Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เซลล์ปากมดลูกผิดปกติ, พยาธิสภาพ, D: Disease ให้ความรู้เรื่องโรค HSIL/CIN…
เซลล์ปากมดลูกผิดปกติ
สาเหตุ
สาเหตุที่ทำให้เกิดเซลล์ปากมดลูกผิดปกติ และรอยโรคภายในเยื่อบุปากมดลูก ได้แก่ การติดเชื้อไวรัส human papillomavirus (HPV) ซึ่งตรวจพบDNA ของเชื้อ HPV ในหูดและเซลล์มะเร็งปากมดลูก แบ่งออกเป็นกลุ่ม ได้แก่
- กลุ่มความเสี่ยงต่ำหรือกลุ่มที่ไม่ก่อมะเร็ง (Low-risk HPV) คือ HPV 6 และ 11 ซึ่งแม้จะไม่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง แต่สามารถก่อโรคหูดหงอนไก่ (condyloma acuminata) และ ความผิดปกติในเยื่อบุผิวระดับความรุนแรงต่ำ (LSIL)
- กลุ่มความเสี่ยงสูง หรือกลุ่มที่ก่อให้เกิดมะเร็ง (High-risk HPV) ที่พบได้บ่อยได้แก่ สายพันธุ์ที่ 16, 18, 31, 33, 35, 39 และ 45 ก่อให้เกิดความผิดปกติในเยื่อบุผิวระดับความรุนแรงต่ำ (LSIL) หรือ (HSIL) และมะเร็งปากมดลูก (cervical carcinoma)
-
-
อาการและอาการแสดง
ส่วนใหญ่ไม่มีอาการผิดปกติ บางรายอาจจะทำให้เกิด
รอยโรคเป็นหูดหงอนไก่ หรือบางรายเชื้อไวรัสนี้อาจจะกระตุ้นเซลล์เยื่อบุปากมดลูก ให้มีการแบ่งตัวผิดปกติ และกลายเป็นมะเร็งได้
-
-
พยาธิสภาพ
กลไกการเกิดโรค เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ และเกิดรอยแยก (microabrasion) ของชั้นเยื่อบุผิว
(epithelium) และเชื้อไวรัสจะเข้าสู่ชั้นใต้สุดของ epithelium คือ ชั้น basal epithelium เนื่องจากเป็นชั้นที่มีการแบ่งตัวมากที่สุด เมื่อเชื้อไวรัสเข้าสู่เซลล์แล้วจะยังไม่ก่อให้เกิดโรคจนกระทั่งเชื้อเข้าสู่นิวเคลียสของเซลล์ ซึ่งขบวนการนี้ต้อง อาศัยโปรตีน ที่เรียกว่า early protein E2 สารพันธุกรรม(genome) ที่ล่องลอยอยู่ในนิวเคลียส แต่ยังไม่รวมตัว (integrate) กับสารพันธุกรรมของมนุษย์ เรียกว่า episomeในช่วงเวลานี้หากตรวจหาเชื้อไวรัส HPV อาจได้ผลบวกหรือลบ แต่การตรวจทางเซลล์วิทยาจะยังเป็นปรกติ จนกระทั่ง HPV DNA ได้ integrate เข้ากับ human genome ก็จะ เกิดขบวนการเปลี่ยนแปลงเซลล์ให้เป็นมะเร็งเกิดขึ้น
- D: Disease ให้ความรู้เรื่องโรค HSIL/CIN II คือ การเปลี่ยนแปลงของขนาดและรูปร่างของเซลล์ปากมดลูกที่ผิดปกติชัดเจน
• สาเหตุ :
- ภาวะปากมดลูกอักเสบ ที่เกิดจากการติดเชื้อรา แบคที่เรีย
- ภาวะการติดเชื้อไวรัสก่อมะเร็งปากมดถูก (HPV]
- เซลล์ปากมดลูกผิดปกติ เป็นรอยโรคระยะก่อนเป็นมะเร็ง
ปากมดลูก เซลล์ผิดปกติเหล่านี้ (LSIL, HSIL)
- ภาวะช่องคลอดแห้งการขาดฮอร์โมนเพศ พบบ่อยในวัยหมดประจำเดือน
• การรักษา : ขึ้นกับผลตรวจด้วยคอลโปสโคปและผล การตรวจภายใน
ปากมดลูก( endocervical sampling: ECS )
1.ถ้าผลการตรวจด้วยคอลโปสโคปเพียงพอ อาจรักษาด้วย
วิธี excision
2.ถ้าผลการตรวจด้วยคอลโปสโคปไม่เพียงพอ หรือ ECS พบรอยโรค HSIL หรือ ungraded CIN หรือ HSIL ที่มีการกลับเป็นซ้ำ
-
E : Envirovement
การจัดการสิ่งแวดล้อมที่บ้านให้เหมาะสม ทำความสะอาดให้ปราศจากฝุ่น หรือควัน/ให้ข้อมูล เกี่ยวกับสิทธิการรักษาพยาบาล
- T : Treatment อธิบายชนิดการผ่าตัด คือ การตัดปากมดลูกด้วยห่วงไฟฟ้า ใช้ในการวินิจฉัย และรักษารอยโรคปากมดลูก
• การปฏิบัติตัวก่อนทำหัตถการ
1.พักผ่อนให้เพียงพอ
2.แนะนำงดอาหารก่อนทำหัตถการ
3.ทำความเข้าใจเกี่ยวกับความจำเป็นในการทำหัตถการ การปฏิบัติตัว
• การปฏิบัติตัวหลังจากทำหัตถการ
1.นอนพักสังเกตอาการหลังจากตัดปากมดลูกประมาณ 1 ชั่วโมง เช่น อาการปวดท้องน้อยหรือเลือดออกจากช่องคลอด
2.งดมีเพศสัมพันธ์ งดลงว่ายน้ำ และงดสวนล้างช่องคลอด ช่วง 4 สัปดาห์แรก
3.รอฟังผลชิ้นเนื้อประมาณ 1 สัปดาห์ และมาตรวจ ติดตามการรักษาตามนัด
• อาการผิดปกติที่ควรมาพบแพทย์ก่อนนัด
1.ตกขาวเป็นหนอง กลิ่นเหม็น
2.มีไข้สูงหรือปวดหน่วงท้องน้อย
3.ประจำเดือนไม่มาตามปกติ
4.มีเลือดออกทางช่องคลอด
• ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดได้
1.เสียเลือดจากแผลผ่าตัด
2.ปวดหน่วงท้องน้อย
- O : Outpatient Referral
แนะนำให้ผู้ป่วยมาตรวจตามนัดทุกครั้งโดย ดู วัน เวลา และ
สถานที่ให้ชัดเจนหรือการส่งต่อผู้ป่วยเพื่อดูแลต่อเนื่องในชุมชน
ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้ป่วยดูแลตนเองอย่างถูกต้อง
- D: Diet แนะนำเรื่องโภชนาการให้รับประทาน
• วิตามินอี เช่น ถั่ว ธัญพืช ผักใบเขียว
• วิตามินซี เช่น ผลไม้ ผักใบเขียว มะนาว
• อาหารที่มี โฟเลต เช่น ธัญพืช ผักใบเขียว ผลไม้รสเปรี้ยว
• วิตามีเอ และ สารเบต้าแคโรทีน เช่น ผักผลไม้ที่มีสีเขียวจัด ส้ม แดง เช่น แครอท
• อาหารที่มีสาร ซีลีเนียม เช่น กระเทียม ยีสต์ ถั่ว เห็ด
-