Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 1 ระบบนิเวศและทรัพยากรธรรมชาติ กับการเกษตร - Coggle Diagram
หน่วยที่ 1 ระบบนิเวศและทรัพยากรธรรมชาติ
กับการเกษตร
1.1 แนวคิดเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
ทรัพยากรธรรมชาติ และระบบนิเวศ
1) ความหมายของสิ่งแวดล้อม
ทรัพยากรธรรมชาติ และระบบนิเวศ
ความหมายสิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อมคือสรรพสิ่งที่อยู่รอบตัวสิ่งมีชีวิต ทั้งที่เป็นสิ่งมีชีวิตอื่น และสิ่งไม่มีชีวิต
ความหมายทรัพยากรธรรมชาติ
สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ และให้ประโยชน์ต่อมนุษย์ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
ความหมายระบบนิเวศ
ระบบที่แสดงถึงสภาพความเป็นอยู่ร่วมกันของสิ่งทั้งหลาย ทั้งไม่มีชีวิตและมีชีวิตในถิ่นที่อยู่อาศัย ซึ่งมีความสัมพันธ์และกลไกที่สามารถรักษาให้ระบบอยู่ในภาวะสมดุลได้เป็นอย่างดี
2) ประเภทของทรัพยากร
(1) ทรัพยากรธรรมชาติ
(2) ทรัพยากรที่มนุษย์เข้าไป
มีส่วนดัดแปลงหรือสร้างขึ้น
3) ประเภทของระบบนิเวศ
(3) ระบบนิเวศเมืองและอุตสาหกรรม
มีการเผาผลาญอาหารต่อหน่วยพื้นที่มาก
ต้องการสารเข้าไปในชุมชนนี้มาก
มีสารพิษที่เป็นของเสียซึ่งเกิดจากการสังเคราะห์ทางเคมีออกมาเป็นจำนวนมาก และมีพิษกว่าของเสียที่เกิดขึ้นมาตามธรรมชาติ
(2) ระบบนิเวศเกษตร
มีเกษตรกรเข้าไปบริหารจัดการระบบนิเวศ
มีความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตไม่มากชนิดเท่าระบบนิเวศธรรมชาติและใกล้ธรรมชาติ
ห่วงโซ่อาหารสั้นและระบบของ
สายใยอาหารซับซ้อนน้อยกว่า
เป็นระบบเปิดมากกว่าระบบนิเวศตามธรรมชาติ
เสถียรภาพของระบบอยู่ในระดับต่ำ
(1) ระบบนิเวศธรรมชาติและใกล้ธรรมชาติ
ระบบนิเวศบนบก
ระบบนิเวศในน้ำ
4) องค์ประกอบของระบบนิเวศ
(1) ส่วนที่เป็นอชีวันหรือสิ่งไม่มีชีวิต
อนินทรียวัตถุที่หมุนเวียนอยู่ในวัฏจักรของสสาร
อินทรียวัตถุ
สภาพแวดล้อมทางกายภาพ
(2) ส่วนที่เป็นชีวันหรือสิ่งมีชีวิต
ผู้ผลิต
ผู้บริโภค
ผู้ย่อยสลาย
1.2 สถานการณ์และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ
ในประเทศไทย
1) สถานการณ์และการใช้ทรัพยากรณ์ดินและที่ดินในประเทศไทย
มีการใช้ที่ดินไม่เหมาะสมกับสมรรถนะของที่ดิน
มีการรุกล้ำพื้นที่ป่าไม้ ทำให้พื้นที่ป่าไม้ลดลง
ขาดแคลนพื้นที่ดินที่เหมาะสมต่อการเพาะปลูก
ขาดการกระจายการถือครองที่ดิน
2) สถานการณ์และการใช้ทรัพยากรป่าไม้
และความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย
ช่วงที่ผ่านมามีการใช้ทรัพยากรป่าไม้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ เป็นผลทำให้พื้นที่ป่าไม้ลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลต่อความหลากหลายทางชีวภาพเป็นอย่างสูง
โดยสามารถสรุปสาเหตุของการลดลงของพื้นที่ป่า ดังนี้
การบุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อยึดครองพื้นที่เป็นกรรมสิทธิ์ และการลักลอบตัดไม้ทำลายป่า
การลักลอบล่าสัตว์ การส่งเสริมการท่องเที่ยว และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
ปัญหาไฟป่า
3) สถานการณ์และการใช้ทรัพยากรแหล่งน้ำในประเทศไทย
ประเทศไทยประสบปัญหาด้านทรัพยากรน้ำอย่างมาก
ทั้งในเชิงปริมาณและในเชิงคุณภาพน้ำ เช่น
การขาดแคลนน้ำ
การรุกล้ำของน้ำเค็ม
ความขัดแย้งในเรื่องการใช้น้ำ
การเกิดอุทกภัย
การชะล้างพังทลายของดิน
การสูบน้ำใต้ดินไปใช้มากเกินไป
คุณภาพน้ำไม่เหมาะสมในการใช้ประโยชน์
4) สถานการณ์และการใช้ทรัพยากรประมงในประเทศไทย
การประมงทะเลของไทยมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว
เรือประมงมีการพัฒนาเพิ่มขึ้น (ด้านจำนวนและประสิทธิภาพเครื่องมือการจับสัตว์น้ำ)
การทำประมงเกินศักยภาพ ทำให้ทรัพยากรสัตว์น้ำลดลง
มีการใช้ทรัพยากรประมงมากเกินกว่าจะรักษาสมดุลไว้ได้ ทำให้ทรัพยากรปรัมงเสื่อมโทรมอย่างรวดเร็ว
1.3 อิทธิพลของมนุษย์และการเกษตรต่อระบบนิเวศ
1) ปัญหามลพิษและความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ
ปัญหามลพิษ
(1) ปัญหามลพิษทางน้ำ ได้แก่ น้ำเน่า น้ำเป็นพิษ น้ำที่มีเชื่อโรค น้ำขุ่นข้น น้ำร้อน น้ำที่มีกัมมันตภาพรังสี น้ำกร่อย และน้ำที่มีคราบน้ำมัน
(2) ปัญหามลพิษทางอากาศ ได้แก่ จากฝุ่นละออง จากก๊าซคาร์บอนมอนอกไดซ์ อากาศภายในอาคารโรงแรม และอากาศจากไฟป่า
(3) ปัญหามลพิษทางเสียง หมายถึง สภาพแวดล้อมที่มีเสียงดังเกินค่ามาตรฐานที่กฎหมายกำหนด (เฉลี่ย 24 ชั่วโมง ไม่เกิน 70 เดซิเบล)
(4) ปัญหามลพิษทางดิน คือภาวะดินเสื่อมค่าไปจากเดิม หรือมีสารมลพิษปนเปื้อนอยู่ในดินมากกว่าขีดจำกัดจนเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
(5) ปัญหามลพิษทางขยะและสิ่งปฏิกูล
(6) ปัญหามลพิษทางการเกษตรและสารเคมีปราบศัตรูพืช
ปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ
(1) ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรป่าไม้
(2) ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรดิน
(3) ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรแหล่งน้ำ
2) การผลิตทางการเกษตรกับระบบนิเวศ
ผลกระทบของการเกษตรต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม
การลดลงของพื้นที่ป่าไม้และความหลากหลายทางชีวภาพ
การเสื่อมโทรมของคุณภาพดิน
การสูญเสียพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์พื้นเมือง
การเกิดมลพิษจากสารเคมีการเกษตร
ผลกระทบของเทคโนโลยีต่อความยั่งยืนทางการเกษตร
ความยั่งยืนทางเศรษฐศาสตร์
ความยั่งยืนของความหลากหลายทางชีวภาพหรือระบบนิเวศ
ความยั่งยืนทางคุณภาพชีวิต
ผลกระทบของการเกษตรต่อคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
ผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต การใช้สารเคมีทางการเกษตร สามารถส่งผลให้ร่างกายเจ็บป่วย หรือพิการ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตได้ด้วย
ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ และสังคม ต้องพึ่งพาปัจจัยการผลิตจากภายนอก และการกระจายรายได้ที่ไม่เป็นธรรม
ผลกระทบทางวัฒนธรรม การให้ความเคารพยำเกรงต่อธรรมชาติ ซึ่งให้กำเนิดข้าวปลาอาหารและความสมบูรณ์พูนสุข
การผลิตทางการเกษตรโดยอาศัยหลักนิเวศธรรมชาติ
มีความหลากหลายของชนิดพืชและสัตว์
มีความซับซ้อนของระบบ
มีความปฏิสัมพันธ์ในระบบ
มีการคัดเลือกตามธรรมชาติ