งและความรุนแรงน้อยกว่า DKA พบฮอร์โมนที่ทำให้เกิดภาวะลักษณะน้ำตาฃในเลือดสูงมากอาจถึง 750 - 1,000 มก.ดล. มีภาวะของเสียคั่ง (prerenal azotemia) ระดับโซเดียมในเลือดต่ำ และไม่เกิดภาวะเป็นกรด ถ้ามีภาวะกรดเกิดจะเป็นแบบ lacic acidosis
อาการและอาการแสดง
1.ตรวจเลือดพบระดับน้ำตาลสูงมากกว่า 600 มก./ตล.
2.ไบคาร์บอเนตมากทว่า 15 มก/ดล.
3.pH มากกว่า 7.30
4.ออสโมลาริตีมากทว่า 320 mOsm/L
5.ไม่พบคีโตนในปัสสาวะมาก
6.สูญเสียอิเล็กโทรไลต์ โพแทสเซียม
7.ความดันโลหิตต่ำ
8.มีอาการทางประสาท เช่น ชัก ระบบไหลเวียนล้มเหลว ทำให้หมดสติจากสมองขาดเลือด ไตทำงานผิดปกติ กล้ามเนื้อหัวใจตาย
การวินิจฉัยและการรักษา
-ผลการตรวจเลือด HHS มีอาการขาดน้ำมากกว่า DKA
จากภาวะเจ็บป่วยที่นาน และมักพบในผู้สูงอายุทำให้อัตราการตายสูงกว่า
-การรักษา: การให้อินซูลิน ทดแทนน้ำและอิเล็กโทรไลด์ และรักษา
ตันเหตุไปพร้อมกันรักษาภาวะขาดโพแทสเซียม แมกนีเซียม
ชนิดเรื้อรัง
1.เกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดใหญ่
Coronary artey dieases
สาเหตุการตายมากที่สุดในผู้ป่วยโรคเบาหวาน เกิดโรคมาจากภาวะดื้อต่ออินซูลิน ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ไขมันไตรกลีเซอไรด์และ LDL ในเลือดสูง HDL ในเลือดต่ำ เกล็ดเลือดเพิ่มขึ้น มีการสลายไฟบรินลดลง อาจมีผลทำให้หัวใจล้มเหลว
Stroke
พบมากเป็น 2 เท่าในผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีภาวะไขมันไนเลือดสูง ความดันโลหิตสูง การสูบบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยง
Peripheral vascular disease (PVD)
การอุดตันในหลอดเลือดทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนปลายลดลง จึงเกิดแผลที่เท้า การสูญเสียการรับรู้และการติดเชื้อ ทำให้ผู้ป่วยถูกตัดขา
2.เกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดแดงขนาดเล็ก
Diabotes retinopathy
เป็นสาเหตุให้ตาบอด เกิดมากในโรคเบาหวานชนิดที่ 1 จากภาวะที่มีน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน ทำให้บริเวณ basement membrane หนาตัวขึ้น เลือดไปเลี้ยงเรตินาลดลง เกิด microaneurysm ทำให้มีการซึมผ่านมากขึ้นจน macular บวม การมองเห็นเริ่มลดลง ขณะเดียวกันจะมีการสร้างหลอดเลือดใหม่ เกิดไฟบรัสและดึงรั้งเรตินาทำให้เรตินา หรือจอตาหลุด (retinal detachment) สูญเสียการมองเห็นและมีเลือดออกที่วุ้นตา
Diabetes nephropathy
สาเหตุสำคัญของโรคไตระยะสุดท้าย การเกิดความผิดปกติที่ไตอาจมาจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง ความหนืดของเลือด การสูญเสีย albumin ในปัสสาวะ protein kinase C , AGEs, renin- angiotensin-adosterone system ไซโตไคน์ และภาวะโคเลสเตอรอลสูง เมื่อโปรตีนถูกทำลายโดยระดับน้ำตาลที่สูงและผลเสียจากการมีความดันใน glomerulus สูง ทำให้เยื่อบุที่ glomerulus หนาและขยายขึ้น การสร้าง mesangial matrix ของ mesangial cell ทำให้เกิดแรงต้านต่อการไหลเวียนเลือดและลดอัตราการกรองถ้าตรวจพบ albumin ในปัสสาวะ (>30 มก./วัน ถือว่ามี albuminura) ถ้าเสียโปรตีนมากกว่าวันละ 300มก./วัน จะเริ่มแสดงอาการ เช่น บวม ทำให้เกิดปัญหาทางหัวใจและหลอดเลือดและไตมากขึ้น
Diabetic Neuropathy
ผลจากการส่งและรับสัญญาณประสาทช้าลง พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานมานานระหว่าง 5-10 ปี การเสื่อมของประสาทจะเกิดที่ส่วนปลายประสาทก่อน และเริ่มที่ประสาทรับความรู้สึกก่อนประสาทมอเตอร์ และมีผลต่อส่วนปลายของตัวประสาทมากกว่า เริ่มจากมีการเปลี่ยนแปลงที่เส้นประสาทรับความรู้สึกของระบบประสาทส่วนฟลายและประสาทส่วนกลาง โดยเฉพาะประสาทที่มีเยื่อหุ้มไมอิลิน รบกวนเมตาบอลิซึมของ schwann cell ทำใหขาไมอิลินใหม่ พยาธิสภาพเกิดที่ไขสันหลัง หรือเส้นประสาทส่วนปลายทำให้การรับความรู้สึกลดลงและเกิดอาการชา (paresthesia) การรับความรู้สึกเปลี่ยนไปอาจทำให้รับรู้ความปวด รับความรู้สึกไวเกิน เกิดแผลที่เท้าและเท้าผิดรูป แผลหายช้าจนต้องตัดขา
การติดเชื้อ เกิดขึ้นได้บ่อยกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน เนื่องจากหลายปัจจัย ได้แก่ การขาดออกซิเจนทำให้เนื้อเยื่อไวต่อการติดเชื้อ และผลจากการขาดเลือดไปเลี้ยงทำให้จำนวนเม็ดเลือดขาวลดลง เชื้อโรคจะเจริญได้ดีในเมื่อมีกลูโคสซึ่งเป็นแหล่งอาหารที่ดี นอกจากนี้ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงจะกดการสร้างภูมิคุ้มกัน
การรักษา สิ่งสำคัญที่สุดในการป้องกันโรคแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน คือ การควบคุมระดับน้ำตาลให้ใกล้เคียงปกติที่สุด โดยครอบคลุมทั้งการปฏิบัติตัวด้านอาหาร การออกกำลังกาย การดูแลเท้าการเฝ้าระวังโรคแทรกซ้อน โดยการใช้ยาลดระดับน้ำตาล และการใช้อินซูลิน
ยาที่ได้รับ
Ceftriaxone 2 gm ทางหลอดเลือดดำ ทุกๆ 12 ชั่วโมง
ยาปฏิชีวนะ : รักษาการติดเชื้อแบคทีเรีย
ผลข้างเคียง : คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย กดการสร้างไขกระดูก เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด Hct ต่ำ
Omeprazole 40 mg ทางหลอดเลือดดำ OD.
ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร รักษาแผลในกระเพาะอาหาร
ผลข้างเคียง : คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ไอ มีผื่นขึ้น
Mixtard 36 unit ทางใต้ชั้นผิวหนัง ac เช้า Mixtard 18 unit ทางใต้ชั้นผิวหนัง ac เย็น
ยาลดระดับน้ำตาลในเลือด
Regular insulin (RI) 2 unit ทางใต้ชั้นผิวหนัง
ยาลดระดับน้ำตาลในเลือด
มะขามป้อม prn
บรรเทาอาการไอ แก้เจ็บคอ
ผลข้างเคียง: อาจส่งผลต่อค่าระดับน้ำตาลในเลือด
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
1.มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเนื่องจากตับอ่อนเสียหน้าที่
ข้อสนับสนุน
S: "อ่อนเพลีย ไม่มีแรง"
O: อุณหภูมิร่างกาย 37.9 องศาเซลเซียส
อัตราการเต้นของหัวใจ 106 ครั้ง/นาที
อัตราการหายใจ 26 ครั้ง/นาที
ความดันโลหิตสูง 122/63 มิลลิเมตรปรอท
(วันที่ 20/04/66)
: DTX 234 mg% (วันที่ 20/04/66)
วัตถุประสงค์
ผู้ป่วยไม่ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง
เกณฑ์การประเมิน
1.ผู้ป่วยไม่มีอาการและอาการแสดงของภาวะน้ำตาลในเลือดสูง เช่น ปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำ อ่อนเพลีย
2.อุณหภูมิร่างกายอยู่ในระดับปกติ 36.5-37.4 องศาเซลเซียส
3.อัตราการเต้นของหัวใจอยู่ในระดับปกติ 60-100 ครั้ง/นาที
4.อัตราการหายใจอยู่ในระดับปกติ 12-24 ครั้ง/นาที
5.ความดันโลหิตอยู่ในระดับปกติ 120/80 มิลลิเมตรปรอท
6.ระดับน้ำตาลในเลือดไม่เกิน 200 mg%
กิจกรรมทางการพยาบาล
1.ประเมินอาการและอาการแสดงของภาวะน้ำตาลในเลือดสูง เช่น ปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำ อ่อนเพลีย หน้ามืด ใจสั่น ชาปลายมือปลายเท้า
2.ประเมินสัญญาณชีพ ทุก 4 ชั่วโมง
3.บันทึกปริมาณสารน้ำเข้าและออกในร่างกาย
4.ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดตามแผนการรักษา
5.ดูแลให้ได้รับ Mixtard 18 unit ทางใต้ชั้นผิวหนัง ตามแผนรักษา และสังเกตภาวะแทรกซ้อนหลังการให้ยา ได้แก่
ปวดศีรษะ ใจสั่น เหงื่อออกมาก
การประเมินผล
1.ผู้ป่วยไม่มีอาการอ่อนเพลีย
2.อุณหภูมิร่างกาย 36.8 องศาเซลเซียส
3.อัตราการเต้นของหัวใจ 98 ครั้ง/นาที
4.อัตราการหายใจ 20 ครั้ง/นาที
5.ความดันโลหิต 124/78 มิลลิเมตรปรอท
6.ระดับน้ำตาลในเลือด 156 mg%
2.มีภาวะโพแทสเซียมต่ำเนื่องจากได้รับการรักษาด้วยอินซูลิน
ข้อมูลสนับสนุน
S: “เพลีย ไม่มีแรง”
O: อุณหภูมิร่างกาย 37.9 องศาเซลเซียส
อัตราการเต้นของหัวใจ 106 ครั้ง/นาที
อัตราการหายใจ 26 ครั้ง/นาที
ความดันโลหิต 122/63 มิลลิเมตรปรอท
(วันที่ 20/04/66)
K 3.39 mmol/L (วันที่ 14/04/66)
เกณฑ์การประเมิน
1.ผู้ป่วยไม่มีอาการแสดงของภาวะโพแทสเซียมต่ำ ได้แก่ คลื่นไส้ ท้องอืด อ่อนเพลีย
2.อุณหภูมิร่างกายอยู่ในระดับปกติ 36.5-37.4 องศาเซลเซียส
3.อัตราการเต้นของหัวใจอยู่ในระดับปกติ 60-100 ครั้ง/นาที
4.อัตราการหายใจอยู่ในระดับปกติ 12-24 ครั้ง/นาที
5.ความดันโลหิตอยู่ในระดับปกติ 120/80 มิลลิเมตรปรอท
กิจกรรมทางการพยาบาล
1.ประเมินอาการและอาการแสดงของภาวะโพแทสเซียมต่ำ เช่น คลื่นไส้ เพลีย อาเจียน ท้องอืด
ประเมินสัญญาณชีพ ทุก 4 ชั่วโมง
ให้ผู้ป่วยนอนพักบนเตียง จำกัดกิจกรรม
แนะนำให้รับประทานผลไม้ที่มีโพแทสเซียม เช่น องุ่น กล้วย
5.บันทึกสารน้ำเข้าและออกภายในร่างกาย
6.ติดตามผลโพแทสเซียม คลื่นไฟฟ้าหัวใจ
การประเมินผล
1.ผู้ป่วยไม่มีอาการอ่อนเพลีย
วัตถุประสงค์
ผู้ป่วยไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากภาวะโพแทสเซียมต่ำ
3.ขาดความรู้ในการดูแลตนเองเนื่องจากมีวิธีปฏิบัติตนไม่ถูกต้อง
ข้อมูลสนับสนุน
S: "ชอบดื่มน้ำหวาน ปกกติดื่มสปอนเซอร์
วันละ 2 ขวด"
: "ชอบดื่มนมรสหวาน"
: "ไม่ได้ออกกำลังกาย"
O: ผู้ป่วยไม่ทราบถึงวิธีการดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคเบาหวาน
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมการดูแลตนเองที่เหมาะสม
เกณฑ์การประเมิน
1.ผู้ป่วยมีวิธีการปฏิบัติตนที่ถูกต้องได้แก่ การรับประทานอาหารที่เหมาะสมต่อโรคเบาหวาน ความรู้ในการออกกำลังกาย
2.ผู้ป่วยปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน
กิจกรรมการพยาบาล
1.ให้คำแนะนำในการปฏิบัติตน เรื่องพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และวิธีป้องกันภาวะโรคแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน ดังนี้
1.1 อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง เช่น ขนมหวานทุกชนิด อาหารทอดอาหารไขมันสูง น้ำหวาน ผลไม้หวานจัด อาหารหมักดอง
1.2 อาหารที่รับประทานได้แต่จำกัดปริมาณ เช่น กลุ่มนม ควรทานนมรสจืด นมพร่องมันเนย นมถั่วเหลืองไม่มีน้ำตาล
ปริมาณ 1-2 แก้ว/วัน
1.3 กลุ่มข้าว แป้ง ธัญพืช ควรทานข้าวและธัญพืชไม่ขัดสี ปริมาณ 8-9 ทัพพี/วัน
1.4 กลุ่มเนื้อสัตว์ ควรทานเนื้อปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่ขาว ปริมาณ 12 ช้อนโต๊ะ/วัน
1.5 ผลไม้ ควรทานผลไม้สด รสไม่หวานจัด เช่น ฝรั่ง มะละกอ ปริมาณ 6-8 ชิ้น/วัน
1.6 กลุ่มไขมัน ควรทานน้ำมันที่มาจากพืช ปริมาณ6-7 ช้อนชา/วัน
1.7 กลุ่มน้ำตาล เกลือ ให้หลีกเลี่ยงการปรุงมากเกินความพอดี
1.8 อาหารที่ทานได้ไม่จำกัดปริมาณ เช่น กลุ่มพืชผักใบเขียว ปริมาณ 4-6 ทัพพี/วัน
2.แนะนำการออกกำลังกาย เช่น การเดิน วิ่ง การเต้นแอโรบิก และการปั่นจักรยาน
เน้นการออกกำลังกาย 30 นาที/วัน อย่างน้อย 3-5 วันต่อสัปดาห์
3.วิธีป้องกันตนเองจากภาวะแทรกซ้อน เช่น ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด และตรวจสุขภาพสม่ำเสมอ
การประเมินผล
1.ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสหวาน ทานนมรสจืด
2.ผู้ป่วยไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน
ข้อมูลผู้ป่วย
หญิงไทย อายุ 27 ปี เชื้อชาติไทย
สัญชาติไทย ศาสนาพุทธ
ระดับการศึกษา: มัธยมศึกษาปีที่ 3
-ข้อมูลการเจ็บป่วย-
อาการสำคัญ: ชักเกร็ง ตาค้าง 1-2 นาที เรียกรถ EMS รับมาโรงพยาบาล
ประวัติการเจ็บป่วยปัจจุบัน: 2 วันก่อนมา มีไข้ ไอ หายใจหอบเหนื่อย
มีน้ำมูก รักษาที่โรงพยาบาลบ้านแพรก 30 นาทีก่อนมา ระหว่างเดินทางไป
เรียนพิเศษ ชักเกร็งกระตุก ตาค้าง ซึมลง ไม่เคยชักมาก่อน จึงมาโรงพยาบาล
ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต: ไม่มีโรคประจำตัว
ประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัว : คนในครอบครัวไม่มีประวัติเป็นโรคเบาหวาน
การแพ้อาหารและยา: ปฏิเสธการแพ้อาหารและยา
แพทย์วินิจฉัย: Diabetic Ketoacidosis
ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ