Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ventilator-associated pneumonia, VAP
ปอดอักเสบที่เกี่ยวข้องกับเครื่องช่วย…
ventilator-associated pneumonia, VAP
ปอดอักเสบที่เกี่ยวข้องกับเครื่องช่วยหายใจ
ความหมาย
ปอดอักเสบที่เกิดขึ้นหลังจากการใส่ท่อช่วยหายใจตั้งแต่ 48 ชั่วโมงขึ้นไป จนถึง 48 ชั่วโมง หลังถอดท่อช่วยหายใจ ไม่ว่าจะต่อกับเครื่องช่วยหายใจหรือไม่ก็ตาม
-
การวินิจฉัย
มีไข้มากกว่า 38.0 องศาเซลเซียส ภาพถ่ายรังสีพบความผิดปกติที่เกิดขึ้นใหม่หรือลุกลามมากกว่าเดิม ฟังปอดพบเสียงปอดผิดปกติ เช่น เสียงที่เกิดจากน้ำหรือเสมหะในถุงลม (crepitation) ร่วมกับมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง
-
พบเม็ดเลือดขาวในเลือดสูงกว่า 12,000 เซลล์ต่อมิลลิลิตร หรือพบเม็ดเลือดขาวในเลือดต่ำกว่า 4,000 เซลล์ต่อมิลลิลิตร
-
-
-
การถ่ายภาพรังสีทรวงอกของผู้ป่วยพบลักษณะของการเป็นเงาทึบ (infiltration) การมีลักษณะรวมตัวเป็นก้อนแข็ง (consolidation) มีโพรงหรือช่องเกิดขึ้นในปอด (cavitation) หรือมีน้ำในช่องเยื้อหุ้มปอด (pleural effusion) ที่เกิดขึ้นใหม่หรือลุกลามกว่าเดิม โดยการถ่ายภาพรังสีทรวงอกเป็นระยะ ๆ จะช่วยวินิจฉัยการติดเชื้อได้ดีกว่าการถ่ายภาพรังสีเพียงครั้งเดียวร่วมกับมีลักษณะข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้
-
-
ตรวจพบเชื้อในเสมหะโดยการดูดจากท่อหลอดลมคอ (transtracheal aspirate) การสวนล้างแขนงหลอดลม (bronchial brushing) หรือ การตรวจชิ้นเนื้อจากปอด (biopsy)
-
-
พยาธสรีรวิทยา
เมื่อเชื้อจุลชีพเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง จะกระตุ้นให้ร่างกายเกิดการตอบสนองโดยเพิ่มการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ในการยับยั้งการทำงานของเชื้อจุลชีพหรือทำลายเชื้อจุลชีพเหล่านั้นเพื่อป้องกันการเกิดโรค ถ้าร่างกายไม่สามารถทำลายเชื้อจุลชีพที่เข้าไปได้ จะทำให้เกิดอาการและอาการแสดงของปอดอักเสบตามมา โดยแบ่งการเกิดปอดอักเสบจากการติดเชื้อตามตำแหน่งที่เกิดการติดเชื้อได้ 3 ชนิด คือ
- ปอดอักเสบในผนังถุงลม (interstitial pneumonia)
- ปอดอักเสบที่เกิดในหลอดลม (bronchopneumonia)
- ปอดอักเสบเฉพาะกลีบ (lobar pneumonia)
จะพบการเปลี่ยนแปลงของเนื้อปอดซึ่งแบ่งได้ 4 ระยะ
- ระยะเลือดคั่ง (congestion) เกิดขึ้นภายใน 24 ชั่วโมงแรกหลังการติดเชื้อแบคทีเรีย โดยกลีบปอดที่มีการติดเชื้อจะมีสีแดง นุ่ม และมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น จากการคั่งของเลือดในหลอดเลือดขนาดต่าง ๆ ที่มีการอักเสบมีสารน้ำจากเซลล์เข้าไปในถุงลมและพบเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโตรฟิลจำนวนเล็กน้อย
- ระยะปอดแข็งสีแดง (red hepatization) เกิดขึ้นภายในวันที่ 2-3 ของโรค ระยะนี้จะมีปริมาณของเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโตรฟิวเพิ่มมากขึ้นในถุงลมหลอดเลือดฝอยของปอดที่ผนังถุงลมจะขยายตัวมากพบเม็ดเลือดแดงหลุดออกมาจากหลอดเลือดทำให้เนื้อปอดแข็งสีแดงพบเชื้อจุลชีพจำนวนมากอยู่ในเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโตรฟิวที่อยู่ในถุงลม
- ระยะปอดสีเทา (gray hepatization) พบในวันที่ 4-5 ของโรค กลีบปอดที่ติดเชื้อจะแข็งและมีสีเทาถึงสีน้ำตาลมีใยไฟบรินจับบริเวณผิวของเยื่อหุ้มปอดและจะพบการเสื่อมสลายของเซลล์เม็ดเลือดแดงและนิวโตรฟิลระยะนี้เชื้อแบคทีเรียอาจแพร่กระจายเข้าสู่เยื่อหุ้มปอดจนทำให้เกิดฝีหนองในเยื่อหุ้มปอดได้ (empyema)
- ระยะฟื้นตัว (resolution) ระยะนี้จะเกิดขึ้นในวันที่ 8-10 ของโรค โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาเมื่อร่างกายมีภูมิต้านทานโรคเกิดขึ้นเม็ดเลือดขาวสามารถทำลายเชื้อจุลชีพที่อยู่ในถุงลมได้หมดและเริ่มสลายตัวขณะเดียวกันจะมีเอนไซม์ออกมาละลายไฟบรินและหนองส่วนใหญ่จะถูกกำจัดออกจากบริเวณที่มีการอักเสบโดยเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดโมโนนิวเคลียร์ซึ่งได้แก่โมโนไซม์และลิมโฟไซม์ส่วนที่เหลือจะหลุดออกมาเป็นเสมหะขณะไอระยะนี้การอักเสบที่เยื่อหุ้มปอดจะหายไปหรือมีพังพืดเกิดขึ้นแทน
ปัจจัยเสี่ยง ผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี มีโรคประจำตัว มีการเจ็บป่วยที่รุนแรง ได้รับการผ่าตัด การได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจ การใส่ท่อหลอดลมคอ ระยะเวลาในการใช้เครื่องช่วยหายใจ ภาวะทุพโภชนาการ