Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 7 - Coggle Diagram
บทที่ 7
7.1การบาดเจ็บจากการคลอด (Birth Injury)
ความบอบช้ำที่เกิดต่อผิวหนัง
Caput succedaneum
หนังศีรษะบริเวณที่เป็นส่วนนำบวม มีการคั่งของน้ำ บริเวณ
เนื้อเยื่อของศีรษะ ลักษณะไม่มีขอบเขตชัดเจน กดบุ๋มการบวมข้ามรอยต่อของกะโหลกศีรษะได้ มักจะหายไปเองภายใน 36 ชม. หรือ 2-3 วันแรก
การพยาบาลอธิบายให้พ่อแม่ของทารกเข้าใจ เพื่อคลายกังวล พร้อมเปิดโอกาสให้ซักถาม
Cephalhematoma
มีเลือดออกใต้ชั้นเยื่อหุ้มกระดูกกะโหลกศีรษะชิ้นใดชิ้นหนึ่ง ทำให้คลำได้เป็นก้อนชัดเจน หนังศีรษะไม่เปลี่ยนสี มีขอบเขตชัดเจน ไม่ข้ามรอยต่อกะโหลกศีรษะ เกิดจากการที่กระดูกศีรษะกดหรือกระแทกต่อเชิงกรานของมารดาเป็นเวลานาน
สาเหตุส่วนใหญ่เกิด จากการคลอดท่าผิดปกติ หรือต้องใช้เครื่องมือช่วยทำคลอด (F/E, V/E)
เนื่องจากเด็กตัวโต หรืออยู่ในท่าที่ผิดปกติ เช่น ท่าก้น (Breech) ท่าขวาง (Transverse)
กระดูกหัก (Skeletal Injury)
กระดูกไหปลาร้าหัก (fracture of clavicle)
คลำได้เสียงกรอบแกรบ
ทารกจะมีอาการหงุดหงิดหรือร้องไห้/ร้องกวนเมื่อสัมผัสบริเวณที่กระดูกหัก หลัง
คลอดทันทีทารกอาจยกแขนข้างนั้นได้น้อยหรือไม่ยกเลย
แนวทางการดูแลทารก
กรณีกระดูดหักที่ไม่แยกออกจากกัน ไม่จำเป็นต้องใส่เฝือก ส่วนใหญ่หายได้เองค่อนข้างเร็ว
ส่วนกรณีหักแยกออกจากกันอาจต้องใส่เฝือกชั่วคราว หรือรัดไม่ให้แขนมีการเคลื่อนไหว
โดยใช้ Bandage รัดแขนติดอกประมาณ 10 วัน
.ความบอบช้ำต่อระบบประสาท (Nervous tissue injury)
Spinal cord injury
กลไกของการเกิดความบอบช้ำ
ชนิดนี้เกิดเมื่อเด็กถูกดึงคออย่างแรงขณะที่แกนกระดูกสันหลังอยู่ในท่างอหรือบิด
Peripheral nerve palsia
มักเกิดจากการคลอดลำบาก ทำให้เส้นประสาทของเด็กถูกกดดึง
หรือยืดออก หรือถูกดึงขาดออกจากกัน
Facial nerve palsy
เกิดจากศีรษะเด็กกดกับกระดูก sacrum ของแม่ หรือคีมกดที่กกหูหรือมีเลือดออกในสมอง ทำให้ไม่สามารถย่นหน้าผาก มุมปากข้างนั้นขยับไม่ได้ หลับตาไม่สนิท แต่ดูดนมได้
Brachial plexus palsy
เกิดในรายที่คลอดท่าก้น คลอดติดไหล่ คอของทารกเหยียดเกินหรือคอถูกดึงรั้งอย่างแรงพร้อมกับการหมุนตัวทารก ความรุนแรงของการบาดเจ็บนี้มีตั้งแต่เส้นประสาทบวมถึงฉีกขาด คอทารกถูกดึงมากทำให้เส้นประสาทคอและกลุ่มประสาทที่ไปเลี้ยงแขนเหล่านี้ถูกดึงยืดเกิดความพิการได้
Erb’s palsy
่รากประสาทคอที่ 5 และ 6 (C5, C6)
Klumpke’s paralysis
่รากประสาทคอที่ 8 ถึงรากประสาทอกที่ 1
(C8 - T1)
Complete brachial plexus palsy
รากประสาทคอที่ 5 ถึงรากประสาทอก
เส้นแรก (C5 –T1)
การพยาบาล
ใช้ผ้าอ้อมพันรอบแขนหรือเสื้อแขนยาว กลัดแขนเสื้อหรือผ้าอ้อมที่พันกับที่นอนในระดับศีรษะ และให้มืออยู่ในท่าหงาย
ตรึงด้วยวิธีโคลฟ ฮิทธิ์ (Clove Hitch) ใช้ผ้านุ่มพันรอบข้อมือ ปลายแทบผ้าอี กด้านผูกกับขอบเตียงเหนืองศีรษะ ทำให้แขนกางออกยกขึ้น
ติดตามประเมินแขนทารกข้างที่เป็นให้อยู่ในท่าที่ต้องการรวมถึงผ่อนคลายแขนข้างที่ถูกตรึง เพื่อให้ทารกเกิดความสุขสบายขึ้น
7.2 ทารกน้ำหนักผิดปกติ (Unusual baby weight: IUGR)
ปัญหาที่พบบ่อยในทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย
ภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิด (Perinatal asphyxia) เป็นภาวะที่ร่างกายของทารกมีความไม่สมดุลในการแลกเปลี่ยนแก๊สที่เกี่ยวข้องกับการหายใจ จึงทำให้เลือดขาดออกซิเจนและมีภาวะเป็นกรด ส่ งผลให้เกิดความผิดปกติของอวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะปัญหาแทรกซ้อนทางสมอง
2.การติดเชื้อแต่กำเนิด (Congenital infection) เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันร่างกายของทารกยังพัฒนาไม่เต็มที่ ทำให้ง่ายต่อการติดเชื้ อ ทารกจะมีอาการซึมลง อ่อนเพลีย มีไข้ ตัวเย็น ท้องอืด ดูดนมได้ไม่ดี อาเจียน น้ำหนักตัวลดลง
ภาวะอุณหภูมิกายต่ำ (Hypothermia) เนื่องจากทารกมีพื้นที่ผิวร่างกายมากเมื่อเทียบกับน้ำหนักตัวผิวหนังค่อนข้างบาง ไขมันใต้ผิวหนังน้อย จึงทำให้สูญเสียความร้อนจากร่างกายได้ง่าย นอกจากนี้ศูนย์ควบคุมอุณหภูมิร่างกายของทารกยังเจริญไม่เต็มที่ จึงทำให้ทารกไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิของร่างกายได้
ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia) เนื่องจากทารกมีการสะสม glycogen ในร่างกายน้อยการรับสารอาหารไม่พอ แต่ร่างกายต้องการใช้พลังงานมากจึงมีการเผาผลาญพลังงานมากกว่าปกติทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำลง ทารกจะมีอาการซึมลง ตัวเย็น อาเจียน กล้ามเนื้ออ่อนแรง หมดสติ
5.การสูดสำลักขี้เทา (meconium aspiration syndrome) เนื่องจากทารกสูดสำลักหายใจเอาขี้เทาที่อยู่ในน้ำคร่ำเข้าไปในทางเดินหายใจ อาจมีผลทำให้ทารกเกิดภาวะหายใจลำบาก หรือภาวะปอดบวมจากการสูดสำลัก
การพยาบาลทรกแรกเกิดน้ำหนักน้อย
การดูแลอุณหภูมิร่างกายทารกให้อยู่ที่ 36.5-37.4 องศาเซลเซียส
หอผู้ป่วยควรปรับเครื่องปรับอากาศให้อุณหภูมิคงที่ กระแสลมไม่พัดผ่าน ตำแหน่งที่ทารกนอน เพื่อให้ทารกมีอุณหภูมิร่างกายคงที่ โดยมีการติดตั้งเครื่องวัดอุณหภูมิห้องไว้ตลอดเวลา
มีแหล่งให้ความอบอุ่นแก่ทารก เช่น เครื่องให้ความอบอุ่นโดยการแผ่รังสี (radiantwarmer) สามารถให้ความร้อนบริเวณที่ทารกนอนได้
จัดให้ทารกนอนบนผ้าแห้งที่อุ่นหรื อวางบนอกของมารดาแล้วใช้ผ้าคลุมตัวทารก
ติดตามประเมินความผิดปกติของอุณหภูมิทารกอย่างต่อเนื่อง
การดูแลทางเดินหายใจให้โล่งและออกซิเจนในเลือดปกติ จัดท่านอนใคอเหยียดตรง โดยใช้ผ้าหนุนที่หลัง
ประเมินอัตราการเต้นของหัวใจอย่างสม่ำเสมอ (อัตราการเต้นของหัวใจปกติ 110-160ครั้ง/นาที)- ประเมินลักษณะการหายใจที่ผิดปกติ และตรวจนับอัตราการหายใจว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่(อัตราการหายใจปกติ 40-60 ครั้งต่อนาที ) - ดูแลทางเดินหายใจให้โล่งตลอดเวลา เพื่อป้องกันภาวะทางเดินหายใจอุดกั้น
สังเกตและประเมินภาวะทางเดินหายใจอุดกั้น จากสีผิว ริมฝีปาก ปลายมือปลายเท้า หรือประเมินค่า oxygen saturator เพื่อประเมินภาวะพร่องออกซิเจน
การป้องกันการติดเชื้อ
เน้นการล้างมือก่อน-หลังสัมผัสทารก หรือทุกครั้งที่ทำหัตถการ
ให้การพยาบาลอย่างนุ่มนวล ระวังกการทำลายผิวหนังของทารกเพื่อป้องกันการติดเชื้อจากบาดแผล
ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ พร้อมทั้งติดตามน้ำหนักของทารกอย่างต่อเนื่อง
7.3 ทารกแรกเกิดติดเชื้อ (Neonatal sepsis)
ภาวะติดเชื้อในทารกแรกเกิด (neonatal sepsis) เป็นกลุ่มอาการทางคลินิกที่เกิดจากการติดเชื้ อในกระแสโลหิตของทารกแรกเกิด ซึ่งเป็นปัญหาที่พบบ่อยและเป็นสาเหตุการตายและความพิการที่สำคัญในประเทศไทย ภาวะติดเชื้อในระยะแรก (early sepsis) เป็นภาวะที่การติดเชื้ อนั้นเกิดขึ้นระหว่าง 72 ชั่วโมงหรือสัปดาห์แรกหลังเกิด ส่วนใหญ่เกิดขึ้นเนื่องจากทารกได้รับเชื้ อโรคจากร่างกายของมารดา
บทบาทของพยาบาล
บ่งชี้ (Identify) ทารกแรกเกิดที่มีโอกาสเกิดภาวะติดเชื้อในระยะแรก
ติดตามประเมินอาการทางคลินิกของภาวะติดเชื้อในทารกที่มีปัจจัยเสี่ยง
รายงานแพทย์เมื่อทารกที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะติดเชื้อในระยะแรกมีอาการทางคลินิกของภาวะ
ติดเชื้อ และติดตามประเมินอาการอื่นๆ ของภาวะติดเชื้อที่พบร่วมด้วย
จัดเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการเก็บตัวอย่าง (specimen) ที่จะส่งตรวจเพื่ อการวินิจฉัย
ภาวะติดเชื้อ ให้พร้อมใช้ ซึ่งการตรวจวินิจฉัยมักประกอบด้วย
ดูแลให้มีการเก็บตัวอย่างและส่งตัวอย่างตรวจอย่างถูกต้อง ครบถ้วนและทันเวลาที่กำหนดของ
โรงพยาบาล
ติดตามผลการตรวจและรายงานผลการตรวจให้แพทย์ทราบทันทีที่ได้รับผลจากห้องปฏิบัติการ
ให้การดูแลทารกแรกเกิดตามอาการที่เกิดขึ้น เช่น เช็ดตัวในรายที่มีไข้ รักษาความอบอุ่น
ถ้าทารกมีอุณหภูมิกายต่ำ ทารกที่มีอุณหภูมิกายผิดปกติมักจะมีมือเท้าเย็นร่วมด้วยควรรักษาความอบอุ่ นของมือและเท้าทารกด้วย ทารกที่มีท้องอื ดควรจัดให้นอนศีรษะสูง ถ้าท้องอืดมากและแพทย์ให้งดนมทางปากควรคาสาย Orogastric tube เพื่อระบายลมและ gastric content ลดอาการท้องอืดที่จะส่งผลเสียต่อการหายใจของทารก