Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แนวคิดการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต - Coggle Diagram
แนวคิดการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต
แนวคิดการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต FAST HUGS BID
F:Feedingคือการจัดการด้านอาหารและน้ำ
การตอบสนองในระยะแรก หรือ Ebb phase
ระยะนี้จะเกิดขึ้นในช่วง ประมาณ 12-24 ชั่วโมงแรก หลังการเจ็บป่วยอย่างเฉียบพลัน
จะมีการเพิ่มขึ้นของเมตาโบลิสมอยทางมากจาก การกระตุ้นของฮอร์โมน และ เอนไซม์ต่าง ๆ เช่น adrenaline, noradrenaline, cortisol, growth hormone และ thyroid hormones เป็นต้น
เพื่อให้ oxygen consumption อยู่ในนเกณฑ์ปกติ ในระยะน้ี จึงจะมีการใช้พลังงานจากการเผาผลาญพลังงานจาก glycogenท่ีสะสมอยู่ท่ีตับและกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ
การตอบสนองในระยะที่สอง Flow phase
เป็นระยะที่ยังคงมีการเพิ่มขึ้นของการเผาผลาญอย่างต่อเนื่อง
ในระยะนี้จะเริ่มมีการใช้ไขมันที่สะสมอยู่ในร่างกายมาสร้างเป็นพลังงาน
หากมีเมตาโบลิสมาก เกินไปจนเกินกว่าร่างกายสามารถ จะสร้างได้ทัน มักจะส่งผลให้เกิดการสลายของ visceral protein ต่างๆ อาทิเช่น แอลบูมิน จนอาจทําให้เกิด ภาวะทุพโภชนาการมากข้ึนได้
Anabolic phase เป็นระยะฟื้นตัวหลังจากเกิดการเจ็บป่วย
ระดับของเมตาโบลิสมจะลดลงจนสู่ระดับปกติ
จะมีการสร้างสารต่างๆ อาทิ glycogen เพื่อใช้ในการสะสมเพื่อ นําไปสร้างเป็นพลังงานต่อไป
การประเมินภาวะทางโภชนาการของผู้ป่วยวิกฤต การประเมินปริมาณพลัง
งานที่ต้องการในแต่ละวัน วิธีการให้โภชนาบําบัด และการติดตามภาวะโภชนาการ
การประเมินภาวะทางโภชนาการของผู้ป่วยวิกฤต
ประเมินโดยใช้ประวัติผู้ป่วยจากการซักประวัติ น้ําหนักตัว ทั้ง actual and ideal bodyweight
เพศชาย: น้ําหนักตัวในอุดมคติ 150 เซนติเมตร แรก มีน้ำหนัก 48 กิโลกรัม และทุก 2.5 เซนติเมตรที่เกินให้บวกน้ําหนักเพิ่มข้ึนอีก 2.7 กิโลกรัม
เพศหญิง: น้ําหนักตัว ในอุดมคติ 150 เซนติเมตรแรกมีน้ำหนัก 45 กิโลกรัม และทุก 2.5 เซนตเมตรที่เกินให้บวกน้ําหนักเพิ่มข้ึนอีก 2.3 กิโลกรัม
การประเมินปริมาณพลังงานที่ต้องการในแต่ละวัน
การให้อาหารโดยทั่วไปมีหลักการคํานวณความต้องการพลังงานของผู้ป่วยวิกฤตหลายวิธี
การคํานวณความต้องการพลังงานในแต่ละวันจากสูตรของ Total energy expenditure
การคำนวณอย่างง่าย คือ 25 กก.แคลอรีต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
การให้โภชนบําบัด
การให้อาหารทางทางเดินอาหาร (enteral nutrition) เลือกพิจารณาให้ผ่านทางเดิน อาหารตามปกติก่อน สามารถให้ได้ทันทีหลังผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤต โดยการให้ผ่านทางสายยาง หรือทางปาก
การให้แบบปริมาณมาก และมีจํานวนมื้อที่แน่นอน (bolus feeding)
การให้แบบค่อยๆหยด (continuous dripping)
การให้อาหารทางหลอดเลือดดํา (parenteral nutrition)
ในกรณีไม่สามารถให้อาหารทางปากหรือสายยางได้
มีข้อจํากัดของการรับอาหารในระบบทางเดินอาหารปกติ
ไม่สามารถทดแทนสารอาหารทุกชนิดที่ผู้ป่วยต้องการแม้ว่า จะได้รับ พลังงานท่ีเพียงพอแล้วก็ตาม
การติดตามภาวะโภชนาการ
การได้รับอาหารมากเกินความจําเป็น
การติดตามระดับเกลือแร่สารอาหารในร่างกาย
การติดตามภาวะแทรกซ้อนจากโภชนบําบัดที่เกิดข้ึน
A:Analgesiaคือการจัดการความเจ็บปวด
การประเมินความปวด
แบบประเมินที่เหมาะสมสําหรับผู้ป่วยที่รู้สึกตัว ได้แก่ Visual analog scale, Numeric rating scale, Verbal descriptor scale
แบบประเมินที่เหมาะสม สําหรับผู้ป่วยวิกฤตโดยเฉพาะผู้ป่วยที่ไม่สามารถสื่อสารได้ ได้แก; behavioral pain scale (BPS), critical care pain observation tool (CPOT), non-verbal adult pain scale
การจัดการกับความทุกข์ทรมานจากความปวดอย่างเพียงพอและเหมาะสม โดยต้องเข้าใจถึง สรีรวิทยาตลอดจนการเปลี่ยนแปลงอารมณ์ของผู้ป่วย อาศัยหลักการการจัดการความปวด
การกําหนดเป้าหมายของการระงับปวดและการระงับประสาท
การเลือกใช้วิธีระงับปวดที่เหมาะสม
การประเมินความปวดด้วยวิธีการหลายวิธี
การรักษาความปวด
การประเมินความปวดซ้ำ
การบันทึกคะแนนความปวดและการรักษา
การพิจารณาปัญหาด้านจิตใจ
วิธีการจัดการความปวด
วิธีการไม่ใช้ยา ได้แก่ การจัดสภาพแวดล้อมในหอผู้ป่วย ให้เหมาะสม ลดการใช้เสียงดัง ให้ผู้ป่วยรับรู้ถึงเวลากลางวันหรือกลางคืน การจัดสายระบาย ท่อช่วยหายใจให้เหมาะสม การให้ผู้ป่วยได้รับทราบข้อมูลการรักษา
วิธีการใช้ยา ได้แก่ การจัดการความเจ็บปวดด้วยยา เช่น ยากลุ่ม opioid, NSAID, Acetaminophen ทั้งทาง IV bolus, IV drip, Patient control analgesia (PCA), IM อย่างไรก็ตามต้องระมัดระวังการได้รับยาแก7ปวดมากเกินไป และผลข้างเคียงของยา
S:Sedationคือการระงับประสาทการส่งเสริมการนอนหลับของผู้ป่วยวิกฤต
การส่งเสริมการนอนหลับโดยไม่ใช้ยา
การควบคุมปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม
ด้านเสียง ไม่ควรเกิน 30-35 เดซิเบลโดยการควบคุมเสียง
ด้านแสง โดยการ ควบคุมแสง ลดการใช้แสง ปลดไฟได้ตามความเหมาะสม และใช้ท่ีปิดตา
การตั้งค่าเครื่องช่วยหายใจ
การใช้วิธีทางเลือก
การระงับประสาท การส่งเสริมการนอนหลับโดยใช้ยา
ยากลุ่มคลายกังวล ยาระงับปวด ร่วมกับการจัดการอาการง่วงซึมหรือผลจากยานอนหลับ
T:Thromboembolicpreventionคือการป้องกันการเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดํา
วิธีทางกายภาพ
การใช้เครื่องบีบไล่เลือดเป็นจังหวะ (intermittent pneumatic calf
compression (IPC))
การใช้ถุงน่อง ผ้ายืด
การกระตุ้นลุกจากเตียง
การออกกําลังกายข้อเท้า
วิธีการป้องกันด้วยยา
การบริหารยาต้านการเกิดลิ่มเลือด
H:Headofthebedelevationคือการจัดท่านอนยกหัวสูง
การจัดท่านอน
ให้ศีรษะผู้ป่วยสูงอย่างเพียงพอ 30-45 องศา
ต้องไม่ขัดกับภาวะของโรค
การบาดเจ็บของสมองและไขสันหลัง
ผู้ป่วยที่มีกระดูกสะโพกหักที่ห้ามงอบริเวณสะโพก ผู้ป่วยกลุ่มนี้ควรได้รับการจัดท่า reverse Trendelenburg position
การนอนศีรษะสูง
ลดการขย้อน
ช่วยป้องกันการการสําลัก
ลดการติดเชื้อ (nosocomial pneumonia)
ให้ปอดสามารถขยายตัวได้ดีขึ้น
ส่งเสริมการมีกิจกรรมหรือการเคลื่อนไหวบนเตียง
U:Ulcer;stressulcerpreventionคือการป้องกันการเกิด stressulcer หรือ stress-related mucosal disease (SRMD) ในกระเพาะอาหารและการมีเลือดออกในระบบทางเดินอาหาร
ในภาวะปกติ ความเป็นกรดในกระเพาะอาหารจะมีการหลั่งอย่างสม่ำเสมอผ่านระบบประสาท อัตโนมัติวากัสและฮอร์โมนในระบบทางเดินอาหาร
ในสภาวะความเครียดทางกายภาพโดยมีการ หลั่งของสารสื่อประสาทและฮอร์โมนหลายชนิด
G:Glucosecontrolคือการควบคุมระดับน้ําตาลหรือกลูโคสในเลือด
ดูแลให้ได้รับการหยดสารละลายอินซูลินทางหลอดเลือดดําอย่างเหมาะสมตามแผนการรักษา เพื่อให้ระดับน้ําตาลในกระแสเลือดอยู่ในระดับ 80-180 mg/dL จะช่วยลดภาวะแทรกซ้อนและลดอัตราการ เสียชีวิตได้
ดูแลให้ได้รับสารอาหารเพื่อป้องกันการเกิภาวะขาดสารอาหารและให้เกิดการตอบสนองต่อภาวะ เครียดได้เหมาะสม ร่วมกับการควบคุมระดับน้ําตาลในเลือดด้วยอินซูลิน
ควรมี insulin infusion protocol ท่ีชัดเจน เหมาะสม
ติดตามระดับน้ําตาลในเลือดหลังให้การรักษาด้วยอินซูลินทางหลอดเลือดดําอย่างใกล้ชิด
เฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนจากระดับน้ําตาลในเลือดต่ำ เนื่องจากจะส่งผลให้เซลล์สมองขาดพลังงานทําลายเซลล์สมองถาวรได้และจะทําให้ร่างกายมีการหลั่ง catecholamines อาจทําให้มี cardiac arrhythmia ได้
S:Spontaneousbreathingtrialคือการจัดการให้ผู้ป่วยหายใจเอง
การประเมินความพร้อมของผู้ป่วยด้านการหายใจและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ Parameter ที่ต้องประเมิน
การตรวจสอบลักษณะทางคลินิก
การประเมินความพร้อมของผู้ป่วยโดยการทดสอบหรือตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การทดลองให้ผู้ป่วยหายใจเอง (Spontaneous breathing trial; SBT)
การหายใจโดยใช้ T-piece เป็นเวลา ประมาณ 30 นาที - 2 ชั่วโมง
การหายใจโดยใช้ continuous positive airway pressure [CPAP trial] หรือ SPONT mode โดยใช้ pressure support 5 cmH2O
การหายใจโดยใช้ pressure support ventilation โดยใช้ pressure support 5-8 cmH2O
การถอดท่อช่วยหายใจ (Extubation) ถือเป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการ ขั้นตอนนี้ยังต้องพิจารณาถึงสภาวะระดับความรู้สึกตัว สภาวะของหลอดลมใหญ่การขจัดเสมหะ
ก่อนการถอดท่อต้องงดน้ําและอาหารอย่างน้อย 4-6 ชั่วโมง
ประเมินระดับความรู้สึกตัว สภาวะหลอดลมใหญ่โดยการวัด cuff leak test หรือ cuff leak volume test
ดูดเสมหะในท่อช่วยหายใจให้หมด จากนั้นดึงท่อช่วยหายใจออกพร้อมกับการดูดเสมหะ
ให้ออกซิเจนต่ออย่างน้อย 4-6 ชั่วโมง ร่วมกับการงดน้ําและอาหาร
กรณีไม่สามารถหายใจได้ด้วยตนเองแพทย์อาจพิจารณาทําการเจาะคอ
ผู้ป่วยที่สามารถหายใจได้เองหลังจากหยุดการใช้เครื่องช่วยหายใจและถอดท่อช่วยหายใจโดย ปราศจากการช่วยหายใจเป็นเวลาอย่างน้อย 48 ชั่วโมงติดต่อกันถือว่า ประสบความสําเร็จในการหย;า
เครื่องช่วยหายใจและท่อช่วยหายใจ (weaning success)
b:Bowelcare คือการจัดการระบบขับถ่ายอุจจาระ
อาการท้องเสีย
เกิดได้จาก
การติดเชื้อ
การได้รับยาปฏิชีวนะหลายชนิด
การได้รับอาหารทางสาย
ลักษณะของการให้อาหาร
องค์ประกอบของอาหารเหลว
การป้องกันการเกิดท้องเสีย
การรักษาความสะอาด
การล้างมือ
การใช้หลักการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
การใช้ probiotics เพื่อเพิ่ม normal flora
อาการท้องผูก
กิจกรรมที่ใช้ในการดูแลผู้ป่วยที่มีอาการท้องผูก
การนวดหน้าท้อง (ยกเว้นในรายที่มีข้อจํากัด)
บริหารร่างกายทั้งแบบทําด้วยตนเองและแบบผู้อื่นช่วยทํา
การให้อาหารที่ช่วยในการขับถ่าย
ยาระบาย การใช้ยา ท้ังแบบรับประทาน ทางสายยาง และสวนทวาร
I: Indwelling catheter removal คือ การถอดท่อหรือสายต่างๆให้เร็วที่สุด
อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ต้องสอดใส่เข้าสู่ร่างกายผู้ป่วย เช่น ท่อช่วยหายใจ สายวัด hemodynamic monitoring, IV fluid, drain, Foley's catheter เป็นช่องทางตรงที่ทําให้เกิดการติดเชื้อ
ผู้ปฏิบัติงานท่ี ขาดความรู้ความสามารถในการปฏิบัติตามาตรฐานเพื่อป้องกันการติดเชื้อ เป็นปัจจัยที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อ เฉพาะที่และการติดเชื้อทั้งระบบในร่างกาย
D: De-escalation of antibiotics คือ การให้ยาปฏิชีวนะเท่าท่ีจําเป็น หรือให้ยาให้น้อยที่สุด
ผู้ป่วยวิกฤต จะต้องได้รับยาที่ครอบคลุมได้อย่างกว้างขวาง
ผู้ป่วยวิกฤต ที่ทราบผลของเชื้อแล้วแพทย์จะทําการลดความแรงของยาให้ครอบคลุมต่อเชื้อให้ แคบที่สุด
ผู้ป่วยวิกฤต ที่มีความผิดปกติของไตและตับต้องได้รับการบริหารยาอย่างเหมาะสมและได้รับยา ตามแผนการรักษา และตามมาตรฐานของการให้ยา
ผู้ป่วยวิกฤต ต้องได้รับยาที่ถูกต้องทั้งทางท่ีให้และเวลาที่ให้เพื่อประสิทธิภาพสูงสุด
ผู้ป่วยวิกฤต ต้องได้รับการพิจารณาถึงความสมเหตุสมผล เช่น ยาที่มีราคาแพงอาจไม่ได้มี ประสิทธิภาพครอบคลุมกว่ายาที่มีราคาถูกกว่า
แนวคิดการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต ABCDE Bundle
a:Awakeningtrials
เป็นการประเมิน และดูแล ส่งเสริมให้ผู้ป่วยตื่น รู้สึกตัว โดยลดการใช้หรือลดปริมาณของยานอนหลับ หรือการให้ยาในระยะเวลาสั้นๆ แต่เกิดประสิทธิภาพสูงสุด:
B:Breathingtrials
เป็นการส่งเสริมให้ผู้ป่วยหย่าเครื่องช่วยหายใจและ ให้หายใจได้ด้วยตนเอง
c:Co-ordination
เป็นการทํางานร่วมกับสหสาขาวิชาชีพเพื่อกระตุ้นส่งเสริมให้ผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจในระยะสั้น ที่สุด ให้หายใจเอง หรือลดการใช้ยานอนหลับ หรือทบทวนการให้ลดขนาดที่ให้ต่ำที่สุด ตลอดจนการประเมิน ภาวะโภชนาการให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ เพื่อการฟื้นสภาพ และการหย่าเครื่องช่วยหายใจได้เร็ว
d:Delirium
เป็นการให้มีการเคลื่อนไหวร่างกาย การทํากายภาพบัด และลุกออกจากเตียงเร็วข้ึน ทําให้ผู้ป่วยมี อิสรภาพ ลดภาวะแทรกซ้อนในระบบต่างๆ และป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ
E: Early mobilization and ambulation
เป็นการให้มีการเคลื่อนไหวร่างกาย ทํากายภาพบําบัด และลุกออกจากเตียงเร็วข้ึน ทําให้ผู้ป่วยมี อิสรภาพ ลดดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ตลอดจนป้องกันการเกิด ภาวะสับสนในไอซียู