Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลเด็กและวัยรุ่นที่มีปัญหา ระบบประสาท กล้ามเนื้อ และกระดูก,…
การพยาบาลเด็กและวัยรุ่นที่มีปัญหา
ระบบประสาท กล้ามเนื้อ และกระดูก
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis)
คือ แผ่นเยื่อบางๆที่ห่อหุ้มเนื้อสมองเกิดการอักเสบติดเชื้อ นับเป็นโรคที่อันตรายร้ายแรง พบได้บ่อยในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี
สาเหตุ
Tuberculous meningitis เกิดจากเชื้อวัณโรค ซึ่งมักจะแพร่กระจายจากปอด โดยผ่านทางกระแสเลือด โรคนี้มักจะมีอาการค่อย ๆ เกิดขึ้นอย่างช้า ๆ แต่ผู้ป่วยมักจะมาโรงพยาบาลเมื่อมีอาการรุนแรง จึงทำให้มีอัตราตายหรือพิการค่อนข้างสูง พบมากในเด็ก
อายุ 1-5 ปี
เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อรา มีสาเหตุจากเชื้อ Cryptococcus ซึ่งพบในอุจจาระของนกพิราบ ไก่ และตามดิน เชื้อจะเข้าสู่ร่างกายโดยการหายใจเข้าทางปอด ผ่านกระแสเลือดไปที่เยื่อหุ้มสมอง จะมีอาการค่อย ๆ เกิดขึ้นอย่างช้า ๆ เช่นเดียวกับวัณโรค
Bacterial meningitis พบได้น้อยกว่าเชื้อไวรัสแต่จะมีความรุนแรงมากกว่า อาจเกิดจากเชื้อ
Pneumococcus, Streptococcus, E. Coli, Meningococcus ซึ่งมักจะมีอาการเกิดขึ้นฉับพลันทันทีและมีความรุนแรง เชื้อโรคอาจแพร่กระจายจากแหล่งติดเชื้อที่ส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น ผู้ป่วยหูชั้นกลางอักเสบเรื้อรัง อาจมีเชื้อโรคจากหูชั้นกลางลุกลามมาถึงเยื่อหุ้มสมองโดยตรง
เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากพยาธิ (Eosinophilic meningitis) ที่พบบ่อย ได้แก่ ตัวจี๊ด และพยาธิแองจิโอ (Angiostrongylus canton ensis) โรคนี้อาจมีความรุนแรงมากน้อย แล้วแต่ความผิดปกติที่เกิดขึ้นในสมอง ถ้ามีเลือดคั่งในสมองหรือสมองส่วนสำคัญถูกทำลาย ก็อาจทำให้ตายหรือพิการได้
Viral meningitis มักพบบ่อยที่สุด ได้แก่ เชื้อคางทูม เชื้อ Enterovirus เชื้อ Coxsackie เชื้อโรคมักแพร่กระจายผ่านทางกระแสเลือด
ปฏิกิริยาที่ไม่ใช่การติดเชื้อ (non infection disease) เช่น เนื้องอก การได้รับบาดเจ็บทางสมองและการได้รับสารพิษ
อาการและอาการแสดง
การระคายเคืองเยื่อหุ้มสมอง (meningeal irritation) ร่วมกับความผิดปกติในการทำงานของสมอง จะมีอาการปวดศีรษะมาก โดยเฉพาะเวลามีการเคลื่อนไหวศีรษะ คอแข็งตึง (stiffness of neck) นอกจากนี้ยังอาจมีอาการกลัวแสง เห็นภาพซ้อน กลืนลำบาก แขนขาเป็นอัมพาต หรือชักติดๆ กันนานๆ
จากไวรัส มักมีอาการเกิดขึ้นเฉียบพลันด้วย อาการไข้ ปวดศีรษะอาเจียน คอแข็ง ซึม หรือ ชัก ส่วนมากจะมีอาการอยู่ประมาณ 2 วันถึง 2 สัปดาห์ แล้วจะค่อยๆ หายจนเป็นปกติ
การติดเชื้อในร่างกายไม่เฉพาะเจาะจง เช่น ไข้สูง อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร อาเจียน ท้องเสีย กระสับกระส่าย หรือซึม
จากเชื้อแบคที่เรีย อาจมีอาการคล้ายไข้หวัด หรือเจ็บคอนำมาก่อนสัก 12-14 ชั่วโมง แล้วจึงเกิดอาการปวดศีรษะ อาเจียน คอแข็งในรายที่เป็นเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อเมนิงโกค็อกคัส (Meningococcal meningitis) อาจมีผื่นแดงจ้ำเขียวขึ้นตามผิวหนังร่วมด้วย และอาจเกิดภาวะช็อกอย่างรวดเร็ว
จากพยาธิ มักมีอาการปวดศีรษะรุนแรง อาเจียนคอแข็ง บางคนอาจมีอาการอัมพาตของใบหน้าหรือแขนขา
การวินิจฉัยโรค
การตรวจร่างกาย ตรวจอาการระคายเคืองของสมอง
การตรวจทาง
ห้องปฏิบัติการ
3.2 การตรวจเลือด เช่น CBC พบจำนวนเม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้น ย้อมแกรม เพาะเชื้อเพื่อหาแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรค
3.3 การทดสอบทูเบอร์คูลิน ถ้าให้ผลบวกสามารถวินิจฉัยโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อวัณโรคได้ประมาณร้อยละ 70-90
3.1 การตรวจ น้ำไขสันหลัง
จากประวัติ อาการและอาการแสดง
การทำ CT scan เพื่อแยกโรคจากเนื้องอก มักพบในน้ำคั่งในกะโหลกศีรษะ ส่วนการทำ MRI สามารถให้รายละเอียด ได้ดีกว่า CT scan
การรักษา
เชื้อวัณโรค จะให้ยารักษาวัณโรค โดยให้ยาปฏิชีวนะ ร่วมกับยาต้านวัณโรคอย่างน้อย 2 อย่างขึ้นไปเพื่อป้องกันเชื้อดื้อยา สูตรยาที่ใช้เป็นสูตรเดียวกับที่ใช้รักษาวัณโรคปอด คือ INH, rifampicin, pyrazinamide, streptomycin หรือ ethambutol ในระยะ 2 เดือนแรก เมื่อให้ยาครบ 2 เดือนไปแล้ว จะลดลงเหลือเฉพาะ INH และ rifampicin รับประทานต่ออีก 7-10 เดือน
เชื้อรา จะให้ยาฆ่าเชื้อรา ได้แก่ Amphotericin B จะให้การรักษาตามอาการและทำการเจาะหลังซ้ำบ่อย ๆ
เชื้อแบคทีเรีย ให้ยาปฏิชีวนะที่ครอบคลุมเชื้อมากที่สุด โดยไม่ต้องรอผลการเพาะเชื้อ เมื่อทราบผลเชื้อจึงเปลี่ยนยาตามผลการเพาะเชื้อ ทารกและเด็กเล็กให้ยาในกลุ่ม cephalosporin คือ cefotaxime และ ceftiaxone
การรักษาภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อย สามารถลดความดันในกะโหลกศีรษะ โดยการให้ยาสเตียรอยด์ คือ dexamethasone เพื่อยับยั้งการหลั่งสาร cytokines
เชื้อไวรัส ไม่มียารักษาโดยเฉพาะ จะให้การรักษาตามอาการ ถ้ารุนแรงอาจให้ยา Acyclovir
การรักษาแบบประคับประคอง เป็นการรักษาตามสภาพปัญหาที่พบ เช่น เช็ดตัวลดไข้ ดูแลทางเดินหายใจ ดูแลให้สารน้ำสารอาหารและเกลือแร่เพียงพอ
การพยาบาล
มีความบกพร่องในการหายใจและขาดประสิทธิภาพในการทำทางเดินหายใจให้โล่งเนื่องจากระดับความ
รู้สึกตัวลดลง สูญเสียรีเฟล็กซ์ในการไอ
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินสภาพการหายใจหลังจากได้รับการดูแลรักษา อัตราการหายใจ ความอิ่มตัวของออกซิเจนใน
ดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง โดยการดูดเสมหะในปาก ลำคอ และจมูก ด้วยความนุ่มนวล เมื่อจำเป็น เพื่อไม่เป็นการกระตุ้นให้เสมหะมากขึ้น ยังเป็นการให้ทารกได้รับการพักผ่อน ลดการใช้ออกซิเจน พลิกตะแคงตัวทุก 2 ชั่วโมง และจัดท่าเพื่อระบายเสมหะ เครื่องช่วยหายใจ ดูแลให้เด็กได้รับออกซิเจนอย่างมีประสิทธิภาพ
เสี่ยงต่อภาวะความดันในกะโหลกศีรษะเพิ่ม เนื่องจากการอักเสบของเยื่อหุ้มสมอง
ป้องกันและลดการเพิ่มของความดันในกะโหลกศีรษะเพิ่ม
2.1 ดูแลให้ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ หลีกเลียงกิจกรรมการพยาบาลที่จะทำให้เด็กขาดออกซิเจนเพราะการขาดออกซิเจนจะทำให้หลอดเลือดในสมองขยาย ปริมาณเลือดในสมองเพิ่มขึ้นความดันในกะโหลกศีรษะ จะเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นการดูดเสมหะโดยเฉพาะในรายที่ใส่ท่อช่วยหายใจ ต้องให้ออกซิเจน 100% ก่อนและหลังการ
ประเมินอาการระคายเคืองและการเพิ่มความดันในกะโหลกศีรษะ โดยเด็กอาจซึมลง มีระดับความ รู้สึกตัวลดลงอัตราการเต้นของหัวใจและการหายใจช้าลง ความดันโลหิตสูงขึ้น ความดันชีพจรกว้าง กระหม่อมโป่งตึง มีการขยายของรอบศีรษะมากขึ้น รูม่านตาขยายโตไม่เท่ากัน ร้องเสียงแหลม ปวดศีรษะ อาเจียนพุ่ง หากมีต้อง
รีบรายงานแพทย์เพื่อการรักษาที่ทันท่วงที
2.2 หลีกเลี่ยงการกระตุ้นที่มากเกินไป เช่นการเจาะเลือด เสียงดังจากการใช้เครื่องมือ การพูดคุย การกระแทกเตียง ทำให้เกิดความเครียด เป็นการเพิ่มความดันกะโหลกศีรษะได้
กิจกรรมการพยาบาล
2.3 ดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา สังเกตอาการข้างเคียงของการได้รับยา และประเมินผลการรักษาภาวะติดเชื้อของเยื่อหุ้มสมอง
2.4 ดูแลให้ได้รับยาลดความดันในกะโหลกศีรษะตามแผนการรักษา
3.2 อาการปวดศีรษะ อาจช่วยโดยการประคบเย็นที่ศีรษะ ดูแลให้ยาแก้ปวดตามแผนการรักษา และดูแลให้ได้รับการพักผ่อน
ลดและป้องกันอาการที่อาจเกิดจากการระคายเคืองและความดันในกะโหลกศีรษะเพิ่มขึ้น
3.1รักษาอาการชัก เป็นอาการที่พบได้บ่อยในเด็กที่มีการเพิ่มของความดันในกะโหลกศีรษะ จึงควรกำจัดสิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการชัก เช่น เสียง แสง ความไม่สุขสบายต่างๆ ดูแลให้ยาระงับชัก และยาลดไข้ตามแผนการรักษา
เสี่ยงต่อการได้รับสารอาหารและสารน้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เนื่องจากการรับประทานเองไม่ได้ หรือได้ไม่พอ มีอัตราการเผาผลาญสูง
ดูแลให้เด็กได้รับสารน้ำอย่างเพียงพอ ในรายที่ระดับความรู้สึกตัวลดลง ดูแลงดน้ำและอาหารและให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำตามแผนการรักษา เมื่อผ่านวิกฤติให้อาหารทางสายยางให้อาหาร เมื่ออาการดีขึ้นจึงให้ทางปาก และเฝ้าระวังการสำลัก
ประเมินภาวะโภชนาการโดยการชั่งน้ำหนักทุกวัน บันทึกปริมาณน้ำที่ได้รับและขับออก คำนวณพลังงานที่เด็กได้รับจริงจากอาหาร และประเมินความตึงตัวของผิวหนัง
กิจกรรมการพยาบาล
ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่แสดงถึงภาวะโภชนาการ เช่น ระดับน้ำตาล อิเล็กโทรไลต์ ฮีมาโตคริต หรือปริมาณโปรตีนในเลือด
การช่วยเหลือตัวเองบกพร่อง และเสี่ยงต่อภาวะพัฒนาการไม่สมวัย เนื่องจากสมองบางส่วนถูกทำลาย
ตอบสนองความต้องการพื้นฐานของเด็กอย่างสม่ำเสมอ ทั้งในเรื่องอาหาร การนอนหลับ การขับถ่าย
อนุญาตให้บิดามารดาอยู่เฝ้า และกระตุ้นให้มีส่วนร่วมในการดูแล
ประเมินพัฒนาการเด็กและศักยภาพในการช่วยเหลือตัวเอง
จัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการที่เหมาะสมกับเด็กแต่ละราย ทั้งระดับความสามารถ พยาธิสภาพของร่างกายเด็ก สอนและแนะนำบิดามารดาในการทำกิจวัตรประจำวันเช่น การพลิกตะแคงตัว การวางแผนในการรับ
สภาพการเปลี่ยนแปลง
กิจกรรมการพยาบาล
วางแผนกับบิดามารดาในการฝึกเด็กให้ทำกิจกรรมต่างๆด้วยตนเองทั้งหมด หรือบางส่วน โดยเน้นการดูแลตนเองในชีวิตประจำวัน และ การวางแผนในการรับสภาพการเปลี่ยนแปลง
ภาวะน้ำคั่งในสมอง(Hydrocephalus)
คือ น้ำหล่อเลี้ยงสมอง และไขสันหลังในโพรงสมองมากเกินไป ส่งผลให้โพรงสมองมีขนาดใหญ่ และเกิดการกดทับเนื้อสมอง
สาเหตุ
มีการอุดกั้นของน้ำไขสันหลัง เนื่องจากมีก้อนเนื้องอก, ก้อนเลือด หรือบางอย่างทับหรืออุดตันทางเดินของน้ำ ทำให้น้ำไหลเวียนออกไปไม่ได้
การดูดซึมกลับของน้ำเสียไป อาจเกิดจากการมี congenital hypoplasia ของ arachnoid villi หรือการอักเสบ หรือ ติดเชื้อในสมอง
น้ำในสมองถูกสร้างมากกว่าปกติ เช่น ในภาวะของเนื้องอกของ choroid plexus มีการถ่ายเทหรือ การไหลเวียนและดูดซึมปกติ
อาการและอาการแสดง
ในเด็กเล็ก
กะโหลกศีรษะจะใหญ่มากกว่าส่วนใบหน้า หน้าผากเด่นกว่าปกติ หนังศีรษะบางเป็นมัน
เวลาเคาะศีรษะอาจได้ยินเสียงเหมือนภาชนะร้าว (Macewen's sign) หากเป็นรุนแรงจะ อาเจียน ซึม เลี้ยงไม่โต (failure to thrive)
ในเด็กโต
ภาวะน้ำคั่งในกะโหลกศีรษะสูงแบบเฉียบพลัน (acute hydrocephalus) เด็กจะปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน และหมดสติ และอาจเสียชีวิตได้
ภาวะน้ำคั่งในกะโหลกศีรษะสูงแบบเรื้อรัง (acute hydrocephalus)
เด็กจะมีหน้าผากนูน ปวดศีรษะ อาเจียนซึมลง ความจำเสื่อม ตามัว ตาเหล่ จากประสาทสมองคู่ที่ 6 เกิด palsy หายใจเสียงดังอึด หรือหายใจไม่ได้อาจมีอาการกระตุกเกร็ง
การวินิจฉัยโรค
จากซักถามประวัติ อาการและอาการแสดง ตรวจร่างกาย เส้นรอบศีรษะเพิ่มมากผิดปกติ
การตรวจสอบ transillumination test ใช้ไฟฉายส่องหัวในเด็กเล็ก กะโหลกบาง)ที่มีภาวะน้ำคั่งโพรงสมอง แสงจะส่องผ่านกะโหลกศีรษะและเห็นแสงสว่างภายในกะโหลกเนื่องจากมีน้ำมาก
การถ่ายภาพรังสีกะโหลกศีรษะ
ทำ subdural tap เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ใช่ subdural effusion
5.CT Scan
การรักษา
การเจาะหลังร่วมกับการใช้ยา
ลดความดันน้ำไขสันหลังให้เหลือประมาณ 70-80 มิลลิเมตรน้ำ และให้ยาขับปัสสาวะ Acetazolamide
การรักษาด้วยการผ่าตัด
กรณีเกิดภาวะน้ำคั่งในสมอง จากการอุดตันของช่องทางเดินน้ำ CSF ต้องแก้ไขที่สาเหตุ เช่น การ ผ่าตัดเพื่อเอาเนื้องอก ก้อนเลือด หรืออื่นๆที่เป็นสาเหตุของการอุดตันนั้นก่อน
กรณีเกิดน้ำคั่งในสมอง จากการดูดกลับของน้ำ CSF เสียไป แก้ไขโดยการผ่าตัดใส่ท่อระบายน้ำ (Shunt)
กรณีเกิดภาวะน้ำคั่งในสมอง เนื่องจากมีเนื้องอก ต้องทำการผ่าตัดเอาเนื้องอกนั้นออกก่อน
การพยาบาล
ระยะก่อนผ่าตัด
มีโอกาสเกิดภาวะความดันในกะโหลศีรษะสูง จากการคั่งของน้ำไขสันหลังในกะโหลกศีรษะ
กิจกรรมการพยาบาล
ให้การพยาบาลเพื่อลดภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง
ดูแลช่วยแพทย์ในการเจาะหลังเพื่อระบายน้ำไขสันหลังตามแผนการรักษา
ประเมินอาการและอาการแสดงของภาวะความดันในกะโหลกศีรษะที่พบบ่อย คือ กระสับกระส่าย หงุดหงิด งอแง กระหม่อมหน้าโป่งตึง ร้องเสียงแหลม ซึม ไม่ดูดนม อัตราการหายใจและการเต้นหัวใจช้าลง มี ความดันชีพจรกว้าง ในทารกและเด็กเล็กควรวัดรอบศีรษะทุกวัน เพื่อประเมินการรักษา
ดูแลให้ได้รับยา Diamox ตามแผนการรักษา และติดตามผลข้างเคียงของยา อาจเกิดภาวะเป็นกรด ซึ่งเด็กจะมีอาการเริ่มต้นคือ หายใจเร็ว คาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดต่ำกว่า 15 mEq/L ถ้ามีให้รายงานแพทย์
มีโอกาสเกิดแผลกดทับบริเวณศีรษะได้ง่าย
กิจกรรมการพยาบาล
เปลี่ยนท่า พลิกตะแคงศีรษะพร้อมลำตัวทุก 2 ชั่วโมง
ดูแลความสะอาดผิวหนังบริเวณศีรษะ
จัดให้นอนที่นอนอ่อนนุ่ม ใช้หมอนรองไหล่เพื่อลดแรงกดบริเวณศีรษะ
มีโอกาสเกิดภาวะขาดสารน้ำและ สารอาหาร จากการดูดกลืนลำบากและการอาเจียน
กิจกรรมการพยาบาล
ดูแลให้ได้รับนม สารน้ำและอาหารทีละน้อย บ่อยครั้ง อย่างเพียงพอ โดยใช้มือประคองตัวและศีรษะ
จับเด็กให้เรอทุกครั้งหลังให้นม โดยจับนอนคว่ำ หรือตะแคงหันหน้าไปทางด้านใดด้านหนึ่ง และลูบ หลังเบาๆ
ระยะหลังผ่าตัด
มีโอกาสเกิดภาวะความดันในกะโหลกสูง ในระยะ 1-3 วันแรก เนื่องจากมีการขัดขวางการไหลของน้ำไขสันหลังสู่ช่องท้อง
กิจกรรมการพยาบาล
งดน้ำและอาหาร จนกว่าจะตรวจพบการทำงานของลำไส้
ประเมินท้องอืดเป็นระยะ เพราะการท้องอืดจะขัดขวางการไหลของน้ำไขสันหลังสู่ช่องท้อง
ไม่นอนตะแคงทับช้างที่ผ่าตัด เพราะอาจกด valve ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความดัน ทำให้ valve ไม่เปิดให้น้ำไขสันหลังไหลออก
มีโอกาสเกิดภาวะ subdurat hematoma ในระยะ 1-3 วันแรกหลังการผ่าตัด V-P shunt จากการมีน้ำ ไขสันหลังไหลลงสู่ช่องท้องอย่างรวดเร็ว
กิจกรรมการพยาบาล
จัดให้นอนราบกรณีที่พบกระหม่อมบุ๋มลงมาก เพื่อให้น้ำไขสันหลังไหลผ่าน jugular vein กลับสู่ช่อง ท้องช้าลง เพื่อป้องกันการยุบตัวของเนื้อสมอง ไม่ให้มีการตั้งรั้งของหลอดเลือดจนเกิดการฉีกขาดและมีเลือดออก ใน subdural cavity
ไม่ควรกด reservoir ในช่วง 3-5 วันแรก เพราะน้ำไขสันหลังไหลออกจากโพรงสมองมากไป
ประเมินอาการและอาการแสดงของ subdural hematoma คือมีภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง
มีโอกาสเกิดการติดเชื้อบริเวณ shunt ทั้งในระยะแรกหลังผ่าตัดและเมื่อกลับไปดูแลที่บ้าน
กิจกรรมการพยาบาล
ตัดเล็บเด็กให้สั้น หลีกเลี่ยงการเกาแผล
สอนและให้คำแนะนำบิดามารดา เกี่ยวกับการสังเกตภาวะติดเชื้อ
ประเมินกระบวนการอักเสบของเนื้อเยื่อ บริเวณแผลผ่าตัดที่ศีรษะลงไปจนกระทั่งถึง distal end บริเวณหน้าท้อง วัดสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง ติดตามการตรวจนับเม็ดเลือดขาว อาการอาเจียน เบื่ออาหาร
มีโอกาสเกิดภาวะ shunt ทำงานผิดปกติ จากการใส่เป็นเวลานาน เช่น การอุดตัน หรือการหลุดของ สายสวน
กิจกรรมการพยาบาล
ตรวจสอบตำแหน่งของสาย catheter
ทดสอบการทํางานของ shunt โดยการกด reservoir วันละครั้ง หรือสัปดาห์ละครั้ง
หลีกเลี่ยงการนอนทับบริเวณ reservoir
บิดามารดามีความวิตกกังวลเกี่ยวกับสภาพของบุตร ความก้าวหน้าของการรักษา การเจริญเติบโต พัฒนาการ ตลอดจนระดับสติปัญญา และการดูแลบุตรทั้งที่อยู่โรงพยาบาลและกลับบ้าน
กิจกรรมการพยาบาล
เปิดโอกาสให้บิดามารดาซักถามปัญหาและพูดคุยความวิตกกังวล
ปลอบโยนให้กำลังใจ และอธิบายให้บิดามารดาเข้าใจความเจ็บป่วยของบุตร ความก้าวหน้าของการรักษาวิธีการดูแล
3.เปิดโอกาสให้บิดามารดาดูแลบุตรด้วยตนเอง
เตรียมบิดามารดา ให้พร้อมที่จะดูแลเด็กที่บ้าน
โรคสมองพิการ
Cerebral Palsy
ความหมาย
เกิดจากสมองส่วนที่ใช้ควบคุมกล้ามเนื้อส่วนใดส่วนหนึ่งบกพร่อง หรือสูญเสียไปในทางการแพทย์จัดเด็กพิการ CP เป็นภาวะพิการทางสมองชนิดหนึ่ง ซึ่งจะทำให้ผู้เป็น โรค Cerebral Palsy ทั้งนี้เด็กพิการ CP ส่วนใหญ่จะมีสติปัญญาดี ไม่ได้เป็นปัญญาอ่อน ประมาณ 70-80% มีค่า IQ มากกว่า 70 แต่มักมีปัญหาการเคลื่อนไหว พัฒนาการช้า ยืน เดินได้ช้า พูดไม่ชัด ฯลฯ
สาเหตุ
ระหว่างตั้งครรภ์ เกิดจากแม่ติดเชื้อ อุบัติเหตุขณะตั้งครรภ์ ทำให้ทารกในครรภ์ขาดออกชิเจน หรือได้รับความกระทบกระเทือน
ระยะระหว่างคลอด อาจเกิดเด็กคลอดยาก รกพันคอ คลอดก่อนกำหนด เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อย
ระยะหลังคลอด เด็กอาจติดเชื้อเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ทำให้สมองได้รับความเสียหายบางส่วน หรือภาวะตัวเหลืองแรกเกิด ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ หรือแคลเซียมต่ำทำให้เด็กชักจนสมองขาดออกซิเจน
อาการและอาการแสดง
Spastic CP จะมีอาการกล้ามเนื้อเกร็งแน่น ตึงกว่าปกติ ไม่สามารถหดตัวได้เหมือนกล้ามเนื้อปกติ ทารกมักใช้มือข้างนึงมากกว่าอีกข้าง ขาจะหุบเข้าหากันตลอด ขาจะเหยียดเกร็งและไขว้กัน จับลุกนั่งจะงอขาไม่ได้
Ataxic CP มีความผิดปกติของสมองสั่งการส่วนที่ควบคุมการทรงตัว (voluntary movement) ไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อได้
Athetoid CP หรือ Dyskinetic มีพยาธิสภาพที่สมองส่วน basal ganglia และ cerebellum มีอาการกล้ามเนื้อไม่ประสานกัน ทำให้เด็กควบคุมสมดุลไม่ได้ ทำให้โซเซและหกลัมได้ง่าย
Mixed CP เป็นการผสมผสานลักษณะทั้งสาม
การรักษาทางกายภาพบำบัด
ปรับและควบคุมความตีงตัวของกล้ามเนื้อให้ใกล้เคียงภาวะปกติมากที่สุด
1.1.การจัดทำให้ส่วนต่างๆ ของร่างกายอยู่ในแนวที่ถูกต้องเหมาะสม เช่น การจัดท่านอนหงาย
1.2.การเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหวของข้อต่อและความยาวของกล้ามเนื้อ ทำได้โดย การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ
2.การฝึกรูปการเคลื่อนไหวและการทรงท่ที่ถูกต้องตามพัฒนาการที่ปกติหรือใกล้เคียงปกติ เช่นการฝึกชันคอพลิกตะแคงตัว การลุกขึ้นนั่ง
การใช้เครื่องช่วยและอุปกรณ์พิศษทางกายภาพบำบัด เพื่อใช้ในการจัดท่าทาง
การรักษาทางกิจกรรมบำบัด
การฝึกทักษะการทำกิจวัตรประจำวัน การแต่งกาย กรรับประทานอาหารด้วยตนเอง การฝึกการเคลื่อนไหวของแขนและมือเพื่อป้องกันข้อติดแข็งและการผิดรูปของข้อต่อ กระตุ้นการรับรู้ประสาทสัมผัส
การรักษาการแก้ไขการพูด
การตรวจประเมินความสามารถทางด้านภาษาและการพูด ฝึกแก้ไขการพูด
รายที่มีอาการชัก พบว่าการใช้ยากันชักมากกว่าหนึ่งชนิดได้ผลดีกว่าการใช้ยาเพียงชนิดเดียว
ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง กลุ่ม diazepam และ
dantrolene มีผลข้างเคียงทำให้เด็กซึมได้บ่อย
การใช้ยา baclofen ใช้ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมอาการด้วยยาอื่นๆ
อาการกล้ามเนื้อเคลื่อนไหวผิดปกติ ได้แก่Artane, Cogentin และ Kemadrin
มีรายงานการฉีด Botulinum toxin หรือ BOTOX เข้าไปในกล้ามเนื้อ ช่วยรักษาอาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อได้นาน 3-6 เดือน
การรักษาด้วยการผ่าตัด
-การผ่าตัดลดความตึงของกล้ามเนื้อ
-การผ่าตัดกระดูก ในรายที่กระดูกถูกดึงจนผิดรูปแล้ว
การรักษาด้านอื่นๆ เช่น การผ่าตัดแก้ไขตาเหล่ น้ำลายยืด การใช้เครื่องช่วยฟัง การใช้ยาควบคุมการชัก รวมถึงปัญหาด้านจิตเวช
การพยาบาล
ปัญหาที่ 1 มีความบกพร่องในการทรงตัวและการเคลื่อนไหว เนื่องจากสมอง ควบคุมการเคลื่อนไหวถูกทำลาย
กิจกรรมการพยาบาล
ทำกายภาพบำบัด เพื่อช่วยลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อ
ฝึกการเคลื่อนไหวข้อ ฝึกการออกแรงของกล้ามเนื้อ ฝึกการจัดท่า
-เด็กที่มีอาการเกร็งของขาและแขนทั้ง 2 ข้าง ตัวอ่อนปวกเปียก ควรอุ้มเด็กโดยหันหน้าเข้าหาผู้อุ้ม
-ถ้าเด็กมีอาการของ athetoid ร่วมและขาไขว้กันให้อุ้มเด็กหันหน้าออกใช้มือจับบริเวณเข่าให้สะโพกงอ
-ถ้าเด็กมีอาการเกร็งขาเหยียดและหนีบ ให้อุ้มเด็กด้านข้าง
-ถ้าเด็กมีอาการเกร็งตัวงอให้อุ้มเด็กในท่านอนคว่ำมือข้างหนึ่งประคองบริเวณอกส่วนมืออีกข้าง สอดใต้หว่างขาเด็ก
กระตุ้นพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อ การกระตุ้นพัฒนาการเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง กระตุ้นพัฒนาการต้องทำตามขั้นตอนของพัฒนาการปกติ ทำซ้ำๆ ทำบ่อยๆ ให้ตาม
2.1 การชันคอ ทำโดยให้เด็กนอนคว่ำบนตัก หรือที่นอน แล้วกระตุ้นให้เด็กยกศีรษะขึ้น โดยใช้เสียงหรือของเล่น หรือช่วยเชยคางเล็กน้อย หรืออาจทำโดยจัดให้เด็กนอนหงาย รวบมือเด็กทั้ง 2 ข้าง แล้วดึงขึ้นให้อยู่ในท่านั่ง ช่วงแรกใช้มือพยุงหลังศีรษะแล้วค่อยๆ ปล่อยเพื่อให้เด็กรู้จักควบคุมศีรษะ
2.2 การพลิกคว่ำ ทำโดยวางเด็กบนผ้าเช็ดตัว แล้วดึงปลายผ้าอีกด้าน เพื่อช่วยให้เด็กกลิ้งตัวได้
2.3 การนั่งทำโดยให้เท้าทั้ง 2 ข้างห้อยลง ฝ่าเท้าวางแตะบนพื้น
2.4 การคลาน ทำโดยจัดให้เด็กอยู่ในท่าคลาน ให้เด็กได้ใช้เข่าและแขน และช่วยพยุงบริเวณหน้าอกและสะโพกเด็ก
2.5 การยืน เริ่มด้วยให้เด็กวางเท้าบนพื้นให้เต็มฝ่าเท้า ไม่งอ แล้วพยุงให้ลุกขึ้น เมื่อยืนได้มั่นคงจึงฝึกเดินต่อโดยให้มีราวหรือที่เกาะ
ติดต่อประสานกับนักกายอุปกรณ์ เพื่อใช้อุปกรณ์เสริมส่วนขาและลำตัวช่วยยึดกล้ามเนื้อที่หดเกร็ง
แนะนำบิดา มารดาในการฝึกกระตุ้นและทำกายภาพบำบัด เพื่อป้องกันความพิการอื่นๆ เช่น ข้อติดแข็ง กล้ามเนื้อลีบ
ดูแลให้ยาลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อตามแผนการรักษา ซึ่งจะช่วยลดอาการปวดจาก การหดเกร็งของกล้ามเนื้อได้ด้วย
ป้องกันและแก้ไขภาวะข้อยึดติด โดยใช้ความร้อนประคบ หรือบริเวณที่มีการหดรั้งหรือ ข้อยึดติดในน้ำอุ่น และตามด้วยการทำกายภาพบำบัด ให้ข้อมีการเคลื่อนไหว หรือดัดยึดข้อ ให้มากที่สุด
ปัญหาที่ 2 พัฒนาการไม่เหมาะสมกับวัย การเรียนรู้และการสื่อสารบกพร่อง จาก ความบกพร่องของสมอง
กิจกรรมการพยาบาล
ส่งเสริมพัฒนาการตามความสามารถของเด็ก ด้านการใช้กล้ามเนื้อ เช่น การฝึกชันคอ พลิกคว่ำ นั่ง ยืน เดิน
กิจกรการพยาบาล
ฝึกทักษะการช่วยเหลือตนเอง เป็นการฝึกการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก เช่น กล้ามเนื้อมือ กล้ามเนื้อช่องปากเพื่อให้เด็กสามารถทำกิจวัตรประจำวันต่างๆได้ด้วยตนเอง
2.1 การรับประทานอาหาร ฝึกให้เด็กรับประทานอาหารเอง ด้วยการฝึกการเคี้ยว กลืน และตักรับประทานอาหารเอง
2.2 การขับถ่าย เด็กที่นั่งเองยังไม่ได้ควบคุมศีรษะได้ไม่ดี ฝึกโดยให้มารดาอุ้มเด็กทางด้านหลังขึ้นมานั่งบนกระโถน โดยมารดานั่งคร่อม
2.3 การทำความสะอาดร่างกาย ควบคุมการเคลื่อนไหวของแขนและมือก่อน
2.4 การแต่งตัว เป็นกิจกรรมที่ซับซ้อน จะเริ่มด้วยการจัดท่าที่เหมาะสมสำหรับเด็กแต่ละคน ให้เด็กอยู่ในท่าที่ปลอดภัย ปราศจากอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ เลือกเสื้อผ้าที่ง่ายต่อการใส่
การฝึกพูด ควรพูดกับเด็กช้าๆ บ่อยๆ โดยพยายามให้เด็กมองหน้าและปากของผู้พูด
ใช้กิจกรรมการเล่น การเล่นในเด็กสมองพิการมีความสำคัญพอๆกับเด็กปกติ เด็กจะเกิดการเรียนรู้ในขณะเล่น ช่วยลดการเกร็ง ฝึกการทรงตัว การลงน้ำหนักเท้า
4.1กลุ่มที่มีกล้ามเนื้อหดเกร็ง (Spasticity) มักมีข้อจำกัดของการเคลื่อนไหว เคลื่อนไหวได้น้อย อยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนานๆ จึงควรจัดให้มีกิจกรรมการเล่นในท่าที่มีการเคลื่อนไหวของแขน และมือในช่วงมุมข้อที่กว้างขึ้น เพื่อพัฒนาความสามารถในการเคลื่อนไหวทุกทิศทาง
4.2 กลุ่มที่มีการทรงตัวผิดปกติ (ataxia) เด็กมักเดินเซ กะระยะในการเดินไม่ถูก สั่นเมื่อหยิบจับควรจัดกิจกรรมการเล่นที่ต้องใช้การทำงานของกล้ามเนื้อให้มาก เช่น เข็นรถขนของ
4.3 กลุ่มที่มีการเคลื่อนไหวผิดปกติ (athetosis) มีการเคลื่อนไหวที่ควบคุมไม่ได้ ให้ใช้ของเล่นที่ไม่มีการเคลื่อนไหวข้อในช่วงกว้างมาก เพราะจะทำให้เด็กเคลื่อนไหวได้ยาก
ฝึกการออกเสียงและการสื่อสาร ควรเริ่มฝึกพูดก่อนที่เด็กจะเข้าโรงเรียน การพูดคุย กับเด็ก ให้พูดช้าๆชัดๆ บ่อยๆ อาจใช้รูปภาพหรือวัตถุประกอบเพื่อให้เด็กเข้าใจในคำพูด เพื่อแก้ไขการพูดการสื่อสาร
จัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการกระตุ้นพัฒนาการเด็ก ปรับสภาพบ้านให้เอื้อต่อการเรียนรู้หรือการฝึกกิจวัตรต่างๆ ส่งเสริมให้เด็กสามารถเคลื่อนไหว หรือเคลื่อนย้าย ตนเองได้อย่างปลอดภัย
กระตุ้นการเรียนรู้ ด้วยการพาทำกิจกรรมร่วมกับพี่น้อง พาเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ เช่น พาไปตลาด พาไปหาเพื่อนบ้าน เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้และปรับตัวเองที่จะอยู่ในสังคม
ปัญหาที่ 3 ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย เนื่องจากมีด บกพร่องในการรับประทานและกลืน
กิจกรรมการพยาบาล
กิจกรการพยาบาล
ดูแลให้เด็กได้รับอาหารที่มีพลังงนสูง สารอาหารครบ โดยพิจารณาลักษณะอาหาร วิธีการให้อาหารให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละราย
ระวังการสำลักในขณะให้อาหาร เนื่องจากเด็กอาจมีการทำงานของกล้ามเนื้อช่องปากและคอหอยไม่
ประสานกัน ส่งผลให้กลืนและเคี้ยวลำบาก การป้อนอาหารให้เด็กจึงควรจัดให้เด็กอยู่ในท่านั่งหรือศีรษะสูง ป้อนช้าๆ คำเล็กๆ
ฝึกและกระตุ้นให้เด็กรับประทานอาหารเอง
4 ประเมินภาวะโภชนาการ ด้วยการเปรียบเทียบน้ำหนักและส่วนสูงเป็นระยะ
ปัญหาที่ 4 : เสี่ยงต่อการติดเชื้อทางเดินหายใจ เนื่องจากการผิดรูปของทรวงอก และ การทำงานของกล้ามเนื้อที่ไม่ประสานกัน
กิจกรรมการพยาบาล
ทำกายภาพบำบัด โดยการจัดท่าให้ไปในทิศทางที่ตรงกันข้ามกับการบิดงอของเด็ก อาจใช้หมอนหรือผ้าห่มสอดในบริเวณที่บิดหรืองอมากๆ และบริหารบริเวณข้อต่อและกล้ามเนื้อต่างๆ บ่อยๆ
ดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง ด้วยการจัดให้เด็กตะแคงหน้าไปด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อป้องกันการสำลัก
ปัญหาที่ 5 บิดามารดามีความเครียด วิตกกังวล เนื่องจากความพิการของเด็ก
กิจกรรมการพยาบาล
เปิดโอกาสให้บิดามารดาได้ระบายความรู้สึกที่มีต่อสภาพอาการของเด็ก การมีบุตรที่มีความพิการของ สมองและร่างกาย นอกจากบิดามารดาจะรู้สึกอับอายแล้ว ยังเครียด วิตกกังวลกับการดูแลเด็ก พยาบาลควรแสดง ความเห็นอกเห็นใจ ให้การช่วยเหลืออย่างเต็มใจ ทำให้บิดามารดายอมรับกับสภาพของเด็ก มีทัศนคติที่ดีต่อเด็ก และตนเอง ไม่โทษว่าเป็น ความผิดของคนใดคนหนึ่ง
สนับสนุนและส่งเสริมให้บิดามารดา มีส่วนร่วมในการดูแลเด็กขณะอยู่ในโรงพยาบาล เพื่อให้เกิดความ
มั่นใจในการดูแลต่อที่บ้าน และพยายามให้สมาชิกในครอบครัวมีส่วนร่วมในการดูแลเด็ก
แนะนำวิธีดูแลเด็กที่บ้าน เรื่องการให้ยาควบคุมอาการชัก การส่งเสริมการเคลื่อนไหว การกระตุ้น
พัฒนาการ การดูแลสุขภาพอนามัย เช่น การทำกายภาพบำบัด การให้อาหาร การทำความสะอาดร่างกาย การฝึกขับถ่าย โดยฝึกให้เด็กช่วยตัวเองให้ได้มากที่สุด แจ้งให้ทราบถึงสิทธิที่ผู้พิการควรได้รับ การจดทะเบียนผู้พิการ และที่สำคัญคือการช่วยให้เด็กรู้สึกว่าเขาเป็นสมาชิกคนหนึ่งในครอบครัว
ชักจากไข้สูง (Febrile convulsion)
สาเหตุ
เกิดจากการติดเชื้อในระบบต่างๆไม่เกี่ยวข้องกับระบบประสาท
ต่อมทอนซิลอักเสบ
การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
กระเพาะอาหารหรือลำไส้อักเสบ
อาจเกิดขึ้นได้ภายหลังการให้วัคซีนคางทูม หัดเยอรมัน
หูชั้นกลางอักเสบ
การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ
ไวรัสที่เป็นสาเหตุที่ทําให้เกิดภาวะชักจากไข้สูง
respiratory syncytial virus (RSV)
adenovirus
influenza A
อาการและอาการแสดง
สับสน
อาการชัก เกร็ง กระตุก
มึนงง
ไม่รู้สึกตัว
หน้าแดง
ตาจะกรอกไปด้านหลัง
ไข้สูงมากเด็กจะตัวร้อน
ไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระได้
ระดับความรู้สึกตัวเปลี่ยนไป
หายใจลำบาก หยุดหายใจประมาณ30วินาที
ชนิดของภาวะชักจากไข้สูง
อาการชักจากไข้ชนิดไม่ซับซ้อน (simple febrile convulsion หรือ primary febrile convulsion)
1.2 ขณะมีอาการชัก จะเกิดอาการชักระยะสั้นๆ ส่วนใหญ่ประมาณ 2-3 นาที ไม่เกิน 15 นาที และลักษณะการชักเป็นแบบชักทั้งตัว
1.3 ภายหลังการชัก จะไม่พบความผิดปกติของระบบประสาท
1.1 ก่อนมีอาการชัก ระบบประสาทและพัฒนาการมีลักษณะปกติ
อาการชักจากไข้ชนิดซับซ้อน (complex febrile convulsion หรือ secondary febrile
convulsion)
2.2 ขณะมีอาการชัก จะมีอาการชักเป็นระยะเวลานาน เป็นเวลามากกว่า 10-15 นาที หรือมีอาการชักเกิดขึ้นซ้ำภายใน 24 ชั่วโมง และลักษณะการชักเป็นแบบเฉพาะที่หรือทั้งตัว
2.3 ภายหลังการชักอาจพบว่ามีความผิดปกติทางระบบประสาท เช่น อัมพาตครึ่งซีก(Todd’s paralysis)
2.1 ก่อนมีอาการชักระบบประสาทและพัฒนาการมีลักษณะผิดปกติ เช่น มีสมองเล็ก
2.4 มีประวัติบุคคลอื่นๆ ในครอบครัวมีลมชักแบบลมบ้าหมู (febrile convulsion, epileptic
seizure)
การวินิจฉัยโรค
การตรวจ น้ําไขสันหลัง (Lumbar puncture: LP) มีความสําคัญ ช่วยในการวินิจฉัยแยกโรค ชักจาก ไข้สูงมักพบภายใน 24 ชั่วโมงแรก หรือ การติดเชื้อในระบบประสาทจะพบการชักภายหลัง 24 ชั่วโมง
การตรวจคลื่นสมอง (Electroencephalography: EEG) จะไม่พบความผิดปกติใด
การซักประวัติ ตรวจร่างกาย ตรวจอาการระคายเคืองสมอง
การรักษา
ระยะที่กําลังมีอาการชัก ในกรณีที่มีการชักนาน
หลักการรักษา คือ ทําให้หยุดชักให้เร็วที่สุด เพื่อให้ไม่มี
ภาวะสมองขาดออกซิเจน โดยแพทย์จะให้ยา diazepam ขนาด 0.1-0.5 mg/kg เข้าทางหลอดเลือดดํา ซ้ำได้ทุก 15 นาที ถ้ายังไม่หยุดชักแพทย์อาจให้ diazepam สวนเหน็บทางทวารหนัก
ระยะหลังจากหยุดอาการชัก แพทย์จะตรวจร่างกายและซักประวัติ เพื่อหาสาเหตุและประเภทของ อาการชัก และปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดอาการชักซ้ำจากไข้สูง ให้ยาเพื่อป้องกันการชักซ้ำเมื่อมีไข้
2.1 ให้ยาลดไข้ paracetamol 10-15 mg/kg ทุก 4-6 ชั่วโมง ร่วมกับเช็ดตัวลดไข้
2.2 ให้ดื่มน้ํามากๆ เพื่อแก้ไขภาวะขาดน้ํา และความร้อนจะถูกขับออกมาทางเหงื่อและปัสสาวะ ซึ่งจะช่วยลดไข้ได้อีกทาง
การพยาบาล
เสี่ยงต่อเซลล์สมองถูกทําลายจากการชักนาน
กิจกรรมการพยาบาล
ดูแลให้ได้รับออกซิเจนตามแผนการรักษา
ดูแลให้ยากันชักตามแผนการรักษา คือ diazepam ขนาด 0.1-0.5 mg/kg/ครั้ง ทางหลอดเลือดดําช้าๆจนหยุดชัก ขณะฉีดเฝ้าระวังการหายใจของเด็กด้วย
ดูแลทางเดินหายใจให้โล่งโดยให้เด็กนอนตะแคงหน้าเพื่อป้องกันการสําลัก ดูดเสมหะทางปากและจมูก
เช็ดตัวลดไข้ด้วยน้ําอุ่นนาน 15-20 นาที หรือจนกว่าไข้จะลด และ แพทย์อาจพิจารณาให้ยาparacetamol 10-15 mg/kg/ครั้ง ร่วมด้วย และซ้ำได้ทุก 4-6 ชั่วโมง
เสี่ยงต่อการได้รับอุบัติเหตุหรืออันตรายจากการชัก
กิจกรรมการพยาบาล
ให้ยากันชักตามแผนการรักษา และสังเกตอาการข้างเคียงของยา
หลีกเลี่ยงตัวกระตุ้นที่ทําให้เกิดการชักซ้ำ โดยการลดไข้ จัดสิ่งแวดล้อมให้ได้พักผ่อน
คลายเสื้อผ้าเด็กออกให้หลวมโดยเฉพาะรอบคอเพื่อให้หายใจสะดวก ไม่ควรผูกยึดเด็กขณะมีอาการชัก เพราะอาจทําให้กระดูกหักได้
สังเกตและบันทึกลักษณะรายละเอียดของการชัก ลักษณะการชัก ระดับการรู้สติของเด็กหลังการชักระยะเวลาที่ชัก จํานวนครั้ง หรือความถี่ของการชัก พฤติกรรมหลังการชัก
จัดให้เด็กนอนราบใช้ผ้านิ่มๆ เช่นผ้าห่ม หรือผ้าเช็ดตัวหนุนบริเวณใต้ศีรษะเพื่อป้องกันศีรษะกระแทก เตียงขณะเด็กมีอาการชัก ระวังแขนขากระแทกกับของแข็งขอบเตียง เก็บของมีคมออกจากเตียง ไม่ควรเคลื่อนย้าย เด็กขณะชัก
บิดามารดามีข้อจํากัดในการดูแลเด็กเนื่องจากขาดความรู้
กิจกรรมการพยาบาล
แนะนําและสาธิตวิธีการเช็ดตัวลดไข้ที่ถูกต้อง ต้องเช็ดทุกส่วนของร่างกาย อย่างต่อเนื่องใช้เวลา 15-20 นาที หรือจนกว่าไข้จะลด หลังเช็ดตัวใส่เสื้อผ้าบางๆ ไม่ควรห่มผ้าทันที ถ้าเช็ดตัวถูกวิธีไข้จะลดลงภายใน 15-30 นาที เร็วกว่าการใช้ยาลดไข้
แนะนําการช่วยเหลือเด็กขณะมีอาการชัก ให้ตั้งสติให้ดี จับให้เด็กนอนตะแคงหน้าไปด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อป้องกันการสําลักและลิ้นตกไปอุดกั้นทางเดินหายใจ พร้อมทั้งเช็ดตัวลดไข้ และสังเกตลักษณะของการชัก ห้าม ใช้นิ้วหรือวัตถุใดๆงัดปากเด็กขณะกําลังชัก เพราะอาจเกิดอันตรายต่อเด็กและผู้ดูแลได้
เปิดโอกาสให้บิดามารดามีส่วนร่วมในการดูแลเด็กขณะรับการรักษาในโรงพยาบาล เพื่อสร้างความ มั่นใจในการดูแลเด็กเมื่อกลับไปอยู่บ้าน และส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างบิดามารดาและบุตร
สมองอักเสบ (Encephalitis)
สาเหตุ
ติดเชื้อไวรัส (หลายชนิด)
เชื้อพิษสุนัขบ้า (Rabies)
เชื้อโปลิโอ Japanese B virus
ยุงประเภท Culex, Andes บางชนิด เป็นพาหะ —>โรคสมองอักเสบ
พบโรคแทรกซ้อน -หัด หัดเยอรมัน อีสุกอีใส คางทูม
เชื้อเริม (Herpes simplex)
พยาธิสภาพ
เชื้อเข้าร่างกาย —> เพิ่มจำนวนเชื้อที่ต่อมน้ำเหลือง —> แพร่กระจายทั่วร่างกาย —> เข้าสมองทางเยื่อบุผนังหลอดเลือด —> - สมองบวม
มีเลือดออกเป็นหย่อมๆ
เนื้อสมอง
gray matter
Thalamus
เยื่อหุ้มสมอง
อาการและอาการแสดง
ระยะอาการนำ (prodromal stage)
ระยะเวลานานประมาณ 2-3 วัน
เกิดอย่างเฉียบพลัน
ไข้สูง ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย
คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร
ระยะมีอาการทางสมอง (acute encephalitis stage )
ไข้สูง ปวดศีรษะ อาเจียนพุง
อาการทางระบบประสาทส่วนกลาง
มีอาการชัก
รีเฟล็กซ์ของข้อ (deep tendon reflex ) ไวกว่าปกติ
อัมพาตแขนขา มือสั่น
เด็กซึมลงเรื่อยๆ จนไม่รู้สึกตัว
เกิดภายใน 24-72 ชม.
มีอาการระคายเคืองของเยื่อหุ้มสมอง
stiffness of neck
Kerning’s sign
Brudzinski sign ให้ผลบวก
เด็กมักเสียงชีวิตในระยะนี้ อาจภายใน 10 วัน
การรักษา
ไม่มียารักษาเฉพาะ
ยกเว้นสมองอักเสบจากเชื้อไวรัส
varicella-zoster virus
ยาต้านไวรัส
acyclovir
เชื้อ rubeola ให้ ribavirin
เชื้อ influenza ให้ oseltamivir
รักษาแบบประคับประคอง
ดูแลทางเดินหายใจให้ได้รับออกซิเจนตามแผนการรักษา
ลดอาการสมองบวมโดยใช้สเตียรอยด์ หรือ mannitol
ถ้าชักให้ยาแก้ชัก
carbamazepine
phenytoin
phenobarbital
diazepam
ภาวะขาดน้ำให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
การพยาบาล
เสี่ยงต่อเซลล์สมองได้รับอันตรายเนื่องจากความดันในกะโหลกสูง
กิจกรรมการพยาบาล
ดูแลให้เด็กได้รับยาลดบวมของสมองตามแผนการรักษา เช่น mannito ซึ่งยาจะทำให้เกิดการดึงน้ำ จากเนื้อสมองเข้าสู่หลอดเลือด ทำให้สมองลดบวม ลดความดันในกะโหลกศีรษะ แต่เด็กจะถ่ายปัสสาวะออกมากจึงควรประเมินปริมาณสารน้ำเข้าออก อาการขาดน้ำ ระดับความความสมดุลของอิเล็กโทรไลต์ ยูเรีย ไนโตรเจน
เป็นระยะ
ประเมินอาการและอาการแสดงทางระบบประสาท และสัญญาณชีพ เช่นประเมินระดับความรู้สึกตัว
ปฏิกิริยาของรูม่านตา สังเกตอาการปวดศีรษะ อาเจียน
ให้การพยาบาล เพื่อให้เนื้อเยื่อสมองได้รับออกซิเจนดีขึ้นและเพียงพอ
จัดทศีรษะสูงประมาณ 15-30 องศา เพื่อให้เลือดจากหลอดเลือดดำในสมองไหลลงสู่หัวใจได้ดีขึ้น
เป็นการลดความดันในกะโหลกศีรษะ และศีรษะต้องตรงเพื่อป้องกันหลอดเลือดดำที่คอถูกกด
จัดสิ่งแวดล้อมให้เงียบสงบ หลีกเลี่ยงการเกิดเสียงดัง ลดแสงไฟที่จ้าเกินไป และไม่รบกวนเด็กโดย
ไม่จำเป็น
2.เสี่ยงต่อการได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอจากระดับความรู้สึกตัวลดลง สูญเสียรีเฟล็กซ์ของไอและกลืน
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินสภาพการหายใจ จากลักษณะการหายใจ อัตราการหายใจ เสียงปอด สีผิว ระดับความอิ่มตัว
ของออกซิเจนในเลือด ตลอดจนติดตามผลการตรวจหาหน้าที่ของปอด
3.ดูแลดูดเสมหะออกจากทางเดินหายใจตามความจำเป็น โดยเฉพาะในรายที่ใส่ท่อช่วยหายใจ แต่ละ ครั้งไม่เกิน 15 วินาที และบีบ Ambu bag ให้นานประมาณ 1 นาที เพื่อเพิ่มการขยายของปอด ลดภาวะขาดออกซิเจนในรายที่ทำตามคำสั่งได้ กระตุ้นให้เต็กไอ พลิกตะแคงตัวทุก 2 ชั่วโมง
จัดให้เด็กอยู่ในทำกึ่งตะแคงถึงคว่ำ ป้องกันการตกของสิ้นปิดทางเดินหายใจ แต่ในรายที่มีความต้นใน
กะโหลกศีรษะสูงมาก ควรจัดให้นอนศิรษะสูงประมาณ 30 องศา เพื่อลดความดันในกะโหลกศีรษะ
ดูแลให้ออกซิเจนตามแผนการรักษา
เสี่ยงต่อการได้รับอาหารและน้ำไม่เพียงพอ จากระดับการรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลงไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินความสมดุลของสารน้ำและอาหาร ด้วยการชั่งน้ำหนัก ปริมาณน้ำเข้า-ออก สังเกตความ
ยืดหยุ่นของผิวหนัง อาการบวม
ระยะแรก หรือ ระยะที่เด็กมีอาการทางสมอง ดูแลให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ หรือ สารอาหารทาง
สายยาง
ระยะพักฟื้น เมื่อเด็กมีอาการดีขึ้น ฝึกการให้อาหรทางปาก ควรมีการประเมินรีเฟล็กซ์การกลืน เริ่มให้อาหารทางปาก (ใช้น้ำเปล่าประมาณ 3 มิลลิลิตร ใส่เข้าไปในปากบริเวณลิ้น เด็กจะมีการกลืน ภายใน
1 วินาทีหลังให้น้ำ
เสี่ยงต่อการได้รับอันตรายจากการชัก จากสมองบวมและไข้สูง
กิจกรรมการพยาบาล
ป้องกันอันตรายในขณะชัก เช่น การสำลัก ตกเตียง และให้ออกซิเจนตามแผนการรักษา
ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย ในระยะที่ 1 และ 2 ของโรค หรือมีภาวะติดเชื้ออื่นแทรกช้อน เด็กจะมี
ไข้สูง ซึ่งการมีไข้สูง เนื้อสมองจะไว ต่อการขาดออกซิเจน มีอาการซักเกร็งง่ายขึ้น ต้องดูแลเช็ดตัวลดไช้ และให้ยา ลดไข้ตามแผนการรักษา
1.ควบคุมอาการชัก โดยให้ยาควบคุมการชักตามแผนการรักษา ลดสิ่งกระตุ้นต่างๆ ที่ทำให้เกิดการชัก
เพิ่มขึ้น
เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนจากการนอนนานๆ เช่น แผลกดทับ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ลีบและข้อติดแข็ง การติด
เชื้อของระบบทางเดินหายใจ และทางเดินปัสสาวะ
กิจกรรมการพยาบาล
ป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ จากการที่รีเฟล็กซ์การป้องกันลดลง เช่น การเคลื่อนไหว รีเฟล็กซ์การ
ไอ การขย้อน ภูมิต้านทานที่ลดลง มีภาวะทุพโภชนาการ มีการสอดใส่เครื่องมือ สายต่างๆเข้าร่างกาย ทำให้เสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อ จึงควรลตปัจจัยต่างๆที่ทำให้ติดเชื้อ โดย
2) ล้างมือก่อนและหลังให้การพยาบาล
3) ช่วยเหลือเด็กทำกิจวัตรประจำวัน การทำความสะอาดร่างกาย โดยเฉพาะหลังการขับถ่าย
1) ให้การพยาบาลโดยยีดหลักปราศจากเชื้อ
4) ประเมินสัญญากตีพทก 2-4 ชั่งโมง
พื้นฟูสมรรถภาพเด็ก เด็กที่เป็นสมองอักเสบมืโอกาสเกิดความพิการสูง ต้องเริ่มฟื้นฟูสมรรถภาพ
โดยเร็ว โดยการพยายามพลึกตัวบ่อยๆ เพื่อป้องกันแผลกทับ ออกกำลังกายแขนขา ข้อต่อต่างๆ รองฝ่าเท้าเพื่อ ป้องกันเท้าตก นวดบริเวณปุ่มหลัง ปุมกระดูกต่างๆ และเมื่อเข้าระยะฟักฟื้นถ้าเต็กมีการรับรู้ สอนและกระตุ้นให้ เด็กช่วยเหลือตนเอง และให้บิดามารดามีส่วนร่วมในการทำกายภาพให้เด็ก ปรึกษานักกายภาพบำบัต และติดตามผล
เด็กและบิดามารดามีความเครียดวิตกกังวล เนื่องจากเป็นโรคคุกคามชีวิต และมีความพิการสูง
กิจกรรมการพยาบาล
ตรวจเยี่ยม สังเกตอาการเต็ก และประเมินผลการทำกิจกรรมต่างๆด้วยคำพูดที่ก่อให้เกิดความรู้สึกในการเสริมแรงทางบวก
กระตุ้นประสาทสัมผัสทุกส่วน ช่นให้การพยาบาลด้วยความนุ่มนวล สัมผัสอย่างเบามือ การให้เด็กได้ดมกลิ่นหอมต่างๆ ทำให้เด็กสดชื่น ให้ได้สัมผัสกับสิ่งแวดล้อม เพิ่มโลกทัศน์ให้กว้าง อยู่กับเต็กให้เด็กรู้สึกมีเพื่อนไม่โดดเดี่ยว รู้สึกมีความหวัง
เข้าใจความรู้สึกของพฤติกรรมบิดามารดา เปิดโอกาสให้ระบายความรู้สึกที่ไม่สบายใจ ให้การช่วยเหลือในการปรับตัว ให้ความกระจ่างในข้อมูลต่างๆ ให้บิดามารดามีส่วนร่วมในการดูแลเด็ก และให้กำลังใจเป็นระยะ
การป้องกัน
หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับเชื้อโรคหรือพาหะ
ระวังอย่าให้ถูกยุงกัด
วัคซีนป้องกันโรคให้แก่สัตว์เลี้ยงประเภทที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม
กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง
ให้ความรู้แก่ประชาชน
วงจรการเกิดโรค
ความพิการทางสมองที่จะตามมาจากการเกิด
โรค
ฉีดวัคซีนที่สามารถป้องกันโรคสมองอักเสบ
วัคนป้องกันโรคโปลิโอ หัด หัดเยอรมัน คางทูม
ไข้สุกใส
วัคซีนป้องกันไข้สมองอักเสบเจอี
LAJE1 เด็กอายุ 1 ปี
AVE2 เมื่ออายุ 2 ปี 6 เดือน
โรคลมชัก (Epilepsy)
เป็นภาวะทางระบบประสาทที่ทําให้ ผู้ป่วยเกิดอาการชัก ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงอย่างเฉียบพลันของการส่งคลื่นสัญญาณกระแสไฟฟ้าของ เซลล์สมอง โรคลมชัก มี 2 ประเภท คือ
ทุกส่วนของสมองที่เรียกว่า “convulsion หรือ generalized seizure
บางส่วนของสมองที่เรียกว่า “partial seizure”
ความหมาย
อาการชัก (seizure) หมายถึง พฤติกรรมที่ปรากฏเป็นครั้งคราว ไม่สามารถควบคุมได้ รวดเร็วและรุนแรง
อาการชัก (convulsion) คือ อย่างรุนแรง ทําให้มีการเกร็ง หรือกระตุกของกล้ามเนื้อให้เห็น เฉพาะที่ (focal หรือ partial) หรือเป็นทั้งตัว (generalized seizure) แต่ถ้าเป็นอาการชักที่ไม่มีการเกร็ง เรียก (non-convulsive seizure)
โรคลมชัก (epilepsy หรือ epileptic seizure) หมายถึง เกิดขึ้นทันทีทันใด ไม่สามารถควบคุมได้ เป็นเวลาสั้นๆ และหยุดไปเอง ถ้ามีอาการชักมากกว่า 1 ครั้งขึ้นไป เป็น ซ้ำแล้วซ้ำอีกในคนๆหนึ่งเรียก epilepsy ส่วน
epileptic syndrome มีลักษณะคล้ายกัน เช่น อายุ สาเหตุ
สาเหตุ
พบได้ในทุกช่วงอายุ โดยเฉพาะในคนอายุน้อย เกิดได้จากทุกสาเหตุที่มีผลกระทบต่อสมอง แล้วส่งผลกระทบต่อสมอง เช่น การขาดออกซิเจน น้ําตาลในเลือดต่ำ
พยาธิสภาพ
เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงการทําหน้าที่ของสมอง โดยมีการปล่อยกระแสไฟฟ้าผิดปกติจํานวนมากจากเซลล์สมอง (neuron) แล้วกระจายไปทั่วสมองหรือผิวสมอง ทําให้มีอาการหมดสติ ชักกระตุก มีความผิดปกติทางการรับความรู้สึกและด้านจิตใจ
การวินิจฉัย
การตรวจร่างกาย ระบบประสาท
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
3.1การตรวจคลื่นสมอง (electro encephalogram: EEG) ตรวจเพื่อยืนยันว่าเป็นโรคลมชักจริงและชนิดใด
3.2 การถ่ายภาพรังสีสมอง
ประวัติ ควรถามลักษณะการชักอย่างละเอียด ชักครั้งแรกเมื่อไหร่ ชักมากี่ครั้ง ชักนานเท่าไร อาการ ก่อนเกิดการชัก ตําแหน่งที่เริ่มชัก ขณะชักรู้สึกตัวหรือไม่ ปัสสาวะ อุจจาระราดหรือไม่ หลังชักรู้สึกอย่างไร ลักษณะการชักแต่ละครั้ง
ชนิดของการชัก
จําแนกตามวิธีของ International Classification Epileptic Seizure
การชักบางส่วน (Focal or Partial Seizure) เฉพาะที่ไม่มีอาการหมดสติ การเคลื่อนไหวผิดปกติ
1.1 อาการชักอย่างง่าย (simple partial seizure) มี 2 อาการคือ อาการชักแบบ Jacksonian Seizure กระตุกเฉพาะที่ อาจเริ่มที่มือข้างใดข้างหนึ่ง อาการชักที่เกิดจากความผิดปกติของการรับความรู้สึกทางกาย เกิดขึ้นได้ทุกวัย ทันทีทันใด และรู้สึกตัว
1.2 อาการซับซ้อน (complex partial seizure)
อาการชักทั่วไป (Generalized seizure)
2.1 อาการชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัว
มี 3 ระยะ
ระยะที่ 2 จะหมดสติทันทีทันใด แล้วมีอาการเกร็ง (Tonic phase)
ระยะชัก (Clonic phase) กระตุกแล้วก็คลาย กลั้นปัสสาวะอุจจาระไม่อยู่ มีน้ําลายเป็นฟองไหลออกจากปาก ระยะนี้กินเวลา 2-5 นาที
ระยะแรก เกิดก่อนไม่กี่วัน เกิดจากการปลดปล่อยพลังไฟฟ้ามาก ผิดปกติในส่วนของสมองที่เป็นจุดเริ่มต้นของอาการชัก หรือความผิดปกติทางจิต
2.2 อาการชักแบบ Petit mal พบได้ในวัยเด็กอายุ 8-10 ปี และอาจหายเองได้เมื่ออายุมากขึ้น หน้าซีด หมดสติไปชั่วขณะ 5-30 วินาที
กลุ่มอาการชักแบบพิเศษ มีลักษณะเฉพาะ ชักเป็นครั้งคราว
การรักษา
คือ ควบคุมไม่ให้มีอาการชักอีก หรือให้มีการชักน้อยที่สุด
ให้ยากันชัก เพื่อควบคุมอาการชัก
3.การผ่าตัดในรายที่ไม่ตอบสนองต่อยากันชัก
รักษาสาเหตุของการชัก
หลีกเลี่ยงและควบคุมสิ่งกระตุ้น และฟื้นฟูสภาพจิตสังคม
ยา
Phenobarbital
Phenytoin
Levetiracetam
Diazepam
Carbamazepine
Clonazepam
Sodium Valproate
หลักทั่วไปในการเลือกใช้ยารักษาอาการชัก
สาเหตุให้รักษา
วินิจฉัยให้ถูกต้องว่าเป็นการชักชนิดไหน
การใช้ยาร่วมกันหลายขนาน
ในกรณีที่ต้องการหยุดใช้ยาควรค่อยๆ ลดขนาดของยาลงอย่างระมัดระวัง
การพยาบาล
เสี่ยงต่อการได้รับอันตรายและอุบัติเหตุจากการชัก
กิจกรรมการพยาบาล
จัดให้เด็กนอนหงายราบ
คลายเสื้อผ้าเด็กให้หลวม ไม่ควรผูกมัดเด็ก
ดูแลให้ได้รับออกซิเจนตามความเหมาะสม และควรเตรียมอุปกรณ์ช่วยชีวิตให้พร้อม
ดูแลให้ยากันชักตามแผนการรักษา
ให้การดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด และอยู่กับเด็กตลอดเวลาขณะที่เด็กมีอาการชัก เพื่อสร้างความมั่นใจและ เป็นกําลังใจให้กับเด็กและพ่อแม่
ดูแลให้เด็กได้รับการพักผ่อน ไม่มีเสียง และแสงรบกวนมากเกินไป นําสิ่งของที่อาจเป็นอันตรายออก จากเตียง
สังเกตและบันทึกสิ่งกระตุ้นที่ทําให้เกิดอาการชัก อาการนําก่อนชัก ลักษณะการชัก ระยะเวลาที่ชัก อาการหลังการชัก และอาการร่วมอื่นๆ
ไม่ควรให้เด็กรับประทานอาหารหรือดื่มน้ําขณะที่มีอาการหรือหลังชักใหม่ๆ เพราะอาจทําให้เด็ก สําลัก
เสี่ยงต่อการชักซ้ำเนื่องจากการปล่อยกระแสไฟฟ้าที่ผิดปกติในสมอง
กิจกรรมการพยาบาล
ลดปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดการชัก เช่น การอดนอน การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์
ดูแลให้ได้รับยากันชักตามแผนการรักษา การให้ยากันชักในขนาดที่พอเหมาะและเพียงพอ สม่ำเสมอ จะช่วยป้องกันการชักซ้ำได้
เด็กและบิดามารดา มีความเครียดและวิตกกังวลจากการเจ็บป่วยเรื้อรัง
กิจกรรมการพยาบาล
1.ส่งเสริมและกระตุ้นให้เด็กและบิดามารดาได้พูดคุยระบายความรู้สึกทัศนคติความเชื่อต่างๆ
ช่วยให้เด็กและบิดามารดามีการทบทวน วางแผนในการดํารงชีวิต
ให้ความรู้ และข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคลมชัก แนะนําให้รู้สึกอาการนําก่อนมีอาการชัก