Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การเปลี่ยนแปลงของภาษา (การเปลี่ยนแปลงคำ) - Coggle Diagram
การเปลี่ยนแปลงของภาษา (การเปลี่ยนแปลงคำ)
การเปลี่ยนแปลงทางเสียงของคำ
คือ เสียงมีการเปลี่ยนแปลงไปจากอดีต รวมไปถึงวิธีการสะกดคำ แต่ความหมายคล้่ยคลึงกัน หรือเหมือนกัน ตัวอย่าง ในหนังสือไตรภูมิกถา พระราชนิพนธ์ของพญาลิไท ได้มีคำบางคำที่มีการสะกดคำและออกเสียงต่างจากปัจจุบัน เช่น "ระใบ" ซึ่งในปัจจุบันออกเสียงว่า "ระบาย" ซึ่งจะเห็นได้ว่าความหมายยังคงเหมือนเดิมคือ ผ่อนออกไป เพียงแค่การออกเสียงเปลี่ยนแปลงไป
พยัญชนะบางตัวที่ออกเสียงคล้ายกัน ก็มีการเลิกใช้ไป คือ พยัญชนะ ฃ ฅ
การเปลี่ยนแปลงทางความหมาย
ความหมายแคบเข้า
ความหมายแคบเข้า คือ เดิมคำนั้นมีหลายความหมาย ต่อมาเหลือความหมายเดียว หรือเดิมเคยใช้กับคำได้หลายคำ ต่อมาก็ใช้กับคำได้คำเดียว เช่น กังวล เดิมมีความหมายว่า กังวล จลาจล วุ่นวาย ปัจจุบันใช้เพียงแค่ กังวล
ความหมายกว้างออก
ความหมายกว้างออก คือ คำที่ในสมัยโบราณมีเพียงความหมายเดียว แต่ในปัจจุบันนำมาใช้ขยายคำอื่นให้มีความหมายมากขึ้น เช่น วิตถาร เดิม หมายถึง กว้าง ละเอียด ปัจจุบันหมายถึง ประหลาด
ควาามหมายย้ายที่
ความหมายย้ายที่ คือ คำที่ในสมัยโบราณมีความหมายอย่างหนึ่งในปัจจุบันมีความหมายที่เปลี่ยนไป เช่น สงสาร เดิมแปลว่าการเวียนว่ายตายเกิด ปัจจุบันหมายถึง ความเมตตา ความห่วงใย
การเลิกใช้คำเดิมแล้วเปลี่ยนเป็นคำใหม่
การเลิกใช้คำ
การเลิกใช้คำ คือ คำนั้นในปัจจุบันไม่มีการใช้แล้ว เช่น ออเจ้า เป็นคำสรรพนามบุรุษที่ 2 ใช้เรียกบุคคลที่เราพูดด้วย ซึ่งในปัจจุบันไม่มีการใช้คำนี้แล้ว
การสร้างคำใหม่
คิดคำขึ้นใหม่โดยเลียนเสียงธรรมชาติหรือคำที่มีอยู่เดิม เช่น เรียกนกชนิดหนึ่งว่า กระจิบ เพราะร้องเสียง จิบ จิบ
ประกอบคำขึ้นใหม่ คือ การนำคำมาเรียบเรียงใหม่ เรียกว่า คำประสม คำซ้ำ คำซ้อน คำสมาส
คำประสม
แม่น้ำ รถถึง ลูกเสือ พัดลม
คำซ้ำ
เด็ก ๆ เร็ว ๆ กล้วย ๆ หนา ๆ นิ่ม ๆ
คำซ้อน
บ้านเรือน ใจคอ ผิดชอบ รุงรัง งอแง
คำสมาส
กิจกรรม จุลสาร วิทยาศาสตร์ รัตติกาล