Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ(Cystitis) - Coggle Diagram
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ(Cystitis)
สาเหตุของกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
จากเชื้อแบคทีเรียชนิดเดียวกับท่ีอยู่ในลำไส้ของคนเรา เช่น ติดเชื้อ E.Coli, เชื้อ Klebsiella, เชื้อ Psedomonas, เชื้อ Enterobacter โดยปนเปื้อนมากับอุจจาระโดยเข้าไปทางท่อปัสสาวะ
พบมากในผู้หญิงเนื่องจากท่อปัสสาวะของผู้หญิงสั้นและอยู่ใกล้ทวารหนัก
พบมากในผู้หญิงท่ีตั้งครรภ์ (โดยเฉพาะในช่วง 2-3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์) เนื่องจากภาวะภูมิคุ้มกันต่ำขณะตั้งครรภ์
ผู้หญิงที่ชอบกลั้นปัสสาวะนานๆ ทำให้มีปัสสาวะเหลือค้างในกระเพาะปัสสาวะ เกิดการสะสมของแบคทีเรียซึ่งนำไปสู่การติดเชื้อ
โรคแทรกซ้อนต่างๆ
โรคแทรกซ้อนผู้ป่วยเบาหวาน ที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน หากควบคุมโรคได้ไม่ดี จะมีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย
นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
ต่อมลูกหมากโต
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STI) เช่นโรคหนองใน หรือเริม มีโอกาสทำให้เชื้อแบคทีเรียหลุดเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะได้ง่ายเกิดการอักเสบ
โรคฮันนีมูน (Honeymoon's cystitis)
สาเหตุเกิดจากการฟกช้ำจากการร่วมเพศ
ทำให้มีอาการอักเสบของท่อปัสสาวะเชื้อโรคเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ
ผู้ชายมีโอกาสเป็นโรคนี้น้อยมาก
ถ้าพบอาจจะมีความความผิดปกติอื่นร่วมด้วย
ต่อมลูกหมากโต
มีเนื้องอกในทางเดินปัสสาวะ
ความผิดปกติของโครงสร้างปัสสาวะ
อาการของกระเพราะปัสสาวะอักเสบ
ปัสสาวะกะปริบกะปรอย (ออกทีละน้อยแต่บ่อยครั้ง) รู้สึกปวดขัด
แสบร้อนเวลาถ่ายปัสสาวะมี อาการปวดที่ท้องน้อยร่วมด้วย
ปัสสาวะอาจมีกลิ่นเหม็น
ปัสสาวะสีมักจะใส แต่บางคนอาจขุ่นหรือมีเลือดปน
อาการส่วนใหญ่เกิดขึ้น หลังกลั้นปัสสาวะนานๆ หรือหลังร่วมเพศ อาจมีไข้หรือไม่มีก็ได้
ภาวะแทรกซ้อนของกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
ต่อมลูกหมากอักเสบ
กรวยไตอักเสบ
ซึ่งอาจทำให้ไตเสียหายถาวร หรือเกิดไตวายได้
นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
ความหมายของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง (Lower Urinary Tract Infection)
เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในระบบปัสสาวะ สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศ ทุกวัย
พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย เนื่องจากท่อปัสสาวะเพศหญิงสั้นกว่าเพศชาย จึงมีโอกาสติดเชื้อจากอวัยวะใกล้เคียง เช่น ช่องคลอด และรูทวารหนัก
การป้องกันกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
หลีกเลี่ยงการกลั้นปัสสาวะโดยไม่จำเป็น
ทำความสะอาดอวัยวะเพศทุกครั้งหลังปัสสาวะและอุจจาระ ผู้หญิงควรทำความสะอาดอวัยวะเพศจากด้านหน้าไปด้านหลังเพื่อลดการนำเชื้อโรคจากรูทวารและช่องคลอดเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ
ควรทำความสะอาดอวัยวะร่างกายและปัสสาวะทันทีหลังการมีเพศสัมพันธ์
รักษาความสะอาดของชุดชั้นใน เลือกชุดชั้นในที่ไม่อับชื้น
ดื่มน้ำให้ได้อย่างน้อยวันละ 3,000 ซีซี
ดื่มน้ำผลไม้ที่มีกรด เช่น น้ำส้ม น้ำมะนาว เพื่อลดความเป็นด่างของกระเพาะปัสสาวะ
เมื่อมีการตรวจสุขภาพโดยเฉพาะการตรวจปัสสาวะ และพบเม็ดเลือดขาวมีปริมาณมากขึ้นในปัสสาวะ ตลอดจนรู้สึกมีไข้ หรือ ความผิดปกติของการถ่ายปัสสาวะที่ทําาเป็นกิจวัตรประจําวัน ควรพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุและรักษาก่อนท่ีโรคจะลุกลามต่อไปท่ีไต และ เกิดภาวะไตวายเรื้อรัง ซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิต
การวินิจฉัยกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
การตรวจร่างกาย
การคลำกระเพาะปัสสาวะ พบว่า กระเพาะปัสสาวะโตผิดปกติ เนื่องจากมีปัสสาวะค้างอยู่หรือไม่ตำแหน่งการปวด อาจกดเจ็บบริเวณท้องน้อย
ในผู้ชายอาจพบต่อมลูกหมากโตร่วมด้วย
การตรวจปัสสาวะ เพื่อดูวามีเม็ดเลือดแดง หรือเม็ดเลือดขาวปะปนออกมาหรือไม่รวมถึงการดูสีและความเข้มข้นของปัสสาวะ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การตรวจปัสสาวะ Urine Analysis
พบสีปัสสาวะขุ่น (turbidity) อาจเป็นตะกอนหนองหรือเม็ดเลือดขาว
มีWBCสูงมากกว่า 5 cell ในปัสสาวะ
มีเม็ดเลือดแดง (RBC) พบแบคทีเรียในปัสสาวะ
CBC
พบ WBC มากกว่า 10,000 cell/dL
urine culture
พบเชื้อที่เป็นสาเหตุมากกว่า 105 colony/มล
การซักประวัติ สอบถามอาการผิดปกติ ลักษณะปัสสาวะ ระยะเวลาที่เริ่มเป็น
การรักษากระเพาะปัสสาวะอักเสบ
แพทย์อาจให้ยาแก้ปวดถ้ามีอาการปวดมาก และให้ยาปฎิชีวนะท่ีเป็นสาเหตุการติดเชื้อประมาณ 7- 10 วัน)
แอมพิซิลลิน (Ampicillin)
โคไตรมอกซาโซล (Co-trimoxazole)
ถ้ามีการอุดก้ันของทางเดินปัสสาวะ เช่น เป็นนิ่ว ต้องผ่าตัดเอานิ่วออก ดูให้มีการไหลออกของ ปัสสาวะได้สะดวก
ขณะมีอาการให้ดื่มน้ำมากๆ กรณีไม่มีข้อห้ามวันละ 2-3 ลิตร/วัน
ลดอาหารเค็ม เผ็ด ชา กาแฟ แนะนำให้ผลไม้รสเปรี้ยว ดื่มน้ำอย่างน้อย 2,500 มล.