Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ข้อมูลทั่วไปของผู้สูงอายุ - Coggle Diagram
ข้อมูลทั่วไปของผู้สูงอายุ
นางรัญทม อินทร์รำพันธ์ อายุ 63 ปี
โรคประจำตัว
โรคความดันโลหิตสูง
เป็นมาประมาณ 10 ปี รับยา
Losarten
Amlodipine
โรคไขมันในเลือดสูง
เป็นมาประมาณ 10 ปี รับยา
Bestatin (simvastatin)
การตรวจร่างกายที่ผิดปกติ
กระดูกและกล้ามเนื้อ :
มีอาการเจ็บตึงบริเวณด้านหลังเข่าข้างขวา
ข้อมูลจากผู้สูงอายุ
มีอาการปวดเข่าข้างขวาและมีอาการตึงด้านหลัง
มีน้ำหนักตัว 90 กิโลกรัม สูง 155 เซนติเมตร
สูบบุหรี่มาประมาณ 20 ปี ปัจจุบันยังสูบอยู่สูบวันละประมาณ 10 ม้วน
อาการที่ผู้สูงอายุเป็น
ปวดข้อเข่าข้างขวาปวดตึงด้านหลัง
อายุ 63 ปี
โรคข้อเข่าเสื่อม ( Osteoarthritis of the Knee)
ทฤษฎีความเสื่อมโทรม (wear and tear Theory) :
มีการสึกกร่อนหรือเสื่อมสภาพของกระดูกอ่อนของเข่า
ทฤษฎีการเชื่อมตามขวาง (Cross linking Theory) :
ทำให้ข้อต่อกระดูกมีความยืดหยุ่นลดลงทำให้การเคลื่อนไหวช้าลงต้องใช้ความพยายามมากขึ้นในการควบคุมทรงตัวไม่ค่อยดี การเคลื่อนไหวของข้อต่างๆลดลง
อาการ/สัญญาณเตือนโรคข้อเข่าเสื่อม
1.เริ่มมีอาการปวดหัวเข่า : เป็นอาการที่พบบ่อยที่สุดมักปวดมากขึ้นเมื่อใช้งานมีการเคลื่อนไหวเช่น เดินขึ้นหรือลงบันได นั่งพับเพียบ นั่งยองๆแต่อาการจะลดลงหลังจากการพัก
2.เข่ามีเสียงกรอบแกรบ (crepitus) : เมื่อข้อเข่าเริ่มสึก จะมีการเสียดสีของเยื่อบุภายในข้อหรือเอ็นที่หนาตัวขึ้นมีความขรุขระของกระดูกอ่อนที่บุปลายหัวกระดูกโดยผู้ป่วยจะมีเสียงกรอบแกรบในข้อเข่า ขณะเคลื่อนไหวเข่า
3.ข้อเข่าติด ฝืด ตึง แข็ง (stiffness) : สามารถสังเกตได้ในช่วงช่วงตื่นนอนคนไข้จะมีรู้สึกมีอาการฝืดตึง เข่าติด เคลื่อนไหวลำบากในตอนเช้าแต่เป็นไม่นานอาการก็จะค่อยๆ ดีขึ้น หรือเกิดในช่วงเวลาที่อยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนานๆต่อเนื่องโดยไม่ได้ขยับ จะรู้สึกว่าข้อต่อขาดความยืดหยุ่นหยียดหรืองอเข่าจะรู้สึกทำได้ไม่สุด
4.เสียวหัวเข่า : มีอาการเสียวหัวเข่า โดยเฉพาะเวลาเดิน หรือมีการเคลื่อนไว ซึ่งเกิดจากความบกพร่องของส่วนประกอบของข้อ เช่น ข้อเข่าหลวม กล้ามเนื้อต้นขาอ่อนแรง
5.บวม ร้อน กดเจ็บ : เป็นผลจากน้ำในข้อเข่าที่มีมากขึ้น และจากกระดูกงอกที่ขอบข้อเข่า เวลาคลำจะรู้สึกแข็งและข้อเข่าหน้าๆ หยุ่นๆ ในบางรายคนไข้จะรู้สึกปวดบริเวณหัวเข่า พร้อมกับมีอาการบวมกรณีที่มีการอักเสบเมื่อสัมผัสจะรู้สึกว่าเข่าอุ่น และหากใช้มือกดตรงบริเวณข้อเข่าจะรู้สึกว่าเจ็บบริเวณข้อเข่ามากขึ้น
6.ข้อเข่าโก่งงอ ต้นขาลีบ ข้อเข่าผิดรูป (swelling and deformity) : กรณีเป็นอาการของโรคข้อเข่าเสื่อมที่ชัดเจน โดยสังเกตได้จากกระดูกบริเวณรอบๆ อาจจะโก่งด้านนอกหรือโก่งด้านใน ต้นขาลีบ บิดเบี้ยวผิดรูป ทำให้ขาสั้นลง ทำให้เดินหรือใช้ชีวิตประจำวันลำบาก และมีอาการปวดเวลาเดินหรือขยับ
สาเหตุของโรคข้อเข่าเสื่อม
แบ่งออกเป็น 2 สาเหตุหลัก
1.สาเหตุจากความเสื่อมแบบปฐมภูมิ (primary knee osteoarthritis) : หรือไม่ทราบสาเหตุ เป็นภาวะที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของผิวกระดูกอ่อนตามวัย เช่น
อายุที่เพิ่มมากขึ้น : เริ่มมีข้อเข่าเสื่อมที่อายุ 55 ปี
เพศ : พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย 2-3 เท่า
กรรมพันธุ์ : เรื่องของกรรมพันธุ์ก็มีความเกี่ยวข้อง
น้ำหนักตัวที่เกิน : ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากหรือเป็นโรคอ้วน
การใช้งานที่มากเกินไป : การใช้ขาและหัวเข่าผิดท่า หรืออยู่ในท่าที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานาน เช่น ในกลุ่มผู้ที่ต้องยืนนานๆ
ความบกพร่องของส่วนประกอบของข้อ : เช่น ข้อเข่าหลวม กล้ามเนื้อต้นขาอ่อนแรง
2.ความเสื่อมแบบทุติยภูมิ (secondaryary knee osteoarthritis) : หรือความเสื่อมที่ทราบสาเหตุ ซึ่งสามารถแยกย่อยออกเป็นอีกหลายสาเหตุ ดังนี้
อุบัติเหตุที่เกิดแรงกระแทก : ในผู้ที่เคยได้รับบาดเจ็บ ประสบอุบัติเหตุที่ข้อ เส้นเอ็น การบาดเจ็บเรื้อรังที่บริเวณข้อเข่าจากการทำงานหรืออุบัติเหตุ
โรคบางชนิด : เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคเก๊าท์ ข้อเข่าติดเชื้อ โรคที่เกิดกับอวัยวะนอกข้อเข่ารวมทั้งโรคข้ออักเสบชนิดต่างๆ (inflammatory joint disease)
แนวทางการรักษา
1.การรักษาที่ไม่ใช้ยา
(non-pharmacological therapy) : เป็นการปฏิบัติตัวหรือการปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิต เพื่อการกำจัดสาเหตุของโรค เช่น การลดน้ำหนัก การออกกำลังกาย การบริการข้อ การใช้ข้ออย่างถูกต้อง
2.กายภาพบำบัด
เป็นการฟื้นฟูบริหารกล้ามเนื้อ เพื่อบรรเทาอาการปวดบริเวณข้อเข่า เช่น การทำอัลตราซาวด์ การใช้เลเซอร์รักษา หรืออาจใช้ผ้ารัดเข่า เฝือกอ่อนพยุงเข่า แต่ข้อควรระวังคือ ถ้าใช้นานๆ จะทำให้กล้ามเนื้อลีบได้
3.การใช้ยา
(pharmacological therapy) : อาจจะเป็นแบบรับประทาน หรือแบบฉีดก็ได้ในส่วนยากินบรรเทาอาการ ปัจจุบันมีการใช้ยาหลายกลุ่ม ได้แก่ เช่น ยาแก้ปวดลดการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Steroid) ยาช่วยปรับเปลี่ยนโครงสร้างของข้อ ซึ่งต้องดูแลและสั่งจ่ายโดยแพทย์
4.การรักษาโดยการผ่าตัด
ปัจจุบันได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องจากได้ผลดี และทำให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตได้เป็นปกติโดไม่เจ็บเข่าทรมานอีก ซึ่งวิธีการผ่าตัดมีหลายวิธีดังนี้
-การผ่าตัดเพื่อให้ผิวข้อเข้ามาชิดกัน (Arthrodesis)
การผ่าตัดปลี่ยนข้อเข่า (Arthroplasty)
การตัดเปลี่ยนแนวกระดูก (Osteotomy)
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
ผู้สูงอายุมีอาการข้อเข่าเสื่อมเนื่องกระดูกเสื่อมตามวัย
ผู้สูงอายุมีภาวะความดันโลหิตสูงเนื่องจากหลอดเลือดมีความยืดหยุ่น