Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคเบาหวานในหญิงตั้งครรภ์, : - Coggle Diagram
โรคเบาหวานในหญิงตั้งครรภ์
พยาธิสภาพ
น้ำตาลในกระแสเลือดมาก
ช่วงแรก Estrogen and Progesterone จากรก สูงขึ้น
กระตุ้นเบต้าเซลล์ของตับอ่อน หลั่ง Insulin เพิ่มขึ้น
ส่งผลให้มีการใช้ glucose เพื่อสร้างเนื้อเยื่อไขมันไว้เพื่อใช้เป็นพลังงานของร่างกาย ทำให้น้ำตาลในเลือดต่ำ
พร่อง/ต้าน Insulin
ไตรมาส 2 และ 3
รกสร้างฮอร์โมนที่มีฤทธิต้านการทำงานของ Insulin
คือ *HCG (Human Chorionic Gonadotropin) , prolectin,cortisol
เพิ่มขึ้นตาม GA
การตรวจคัดกรอง
1.โดยการซักประวัติ
1.1กลุ่มความเสี่ยงสูง
1) ดัชนีมวลกายมากกว่า 40 กิโลกรัม/ตารางเมตร มีอายุ 35 ปีขึ้นไป
2) มีประวัติเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ในครรภ์ก่อน หรือเคยคลอดบุตรมากกว่า 4,000 กรัม
3)ตรวจพบน้ำตาลในปัสสาวะ
4) มีประวัติโรคถุงน้ำรังไข่
5) มีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2
เมื่อพบปัจจัยความเสี่ยงสูงเพียง 1 ข้อ ให้มีการตรวจคัดกรองเบาหวานขณะตั้งครรภ์ตั้งแต่ยืนยันได้ว่าตั้งครรภ์จริง
1.2กลุ่มความเสี่ยงปานกลาง
มีการตรวจคัดกรองเบาหวาน ด้วยการกินน้ำตาล 50 กรัม (50-g glucose challenge test) และตรวจวินิจฉัยด้วยการกินน้ำตาล 100 กรัม (100-g oral glucose tolerance test) เมื่ออายุครรภ์ 24-28 สัปดาห์
1.3 กลุ่มความเสี่ยงต่ำ ไม่จําเป็นต้องได้รับการตรวจคัดกรอง
1) อายุน้อยกว่า 25 ปี
2) เป็นเชื้อชาติที่มีการเกิดภาวะเบาหวานต่ำ ได้แก่ เชื้อชาติที่ไม่ใช่ชนพื้นเมืองอเมริกา คนอเมริกาผิวดํา คนอเมริกาเชื้อสายสเปน และคนอเมริกาเชื้อสายเอเชีย
3) น้ำหนักก่อนตั้งครรภ์อยู่ในเกณฑ์ปกติ
4) ไม่มีประวัติญาติสายตรงเป็นเบาหวาน
5) ไม่มีประวัติความทนต่อกลูโคสผิดปกติ
6) ไม่มีประวัติการตั้งครรภ์ และการคลอดที่ผิดปกติ
การคัดกรองเบาหวานขณะตั้งครรภ์
รายที่มีความเสี่ยงสูงควรคัดกรองตั้งแต่ครั้งแรกที่มาฝากครรภ์ และตรวจวินิจฉัยซ้ำในช่วง 24-28 สัปดาห์ ด้วยวิธีการกินน้ำตาล 50 กรัม(50-g glucose challenge test: 50-g GCT) โดยให้หญิงตั้งครรภ์กินน้ำตาลกลูโคส ขนาด 50 กรัม
ไม่ต้องงด
น้ำงดอาหารมาก่อน และไม่คํานึงถึงเวลาอาหารมื้อสุดท้าย จากนั้นเจาะเลือดตรวจหลังจากรับประทานกลูโคส
แล้ว 1 ชั่วโมง ถ้าระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า 140 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ถือว่าผิดปกติ
การตรวจวินิจฉัย
(oral glucose tolerance test: OGTT)
งดน้ำางดอาหารทางปากอย่างน้อย 8 ชั่วโมง แต่ไม่เกิน 14 ชั่วโมงในช่วงกลางคืน แล้วเจาะเลือดตรวจในตอนเช้าขณะอดอาหารหลังจากนั้นให้กินน้ำตาลขนาด 100 กรัม
แล้วเจาะเลือดที่ชั่วโมงที่ 1, 2 และ 3 หลังกินน้ำตาล ซึ่งมีค่าปกติดังนี้ ขณะอดอาหาร 105 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร, 1 ชั่วโมง 190 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร 2 ชั่วโมง 165 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร 3 ชั่วโมง 145 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (National Diabetes Data Group)
หรือ ขณะอดอาหาร 95 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร 1 ชั่วโมง 180 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร 2 ชั่วโมง 155 มิลลิกรัมต่อ
เดซิลิตร 3 ชั่วโมง 140 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (ADA, 2016)
การแปลผลค่า OGTT ผิดปกติตั้งแต่ 2 ค่าขึ้นไป ถือว่าผิดปกติ ให้วินิจฉัยว่ามีโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ แต่ถ้าพบว่าค่า OGTT ผิดปกติเพียงค่าเดียว ควรตรวจซ้ำในอีก 1 เดือนต่อมาหรือเมื่ออายุครรภ์ 32 สัปดาห์ เพื่อวินิจฉัยโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์อีกครั้ง
การจำแนกเบาหวานขณะตั้งครรภ์
เบาหวานขณะตั้งครรภ์ชนิดเอ วัน (gestational diabetes mellitus A1: GDM A1) ซึ่งผลการทดสอบความทนต่อกลูโคสผิดปกติตั้งแต่ 2 ค่าขึ้นไป แต่ค่าระดับน้ำตาลในเลือดก่อนรับประทานอาหาร (Fasting plasma glucose) ต่ำกว่า 105 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรและระดับน้ำตาลในเลือดหลังรับประทานอาหาร 2 ชั่วโมง (2-hour postprandial) ต่ำกว่า 120 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร จัดว่าเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ชนิดเอ วัน ให้การรักษาโดยการควบคุมอาหาร และออกกําลังกาย
เบาหวานขณะตั้งครรภ์ชนิดเอ ทู (gestational diabetes mellitus A2 : GDM A2) ซึ่งงผลการทดสอบความทนต่อกลูโคสผิดปกติตั้งแต่ 2 ค่าขึ้นไป โดยค่าระดับน้ำตาลในเลือดก่อนรับประทานอาหารมีค่าตั้งแต่ 105 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป ให้การรักษาโดยการควบคุมอาหาร และติดตามระดับน้ำตาลในเลือดจะเริ่มต้นการรักษาด้วยยาอินซูลินควบคู่ไปกับการควบคุมอาหารและการออกกําลังกาย
ผลกระทบจากภาวะเบาหวานต่อการตั้งครรภ์
ผลกระทบต่อมารดา
ความดันโลหิตสูงจากการตั้งครรภ์ พบ 2-4 เท่าของการตั้งครรภ์ปกติ โดยเฉพาะรายที่มีพยาธิสภาพของหลอดเลือดและไต และพบได้บ่อยกว่าหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่เป็นโรคเบาหวาน หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์จะมีความดันโลหิตสูงร่วมด้วยร้อยละ 6.5 และจะเพิ่มอัตราทารกตายปริกําเนิดขึ้น 20 เท่า
แพทย์วินิจฉัย: Moderate risk PIH
ข้อมูลสนับสนุน
คัดกรองหญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงในกลุ่ม High risk factors มากกว่า 1 ข้อ
มีความเสี่ยงในกลุ่ม Moderrate risk factors มากกว่า 1 ข้อ
หญิงตั้งครรภ์มีอายุ 30 ปี
เคยตั้งครรภ์มาแล้ว 12 ปี
แพทย์จึงเริ่มให้ Aspirin 81 mg. /day เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566
การตกเลือดหลังคลอด เนื่องจากมดลูกยืดขยายมากขณะตั้งครรภ์จากทารกตัวโตหรือครรภ์แฝดน้ำ ทําให้หลังคลอดการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูกไม่ดีเกิดการตกเลือดหรือการเสียเลือดจากการฉีกขาดของช่องทางคลอดหรือจากการใช้สูติศาสตร์หัตถการ และในรายที่มีความดันโลหิตสูงที่ได้รับยาแมกนีเซียมหรือในรายที่เจ็บครรภ์คลอดก่อนกําหนด ที่ได้รับยายับยั้งการหดรัดตัวของมดลูก อาจส่งผลให้มดลูกหดรัดตัวไม่ดีหลังคลอด
การคลอดยาก เนื่องจากทารกตัวโต มีโอกาสคลอดติดไหล ไม่สามารถคลอดทางช่องคลอดได้ ต้องใช้สูติศาสตร์หัตถการต่างๆ
ครรภ์แฝดน้ำ พบร้อยละ 10-20 ของหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวาน เชื่อว่าน้ำตาลที่สูงผ่านจากมารดาสู่ทารก ทําให้ในร่างกายทารกมีระดับน้ำตาลสูง ทารกจึงถ่ายปัสสาวะมากทําให้มีปริมาณน้ำค่ำมาก
การติดเชื้อ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงของกรด-ด่าง ในช่องคลอด ทําให้เกิดการติดเชื้อในช่องคลอดได้ง่าย และนอกจากนี้ยังมีในปัสสาวะมาก เป็นอาหารของเชื้อแบคทีเรีย ทําให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะเพิ่มขึ้นกว่าครรภ์ปกติถึง 3 เท่า ซึ่งการติดเชื้อจะส่งผลกระทบต่อการตั้งครรภ์อาจเกิดภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกําหนด ร่างกายอยู่ในภาวะเป็นกรด เพิ่มโอกาสติดเชื้อของแผลผ่าตัดได้บ่อยกว่าหญิงหลังคลอดที่ไม่เป็นเบาหวาน
การแท้งบุตร มักพบในรายที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ใกล้เคียงปกติในระยะ 7 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ (Gilbert, 2011) และมีการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะในอุ้งเชิงกรานผิดปกติ เกิดผลกระทบต่อมดลูก ทารกขาดออกซิเจน เกิดภาวะแท้ง
ผลกระทบต่อทารกในครรภ์และเด็กแรกเกิด
ทารกในครรภ์ขาดอาหารและออกซิเจน เนื่องจากการเสื่อมสภาพของหลอดเลือดบริเวณมดลูกและรก ทําให้อาหารและออกซิเจนไปสู่ทารกน้อย ทําให้ทารกมีขนาดเล็กกว่าอายุครรภ์ ซึ่งพบมากกว่าปกติ 2 เท่า
ทารกตัวโต เนื่องจากกลูโคสจากมารดาผ่านรกสู่ทารกในครรภ์ทําให้ระดับน้ำตาลในเลือดทารกสูงกว่าปกติ ไปกระตุ้นให้ตับอ่อนของทารกผลิตอินซูลินมากกว่าปกติ มีการสร้างโปรตีน ไขมัน และไกลโคเจนเพิ่มขึ้น ทําให้ทารกตัวโต ซึ่งพบได้สูงในหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวานเป็นสาเหตุทําให้เกิดการคลอดติดไหล่ การคลอดยากได้บ่อย เสี่ยงต่อทารกได้รับอันตรายระหว่างการคลอด
ทารกมีความพิการแต่กําเนิด พบได้ประมาณร้อยละ 5-10 ความพิการที่พบได้บ่อย คือระบบหัวใจและหลอดเลือดรองลงมา ระบบกระดูก และระบบประสาท ส่วนมากเป็นที่กระดูกสันหลังและแขนขา อาจพบทารกไม่มีกระดูกก้นกบ ขาสั้น และความผิดปกติของระบบประสาทไขสันหลัง (neural tube defects) มากที่สุด พบภาวะไม่มีเนื้อสมอง (anencephaly) สูงเป็น 5 เท่าของมารดาปกติ
ภาวะหายใจลําบาก เกิดจากการพัฒนาของปอดทารกที่น้อยกว่าปกติ ซึ่งเชื่อกันว่าเกิดจากการที่อินซูลินไปยับยั้งสารคอร์ติซอลซึ่งเป็นตัวที่ไปกระตุ้นการสร้างสารเซอร์แฟคแตนที่ถุงลม ทําให้ทารกเกิดภาวะหายใจลําบากแรกคลอด
น้ำตาลในเลือดต่ำหลังคลอด พบได้ร้อยละ 20-40 ในหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์จะวินิจฉัยเมื่อพบระดับน้ำตาลในเลือดของทารกคลอดครบกําหนดต่ำกว่า 40 มิลลิกรัม/เดซิลิตรและน้อยกว่า 25 มิลลิกรัม/เดซิลิตรในทารกคลอดก่อนกําหนด จากการที่ขณะอยู่ในครรภ์ทารกได้รับน้ำตาลจากแม่ในปริมาณที่มาก ตับอ่อนจึงสร้างอินซูลินออกมามากแต่เมื่อคลอดออกมาทารกไม่ได้รับน้ำตาลจากแม่แล้ว ซึ่งอินซูลินยังมีมากในกระแสเลือดทารก จึงเกิดภาวะน้ำตาลต่ำได้ ซึ่งจะมีอาการหนาวสั่น เขียว ร้องครางเสียงแหลม เหงื่อออกและชักได้ หากน้ำตาลต่ำมากๆ ในระยะเวลานาน สมองจะถูกทําลาย ดังนั้นจึงต้องให้การรักษาทารกทุกรายที่มีระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่า 40 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
ข้อมูลสนับสนุน
O: แพทย์วินิจฉัยว่าเป็น GDM A1
(23 ม.ค. 66) GCT=193
(13 ก.พ. 66) O: OGTT= 73,181,179,155
(23 ก.พ. 66) ฝากครรภ์ครั้งที่ 3 Urine sugar = +3
O: หญิงตั้งครรภ์อายุ 35 ปี
Elderly pregnancy / prenancy in advanced maternal age
การตั้งครรภ์ในสตรีอายุมาก หมายถึง การตั้งครรภ์เมื่อสตรีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป
S: หญิงตั้งครรภ์บอกว่า "ชอบรับประทานอาหารรสหวาน"
ข้อมูลหญิงตั้งครรภ์
หญิงฝากครรภ์ รายที่ 1 Dx. GDM A1 with Elderly with Moderate risk PIH
ประวัติส่วนตัว อายุ 35 ปี อาชีพ ว่างงาน ศาสนา พุทธ เชื้อชาติ ไทย
ปฏิเสธโรคประจำตัว
ปฏิเสธประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัว
ปฏิเสธการแพ้ยา / แพ้อาหาร
ปฏิเสธโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
ประวัติหลังคลอดในอดีต
ห่าง 12 ปี อายุครรภ์ 39 wks. วิธีคลอด NL คลอดที่ รพ.ระยอง เพศชาย น้ำหนัก 2,600 กรัม สภาพมารดาหลังคลอดปกติ สภาพปัจจุบันของเด็กเป็น พาหะธาลัสซีเมีย
ประวัติการตั้งครรภ์ปัจจุบัน
การบันทึก system การตั้งครรภ์ตามระบบ Four-digit G2P1-0-0-1 วันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้าย จำไม่ได้ กำหนดวันคลอด 7 กรกฎาคม 2566 ทารกในครรภ์เริ่มดิ้น ดิ้นประวัติเล็กน้อย
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ผล VDRL ครั้งที่ 1 Non reactive
ผล Anti HIV ครั้งที่ 1 Non reactive
ผล HCT ครั้งที่ 1 36.4
ผล HbsAg ครั้งที่ 1 Negative
(เจาะเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2566)
ผลคัดกรองธารัสซีเมีย
OF Positive DCIP Positive
Hb.Typing A2A,A2=3.2,MCV=81.8
พาหะธาลัสซีเมีย
โรคติดต่อทางพันธุกรรม
คัดกรอง OF กับ DCIP ก่อนอายุครรภ์ 16 สัปดาห์
ผลคัดกรองธารัสซีเมีย
OF Positive DCIP Positive
Hb.Typing A2A,A2=3.2,MCV=81.8
Alpha Thalassemia 2 trait
การคัดกรองเบาหวานขณะตั้งครรภ์
GCT 193 mg/dl เจาะวันที่ 23 มกราคม 2566 แปลผลการตรวจ ผิดปกติ
OGTT วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 เมื่อ GA 20+6 wks.
ผล FBS = 73 mg/dl หลังกินน้ำตาลชั่วโมงที่ 1 181 ชั่วโมงที่ 2 179 ชั่วโมงที่ 3 155
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
1.มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเนื่องจากเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
มีโอกาสเกิดภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์เนื่องจากเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์
หญิงตั้งครรภ์มีอาการปวดหลัง เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของระบบกล้ามเนื้อและกระดูก
ส่งเสริมการฝากครรภ์อย่างมีประสิทธิภาพเนื่องจากหญิงตั้งครรภ์มีอายุมาก
ส่งเสริมพัฒนาการทารกในครรภ์
: