Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 9 สถิติอนุมานสำหรับการวิจัยทางส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร - Coggle…
หน่วยที่ 9 สถิติอนุมานสำหรับการวิจัยทางส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร
9.1 การทดสอบความแตกต่าง
การทดสอบค่าเฉลี่ยของประชากรเดียว
เป็นการทดสอบความแตกต่างเกี่ยวกับค่าเฉลี่ยของประชากร เป็นการทดสอบว่าค่าเฉลี่ยของลักษณะที่สนใจศึกษาในประชากรเป็นไปตามที่ผู้วิจัยคาดไว้หรือไม่
การทดสอบผลต่างของค่าเฉลี่ยของสองประชากร
ผู้วิจัยจะต้องกำหนดว่าข้อมูลที่นำมาทดสอบ 2 ชุด เป็นตัวอย่างที่อิสระกันหรือมีความสัมพันธ์กัน หากเป็นการทดสอบค่าเฉลี่ยของสองประชากรเมื่อตัวอย่างเป็นอิสระกันและไม่ทราบค่าความแปรปรวนของประชากร จะต้องกำหนดว่าค่าความแปรปรวนของสองประชากรเท่ากันหรือไม่หากไม่สามารถกำหนดได้ต้องทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับค่าความแปรปรวนของสองประชากรก่อน
9.2 การทดสอบโดยใช้ไคสแควร์
การทดสอบความเป็นอิสระ
เป็นการทดสอบว่าตัวแปรที่สนใจศึกษาสองตัวมีความเป็นอิสระกันหรือมีความสัมพันธ์กัน ตัวสถิติทดสอบนี้จะเป็นการเปรียบเทียบค่าที่สังเกตได้กับค่าที่คาดหวัง โดยมีหลักการว่าหากค่าทั้งสองใกล้เคียงกัน จะยอมรับสมมติฐานว่างว่าตัวแปรทั้งสองตัวเป็นอิสระกัน แต่หากมีความแตกต่างกันมาก ก็จะปฏิเสธสมมติฐานว่างและสรุปว่าตัวแปรสองตัวมีความสัมพันธ์กัน
การทดสอบสัดส่วน
เป็นการทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับตัวแปรตัวหนึ่งที่สนใจในรูปของค่าสัดส่วนประชากร ตัวแปรที่ต้องการทดสอบจะจำแนกออกเป็นสองลักษณะหรือมากกว่าสองลักษณะก็ได้ หากตัวแปรที่ศึกษามีเพียงสองลักษณะ จะเป็นการทดสอบว่าสัดส่วนของสองประชากรมีค่าเท่ากันหรือไม่ หากตัวแปรที่ศึกษามีมากกว่าสองลักษณะจะเป็นการทดสอบว่าสัดส่วนในแต่ละประชากรแตกต่างกันหรือไม่
9.3 การวัดความสัมพันธ์โดยสหสัมพันธ์
แนวคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของตัวแปร
วิธีวัดความสัมพันธ์ของตัวแปร
สหสัมพันธ์เชิงส่วน (partial correlation)
สหสัมพันธ์พหุคูณ (multiple correlation) เ
สหสัมพันธ์อย่างง่าย (simple correlation)
การวิเคราะห์การถดถอย
กำรวิเคราะห์กำรถดถอยอย่างง่าย (simple regression)
การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (multiple regression)
สหสัมพันธ์อย่างง่าย
การคำนวณค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่าย
ถ้าผู้วิจัยมีความสนใจเพียงแต่ว่าตัวแปรมีความสัมพันธ์กันหรือไม่ และถ้ามีความสัมพันธ์ดังกล่าวจะเป็นไปในทิศทางใด มีขนาดความสัมพันธ์มากน้อยเพียงใดแล้ว ผู้วิจัยสามารถวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของตัวแปรได้โดยการหาสหสัมพันธ์ (correlation) ของตัวแปรโดยการพิจารณาจากค่าสัมประสิทธิ์
สหสัมพันธ์ (coefficient of correlation) ซึ่งจะบอกถึงความสัมพันธ์ของตัวแปรได้
การทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์
เมื่อคำนวณค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์มาแล้ว เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ แสดงถึงความสัมพันธ์ของตัวแปรอย่างมีนัยสำคัญ หมายความว่า ถ้าตัวแปรมีความสัมพันธ์ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ที่คำนวณได้จะมีค่าไม่เท่ากับ 0 อย่างมีนัยสำคัญ ถ้าค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์มีค่าเท่ากับ 0 แสดงว่าตัวแปรทั้งสองไม่มีความสัมพันธ์กัน ดังนั้นจึงต้องทำการทดสอบว่าค่าที่คำนวณได้ค่าต่างจาก 0 อย่างมีนัยสำคัญ
สหสัมพันธ์เชิงส่วน
เป็นการหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่สนใจศึกษา 2 ตัวว่ามีความสัมพันธ์กันมากน้อยเพียงใดแต่บางครั้งตัวแปรที่สนใจศึกษาอาจจะมีความสัมพันธ์กับตัวแปรอื่นๆ อีกหลายตัว เช่น ผลผลิตข้าวจะมีความสัมพันธ์กับปริมาณน้ำ ปริมาณปุ๋ย ปริมาณสารปราบศัตรูพืชที่ใช้และค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา เป็นต้น ในกรณีที่สนใจหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเพียง 2 ตัว ที่สนใจศึกษาโดยที่ไม่สนใจตัวแปรอื่น สามารถหาความสัมพันธ์ได้โดยใช้สหสัมพันธ์เชิงส่วน
9.4 การวิเคราะห์การถดถอย
แนวคิดเกี่ยวกับการวิเคราะห์การถดถอย
ประเภท
การวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย
(simple regression analysis)
การวิเคราะห์การถดถอยพหุ
(multiple regression analysis)
แบบจำลองสมการถดถอย
แบบจำลองสมการถดถอยอย่างง่าย
แบบจำลองสมการถดถอยพหุ
การวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย
เป็นการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปรตามกับตัวแปรอิสระ 1 ตัว และเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นว่าตัวแปรทั้งสองมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญ จึงต้องทำการทดสอบว่าค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยมีค่าแตกต่างจากศูนย์อย่างมีนัยสำคัญ
การวิเคราะห์การถดถอยพหุ
เป็นการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปรอิสระตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป และเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นว่าตัวแปรตามและตัวแปรอิสระที่อยู่ในสมการถดถอยมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญ จึงต้องทำการทดสอบว่าค่าสัมประสิทธิ์การถอยทุกตัวมีค่าแตกต่างจากศูนย์อย่างมีนัยสำคัญ