Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
4.Teenage Pregnancy การตั้งครรภ์ในสตรีวัยรุ่น - Coggle Diagram
4.Teenage Pregnancy
การตั้งครรภ์ในสตรีวัยรุ่น
ความหมาย
การตั้งครรภ์ในสตรีวัยรุ่นที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี แบ่งเป็น 3 ระยะ
วัยรุ่นตอนกลาง อายุ 15-17 ปี
วัยรุ่นตอนปลาย อายุ 18-19 ปี
วันรุ่นตอนต้น อายุน้อยกว่า 14 ปี
ผลกระทบต่อมารดา
ด้านร่างกาย
อัตราการตายของมารดาสูงขึ้น
ภาวะศรีษะทารกไม่ได้สัดส่วนกับช่องเชิงกราน
ภาวะถุงน้ำคร่ำเเตกก่อนกำหนด
เกิดการทำเเท้ง
การเจริญเติบโตของร่างกายหยุดชะงักหรือน้อยกว่าปกติ.
การติดเชื้อในระหว่างตั้งครรภ์
ภาวะตกเลือดในระยะหลังคลอด
คลอดก่อนกำหนด
ด้านสังคม
การปรับตัวในบทบาทของการเป็นมารดาล้าช้า
มีปัญหาเรื่องการปรับตัว
มีภาวะเคียดเเละวิตกกังวล
ไม่ได้รับการยอมรับจากสังคมเเละครอบครัว
ผลกระทบต่อทารก
ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย (low birth weight) คือทารกน้ำหนักตัวน้อย กว่า 2,500 กรัม เกิดจากภาวะทุพโภชนาการของมารดา
เนื่องจากมารดายังต้องใช้พลังงานเพื่อการเจริญเติบโตของตนเองด้วย
ทารกเเรกเกิดน้ำหนักน้อยจากภาวะทุพโภชนาการของมารดา
การคลอดก่อนกำหนดหรือเกินกำหนด
อัตราการตายปริกำเนิดสูง
ทารกได้รับการดูแลไม่เหมาะสมทั้งด้านร่างกายจิตใจทำให้เกิดปัญหาสังคมตามมา
การคลอดก่อนกําหนดหรือเกินกำหนด
สาเหตุและปัจจัยส่งเสริม
การขาดความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการตั้งครรภ์หรือล้มเหลวในการคุมกำเนิด
การถูกข่มขืนโดยบุคคลในครอบครัวหรือบุคคลอื่น
ด้านครอบครัว
สัมพันธภาพครอบครัวไม่ดี พ่อแม่ทะเลาะกัน
ครอบครัวเเตกแยก พ่อแม่แยกทางกัน
พ่อแม่ทำงานจนไม่มีเวลาดูแลลูก
อัตราวัยรุ่นมีความสัมพันธ์เร็วในปัจจุบัน
ระดับการศึกษาหรือสถานะทางสังคมและเศรษฐกิจต่ำทำให้ขาดความรู้เกี่ยวกับการวางแผนครอบครัว
การดื่มสุราหรือใช้สารเสพติด ปฏิเสธการดื่มสุราและสารเสพติด
การเปลี่ยนแปลงของสังคม วัฒนธรรม ความเชื่อ และค่านิยม
สตรีมีประจำเดือนครั้งแรกเร็ว ทำให้การตกไข่เร็วจึงสามารถตั้งครรภ์ได้ตั้งแต่อายุน้อย
การคุมกำเนิด
•ธรรมชาติ นับวัน
หน้า 7 หลัง 7 คือ การคุมกำเนิดด้วยวิธีธรรมชาติ หรือ Fertility Awareness Method: FAM โดยใช้ช่วงเวลาที่ไข่ตกไปแล้ว จนถึงก่อนไข่โต เรียกได้ว่าเป็นช่วงที่มดลูกไม่เหมาะสำหรับการตั้งครรภ์ ระยะปลอดภัยนี้อยู่ในช่วง หน้า 7 คือ 7 วัน “ก่อน” วันที่ประจำเดือนมา หลัง 7 คือ 7 วัน “หลังจากวันแรก” ที่มีประจำเดือน
•ถุงยางอนามัย ( condom )
•ยาเม็ดฉุกเฉิน (emergency contraceptive pill )
ผลข้างเคียงจากการใช้ระดับยาที่ค่อยข้างสูง ไม่สามารถใช้ได้บ่อยๆ
• ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม (conbined Orel contraception )
ข้อเสีย ต้องใช้ยาอย่างสม่ำเสมอทุกวัน โดยไม่ลืม ถ้าลืมต้องใช้วิธีอื่นช่วยด้วย เช่นถุงยางอนามัย
•ยาฝังคุมกำเนิด ( implant contraception )
ผลข้างเคียงที่อาจพบหากคุมกำเนิดด้วยวิธียาฝังคุมกำเนิด
มีเลือดประจำเดือนมาผิดปกติโดยเฉพาะช่วงแรก แต่ต่อมาประจำเดือนจะค่อยๆ น้อยลงและจะหายไปโดยไม่มีอีกเลยตลอดช่วงที่ฝังยา
•ยาฉีดคุมกำเนิด(injectable contraception)
วิธีการคุมกำเนิดแบบชั่วคราวแบบหนึ่ง โดยจะเป็นการฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อของสตรีในระยะเวลาตามที่แพทย์กำหนด หลังจากฉีดตัวยาจะค่อย ๆ ขับฮอร์โมนออกมา เป็นวิธีที่นิยมใช้กันมากในรายที่ต้องการเว้นระยะการมีบุตร เนื่องจากมีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดสูง ทำได้ง่าย สะดวก และมีราคาถูก
•แผ่นยาคุมกำเนิดชนิดแปะผิวหนัง (transdermal patch )
การใช้ยาคุมกำเนิดชนิดแผ่นแปะผิวหนัง ซึ่งยาเม็ดคุมกำเนิดและยาคุมกำเนิดชนิดแผ่นแปะผิวหนังถือเป็นวิธีการคุมกำเนิดชั่วคราวระยะสั้น
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
มารดาเสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการ
แนะนำให้รับให้ครบ 5 หมู่
ประเมินภาวะโภชนาการหญิงตั้งครรภ์ เพื่อติดตามดูแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักของแม่ขณะตั้งครรภ์และน้ำหนักของทารกในครรภ์
มาฝากครรภ์ตามนัดทุกครั้ง
หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด รับประทานอาหารที่สะอาด ปรุงสุกใหม่ๆ งดอาหารหมักดอง งดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน แอลกอฮอล์
มารดามีความเครียด
หาคนคุยหาคนคุยด้วยเพื่อระบายความรู้สึกและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
ฝึกการนั่งสมาธิเพื่อปล่อยวางความเครียดทำให้หญิงตั้งครรภ์และทารกสงบและสบายใจส่งผลถึงพัฒนาการทางด้านสมองและจิตใจ
ผ่อนคลายความเครียดกับกิจกรรมที่ตนเองชอบ
มารดามีภาวะไม่สุขสบายขณะตั้งครรภ์ในไตรมาสที่ 2 มีอาการไส้อาเจียนปัสสาวะบ่อยและมีตกขาว
การให้คำแนะนำและการพยาบาลเมื่อมีอาการปัสสาวะบ่อย
การให้ให้คำการให้คำแนะนำและการพยาบาลเมื่อมีอาการคลื่นไส้อาเจียน
หลี่กเลี่ยงอาหารที่มีกลิ่นฉุน รสจัด และไขมันมาก หรือสิ่งกระตุ้นต่อกลิ่น
พักผ่อนให้เพียงพอ และไม่ควรรีบลุกออกจากเตียงในตอนเช้า ควรค่อยๆลุกจากเตียง
ดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้ว เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำและหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำระหว่างมื้ออาหาร
ควรแปลงฟันหลังรับประทานอาหารไปแล้ว 1 ชม.เพื่อลดการคลื่นไส้อาเจียน
กรณีที่อาเจียนในช่วงเช้า แนะนำให้รับประทานอาหารเช้าเป็นอาหารอ่อน เวลาประมาณ 10.00-11.00น.เพื่อให้เวลาอาเจียนผ่านไป
การพยาบาล
เพื่อไม่ให้เกิดภาวะเเทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์
ระยะคลอด
ให้การดูแลเหมือนกับสตรีตั้งครรภ์ปกติ อาจพบภาวะ Cephalopelivc disproportion เป็นสาเหตุของการเกิดภาวะเเทรกซ้อนทางสูติกรรม
การคลอดยาวนาน
การคลอดติดขัด
การผ่าคลอด
การใช้หัตถการทางสูติในการคลอด
เพื่อดูแลความก้าวหน้าในการคลอด
ให้คำแนะนำการปฏิบัติตัวเพื่อบรรเทาความเจ็บปวดในระยะคลอด
ระยะตั้งครรภ์
ประเมินการยอมรับการตั้งครรภ์และเเนะนำแหล่งช่วยเหลือสนับสนุน
พยาบาลควรสร้างสัมพันธภาพเพื่อให้เกิดความไว้วางใจ
ให้คำปรึกษาและช่วยเเนะนำทางเลือกในครรภ์พยาบาลควรให้คำข้อมูลทางเลือกกับวัยรุ่นบางรายที่ไม่พร้อมตั้งครรภ์
ระยะหลังคลอด
เฝ้าระวังการเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอด
สังเกตุอาการผิดปกติที่ควรมาโรงพยาบาล
อาการไข้ ปวดมอลูก น้ำคาวปลาเป็นสีเเดงตลอด มีกลิ่นเหม็น เต้านมอักเสบ บวมแดง
งดการมีเพศสัมพันธ์อย่างน้อย 6 สัปดาห์
การให้คำแนะนำก่อนกลับบ้าน
ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมมารดา
ส่งเสริมการปรับตัวเข้าสู่บทบาทการเป็นมารดาวัยหลัคลอด
เพื่อลดความเครียด ความวิตกกังวลและส่งเสริมการสัมพันธภาพระหว่างมารดา ทารกและครอบครัว
การดูแลสตรีวัยรุ่นตั้งครรภ์
ตรวจหาอายุครรภ์ที่ถูกต้อง คัดกรองความผิดปกติของทารกในครรภ์ด้วยคลื่นความถี่สูง
คำแนะนำเกี่ยวกับโภชนาการที่เหมาะสม
ตรวจหาโรคที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างเช่น การสูบบุหรี่การใช้ยาหรือสารเสพติด
การดูแลสภาพจิตใจ ให้กำลังใจและคำปรึกษา
มีการตรวจ Screening test กลุ่มอาการธารัสซีเมีย ร่วมทั้งของสามีด้วย
การเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆเช่น ความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ ภาวะซีด
อ้างอิง
กาญจนา ศรีสวัสดิ์
บทบาทพยาบาลในการดูแลสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น Nurse’s Role for Teenage Pregnancy ,วารสารทหารบก.ปีที่19 ฉบับพิเศษ กันยายน-ธันวาคม 2561